ในประวัติศาสตร์อียิปต์โบราณ ราชวงศ์ เป็นกลุ่มผู้ปกครองที่มีชาติกำเนิดร่วมกัน โดยปกติแล้วผู้ปกครองแห่งอียิปต์จะแบ่งออกเป็นจำนวนสามสิบสามราชวงศ์ แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นเช่นนั้นเสมอไป โดยปกติแล้ว ราชวงศ์ดังกล่าวจะถูกจัดกลุ่มโดยนักวิชาการสมัยใหม่เป็น "ช่วงสมัยราชอาณาจักร" และ "ช่วงสมัยระหว่างกลาง"
การแบ่งกลุ่มฟาโรห์ออกเป็นสามสิบราชวงศ์นั้นมาจากแมนิโธ ซึ่งเป็นนักบวชชาวอียิปต์ในช่วงศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล ซึ่งหนังสือ แอกิปเทียกา นั้นน่าจะเขียนขึ้นในช่วงที่มีผู้ปกครองอียิปต์ที่พูดภาษากรีกหรือราชวงศ์ทอเลมี แต่คงหลงเหลืออยู่เพียงเศษเสี้ยวและบทสรุปเท่านั้น ชื่อของสองราชวงศ์สุดท้ายคือ ราชวงศ์ที่สามสิบเอ็ด ที่ปกครองในช่วงเวลาสั้นๆ และราชวงศ์ทอเลมีที่ปกครองอียิปต์ในช่วงเวลาที่ยาวนานกว่านั้นเป็นชื่อเรียกในช่วงเวลาภายหลัง
ถึงแม้ว่าจะมีการใช้กันอย่างแพร่หลายและมีประโยชน์ แต่ระบบการจัดกลุ่มนั้นก็ยังคงมีข้อบกพร่อง บางราชวงศ์ปกครองเพียงส่วนหนึ่งของอียิปต์และปกครองอยู่ในคาบเกี่ยวเวลาเดียวกันราชวงศ์อื่นในเมืองอื่น หรือราชวงศ์ที่เจ็ด ซึ่งอาจจะไม่มีอยู่เลย ส่วนราชวงศ์ที่สิบ ดูเหมือนจะเป็นการปกครองต่อของราชวงศ์ที่เก้า และอาจจะมีราชวงศ์ในบริเวณอียิปต์บนอีกหนึ่งหรือหลายราชวงศ์ ก่อนหน้าช่วงการปกครองของราชวงศ์ที่หนึ่ง แห่งอียิปต์
รายชื่อราชวงศ์ในประวัติศาสตร์อียิปต์โบราณ
ราชวงศ์ก่อนช่วงการปกครองของราชวงศ์ทอเลมีจำนวน 31 ราชวงศ์ตามระยะเวลาการปกครอง (ช่องละ 25 ปี),
[ q] แต่ละราชวงศ์จะปรากฏเป็นรูปกล่อง(หน่วย)สี สมัยช่วงต้นยุคราชวงศ์ต้นและสมัยสามราชอาณาจักรคือสีน้ำเงิน โดยสีที่เข้มกว่าหมายถึงเก่าแก่กว่า ช่วงสมัยระหว่างกลางคือสีแดง สีส้ม และสีเหลือง โปรดทราบว่าหลายราชวงศ์สามารถปกครองจากเมืองต่างๆ พร้อมกันได้ในช่วงสมัยระหว่างกลางและช่วงปลายของมัยราชอาณาจักรกลาง โดยช่วงเวลาการปกครองของราชวงศ์มักจะใกล้เคียงกันมาก ซึ่งด้านบนใช้ช่วงเวลาของเทมเพลตรายการราชวงศ์แห่งอียิปต์
เชิงอรรถ
อ้างอิง
↑ 1.0 1.1 1.2 Hratch Papazian (2015). "The State of Egypt in the 100th Dynasty" . ใน Peter Der Manuelian; Thomas Schneider (บ.ก.). Towards a New History for the Egyptian Old Kingdom: Perspectives on the Pyramid Age . Harvard Egyptological Studies. BRILL.
↑ Wilkinson, Toby (2010). "Timeline". The Rise and Fall of Ancient Egypt . New York: Random House. p. xiii. ISBN 9781408810026 . The system of dynasties devised in the third century B.C. is not without its problems—for example, the Sixth Dynasty is now recognized as being wholly spurious, while several dynasties are known to have ruled concurrently in different parts of Egypt...
↑ Flinders Petrie , A History of Egypt from the Earliest Times to the XVIth Dynasty (1897), pp. 114–15.
↑ Alan Gardiner , Egypt of the Pharaohs. An introduction , Oxford University Press, 1961, p. 112.
↑ William C. Hayes , in The Cambridge Ancient History , vol 1, part 2, 1971 (2008), Cambridge University Press, ISBN 0-521-07791-5 , p. 464.
↑ Nicolas Grimal , A History of Ancient Egypt , Oxford, Blackwell Books, 1992, p. 140.
↑ Jürgen von Beckerath, Handbuch der Ägyptischen Königsnamen , 2nd edition, Mainz, 1999, p. 74.
↑ Ryholt (1997) , p. 409
↑ Sekhaenre Yakbim on Egyphica.net
ผลงานอ้างอิง