ฟาโรห์ดโจเซอร์ เนทเจริเคต, โทโซทรอส, เซโซทรอส ฟาโรห์ รัชกาล ประมาณ 19 หรือ 28 ปี ประมาณ 2686–2648 ปีก่อนคริสต์ศักราช, 2687–2668 ปีก่อนคริสต์ศักราช, 2668–2649 ปีก่อนคริสต์ศักราช, 2667–2648 ปีก่อนคริสต์ศักราช, หรือ 2630–2611 ปีก่อนคริสต์ศักราช ก่อนหน้า ฟาโรห์คาเซเคมวี (เป็นไปได้มาก) หรือ ฟาโรห์เนบคา ถัดไป ฟาโรห์เซเคมเค็ต (เป็นไปได้มาก) หรือฟาโรห์ซานาคท์
พระนามฮอรัส
ฮอร์-เนทเจริเคต Hr-nṯrj.ẖt Horus, divine of body
พระนามเนบติ
เนตเจริเคต Nb.tj Nṯrj-ẖt The two Ladies, divine of body
พระนามฮอรัสทองคำ พระนามครองราชย์
นิซุต-บิตี-เนบตี-เนทเจอริเคตเนบู nsw.t-bty-nb.ty nṯrj-ẖt-nbw King of Upper and Lower Egypt, he of the two ladies, with a divine body of gold
พระนามประสูติ
นับ-ฮอร์ Nbw-Ḥr ฮอรัสทองคำ
คู่เสกสมรส สมเด็จพระราชินีเฮเทปเฮอร์เนบติ พระราชบุตร ไอเนตคาเวส , อาจจะ ฟาโรห์เซเคมเค็ต ?พระราชบิดา ฟาโรห์คาเซคเคมวี พระราชมารดา สมเด็จพระราชินีนิมาอัตเทป สวรรคต ประมาณ 2649 หรือประมาณ 2611 BC สุสาน พีระมิดขั้นบันได ที่ซัคคารา ราชวงศ์ ราชวงศ์ที่ 3
ฟาโรห์โจเซอร์ (บางครั้งอ่านเป็น เจเซอร์ และ โซเซอร์ ) เป็นฟาโรห์ ราชวงศ์ที่ 3 แห่งอียิปต์โบราณ สมัยราชอาณาจักรเก่า พระนามของพระองค์เป็นที่รู้จักในพระนามที่แผลงเป็นกรีก ว่า โทโซทรอส (จากแมนิโธ ) และ เซโซทรอส (จากยูซิเบียส ) พระองค์เป็นพระราชโอรสในฟาโรห์คาเซคเคมวี กับสมเด็จพระราชินีนิมาอัตเทป โจเซอร์เป็นที่รู้จักจากพีระมิดขั้นบันไดของพระองค์ ซึ่งเป็นอาคารหินขนาดมหึมาที่เก่าแก่ที่สุดในอียิปต์โบราณ[ 7]
พระราชกรณียกิจที่สำคัญ
การสร้างพีระมิดขั้นบันได
ฟาโรห์โจเซอร์เป็นฟาโรห์พระองค์แรกที่มีดำริให้สร้างพีระมิดขั้นบันได ของพระองค์เองเป็นต้นแบบของพีระมิดทรงสามเหลี่ยม โดยมีอัครเสนาบดีและสถาปนิกที่มีชื่อเสียงเป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างคืออิมโฮเทป อิมโฮเทปนับว่าเป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์เป็นเลิศ จึงกล้าคิดออกแบบพีระมิดขนาดใหญ่อย่างที่ไม่มีใครเคยสร้างมาก่อน โดยพีระมิดแห่งแรกนี้มีขนาดกว้างประมาณ 115 เมตร ยาวเกือบ 140 เมตร สูง 60 เมตร เป็นพีระมิดลักษณะขั้นบันได 6 ขั้น ถูกสร้างขึ้นที่เมืองซัคคารา ถือเป็นอนุสรณ์สถานที่ใหญ่ที่สุดแห่งแรกด้วยและยังคงสภาพสมบูรณ์มาจนถึงปัจจุบัน
พีระมิดที่เป็นขั้นบันไดนั้นเป็นสัญลักษณ์ว่า เป็นบันไดสำหรับย่างพระบาทสู่สวรรค์ของฟาโรห์ ภายในพีระมิดแห่งแรกนี้ มีรูปสลักหินของฟาโรห์โจเซอร์ในท่าประทับนั่งบนบัลลังก์ ถือเป็นประติมากรรมชิ้นที่เก่าแก่ที่สุด บริเวณข้างพีระมิดเป็นลานกว้าง ซึ่งอดีตนั้นใช้ประกอบพระราชพิธีของฟาโรห์ (หนึ่งในนั้นคือพิธีศพ)
ภาพภายนอกพีระมิดแห่งซัคคารา][ 8]
การแก้ไขปัญหาแม่น้ำไนล์
ในสมัยของฟาโรห์โจเซอร์ แม่น้ำไนล์ ที่เคยอุดมสมบูรณ์ไหลบ่าท่วมสองฟากฝั่ง นำความสมบูรณ์มาให้ชาวไอยคุปต์ เกิดลดแห้งขึ้นมาในปีที่ 10 แห่งการครองราชย์ ความเดือดร้อนนั้นยาวนานถึง 7 ปี ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินได้ขอร้องให้พระองค์ช่วยเหลือ โดยขอให้พระองค์บันดาลให้แม่น้ำไนล์ไหลท่วมสองฝั่งอย่างที่เคยเป็น เพราะประชาชนคิดว่าพระองค์เป็นโอรสของเทพเจ้าที่บันดาลสิ่งสรรพได้ ฟาโรห์โจเซอร์ตระหนักดีว่าเกินความสามารถของพระองค์ เพราะทรงเป็นเพียงมนุษย์คนหนึ่ง อิมโฮเทป จึงได้ถวายคำแนะนำว่า ควรจะขอคำแนะนำจากเทพเจ้าธอธ เทพแห่งสติปัญญาผู้ชาญฉลาด ด้วยความช่วยเหลือของเทพเจ้าธอธที่ทรงแจ้งถึงภูมิปัญญาอันเร้นลับของบรรพชนแก่อิมโฮเทป เกี่ยวกับบันทึกโบราณที่บอกเล่าถึงการไหลหลากแห่งไนล์ว่า ในยุคที่เทพเจ้ารา สร้างโลก ผืนดินแห่งแรกที่ผุดขึ้นมาจากผืนน้ำเรียกว่า เกาะเอเลเฟนติเน ใต้เกาะแห่งนี้เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำไนล์ เทพคเนมู สถิตอยู่ที่นั่นและบันดาลความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ไนล์ แต่เมื่อเวลาผ่านไป ชาวไอยคุปต์ก็หลงลืมเทพคเนมู เมื่อฟาโรห์โจเซอร์ทราบเรื่องนี้ ก็ทรงบวงสรวงขอพรจากเทพเจ้าคเนมูทันที เทพคเนมูตอบรับคำร้องของของฟาโรห์ โดยบันดาลให้แม่น้ำไนล์กลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง ฟาโรห์โจเซอร์ทรงสร้างมหาวิหารที่ใหญ่ที่สุดถวายแด่เทพเจ้าคเนมู หลังจากนั้นไอยคุปต์ก็กลับคืนสู่ความอุดมสมบูรณ์ในที่สุด
หมายเหตุ
↑ สัญลักษณ์แรกถูกจงใจลบออกโดยไม่ทราบสาเหตุ
อ้างอิง
บรรณานุกรม
Adès, Harry (2007). A Traveller's History of Egypt . Interlink Books. ISBN 978-1-566-56654-4 .
Atiya, Farid (2006). Ancient Egypt . American University in Cairo Press. pp. 104–11. ISBN 977-17-3634-5 .
Baker, Rosalie; Baker, Charles (2001). Ancient Egyptians: People of the Pyramids . USA: Oxford University Press. pp. 15 –19. ISBN 0-195-12221-6 .
Bard, Kathryn (2015). An Introduction to the Archaeology of Ancient Egypt (2 ed.). John Wiley & Sons. pp. 140–145 . ISBN 978-1-118-89611-2 .
Berrett, LaMar C. (1 April 1996). Discovering the World of the Bible . Cedar Fort. ISBN 978-0-910523-52-3 .
Bestock, Laurel (2017). Violence and power in ancient Egypt : Image and Ideology Before the New Kingdom . Abingdon, United Kingdom: Routledge. ISBN 9780367878542 .
Brock, Lyla Pinch (2003). Egyptology at the Dawn of the Twenty-first Century: Proceedings of the Eight International Congress of Egyptologists, Volume 2 . American University in Cairo Press. pp. 215–220. ISBN 9-774-24714-0 .
Bunson, Margaret (2014). Encyclopaedia of Ancient Egypt . Infobase Publishing. p. 103. ISBN 978-1-438-10997-8 .
Dieter, Arnold (2005). Temples of Ancient Egypt . I.B.Tauris. pp. 40 –47. ISBN 1-850-43945-1 .
Dodson, Aiden; Hilton, Dyan (2004). The Complete Royal Families of Ancient Egypt . Thames & Hudson. ISBN 0-500-05128-3 .
Edwards, Iorwerth Eiddon Stephen; Gadd, Cyril John ; Hammond, Nicholas Geoffrey Lampiere (1971). The Cambridge Ancient History (Third ed.). Cambridge University Press. pp. 145 –169. ISBN 0-521-07791-5 .
El-Shahawy, Abeer; Al-Masri, Mathaf (2005). The Egyptian Museum in Cairo . American University in Cairo Press. p. 39. ISBN 9-771-72183-6 .
Fletcher, Joann (2015). The Story of Egypt . Hachette UK. ISBN 978-1-444-78515-9 .
Kleiner, Fred; Mamiya, Christin (2009). Gardner's Art Through The Ages: A Global History . Cengage Learning. pp. 57–59. ISBN 978-0-495-41058-4 .
Kleiner, Fred (2015). Gardner's Art Through The Ages: A Global History . Cengage Learning. pp. 59–61. ISBN 978-1-305-54484-0 .
Mieroop, Marc van der (2010). A History of Ancient Egypt . John Wiley & Sons. pp. 56–57. ISBN 978-1-405-16070-4 .
Poo, Mu-chou (1 February 2012). Enemies of Civilization: Attitudes toward Foreigners in Ancient Mesopotamia, Egypt, and China (ภาษาอังกฤษ). SUNY Press. ISBN 978-0-7914-8370-1 .
Rice, Michael (1999). Who's who in Ancient Egypt . Psychology Press. pp. 50–51. ISBN 0-415-15448-0 .
Robins, Gay (2014). The Art of Ancient Egypt . British Museum Press. p. 44.
Romer, John (2007). The Great Pyramid: Ancient Egypt Revisited . Cambridge University Press. p. 251 . ISBN 978-0-521-87166-2 .
Wilkinson, Toby (2001). Early Dynastic Egypt . London: Routledge. ISBN 0415260116 .
Wilkinson, Toby (2000). Royal Annals of Ancient Egypt: the Palermo Stone and Its Associated Fragments . London: Kegan Paul International. ISBN 0710306679 .
ชลิตดา. ตำนานอียิปต์โบราณ(ฉบับสมบูรณ์) [ลิงก์เสีย ] .--กรุงเทพฯ : พิมพ์คำ, 2548. หน้า 159–162. ISBN 974-93360-9-7
อ่านเพิ่ม
Rosanna Pirelli, "Statue of Djoser" in Francesco Tiradritti (editor): The Treasures of the Egyptian Museum . American University in Cairo Press, Cairo 1999, p. 47.
Iorwerth Eiddon Stephen Edwards : The Pyramids of Egypt . West Drayton 1947; Rev. ed. Harmondsworth 1961; Rev. ed. Harmondsworth 1985 (deutsche Ausgabe: Die ägyptischen Pyramiden, 1967)
แหล่งข้อมูลอื่น
ยุค
ราชวงศ์
ฟาโรห์ (ชาย หญิง ) ไม่ทราบ
ยุคปลาย (664–332 ปีก่อน ค.ศ)
เฮลเลนิสต์ (332–30 ปีก่อน ค.ศ)
ยุค
ราชวงศ์
ฟาโรห์ (ชาย หญิง ) ไม่ทราบ
โรมัน (30 ปีก่อน ค.ศ.–ค.ศ. 313)