ในทางคณิตศาสตร์ การทดสอบด้วยพจน์ที่ n เพื่อหาการลู่ออก (อังกฤษ : nth-term test for divergence) เป็นการทดสอบเพื่อหาการลู่ออก ของอนุกรมอนันต์ ที่เรียบง่าย
ถ้า
lim
n
→
∞
a
n
≠
0
{\displaystyle \lim _{n\to \infty }a_{n}\neq 0}
หรือถ้าไม่มีลิมิต แล้ว
∑
n
=
1
∞
a
n
{\displaystyle \sum _{n=1}^{\infty }a_{n}}
จะลู่ออก
ผู้เขียนหลายรายไม่ได้ตั้งชื่อการทดสอบนี้ไว้หรือใช้ชื่อที่สั้นกว่า [ 1]
เมื่อทดสอบว่าอนุกรมลู่เข้าหรือลู่ออก โดยทั่วไปการทดสอบนี้จะได้รับการใช้ก่อนเนื่องจากใช้งานง่าย
ในกรณีของการวิเคราะห์ p-แอดิก การทดสอบพจน์เป็นเงื่อนไขที่จำเป็นและเพียงพอสำหรับการลู่เข้าเนื่องมาจากอสมการสามเหลี่ยมอัลตราเมตริก ที่ไม่ใช่แบบอาร์คิมีดี
การใช้งาน
ไม่เหมือนกับการทดสอบการลู่เข้า อื่น ๆ ที่เข้มกว่า การทดสอบนโดยพจน์ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าอนุกรมนั้นลู่เข้า โดยเฉพาะบทกลับของการทดสอบนั้นไม่จริง สิ่งที่สามารถพูดได้คือ
ถ้า
lim
n
→
∞
a
n
=
0
{\displaystyle \lim _{n\to \infty }a_{n}=0}
แล้ว
∑
n
=
1
∞
a
n
{\displaystyle \sum _{n=1}^{\infty }a_{n}}
อาจลู่เข้าหรือไม่ก็ได้ อีกนัยหนึ่งคือถ้า
lim
n
→
∞
a
n
=
0
{\displaystyle \lim _{n\to \infty }a_{n}=0}
การทดสอบสรุปไม่ได้
อนุกรมฮาร์มอนิก เป็นตัวอย่างของอนุกรมลู่ออกซึ่งมีพจน์เข้าใกล้ศูนย์ในลิมิตเมื่อ
n
→
∞
{\displaystyle n\rightarrow \infty }
คลาสทั่วไปของอนุกรมพี
∑
n
=
1
∞
1
n
p
,
{\displaystyle \sum _{n=1}^{\infty }{\frac {1}{n^{p}}},}
ตัวอย่างผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ของการทดสอบ
หาก p ≤ 0 การทดสอบพจน์ที่ n บ่งบอกว่าอนุกรมลู่ออก
หาก 0 < p ≤ 1 การทดสอบพจน์ที่ n บ่งบอกว่าไม่มีข้อสรุป แต่อนุกรมนี้ลู่ออกจากการทดสอบปริพันธ์เพื่อหาการลู่เข้า
หาก 1 < p การทดสอบพจน์ที่ n จะไม่มีข้อสรุป แต่อนุกรมนี้ลู่เข้า โดยการทดสอบปริพันธ์เพื่อหาการลู่เข้า
พิสูจน์
โดยทั่วไปการทดสอบจะได้รับการพิสูจน์ในรูปประพจน์แย้งสลับที่
ถ้า
∑
n
=
1
∞
a
n
{\displaystyle \sum _{n=1}^{\infty }a_{n}}
ลู่เข้าแล้ว
lim
n
→
∞
a
n
=
0.
{\displaystyle \lim _{n\to \infty }a_{n}=0.}
การเปลี่ยนรูปลิมิต
ถ้า s n เป็นผลรวมย่อยของอนุกรม ดังนั้นสมมติฐานที่ว่าอนุกรมลู่เข้าหมายความว่า
lim
n
→
∞
s
n
=
L
{\displaystyle \lim _{n\to \infty }s_{n}=L}
สำหรับจำนวน L บางตัว แล้ว
lim
n
→
∞
a
n
=
lim
n
→
∞
(
s
n
−
s
n
−
1
)
=
lim
n
→
∞
s
n
−
lim
n
→
∞
s
n
−
1
=
L
−
L
=
0
{\displaystyle \lim _{n\to \infty }a_{n}=\lim _{n\to \infty }(s_{n}-s_{n-1})=\lim _{n\to \infty }s_{n}-\lim _{n\to \infty }s_{n-1}=L-L=0}
หลักเกณฑ์ของโคชี
การสมมตืให้อนุกรมลู่เข้า แสดงว่าอนุกรมนี้ผ่านการทดสอบการลู่เข้าของโคชี สำหรับทุก
ε
>
0
{\displaystyle \varepsilon >0}
มี N ที่ทำให้
|
a
n
+
1
+
a
n
+
2
+
⋯
+
a
n
+
p
|
<
ε
{\displaystyle \left|a_{n+1}+a_{n+2}+\cdots +a_{n+p}\right|<\varepsilon }
เป็นจริงสำหรับทุก n > N และ p ≥ 1 ทั้งหมด การตั้งให้ p = 1 จะได้ว่า[ 2]
lim
n
→
∞
a
n
=
0
{\displaystyle \lim _{n\to \infty }a_{n}=0}
ขอบเขต
การทดสอบพจน์ในรูปแบบที่ง่ายที่สุดนั้น ใช้ได้กับอนุกรมอนันต์ของจำนวนจริง บทพิสูจน์สองข้อข้างต้น โดยการอ้างถึงหลักเกณฑ์โคชีหรือความเชิงเส้นของลิมิต ยังใช้ได้กับปริภูมิเวกเตอร์ระบุขนาด อื่น ๆ หรือกรุปอาบีเลียน ที่เขียนแบบการบวกใด ๆ ได้ด้วย
หมายเหตุ
↑ ตัวอย่าง Rudin (p.60) เขียนไว้แค่รูปประพจน์แย้งสลับที่และไม่ได้ตั้งชื่อไว้ Brabenec (p.156) เรียกไว้แค่ nth term test Stewart (p.709) เรียกไว้ว่า Test for Divergence Spivak (p. 473) เรียกไว้ว่า Vanishing Condition .
↑ Rudin (pp.59-60) ใช้วิธีการพิสูจน์นี้ แต่เริ่มด้วยรูปแบบอื่นของหลักเกณฑ์โคชี
อ้างอิง