ตำบลนาคอเรือ
นาคอเรือ เป็นตำบลในอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่เป็นป่าและภูเขาสูง ส่วนใหญ่อยู่ในเขตน้ำท่วมของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต เขตนิคมสหกรณ์แม่แจ่ม และเขตอุทยานแห่งชาติออบหลวง[1] ที่ตั้งและอาณาเขตตำบลนาคอเรือมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้[2]
ประวัตินาคอเรือ เดิมเป็นพื้นที่หมู่ 4 ของตำบลบ้านแอ่น อำเภอฮอด เป็นพื้นที่กำหนดให้เป็นเขตน้ำท่วมจากโครงการชลประทานเขื่อนภูมิพล[3] พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรได้เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์การก่อสร้าง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2504 ทั้งนี้ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดเขื่อน เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2507 หลังจากเขื่อนภูมิพลในเขตอำเภอสามเงา จังหวัดตาก สร้างเสร็จ เมื่อกักเก็บน้ำทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำปิงสูงขึ้น กลายเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินของราษฎรในตำบลบ้านแอ่น ตำบลท่าเดื่อ ตำบลมืดกา และตำบลบ้านตาล เขตอำเภอฮอดถูกน้ำท่วม กรมประชาสงเคราะห์ได้ดำเนินการจัดตั้งนิคมสร้างตนเองเขื่อนภูมิพลขึ้นไปปี พ.ศ. 2506[4] ช่วยเหลือราษฎรประมาณ 2,400 ครอบครัว พ.ต.อ.นิรันดร ชัยนาม ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ได้รับแจ้งจากทางประชาชนในตำบลบ้านแอ่น ตำบลท่าเดื่อ ตำบลมืดกา ตำบลดอยเต่า การคมนาคมติดต่อกับอำเภอฮอดเป็นไปด้วยความยากลำบาก หากจะเดินทางโดยรถยนต์ซึ่งยังมีไม่มาก ต้องนั่งรถจากตำบลดอยเต่าไปบ้านแม่ตืน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เข้าไปในตัวจังหวัดเชียงใหม่ แล้วย้อนกลับมายังอำเภอฮอด ทำให้เสียเวลาในการเดินทางมาก หากเดินทางด้วยทางเท้าต้องค้างแรมระหว่างทาง การติดต่อประสานงานระหว่างอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน จึงเป็นไปอย่างเชื่องช้า เป็นปัญหาด้านการปกครอง ไม่สามารถบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับราษฎรได้อย่างทั่วถึง สภาพของหมู่บ้านอยู่กระจัดกระจายตามสองฝั่งแม่น้ำปิง ในปี พ.ศ. 2514 ทางราชการได้พิจารณาแล้วเห็นว่า พื้นที่ 4 ตำบลดังกล่าวอยู่ห่างไกลอำเภอฮอด มีชุมชนหนาแน่น เพื่อสะดวกในด้านการปกครอง นายพ่วง สุวรรณรัฐ ปลัดกระทรวงมหาดไทย จึงได้ประกาศแยกตำบลบ้านแอ่น ตำบลท่าเดื่อ ตำบลมืดกา ตำบลดอยเต่า ขึ้นเป็น กิ่งอำเภอดอยเต่า ให้อยู่ในความปกครองของอำเภอฮอด เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2515[5] ต่อมา พ.ศ. 2519 หมู่บ้านด้านทิศตะวันตกของแม่น้ำปิง ของตำบลบ้านแอ่น ได้แก่ หมู่ 3 บ้านหลังท่อ, หมู่ 4 บ้านนาคอเรือ, หมู่ 6 บ้านห้วยหินดำ, หมู่ 7 บ้านห้วยฝาง, หมู่ 8 บ้านแม่ป่าไผ่ และหมู่ 9 บ้านแม่่งูด รวม 6 หมู่บ้าน ได้แยกออกเป็น ตำบลนาคอเรือ[6] ต่อมากิ่งอำเภอดอยเต่า มีประชากรเพิ่มมากขึ้น มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา สาธารณูปโภค และการคมนาคม กระทรวงมหาดไทยมีพระราชกฤษฎีกายกฐานะเป็น อำเภอดอยเต่า เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2522[7] ขณะจัดตั้งอำเภอได้เพียง 2 ปี เขตตำบลนาคอเรือ ของอำเภอดอยเต่า แจ้งแก่ทางราชการว่าประชาชนตำบลนาคอเรือ ไปติดต่อราชการกับอำเภอฮอดที่มีระยะทางเพียง 19 กิโลเมตร สะดวกกว่าไปติดต่อกับอำเภอดอยเต่าที่มีระยะทางมากถึง 33 กิโลเมตร ในปี พ.ศ. 2525 จึงโอนพื้นที่ตำบลนาคอเรือ มาขึ้นกับอำเภอฮอด[8] การแบ่งเขตการปกครองการปกครองส่วนภูมิภาคพื้นที่ตำบลนาคอเรือประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 10 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 4,661 คน แบ่งเป็นชาย 2,305 คน หญิง 2,356 คน (เดือนธันวาคม 2566)[9] เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับ 5 ในอำเภอฮอด
* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
การปกครองส่วนท้องถิ่นตำบลนาคอเรือเดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลนาคอเรือ ต่อมาปี พ.ศ. 2538 สภาตำบลนาคอเรือมี 10 หมู่บ้าน พื้นที่ 318.00 ตารางกิโลเมตร ประชากร 4,335 คน และ 1,091 ครัวเรือน[17] ปี พ.ศ. 2539 กระทรวงมหาดไทยจึงพิจารณาให้สภาตำบลนาคอเรืออยู่ในเงื่อนไขที่จะจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้ จึงได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลนาคอเรือ[18] อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia