ราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์
ราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์โบราณ (อังกฤษ: Thirteenth Dynasty of Egypt ,Dynasty XIII) เป็นราชวงศ์ที่มักจะรวมกับราชวงศ์ที่สิบเอ็ด ,ราชวงศ์สิบสอง และราชวงศ์ที่สิบสี่ ภายใต้ใน สมัยราชอาณาจักรกลาง แต่นักเขียนบางคนมักแยกราชวงศ์ที่สิบสามออกจากราชวงศ์เหล่านี้ และเข้าร่วมกับราชวงศ์ที่สิบสี่จนถึงราชวงศ์ที่สิบเจ็ด และเป็นส่วนหนึ่งในสมัยช่วงต่อที่สองแห่งอียิปต์ ราชวงศ์ที่สิบสามได้ปกครองตั้งแต่ประมาณ 1802 ปีก่อนคริสตกาล จนถึงประมาณ 1649 ปีก่อนคริสตกาล รวมทั้งหมด 153 ปี [1] ราชวงศ์ที่สิบสามเป็นราชวงศ์ที่ต่อเนื่องโดยตรงจากราชวงศ์ที่สิบสองแห่งอียิปต์ โดยมีปฐมกษัตริย์พระองค์แรกของราชวงศ์ที่สิบสาม เชื่อกันว่าเป็นพระราชโอรสในฟาโรห์อเมเนมฮัตที่ 4[1] คิม รีฮอล์ตได้เสนอว่าแบ่งช่วงเวลาระหว่างสองราชวงศ์ ทำให้ได้มีการเพิ่มราชวงศ์ที่สิบสี่แห่งอียิปต์ที่เป็นอิสระในทางตะวันออกของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ เหตุการณ์ที่คิม รีฮอล์ตเสนอเกิดขึ้นในช่วงรัชสมัยของฟาโรห์โซเบคเนเฟรู[1] ฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์ มีพระราชอำนาจตั้งแต่เมืองเมมฟิสทางเหนือ ตอนกลางจนถึงอียิปต์บน ตลอดจนถึงแก่งน้ำตกแห่งที่สองของแม่น้ำไนล์ พระราชอำนาจของกษัตริย์แห่งราชวงศ์ที่สิบสาม ค่อยๆเสื่อมลงในช่วงปีที่ 150 ของราชวงศ์ และในที่สุดก็สิ้นสุดลงด้วยการพิชิตเมืองเมมฟิสโดยกษัตริย์แห่งชาวฮิกซอสแห่งราชวงศ์ที่สิบห้าของอียิปต์ก่อน 1650 ปีก่อนคริสต์ศักราช [1] พระมหากษัตริย์ในตำราสมัยนี้ ราชวงศ์ที่สิบสามมักจะถูกอธิบายว่าเป็นยุคแห่งความวุ่นวาย อย่างไรก็ตามราชวงศ์นี้อาจจะสงบสุข มากกว่าสมัยราชอาณาจักรกลางในเมืองหลวงเก่าอย่างเมืองอิทจ์-ทาวี ใกล้กับไฟยุม ราชวงศ์นี้เป็นราชวงศ์ที่มีฟาโรห์จำนวนมากหลายพระองค์แต่มีช่วงเวลาแห่งการครองราชที่สั้น และมีเพียงไม่กี่พระองค์ที่ได้รับการรับรองว่ามีอยู่จริง ตามรายพระนามฟาโรห์ในข้างต้น ผู้ปกครองที่เหลืออยู่ของราชวงศ์ที่สิบสาม ได้รับการยืนยันโดยการค้นพบในบริเวณอียิปต์บนเท่านั้น สิ่งนี้อาจบ่งชี้ถึงการละทิ้งเมืองหลวงเก่าที่อิทจ์-ทาวี ไปยังเมืองธีบส์[7] แดฟนา เบ็น ทอร์ได้เชื่อว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจากการรุกรานจากบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำตะวันออกและบริเวณเมมฟิสโดยผู้ปกครองชาวคานาอัน สำหรับนักวิชาการบางคนเชื่อว่าในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นจุดสิ้นสุดของสมัยราชอาณาจักรกลางและเป็ฯจุดเริ่มต้นของสมัยช่วงระหว่างกลางที่สอง[7] อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ดังกล่าวถูกปฏิเสธโดยรีฮอล์ตและเบเกอร์ ซึ่งทราบว่าจารึกแห่งเซเฮเกนเร สอังค์พทาห์อิ ซึ่งทรงครองราชย์ในช่วปลายราชวงศ์ ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าพระองค์ทรงปกครองเหนือเมมฟิส และจารึกดังกล่าวนั้นไม่ทราบแหล่งที่มา[8][9]
ตำแหน่งตามลำดับเวลาของผู้ปกครองที่ได้รับการยืนยันแล้วจำนวนหนึ่ง แต่ไม่สามารถสรุปได้เนื่องจากขาดหลักฐาน
ฟาโรห์โซเบคโฮเทปที่ 1 และ 2รีฮอล์ตได้ให้ผู้ปกครองที่ทรงมีพระนามว่า "โซเบคโฮเทปที่ 1 เซคเอมเร คูทาวี" เป็นฟาโรห์พระองค์แรกของราชวงศ์ที่สิบสาม ในขณะนี้เป็นสมมติฐานหลักในไอยคุปต์วิทยา[8] และฟาโรห์โซเบคโฮเทป เซคเอมเร คูทาวี ก็สื่อถึงฟาโรห์โซเบคโฮเทปที่ 1 ในบทความนี้ ดังนั้น รีฮอล์ตจึงระบุว่าฟาโรห์เซคเอมเร คูทาวี โซเบคโฮเทปที่ 1 ทรงครองราชย์ได้เป็นระยะเวลา 3 ถึง 4 ปี ในราว 1800 ปีก่อนคริสตกาลและเสนอให้ฟาโรห์คาอังค์เร โซเบคโฮเทปที่ 2 นั้นทรงขึ้นครองราชย์ในราว 20 ปีต่อมาในช่วง 1780 ปีก่อนคริสตกาล[9] ด็อดสันและฮิลตันได้คิดเห็นในทำนองเดียวกันว่าฟาโรห์เซคเอมเร คูทาวี โซเบคโฮเทปทรงครองราชย์มาก่อนหน้าฟาโรห์คาอังค์เร โซเบคโฮเทป[10] ฟาโรห์พระองค์อื่น ๆ![]() หลังจากปล่อยให้ความเข้มงวดที่กลุ่มป้อมปราการทางตอนใต้ให้เสื่อมโทรมลง ในที่สุดอียิปต์ก็ถอนกองทหารรักษาการณ์ออกไป และหลังจากนั้นไม่นาน ป้อมปราการก็ถูกยึดครองโดยนิวเบียแห่งคุช ซึ่งได้ผงาดขึ้นมาอีกครั้ง ในทางตอนเหนือ อียิปต์ล่างก็ถูกชาวฮิกซอสซึ่งเป็นชาวเซมิติกจากอีกซีกหนึ่งของคาบสมุทรไซนายเข้ามายึดครอง กษัตริย์อิสระกลุ่มหนึ่งได้ก่อตั้งราชวงศ์ที่สิบสี่ ซึ่งสถาปนาขึ้นในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ฝั่งตะวันตกในช่วงราชวงศ์ที่สิบสาม และต่อมา ตามคำกล่าวของมาเนโธ ผู้รุกรานจากตะวันออกที่เรียกว่าชาวฮิกซอสได้เข้ายึดอียิปต์ "โดยไม่ได้เข้าโจมตีแต่อย่างใดเลย" และหลังจากเอาชนะผู้ปกครองของแผ่นดินได้ พวกเขาจึงเผาเมืองของเราอย่างไร้ความปรานี ทำลายเทวสถานของเทพเจ้าเป็นผุยผง .." การปกครองของพวกเขาที่เรียกว่าราชวงศ์ที่สิบห้าได้ถูกเข้ามาแทนที่ราชวงศ์ที่สิบสามและราชวงศ์ที่สี่ในพื้นที่ส่วนใหญ่ของอียิปต์ อย่างไรก็ตาม การค้นพบทางโบราณคดีล่าสุดที่เอ็ดฟู อาจจะบ่งชี้ได้ว่าราชวงศ์ที่สิบห้าของชาวฮิกซฮส อาจจะมีอยู่แล้วอย่างน้อยในช่วงกลางราชวงศ์ที่สิบสามในรัชสมัยของฟาโรห์โซเบคโฮเทปที่ 4 ในเอกสารที่ตีพิมพ์เมื่อเร็วๆ นี้ชื่อว่า อียิปต์และเลวานไทน์[11] นาดีน โมลเลอร์, เกรกอรี มาโรวาร์ดและ เอ็น. อาเยิร์ส ได้ถกเถียงเกี่ยวกับการค้นพบซากอาคารการปกครองที่สำคัญของสมัยราชอาณาจักรกลางในช่วงต้นราชวงศ์ที่สิบสองในพื้นที่เทลล์ เอ็ดฟู ทางตะวันออกของอียิปต์บน ซึ่งมีสภาพที่ถูกใช้งานอย่างต่อเนื่อง เข้าสู่สมัยช่วงระหว่างกลางที่สองตอนต้นจนถึงช่วงราชวงศ์ที่สิบเจ็ด ซึ่งซากปรักหักพังนั้นได้ถูกรายล้อมล้อมโดยยุ้งฉางขนาดใหญ่ ในการทำงานภาคสนามโดยนักไอยคุปต์ในปี ค.ศ. 2010 และ ค.ศ. 2011 ซึ่งภายในซากอาคารจากช่วงราชวงศ์ที่สิบสอง และในอดีตก็ถูกใช้ในราชวงศ์ที่สิบสามเช่นกัน ได้นำไปสู่การค้นพบห้องโถงขนาดใหญ่ที่อยู่ติดกัน ซึ่งค้นพบแล้วว่ามีการตราประทับ 41 ชิ้นซึ่งแสดงภาพแกะสลักของผู้ปกครองชาวฮิกซอสพระนามว่า คยาน และอีก 9 ตราประทับพระนามฟาโรห์จากราชวงศ์ที่สิบสามพระนามว่า โซเบคโฮเทปที่ 4[12] การหลงเหลือของตราประทับดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า รัชสมัยฟาโรห์โซเบคโฮเทปที่ 4 และฟาโรห์คยานน่าจะอยู่คาบเกี่ยวช่วงเวลาเดียวกัน และอาจจะหมายความว่าราชวงศ์ที่สิบสามไม่ได้ควบคุมอียิปต์ทั้งหมดถึงรัชสมัยของฟาโรห์โซเบคโฮเทปที่ 4 ที่ทรงขึ้นครองอำนาจแล้ว และมีความทับซ้อนกันอย่างมากระหว่างราชวงศ์ที่สิบสามและสิบห้า เนื่องจากฟาโรห์โซเบคโฮเทปที่ 4 ทรงเป็นเพียงผู้ปกครองในช่วงกลางราชวงศ์ที่สิบสาม ถึงแม้ว่าจะทรงเป็นฟาโรห์ที่ทรงมีพระราชอำนาจมากที่สุดพระองค์หนึ่งก็ตาม ดังนั้นคำกล่าวของมาเนโธที่ว่าราชวงศ์ที่สิบห้าของชาวฮิกซฮสได้แทนที่ราชวงศ์ที่สิบสามอย่างรุนแรงนั้นอาจจะเป็นเรื่องชวนเชื่อของชาวอียิปต์ในภายหลัง แต่อำนาจของราชวงศ์ที่สิบสามน่าจะล่มสลายลงทั่วอียิปต์ในช่วงทศวรรษสุดท้ายของราชวงศ์ และชาวฮิกซอสในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำก็ได้เข้ายึดครองเมืองเมมฟิสและสิ้นสุดราชอาณาจักรของราชวงศ์ที่สิบสาม อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ดังกล่าวและข้อสรุปที่ได้จากการวิเคราะห์ได้ถูกปฏิเสธโดยโรเบิร์ต พอร์ตเตอร์ นักไอยคุปต์วิทยา ผู้ซึ่งโต้แย้งว่า ฟาโรห์คยานทรงขึ้นมาปกครองช้ากว่ารัชสมัยของฟาโรห์โซเบคโฮเทปที่ 4 มาก (เกิดเป็นช่องว่างประมาณ 100 ปีระหว่างทั้งลำดับของฟาโรห์ทั้งสองพระองค์) และตราประทับของฟาโรห์ได้ถูกนำมาใช้อีกนานหลังจากที่พระองค์เสด็จสวรรคตเสียชีวิต ดังนั้น ตราประทับของฟาโรห์โซเบคโฮเทปที่ 4 อาจจะไม่ได้ยืนยันว่า พระองค์เป็นทรงมีพระชนม์ชีพร่วมสมัยกับฟาโรห์คยาน[13] ฟาโรห์เมอร์เนเฟอร์เร ไอย์ทรงเป็นผู้ปกครองอียิปต์พระองค์สุดท้ายจากราชวงศ์ที่สิบสาม ซึ่งได้รับการยืนยันจากวัตถุโบราณทั้งในอียิปต์ล่างและอียิปต์บน[14] และหลังจากรัชสมัยของพระองค์ มีผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ของพระองค์นามว่า ฟาโรห์เมอร์โฮเทปเร อินิ ที่จะปรากฏหลักยืนยันเพียงแค่ในเฉพาะบริเวณอียิปต์บนเท่านั้น[15] อ้างอิง
บรรณานุกรม
|
Portal di Ensiklopedia Dunia