ตำบลป่าตุ้ม
ป่าตุ้ม เป็นตำบลในอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่เป็นภูเขาและที่ลาดเชิงเขา บางส่วนอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่งัด[2] และเขตนิคมสหกรณ์พร้าว[3] ที่ตั้งและอาณาเขตตำบลป่าตุ้ม มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้[4]
ประวัติป่าตุ้ม เป็นตำบลเก่าแก่ของอำเภอพร้าว แรกตั้งมี 3 หมู่บ้านแรก คือ หมู่บ้านทุ่งกู่ ทุ่งห้า บ้านป่าตุ้ม และบ้านต้นรุง แล้วได้แยกออกไปอีกเป็น 9 หมู่บ้าน โดยชื่อ ป่าตุ้ม มาจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้ที่มีไม้ตุ้มขึ้นอยู่หนาแน่นในแถบนี้ "ต้นตุ้ม" คือไม้เนื้ออ่อนชนิดหนึ่ง ลำต้นมีเกล็ด เนื้อไม้จะมีสี เหลืองทอง ส่วนใบคล้ายกับใบยอ แต่ใหญ่กว่า ส่วนโคนใบจะมีกลีบหุ้ม มีดอกเป็นปุยคล้ายเงาะ ผู้ปกครองตำบลป่าตุ้ม คือ ท้าวลือสอน[5] ปี พ.ศ. 2483 เกิดสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กระทรวงมหาดไทยจึงยุบตำบลป่าตุ้มเพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณ โดยโอนหมู่บ้านไปขึ้นกับตำบลเวียง จนกระทั่งได้รับการยกฐานะเป็นตำบลขึ้นอีกครั้ง โดยแยกหมู่ 12 บ้านสันคะมอก, หมู่ 13 บ้านทุ่งกู่, หมู่ 14 บ้านต้นรุง, หมู่ 15 บ้านต้นกอก, หมู่ 16 บ้านทุ่งห้า, หมู่ 17 บ้านสันถนน, หมู่ 18 บ้านห้วยกุ, หมู่ 19 บ้านป่าตุ้มโห้ง และหมู่ 20 บ้านป่าตุ้มดอน รวม 9 หมู่บ้าน ของตำบลเวียง ตั้งเป็นตำบลป่าตุ้ม[6] ในปี พ.ศ. 2490 อีกครั้ง พ.ศ. 2520 นายชลอ ธรรมศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมกับจ. เทพหัสดิน ณ อยุธยา รองปลัดกระทรวงมหาดไทยลงนามแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศโอนพื้นที่หมู่ 11 บ้านสหกรณ์นิคมแปลง 2 ของตำบลป่าตุ้ม มาตั้งเป็นพื้นที่หมู่ 6 บ้านสหกรณ์นิคมแปลง 2 ของตำบลเขื่อนผาก[7] ประชากรพื้นที่ตำบลป่าตุ้มประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 12 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 5,215 คน แบ่งเป็นชาย 2,550 คน หญิง 2,665 คน (เดือนธันวาคม 2566)[8] เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับ 3 ในอำเภอพร้าว
*ใน พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
การปกครองส่วนท้องถิ่นตำบลป่าตุ้มเดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลป่าตุ้ม ในปี พ.ศ. 2516[16] ต่อมาปี พ.ศ. 2538 สภาตำบลป่าตุ้มมี 12 หมู่บ้าน พื้นที่ 73.57 ตารางกิโลเมตร ประชากร 5,487 คน และ 1,573 ครัวเรือน[17] ปี พ.ศ. 2539 กระทรวงมหาดไทยจึงพิจารณาให้สภาตำบลป่าตุ้มอยู่ในเงื่อนไขที่จะจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้ จึงได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลป่าตุ้ม[18] ปี พ.ศ. 2551 เขตองค์การบริหารส่วนตำบลป่าตุ้มมี 12 หมู่บ้าน พื้นที่ 73.57 ตารางกิโลเมตร ประชากร 5,456 คน และ 1,834 ครัวเรือน มีรายได้จริงโดยไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ผ่านมา ตั้งแต่ 12,000,000 บาทขึ้นไป และได้รับความเห็นชอบจากราษฎร[19] พ.ศ. 2552 กระทรวงมหาดไทยจึงพิจารณาให้องค์การบริหารส่วนตำบลป่าตุ้มอยู่ในเงื่อนไขที่จะจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลได้ จึงได้รับการจัดตั้งเป็น เทศบาลตำบลป่าตุ้ม[20] อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia