ตำบลบ่อสลี
ตำบลบ่อสลีตั้งอยู่ในอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ห่างจากเวียงเชียงใหม่ไปทางทิศใต้ประมาณ 160 กิโลเมตร ประวัติศาสตร์เดิมทีอยู่ในเขตตำบลบ่อหลวง ทางผู้นำหมู่บ้านและประชาชนเห็นควรให้แยกหมู่บ้านออกจากตำบลบ่อหลวง เมื่อปี พ.ศ. 2518 เพื่อที่จัดตั้งเป็นตำบล ทางผู้นำชุมชน ผู้สูงอายุและประชาชน ได้เสนอ ให้ใช้ชื่อว่า "ตำบลบ่อสลี" โดยได้ถือเอาบ่อน้ำออกจากใต้ต้นโพธิ์ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "ต้นสะหลี" ตั้งอยู่ที่บ้านบ่อสลี หมู่ที่ 6 ใช้สำหรับอุปโภค-บริโภค ในชีวิตประจำวัน และได้จัดตั้งเป็นตำบลบ่อสลี ตั้งแต่ บัดนั้นมาจนถึงปัจจุบัน[1] ภูมิศาสตร์เป็นพื้นที่ราบ ที่ราบลุ่ม และที่ราบสูง มีน้ำท่วมบางครั้งในฤดูฝน และมีลำห้วยหลายสายที่ใช้ในการทำเกษตรของหมู่บ้านที่มีลำห้วยไหลผ่าน แต่เนื่องจากในฤดูแล้งน้ำในลำห้วยเหล่านี้จะแห้งแล้งไม่เพียงพอกับการทำการเกษตรในฤดูแล้ว เพราะพื้นที่ทำการเกษตรมีมาก อ่างเก็บน้ำมีจำนวนน้อย ตั้งอยู่บนพื้นที่สูง ห่างจากตัวอำเภอฮอด ประมาณ 70 กม.อากาศหนาวเย็นตลอดปี มีป่าสน มีภูเขาสลับซับซ้อน และมีทิทัศน์ที่สวยงาม มีการส่งเสริมปลูกพืชเมืองหนาวจากโครงการหลวง มีต้นไม้ทรงปลูก (ต้นสนคู่) มีวิถีชิวิตชาวบ้านแม่โถเป็นชาวเขาเผ่าม้ง และเผ่ากระเหรี่ยง มีสัญลักษณ์สถานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเคยเสด็จทรงงานมาก่อน สภาพทั่วไปเป็นภูเขาสูงชัน สลับซับซ้อน ทอดยาวตามแนวเหนือ/ใต้ อยู่แนวเดียวกับเทือกเขาดอยอินทนนท์ มีความสูงตั้งแต่ 400 -1,699 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ในส่วนของสภาพภูมิอากาศนั้น แบ่งได้เป็น 3 ฤดู คือฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม-เมษายน ฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม-กันยายน และฤดูหนาว ระหว่างเดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นฤดูที่เหมาะสำหรับการเดินทาง เข้าไปท่องเที่ยวมากที่สุด เพราะอากาศจะมีความหนาวเย็น อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี สูงสุด 27 องศาC และต่ำสุดประมาณ 8 องศาC[2] พื้นที่ของอบต.บ่อสลีมีเนื้อที่ประมาณ 262.50 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 30,041 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลต่าง ๆ ดังนี้
การเมืองการปกครองการปกครองท้องที่ตำบลบ่อสลีแบ่งออกเป็น 10 หมู่บ้าน ได้แก่[3]
ประชากร
เศรษฐกิจอาชีพหลักที่สำคัญของประชากรในตำบลคือเกษตรกรรม เช่น ทำสวน ส่วนใหญ่เป็นสวนมะเขือเทศ ฟักทอง ทำไร่ เช่น หอมแดง กระเทียม พริก ถั่วเหลือง ทำนา ได้แก่ ข้าวเหนียวนาปี ข้าวไร่ ทำพืชผักสวนครัว จะปลูกเพื่อบริโภคภายในครัวเรือน อาชีพเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ สุกร เป็ด ไก่ โค กระบือ นอกจากนี้ยังมีอาชีพเสริม ได้แก่ ทอผ้า จักสาน อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia