ฟาโรห์ยากบิม เซเคมเร
เซคาเอนเร ยากบิม หรือ ยากบมู[4] เป็นผู้ปกครองในช่วงสมัยระหว่างกลางที่สองของอียิปต์โบราณ ถึงแม้ว่ายังมีข้อถกเถียงเกี่ยวลำดับของราชวงศ์หรือช่วงเวลารัชสมัยของพระองค์อยู่ แต่นักไอยคุปต์วิทยาชาวเดนมาร์ก คิม ไรโฮลต์ เชื่อว่าพระองค์น่าจะทรงเป็นผู้สถาปนาราชวงศ์ที่สิบสี่ ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากดินแดนลิแวนต์[1] ในขณะที่การศึกษาเก่าส่วนใหญ่เชื่อว่าพระองค์เป็นผู้ปกครองจากราชวงศ์ที่สิบหกแห่งอียิปต์[5] ข้อพิสูจน์ตัวตนพระนามของพระองค์ไม่เคยปรากฏอยู่ในคาร์ทูช ซึ่งเป็นสัญลักษณ์เฉพาะในการเขียนพระนามของฟาโรห์ อย่างไรก็ตาม บนตราประทับของพระองค์ ซึ่งปรากฏพระนามว่า "เทพเจ้าอันดีงาม เซคาเอนเร" (หรือเรียกอย่างง่า ว่า "เซคาเอนเร") และ "พระราชโอรสแห่งรา, ยากบิม"[5] ไม่ปรากฏหลักฐานอย่างแน่ชัดว่าพระนามครองราชย์ของพระองค์ คือ เซคาเอนเร โดยทฤษฎีดังกล่าวมีพื้นฐานมาจากลักษณะของตราประทับและเสนอโดยวิลเลียม แอรส์ วอร์ด[6] และต่อมาได้อธิบายเพิ่มเติมโดยไรโฮลต์[7] แต่ดาฟนา เบน-ทอร์โต้แย้งข้อพิสูจน์ตัวตนดังกล่าว โดยชี้ให้เห็นว่าตราประทับของผู้ปกครองหลายพระองค์ที่ทรงพระชนม์ชีพอยู่ในช่วงเวลาดังกล่าวนั้นเป็นระยะเวลาใกล้เคียงกันเกินกว่าจะสร้างความสัมพันธ์ดังกล่าวบนพื้นฐานของลักษณะการออกแบบเพียงอย่างเดียว[4] ถ้าหากสมมติว่าวอร์ดกล่าวถูก เซคาเอนเร ยากบิม ได้รับการพิสูจน์ตัวตนด้วยตราประทับจำนวน 123 ชิ้น รองจากของผู้ปกครองพระนาม เชชิ[8] ซึ่งมีจำนวน 396 ชิ้นเท่านั้น จากข้อมูลดังกล่าว ไรโฮลต์ประเมินว่าพระองค์จะทรงครองราชย์ได้ประมาณ 25 ปี ในช่วงระหว่าง 1805–1780 ปีก่อนคริสตกาล[3] ราฟาเอล กิเวียน นักไอยคุปต์วิทยาชาวอิสราเอลได้ระบุว่า ยากบิมกับผู้ปกครองอีกพระองค์จากช่วงเวลาเดียวกัน คือ ยาอัมมู นุบวอเซอร์เร ว่าเป็นบุคคลเดียวกัน ในขณะที่เยือร์เกน ฟอน เบ็คเคอราธได้เปรียบเทียบพระองค์กับซาลิทิส ซึ่งทรงเป็นผู้สถาปนาราชวงศ์ที่สิบห้าแห่งอียิปต์ตามที่แมนิโธกล่าว[1] ตราประทับที่ปรากฏพระนามนำหน้าของผู้ปกครองพระองค์นี้ถูกค้นพบในเมืองเทล เอล-อัจจูล ในฉนวนกาซาโดยฟลินเดอรส์ เพตรีในปี ค.ศ. 1933[9] อ้างอิง
บรรณานุกรม
แหล่งข้อมูลอื่นวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ ฟาโรห์ยากบิม เซเคมเร |
Portal di Ensiklopedia Dunia