เฮ่งเพา
เฮ่งเพา[1] (เสียชีวิต ค.ศ. 311) มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า หวาง โผว (จีน: 王裒; พินอิน: Wáng Póu) ชื่อรอง เหว่ย์-ยฺเหวียน (จีน: 偉元; พินอิน: Wěiyuán) เป็นบัณฑิตที่มีชื่อเสียงในยุคสามก๊กและยุคราชวงศ์จิ้นตะวันตก แต่ปฏิเสธที่จะรับราชการกับราชวงศ์เพราะแค้นที่ราชวงศ์จิ้นเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของบิดา เฮ่งเพายังเป็นหนึ่งในยี่จับสี่เห่าหรือยี่สิบสี่ยอดกตัญญู ประวัติเฮ่งเพาเป็นชาวอำเภอเอ็งเหล็ง (營陵縣 อิ๋งหลิงเซี่ยน) เมืองเฉิงหยาง (城陽郡 เฉิงหยางจฺวิ้น) ซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอำเภอฉางเล่อ มณฑลชานตงในปัจจุบัน[2] บิดาของเฮ่งเพาคือหวาง อี๋ (王儀) รับราชการเป็นขุนนางในราชสำนักของรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊ก หวาง อี๋ออกความเห็นว่าสุมาเจียวต้องรับผิดชอบต่อความพ่ายแพ้ในยุทธการที่ตังหินที่รบกับรัฐง่อก๊กในปี ค.ศ. 252 สุมาเจียวได้ฟังก็โกรธมากจึงสั่งให้นำตัวหวาง อี๋ไปประหารชีวิต[3] ด้วยเหตุนี้เฮ่งเพาจึงไม่ยอมนั่งหันหน้าไปทางทิศตะวันตกตลอดชีวิตเพื่อแสดงการไม่เชื่อฟังต่อราชวงศ์จิ้นซึ่งก่อตั้งโดยสุมาเอี๋ยนบุตรชายของสุมาเจียวในปี ค.ศ. 266 ในช่วงเวลานั้นราชสำนักราชวงศ์จิ้นเรียกตัวเฮ่งเพาไปรับราชการหลายครั้งแต่เฮ่งเพาปฏิเสธ[4] เฮ่งเพาใช้ชีวิตอย่างสันโดษด้วยสอนหนังสือ และสร้างกระท่อมอาศัยข้างหลุมศพของบิดา[5]
อ้างอิง
ดูเพิ่มบรรณาุกรม
|
Portal di Ensiklopedia Dunia