ราชวงศ์ที่ยี่สิบสามแห่งอียิปต์
ราชวงศ์ที่ยี่สิบสามแห่งอียิปต์ มักถูกนับเป็นราชวงศ์ลำดับที่สามของอียิปต์โบราณในสมัยช่วงระหว่างกลางที่สาม ราชวงศ์ดังกล่าวประกอบด้วยผู้ปกครองชาวเมชเวสหลายพระองค์ ซึ่งปกครองทั้งในฐานะฟาโรห์หรือกษัตริย์อิสระในบางส่วนของอียิปต์บนตั้งแต่ 880 ถึง 720 ปีก่อนคริสตกาล และฟาโรห์ตั้งแต่ 837 ถึง 728 ปีก่อนคริสตกาล ประวัติราชวงศ์มีการถกเถียงกันอย่างมากเกี่ยวกับราชวงศ์นี้ ซึ่งอาจจะมีศูนย์กลางอำนาจตั้งอยู่ที่เมืองเฮราคลีโอโพลิส แมกนา เฮอร์โมโปลิส แมกนา และธีบส์ อนุสาวรีย์ของฟาโรห์ในราชวงศ์ที่ยี่สิบสามชี้ให้เห็นว่าราชวงศ์ที่ยี่สิบสามได้ควบคุมอียิปต์บนไปพร้อมกับราชวงศ์ที่ยี่สิบสอง ไม่นานก่อนที่ฟาโรห์โอซอร์คอนที่ 2 จะเสด็จสวรรคต ในขณะที่ราชวงศ์ที่ยี่สิบสามถือเป็นราชวงศ์แห่งทานิส เนื่องจากมีต้นกำเนิดมาจากเมืองทานิส แต่ก็ไม่เคยปกครองจากที่นั่น ราชวงศ์ที่ยี่สิบสองจากเมืองบูบาสทิสได้เข้ายึดเมืองทานิสและเมืองเมมฟิส และสามารถปกครองเมืองเหล่านี้ไว้ได้จนเกือบสิ้นสุดราชวงศ์ เป็นผลให้ราชวงศ์ที่ยี่สิบสามซึ่งอาจจะเป็นราชวงศ์สาขาของราชวงศ์ที่ยี่สิบสอง จึงมีต้นกำเนิดมาจากเมืองทานิส แต่นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่แย้งว่าอาจจะใช้เมืองลีออนโทโพลิสเป็นเมืองหลวงแทน ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว[1] ซึ่งได้รับการยืนยันจากจารึกของพิอังค์อิ ซึ่งสร้างขึ้นในช่วงรัชสมัยของฟาโรห์ยูพุดที่ 2 ในเมืองลีออนโทโพลิส[2] อย่างไรก็ตาม นักประวัติศาสตร์บางท่านโต้แย้งว่า ฟาโรห์ยูพุดที่ 2 ไม่ควรได้รับการพิจารณาว่าเป็นฟาโรห์จากราชวงศ์ที่ยี่สิบสามเลย เนื่องจากไม่มีข้อเท็จจริงที่แน่ชัดว่าราชวงศ์ที่ยี่สิบสามจะปกครองจากเมืองลีออนโทโพลิส เพียงแต่ว่าฟาโรห์ยูพุดที่ 2 น่าจะทรงปกครองจากที่ไหนสักแห่งในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์[3] แต่ถ้าหากฟาโรห์ยูพุดที่ 2 เป็นเพียงมีความเชื่อมโยงระหว่างราชวงศ์ที่ยี่สิบสามและเมืองลีออนโทโพลิส ในมุมมองดังกล่าวจะหักล้างกับจารึกของพิอังค์อิ เพื่อเป็นหลักฐานว่าเมืองลีออนโทโพลิสเป็นเมืองหลวงของราชวงศ์ที่ยี่สิบสาม อีกเหตุผลหนึ่งที่มีการถกเถียงกันมากคือนอกเหนือจากความขัดแย้งระหว่างอียิปต์ล่างและอียิปต์บนที่มีอยู่แล้ว แต่ยังมีความขัดแย้งในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์อีกด้วย ส่วนหนึ่งของความขัดแย้งดังกล่าวคือการต่อสู้เพื่อการสืบสันตติวงศ์ แต่อีกส่วนหนึ่งเกี่ยวข้องกับมหาปุโรหิตแห่งอามุนที่ธีบส์ ซึ่งในช่วงราชวงศ์ที่ยี่สิบเอ็ดได้ปกครองอียิปต์บน ถึงแม้จะไม่ถือเป็นราชวงศ์ที่แยกออกจากกันก็ตาม (แต่อย่างไรก็ตาม มหาปุโรหิตบางคนกลายเป็นฟาโรห์และเป็นส่วนหนึ่งของราชวงศ์ เช่น ฟาโรห์ซูเซนเนสที่ 1) แม้ว่าอำนาจของมหาปุโรหิตเหล่านี้จะลดลงหลังราชวงศ์ที่ยี่สิบเอ็ด แต่มหาปุโรหิตแห่งอามุนยังคงมีอำนาจและมีอิทธิพล และการแต่งงานกับราชวงศ์ก็ไม่ใช่เรื่องผิดแปลกแต่อย่างใด[4] เป็นผลให้หลายรัชสมัยในช่วงราชวงศ์ที่ยี่สิบสามและระหว่างราชวงศ์ที่ยี่สิบสองและยี่สิบสามทับซ้อนกัน เป็นเพราะสมาชิกบางพระองค์ของราชวงศ์ที่ยี่สิบสามปกครองในฐานะกษัตริย์อิสระ (เช่น ฟาโรห์ฮาร์ซิเอเซ เอ) และเป็นราชวงศ์ที่แยกจากกันหลังจากการสวรรคตของฟาโรห์โอซอร์คอนที่ 2 (จากราชวงศ์ที่ยี่สิบสอง) ซึ่งนักประวัติศาสตร์บางคนโต้แย้งว่าราชวงศ์ที่ยี่สิบสามแห่งอียิปต์มีฟาโรห์พระองค์แรกคือ ฟาโรห์ทาเคลอตที่ 2 และถือว่าฟาโรห์เปดูบาสติสที่ 1 เป็นส่วนหนึ่งของการปกครองอิสระ (เป็นช่วงระยะเวลาอันสั้น) และชี้ให้เห็นว่าเชื้อสายของฟาโรห์ทาเคลอตที่ 2 เป็นราชวงศ์อิสระที่แยกจากราชวงศ์ที่ยี่สิบสองแห่งอียิปต์ และถือว่าเชื้อสายของฟาโรห์เปดูบาสติสที่ 1 เป็นราชวงศ์ที่ยี่สิบสามแห่งอียิปต์[1] เมื่อฟาโรห์โอซอร์คอนที่ 2 เสด็จสวรรคต เจ้าชายโชเชงค์ก็ได้สิ้นพระชนม์ไปแล้ว ทำให้ฟาโรห์ทาเคลอตที่ 2 ซึ่งเป็นพระอนุชาจึงทรงขึ้นครองบัลลังก์ที่เมืองทานิส มหาปุโรหิตแห่งอามุน ในขณะนั้นคือ เจ้าชายนิมลอต ซึ่งเป็นพระเชษฐาต่างพระมารดาของพระองค์ที่ได้รับการแต่งตั้งจากฟาโรห์โอซอร์คอนที่ 2 และพระองค์ทรงอภิเษกสมรสกับพระราชธิดาในฟาโรห์ทาเคลอตที่ 2 กับพระนางคาโรมัม เมริตมัตที่ 2 จึงทำให้เจ้าชายนิมลอตทรงจะเป็นพระอัยกาของพระราชโอรส-ธิดา และฟาโรห์ทาเคลอตที่ 2 จะได้เป็นรัชทายาท เมื่อเจ้าชายนิมลอตสิ้นพระชนม์ในปีที่สิบเอ็ดแห่งการครองราชย์ของฟาโรห์ทาเคลอตที่ 2[5] ก็เกิดการแย่งชิงการสืบสันตติวงศ์ขึ้น โดยฟาโรห์ทาเคลอตที่ 2 ทรงเลือกเจ้าชายโอซอร์คอนเป็นรัชทายาท แต่ฮาร์ซิเอเซ พระนัดดาของหัวหน้านักบวชไม่เห็นด้วย จึงได้เข้ายึดเมืองธีบส์ แต่เจ้าชายโอซอร์คอนก็ทรงสามารถเอาชนะการก่อกบฏได้ จึงความสงบสุขเป็นระยะเวลาเวลาสี่ปี ในปีที่ 15 แห่งการครองราชย์ของฟาโรห์ทาเคลอตที่ 2 ได้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้น ความขัดแย้งดังกล่าวกินระยะเวลาเกือบสิบปี และหลังจากนั้นอีกสองปีแห่งความสงบสุข ธีบส์ได้ก็การก่อกบฏขึ้นอีกครั้ง แต่ฟาโรห์ทาเคลอตที่ 2 เสด็จสวรรคตไปก่อนหน้าที่ความขัดแย้งครั้งใหม่นี้จะสงบลง และด้วยเจ้าชายโอซอร์คอน ซึ่งประทับอยู่ไกลจากเมืองทานิส พระอนุชาของพระองค์ คือ ฟาโรห์โชเชงค์ที่ 3 จึงทรงเข้ามายึดอำนาจเสียก่อน ถึงแม้ว่าจะช่วยในการแก้ไขความขัดแย้งกับธีบส์ เนื่องจากการยอมรับให้ฟาโรห์โชเชงค์ที่ 3 เป็นฟาโรห์ ความขัดแย้งครั้งใหม่จึงเริ่มต้นขึ้น แทนที่จะเป็นความขัดแย้งระหว่างราชวงศ์ แต่เป็นความขัดแย้งภายในราชวงศ์แทน ทำให้เจ้าชายเปดูบาสติสจึงทรงประกาศพระองค์ขึ้นเป็นฟาโรห์และครองราชย์ในเมืองลีออนโทโพลิสในช่วงรัชสมัยฟาโรห์โชเชงค์ที่ 3[5] ในขณะที่เจ้าชายโอซอร์คอนทรงถูกแย่งชิงพระราชบัลลังก์โดยฟาโรห์โชเชงค์ที่ 3 ซึ่งเป็นพระอนุชาของพระองค์ ฟาโรห์โชเชงค์ได้แต่งตั้งพระองค์ให้เป็นมหาปุโรหิตแห่งอามุนอีกครั้ง เนื่องจากฮาร์ซิเอเซจากกบฏธีบส์ข้างต้นได้สูญหายไปในปีที่ 29 แห่งการครองราชย์ของฟาโรห์โชเชงค์ที่ 3 เจ้าชายโอซอร์คอนจึงทรงปกครองอียิปต์บนในฐานะมหาปุโรหิตแห่งอามุน ในขณะเดียวกัน ฟาโรห์โชเชงค์ที่ 3 ก็ทรงมีพระราชอำนาจมากกว่าผู้ปกครองในเมืองลีออนโทโพลิส เมื่อถึงตอนนั้นฟาโรห์เปดูบาสต์และฟาโรห์ยูพุดที่ 1 ซึ่งเป็นพระราชโอรสที่ทรงแต่งตั้งขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการร่วมกับพระองค์ได้สวรรคตแล้วในปีเดียวกัน (804 ปีก่อนคริสตกาล) ทำให้ฟาโรห์โชเชงค์ที่ 6 ทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากฟาโรห์เปดูบาสต์[1] แต่ไม่นาน เมื่อเจ้าชายโอซอร์คอนทรงสืบพระราชสมบัติในอีกหกปีต่อมาเป็นฟาโรห์โอซอร์คอนที่ 3[6] ซึ่งขึ้นครองราชย์ในช่วงปลายรัชสมัยของฟาโรห์โชเชงค์ที่ 3 โดยที่เมืองเฮราคลีโอโพลิส ฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่ยี่สิบสองพระนามว่า โชเชงค์ที่ 4 ยังคงทรงมีพระราชอำนาจอยู่ประมาณ 766 ปีก่อนคริสตกาล อย่างไรก็ตามฟาโรห์โอซอร์คอนที่ 3 ได้แต่งตั้งให้เจ้าชายทาเคลอต ซึ่งเป็นพระราชโอรสพระองค์โตให้กินเมืองเฮราคลีโอโพลิส และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้พระองค์เป็นมหาปุโรหิตแห่งอามุนในเวลาเดียวกัน เป็นผลให้บทบาทของราชวงศ์ที่ยี่สิบสองในพื้นที่เมืองธีบส์ลดลงอย่างมาก เมื่อฟาโรห์โอซอร์คอนที่ 3 เสด็จสวรรต ฟาโรห์ทาเคลอตที่ทรงเคยเป็นผู้สำเร็จราชการร่วมกับพระราชบิดา[1] จึงกลายมาเป็นผู้ปกครองเพียงพระองค์เดียว[5] ฟาโรห์ทาเคลอตที่ 3 ได้ทรงละทิ้งตำแหน่งมหาปุโรหิต เมื่อพระองค์ทรงขึ้นเป็นฟาโรห์ และเจ้าหญิงเชเพนเวเพตที่ 1 ซึ่งเป็นพระขนิษฐาของพระองค์ดูเหมือนว่าจะรับช่วงต่อบทบาทนั้นและทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสาวิกาอันศักดิ์สิทธิ์แห่งอามุน เป็นผลให้พระองค์ทรงปกครองภูมิภาคธีบส์ร่วมกับพระเชษฐาของพระองค์ และฟาโรห์ทาเคลอตที่ 3 ทรงยังยอมสละการปกครองเฮราคลีโอโปลิสให้กับเพฟทจาอูอาวิบาสเทตที่สมรสกับพระราชธิดาของฟาโรห์รุดอามุน ซึ่งเป็นพระอนุชาของฟาโรห์ทาเคลอตที่ 3 และทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์ แต่หลังจากนั้นไม่นาน ฟาโรห์ยูพุดที่ 2 (หรือที่รู้จักในพระนาม ไอนิ) ก็ทรงขึ้นครองพระราชบัลลังก์ต่อ ในรัชสมัยของพระองค์ ภูมิภาคนี้เกิดความแตกแยกมากขึ้นอีกครั้ง เนื่องจากเพฟทจาอูอาวิบาสเทตและนิมลอต ผู้รั้งตำแหน่งผู้ปกครองเมืองเฮอร์โมโพลิสได้แต่งตั้งตนเองขึ้นเป็นฟาโรห์ ทำให้ฟาโรห์รุดอามุนและฟาโรห์ยูพุดที่ 2 ทรงขึ้นครองราชย์เหนือเฉพาะเมืองธีบส์ในช่วงปลายของราชวงศ์ที่ยี่สิบสามเท่านั้น ในขณะที่ กษัตริย์พิอังค์แห่งเนปาตาทรงเข้ามายุติแตกแยกนี้ ซึ่งเรียกว่า "อนาธิปไตยแห่งลิเบีย"[5] รายพระนามฟาโรห์
เพิ่มเติม
อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia