ตำบลช่อแล
ช่อแล เป็นตำบลในอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่ทั้งตำบลอยู่ในเทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา เป็นที่ตั้งของเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล[2][3][4] และมีพื้นที่บางส่วนอยู่ในอุทยานแห่งชาติศรีลานนา[5] ที่ตั้งและอาณาเขตตำบลช่อแลมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้[6]
![]() ประวัติช่อแล ก่อตั้งเป็นหมู่บ้านเมื่อ พ.ศ. 2317 มีความเกี่ยวข้องปรากฏในตำนานเมืองแกน มีการสันนิษฐานว่าบริเวณหมู่บ้านช่อแลสมัยก่อนเป็นชุมชนของชาวลัวะมาก่อน ซึ่งปัจจุบันได้ผสมผสานกลมกลืนกับชาวพื้นเมืองไปแล้ว คนกลุ่มแรกที่มาเริ่มก่อตั้งหมู่บ้านเป็นกลุ่มคนจากหลากหลายชาติพันธุ์ ทั้งชาวลัวะ ชาวไทเขิน และชาวไทลื้อ ที่ได้เดินทางอพยพมารวมตัวกันสร้างหมู่บ้านขึ้นบริเวณริมลำน้ำแม่ปิง และลำน้ำแม่งัด โดยชื่อ ช่อแล แบ่งเป็น 2 นัยตามคำบอกเล่าและหลักฐานที่ศึกษาไว้ นัยแรก สันนิษฐานว่าครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาประทับที่พระธาตุแม่หอพระ และได้ทอดพระเนตรไปทางทิศเหนือเห็นต้นยางสูงงาม จึงให้พระมหาเถระเอาเกศาไปบรรจุไว้ ณ ที่ตรงและให้ชื่อว่า บ้านยางแล ต่อมาจึงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น ช่อแล นัยสอง สันนิษฐานว่า คำว่า ช่อแล เป็นชื่อเรียกของพรรณไม้ชนิดหนึ่งมีดอกเป็นพวงใช้ต้มและแกง ชาวพื้นเมืองจึงเรียกว่า ชะแล หรือ สะแล[7] พ.ศ. 2511 พ.ต.อ.นิรันดร ชัยนาม ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับกำนันตำบลช่อแล กำนันตำบลอินทขิล ผู้ใหญ่บ้านและผู้นำชุมชน ได้พิจารณาพื้นที่ทั้งตำบลช่อแล และบางส่วนของตำบลอินทขิล เป็นพื้นที่ตั้งของชุมชน ตลาด โรงสี สถานีบ่มใบยา จึงตั้งเป็น สุขาภิบาลเมืองแกนพัฒนา[8] และต่อมาในปี พ.ศ. 2542 สุขาภิบาลเมืองแกนพัฒนาได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นเทศบาลตำบล[9] ด้วยผลของกฎหมาย พ.ศ. 2549 เขตตำบลช่อแล และบางส่วนของตำบลอินทขิล ที่อยู่ในเขตเทศบาลตำบลเมืองแกนพัฒนา มี 16 หมู่บ้าน พื้นที่ 24.00 ตารางกิโลเมตร ประชากร 13,766 คน และ 5,074 ครัวเรือน[10] รายได้จริงโดยไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณ 2549 จำนวน 11,034,554 บาท ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลเมืองแกนพัฒนา นายอำเภอแม่แตง และนายวิชัย ศรีขวัญ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ให้ความเห็นชอบในการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลเมือง และได้รับการจัดตั้งเป็น เทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา ในปี พ.ศ. 2550[11] การแบ่งเขตการปกครองการปกครองส่วนภูมิภาคพื้นที่ตำบลช่อแลประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 6 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 4,139 คน แบ่งเป็นชาย 2,547 คน หญิง 2,501 คน (เดือนธันวาคม 2566)[12] เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรมากเป็นลำดับที่ 12 ในอำเภอแม่แตง
* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia