ตำบลเขื่อนผาก
เขื่อนผาก เป็นตำบลในอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่เป็นลักษณะเนินเขาและที่ราบ มีแม่น้ำและลำห้วยสำคัญ ได้แก่ ลำห้วยแม่แจ๋ ลำน้ำแม่งัด และลำน้ำแม่ละงอง บางส่วนอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่งัด[2] และเขตนิคมสหกรณ์พร้าว[3] ที่ตั้งและอาณาเขตตำบลเขื่อนผาก มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้[4]
ประวัติเดิมพื้นที่เป็นหมู่บ้านหมู่ 8 ของตำบลน้ำแพร่ อำเภอพร้าว ต่อมาปี พ.ศ. 2490 ขุนไตรกิตยานุกูล (อัมพร ไตรกิตยานุกูล) ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมกับร้อยเอกพิพัฒน์ พิพัฒน์สุรการ รองปลัดกระทรวงมหาดไทยลงนามแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศแยก 2 หมู่บ้านของตำบลแม่แวน ได้แก่ หมู่ 8 บ้านแพะพัฒนา, หมู่ 9 บ้านทรายมูล และประกาศแยก 3 หมู่บ้านของตำบลน้ำแพร่ ได้แก่ หมู่ 8 บ้านเขื่อนผาก, หมู่ 9 บ้านห้วยบงเหนือ, หมู่ 10 บ้านห้วยบงใต้ รวม 5 หมู่บ้าน มาตั้งเป็น ตำบลเขื่อนผาก[5] พ.ศ. 2520 นายชลอ ธรรมศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมกับจ. เทพหัสดิน ณ อยุธยา รองปลัดกระทรวงมหาดไทยลงนามแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศโอนพื้นที่หมู่ 11 บ้านสหกรณ์นิคมแปลง 2 ของตำบลป่าตุ้ม มาตั้งเป็นพื้นที่หมู่ 6 บ้านสหกรณ์นิคมแปลง 2 ของตำบลเขื่อนผาก[6] การแบ่งเขตการปกครองการปกครองส่วนภูมิภาคพื้นที่ตำบลเขื่อนผากประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 10 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 4,524 คน แบ่งเป็นชาย 2,221 คน หญิง 2,303 คน (เดือนธันวาคม 2566)[7] เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรมากเป็นลำดับ 5 ในอำเภอพร้าว
* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
การปกครองส่วนท้องถิ่นตำบลเขื่อนผากเดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลเขื่อนผาก ในปี พ.ศ. 2516[15] ต่อมาปี พ.ศ. 2538 สภาตำบลเขื่อนผากมี 10 หมู่บ้าน พื้นที่ 33.20 ตารางกิโลเมตร ประชากร 5,159 คน และ 1,604 ครัวเรือน[16] ปี พ.ศ. 2539 กระทรวงมหาดไทยจึงพิจารณาให้สภาตำบลเขื่อนผากอยู่ในเงื่อนไขที่จะจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้ จึงได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลเขื่อนผาก[17] อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia