กัว ซิว
กัว ซิว[a] (จีน: 郭脩 หรือ 郭修; พินอิน: Guō Xiū; เสียชีวิต ค.ศ. 253) หรือ กัว สฺวิน[b] (จีน: 郭循; พินอิน: Guō Xún) ชื่อรอง เซี่ยวเซียน (จีน: 郭修; พินอิน: Xiàoxiān) เป็นขุนนางของรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊กของจีน มีตำแหน่งเป็นนายทหารมหาดเล็กหรือจงหลาง (中郎)[c] กัว ซิวถูกเกียงอุยขุนพลของรัฐจ๊กก๊กจับตัวได้ ต่อมากัว ซิวจึงยอมสวามิภักดิ์ต่อจ๊กก๊ก ภายหลังกัว ซิวลอบสังหารบิฮุยขุนพลและผู้สำเร็จราชการของรัฐจ๊กก๊ก กัว ซิวจึงถูกประหารชีิวิต ประวัติกัว ซิวเป็นชาวเมืองเสเป๋ง (西平 ซีผิง) มณฑลเลียงจิ๋ว (凉州 เหลียงโจว) ซึ่งอยู่บริเวณนครซีหนิง มณฑลชิงไห่ในปัจจุบัน[1] ในอรรถาธิบายของเผย์ ซงจือ (裴松之) นักประวัติศาสตร์ในศตวรรษที่ 5 ที่แทรกในจดหมายเหตุสามก๊ก ซึ่งยกมาจากเว่ย์ชื่อชุนชิว (魏氏春秋) ของซุน เชิ่ง (孫盛) ระบุว่ากัว ซิวค่อนข้างมีชื่อเสียงในมณฑลทางตะวันตก[4] กัว ซิวถูกเกียงอุยขุนพลของรัฐจ๊กก๊กจับตัวเป็นเชลยศึกระหว่างการรบกับจ๊กก๊กครั้งหนึ่ง ต่อมากัว ซิวยอมสวามิภักดิ์ต่อจ๊กก๊ก[5] เล่าเสี้ยนจักรพรรดิแห่งจ๊กก๊กทรงแต่งตั้งให้กัว ซิวเป็นขุนพลซ้าย (左將軍 จั่วเจียงจฺวิน) แต่แท้จริงแล้วกัว ซิวไม่เต็มใจเป็นขุนนางของรัฐจ๊กก๊ก ทั้งยังต้องการหาโอกาสลอบปลงพระชนม์เล่าเสี้ยน ครั้งหนึ่งกัว ซิวก้าวเข้าไปใกล้เล่าเสี้ยนอ้างว่าจะถวายพระพร คิดจะหาจังหวะเข้าปลงพระชนม์ แต่เหล่าทหารราชองครักษ์ของเล่าเสี้ยนสังเกตเห็นอะไรชอบกลในพฤติกรรมของกัว ซิว จึงหยุดเขาไว้ก่อนที่จะเข้าไปใกล้จักรรพรดิ กัว ซิวเห็นว่าการปลงพระชนม์เล่าเสี้ยนยากจะสำเร็จ จึงหันไปหาเป้าหมายลอบสังหารอื่น[6] ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 253[d] บิฮุยขุนพลและผู้สำเร็จราชการของจ๊กก๊กจัดงานเลี้ยงในเทศกาลขึ้นปีใหม่วันแรกในอำเภอหั้นสือ (漢壽縣 ฮั่นโชฺ่วเซี่ยน; อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอเจี้ยนเก๋อ มณฑลเสฉวนในปัจจุบัน) เวลานั้นกัว ซิวเข้าร่วมในงานเลี้ยงนั้นด้วย ขณะที่บิฮุยกำลังเมาสุรา กัว ซิวก็จัดการลอบสังหารบิฮุย[2][9] หลังจากนั้นตัวกัว ซิวเองก็ถูกสังหารโดยผู้ใต้บังคับบัญชาของบิฮุย ในเดือนกันยายนหรือตุลาคม ค.ศ. 253 โจฮองจักรพรรดิวุยก๊กออกพระราชโองการยกย่องกัว ซิวสำหรับ "การปฏิบัติหน้าที่อย่างกล้าหาญเพื่อวุยก๊ก" และเปรียบเทียบกัว ซิวกับเนี่ย เจิ้ง (聶政) และฟู่ เจี้ยจื่อ (傅介子) พระองค์พระราชทานบรรดาศักดิ์ย้อนหลังให้กัว ซิวเป็นฉางเล่อเซียงโหว (長樂鄉侯) มีศักดินาพันครัวเรือน พระราชทานสมัญญานามว่าเวย์ (威) บุตรชายของกัวซิวได้สืบทอดบรรดาศักดิ์ของบิดา ได้รับยศเป็นนายกองร้อยราชรถ (奉車都尉 เฟิ่งเชอตูเว่ย์) ได้รับพระราชทานเงินพันแผ่นและผ้าไหมพันผืน[10] คำวิจารณ์แม้ว่าราชสำนักวุยก๊กจะยกย่องการสละชีพของกัว ซิวเพื่อลอบสังหารบิฮุย แต่เผย์ ซงจือวิจารณ์การกระทำของกัว ซิวในเชิงลบ โต้แย้งพระราชโองการของโจฮองว่ากัว ซิวไม่ใช่วีรบุรุษ และการลอบสังหารบิฮุยก็ไม่ใช่ "การปฏิบัติหน้าที่เพื่อวุยก๊ก" โดยให้เหตุผล 3 ประการ:
เผย์ ซือจงจึงสรุปว่ากัว ซิวเป็นเพียงนักฉวยโอกาสที่แสวงหาชื่อเสียงในการลอบสังหารผู้สำเร็จราชการของรัฐ แก่นแท้และแรงจูงใจของการลอบสังหารเทียบไม่ได้กับของเนี่ย เจิ้งและฟู่ เจี้ยจื่อที่กล่าวถึงในพระราชโองการของโจฮอง และกัว ซิวไม่มีคุณสมบัติเพียงพอที่จะได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ "สละชีพเพื่อความชอบธรรม"[11] ชื่อในจดหมายเหตุสามก๊ก ภาคจ๊กก๊ก (蜀書 ฉู่ชู) ทั้งบทพระราชประวัติเล่าเสี้ยน (後主傳 โฮ่วจู้จฺว้าน) และบทประวัติบิฮุย (費禕傳 เฟ่ย์ อีจฺว้าน) ต่างบันทึกเรื่องการลอบสังหารบิฮุย ทั้งสองบทบันทึกชื่อผู้ลอบสังหารว่า "กัว สฺวินผู้แปรพักตร์จากวุย" (魏降人郭循 เว่ย์เจี้ยงเหริน กัว สฺวิน)[2][3] ส่วนในจดหมายเหตุสามก๊ก ภาควุยก๊ก (魏書 เว่ย์ชู) บทจดหมายเหตุสามยุวจักรพรรดิ (三少帝紀 ซานเฉ่าตี้จี้) ในพระราชโองการของจักรพรรดิโจฮอง ผู้ที่ลอบสังหารบิฮุยถูกเรียกว่า "กัว ซิวชาวเสเป๋ง อดีตนายทหารมหาดเล็ก" (故中郎西平郭脩 กู้จงหลางซีผิง กัว ซิว)[1] ในบทชีวประวัติเตียวหงี (張嶷傳 จาง หนีจฺว้าน) ยังบันทึกด้วยว่าเตียวหงีเคยอ้างถึงเรื่องที่งิมเหง (岑彭 เฉิน เผิง) และไลเอียก (來歙 หลาย ซี) เมื่อต้นยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออกถูกลอบสังหาร เพื่อเตือนบิฮุยให้ระวังการลอบสังหาร และยังระบุด้วยว่า "ภายหลัง[บิ]ฮุยถูกกัว ซิวผู้แปรพักตร์จากวุยก๊กสังหารจริง ๆ"[12] ในจดหมายเหตุสามก๊ก ภาคง่อก๊ก (吳書 อู๋ชู) บทชีวประวัติจูกัดเก๊ก (諸葛恪傳 จูเก่อเค่อ จฺว้าน) บันทึกเรื่องที่จูกัดเก๊กถูกซุนจุ๋นลอบสังหาร เผย์ ซงจือยกคำวิจารณ์ในจื้อหลิน (志林) ของยฺหวี สี่ (虞喜) กล่าวถึงการลอบสังหารบิฮุยเป็นตัวอย่าง โดยบันทึกว่าไว้ว่า "แต่ด้วยเหตุที่เป็นคนมีน้ำใจกว้างขวางแต่ไม่ระมัดระวัง จึงจบลงด้วยการถูกกัว ซิวผู้แปรพักตร์สังหาร"[13] ตัวอักษร "ซิว" (脩) และ "สฺวิน" (循) มีรูปร่างคล้ายกัน เมื่อนับดูตลอดจดหมายเหตุสามก๊กรวมถึงอรรถาธิบายของเผย์ ซงจือ พบการบันทึกชื่อ "กัว สฺวิน" 2 แห่ง และพบการบันทึกชื่อ "กัว ซิว" 4 แห่ง ดังนั้นชื่อดั้งเดิมน่าจะเป็น "กัว ซิว" ดูเพิ่มหมายเหตุ
อ้างอิง
บรรณานุกรม
|
Portal di Ensiklopedia Dunia