ตำบลสบเปิง
สบเปิง เป็นตำบลในอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ มีลักษณะเป็นภูเขาสูง มีพื้นที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย[2] โดยมีสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ คือ น้ำตกตาดเปา น้ำตกแม่เปิง และน้ำตกหมอกฟ้า ที่ตั้งและอาณาเขตตำบลสบเปิงมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้[3]
ประวัติสบเปิง เป็นตำบลของอำเภอแม่แตง ประกอบด้วยชนเผ่าพื้นเมืองและชาวเขาหลายเผ่า เช่น ไทยใหญ่, ม้ง, ปากะญอ และคนเมือง โดยเฉพาะชนเผ่าไทยใหญ่หรือเงี้ยวมีมากกว่าเผ่าอื่น ได้ประกอบอาชีพตัดไม้ หาของป่า และล่าสัตว์ เพาะปลูกข้าวไว้บริโภคในครอบครัวเป็นหลัก ซึ่งเวลานี้พื้นที่ผืนนี้ล้วนแต่มีความอุดม สมบูรณ์ด้วยป่าไม้ขนาดใหญ่และสัตว์ป่านานาพันธ์ุ โดยชื่อ สบเปิง มาจากคำว่า สบ หมายถึง การพบกัน การบรรจบ ปลายสุดแม่น้ำหรือปากน้ำ ซึ่งเป็นจุดบรรจบระหว่างลำห้วยแม่เปิงและลำน้ำฮาว[4] ปี พ.ศ. 2495 นายอุดม บุญยประสพ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมกับพลเอกเดช เดชประดิยุทธ ลงนามแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศแยก 5 หมู่บ้านของตำบลสบเปิง ได้แก่ หมู่ 10 บ้านป่ายางหนาด, หมู่ 11 บ้านปางมะกล้วย, หมู่ 12 บ้านผาเด็ง, หมู่ 13 บ้านป่าแป๋ และหมู่ 14 บ้านแม่เลา ไปตั้งเป็น ตำบลป่าแป๋[5] ปี พ.ศ. 2518 นายอาษา เมฆสวรรค์ และนายชลอ ธรรมศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมกับศาสตราจารย์พิเศษคนึง ฦาไชย รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศแยก 4 หมู่บ้านของตำบลสบเปิง ได้แก่ หมู่ 10 บ้านเมืองก๋าย, หมู่ 11 บ้านเหล่า, หมู่ 12 บ้านก๋ายน้อย และหมู่ 13 บ้านออบ ไปตั้งเป็น ตำบลเมืองก๋าย[6] การแบ่งเขตการปกครองการปกครองส่วนภูมิภาคพื้นที่ตำบลสบเปิงประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 13 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 7,576 คน แบ่งเป็นชาย 3,755 คน หญิง 3,821 คน (เดือนธันวาคม 2566)[7] เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับ 3 ในอำเภอแม่แตง
* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
การปกครองส่วนท้องถิ่นตำบลสบเปิงเดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลสบเปิง ในปี พ.ศ. 2516[15] ต่อมาปี พ.ศ. 2538 สภาตำบลสบเปิงมี 13 หมู่บ้าน พื้นที่ 108.86 ตารางกิโลเมตร ประชากร 7,683 คน และ 2,173 ครัวเรือน[16] ปี พ.ศ. 2539 กระทรวงมหาดไทยจึงพิจารณาให้สภาตำบลสบเปิงอยู่ในเงื่อนไขที่จะจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้ จึงได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลสบเปิง[17] อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia