ตำบลแม่หลอง
แม่หลอง หรือชื่อเดิมคือ "ตำบลสบโขง"[2][3] เป็นตำบล 1 ใน 6 ของอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นตำบลที่เปลี่ยนแปลงชื่อล่าสุดในประเทศไทย ในวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2565 พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงชันและในเขตป่าสงวนแห่งชาติ พื้นที่ป่าตำบลแม่หลองยังคงสภาพความสมบูรณ์ซึ่งเป็นป่าต้นน้ำพื้นที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,200 เมตร มีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติสำคัญ ได้แก่ น้ำตกแม่หลอง น้ำตกวังควายเผือก น้ำตกตะกอคะ สถานีเกษตรพื้นที่สูงดอยแบแล วัดพระธาตุหนองสระ ที่ตั้งและอาณาเขตตำบลแม่หลองมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงดังนี้
ประวัติเดิมตำบลแม่หลองเป็นส่วนหนึ่งของตำบลยางเปียง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ทั้งหมด ต่อมาในวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2532 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยให้แยกหมู่บ้านหมู่ที่ 7–15, 18 รวมทั้งหมด 10 หมู่บ้านออกมาจากการปกครองของตำบลยางเปียงรวมตั้งเป็นตำบลสบโขง[4] เป็นตำบลลำดับที่ 5 ของอำเภออมก๋อย ในวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2565 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยให้เปลี่ยนแปลงชื่อตำบลสบโขง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นตำบลแม่หลอง[2][3] สำหรับเหตุผลในการขอยกเลิกและเปลี่ยนแปลงชื่อ"ตำบลสบโขง" เป็น "ตำบลแม่หลอง" ในอดีตการตั้งชื่อตำบลที่แยกออกจากตำบลยางเปียงในสมัยนั้น ได้มีการเสนอชื่อตำบลออกเป็น 2 ชื่อได้แก่ 1.ตำบลแม่หลอง โดยเสนอมาจากชื่อหมู่บ้านที่ซ้ำกัน ของบ้านแม่หลองหลวงและบ้านแม่หลองน้อยและมีลำห้วยแม่หลอง เป็นแม่น้ำสายใหญ่สายหนึ่งในตำบล และ 2.ตำบลสบโขง โดยเสนอมาจากเป็นตำบลที่มีห้วยน้ำจากบ้านแม่โขง หมู่ที่ 12 ตำบลอมก๋อย มาบรรจบกันหรือพบกันในตำบล กลายเป็นลำห้วยสบโขงไหลลงแม่น้ำเงา มติประชุมคราวนั้นได้เลือกชื่อ ตำบลสบโขงเพราะมีสำเนียง ดูไพเราะกว่า พูดออกเสียงง่ายมากกว่าคำว่าตำบลแม่หลอง ซึ่งตำบลสบโขง มีเขตการปกครองจำนวน 12 หมู่บ้าน แต่ไม่มีหมู่บ้านใดที่เกี่ยวพ้องกับคำว่า "สบโขง" รวมทั้งไม่มีความเกี่ยวพ้องกับสถานที่สำคัญ ลักษณะภูมิประเทศ ประวัติศาสตร์ และอัตลักษณ์ที่สำคัญที่บ่งบอกถึงสถานที่ตั้งของตำบลในปัจจุบัน สำหรับชื่อเรียก "ตำบลสบโขง" มีชื่อพ้องกับบ้านสบโขง หมู่ 10 ตำบลแม่สวด อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งมีพื้นที่ติดต่อกับตำบลสบโขง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ด้านทิศตะวันตก ส่งผลทำให้เกิดการประสานงานผิดพลาดบ่อยครั้ง และเกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับด้านข่าวสารเผยแพร่ในเรื่องของอุทกภัยที่ส่งผลกระทบต่อบ้านสบโขง หมู่ที่ 10 ตำบลแม่สวด อำเภอสบเมยมาตลอด ทั้งนี้ในการเปลี่ยนแปลงชื่อตำบล เพื่อแสดงถึงความเป็นมาทางภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ดั้งเดิม คือ ในพื้นที่ตำบล มีลำน้ำแม่หลอง เป็นสายน้ำสายหลักที่หล่อเลี้ยงผู้คนในตำบลมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สามารถพิสูจน์ได้จากเอกสารบุคคล หรือสถานที่ และชื่อ "ตำบลแม่หลอง" ไม่ซ้ำซ้อนกับหมู่บ้าน ตำบล อำเภออื่น ชื่อ "ตำบลแม่หลอง" ที่เสนอขอเปลี่ยนแปลงไม่ขัดต่อวัฒนธรรมและศีลธรรมอันดีของประชาชนและเป็นการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี โดยในพื้นที่ตำบล มีหมู่บ้านที่ปรากฏชื่อหมู่บ้านที่มีความเกี่ยวพ้องกับสถานที่สำคัญ ลักษณะภูมิประเทศ ประวัติศาสตร์ และอัตลักษณ์ที่สำคัญที่บ่งบอกถึงสถานที่ตั้งของตำบลในปัจจุบัน จำนวน 3 หมู่บ้าน คือ หมู่บ้านแม่หลองใต้ หมู่ที่ 1, หมู่บ้านแม่หลองน้อย หมู่ที่ 2 และ หมู่บ้านแม่หลองหลวง หมู่ที่ 3 ด้วย หลังจากเปลี่ยนตำบลชื่อได้เพียง 10 เดือน ในวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2566 ชื่อขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในตำบลแม่หลองยังคงมีชื่อเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลสบโขง จึงได้เสนอต่อทางราชการว่าสมควรเปลี่ยนตามชื่อตำบล เพื่อความเหมาะสม และเพื่อป้องกันความสับสนของประชาชนในการติดต่อราชการ และประกาศเปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2566 เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลแม่หลอง[5] การแบ่งเขตการปกครองการปกครองส่วนภูมิภาคตำบลแม่หลองแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 12 หมู่บ้าน ได้แก่
ชื่อหมู่บ้านในตำบลแม่หลองนี้อ้างอิงตามกรมการปกครอง เนื่องจากเป็นชื่อหมู่บ้านที่บัญญัติไว้ทางการในทะเบียนปกครอง การปกครองส่วนท้องถิ่นท้องที่ตำบลแม่หลอง มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพียงแห่งเดียว คือ องค์การบริหารส่วนตำบลแม่หลอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่หลองทั้งหมด ซึ่งเป็นสภาตำบลสบโขงที่จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2532[4] และยกฐานะขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลสบโขงในวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539[6] และเปลี่ยนชื่อเป็น "องค์การบริหารส่วนตำบลแม่หลอง" เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2566[7] ประชากรพื้นที่ตำบลแม่หลองประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 12 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 8,313 คน แบ่งเป็นชาย 4,303 คน หญิง 4,015 คน (เดือนธันวาคม 2564)[8] เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับ 5 จาก 6 ตำบลในอำเภออมก๋อย
* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia