รถไฟฟ้าสายสีเทา |
---|
ข้อมูลทั่วไป |
---|
สถานะ | โครงการ (ศึกษาโครงการ) |
---|
เจ้าของ | การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย |
---|
ที่ตั้ง | กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย |
---|
ปลายทาง | |
---|
จำนวนสถานี | 39 |
---|
การดำเนินงาน |
---|
รูปแบบ | รางเดี่ยว |
---|
ระบบ | รถไฟฟ้ามหานคร |
---|
เส้นทาง | 2 (เหนือ - ใต้) |
---|
ผู้ดำเนินงาน | รอเอกชนเข้าร่วมประมูล |
---|
ขบวนรถ | ยังไม่เปิดเผย |
---|
ประวัติ |
---|
เปิดเมื่อ | พ.ศ. 2585 |
---|
ข้อมูลทางเทคนิค |
---|
ระยะทาง | 40 กิโลเมตร |
---|
จำนวนทางวิ่ง | 2 |
---|
ลักษณะทางวิ่ง | ทางยกระดับ |
---|
ระบบจ่ายไฟ | รางที่สาม |
---|
ความเร็ว | 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง |
---|
แผนที่เส้นทาง |
---|
|
สีชมพู มัยลาภ – รามอินทรา กม.6
|
|
|
|
สุขุมวิท เอกมัย – อ่อนนุช
|
วัชรพล
|
|
|
|
พระโขนง
|
สีน้ำตาล คลองลำเจียก – สตรีวิทยา 2
|
|
|
|
|
ต่างระดับฉลองรัช
|
|
|
|
กล้วยน้ำไท
|
คลองลำเจียก
|
|
|
|
บ้านกล้วยใต้
|
|
|
|
|
สุขุมวิท
|
โยธินพัฒนา
|
|
|
|
แยกเกษมราษฎร์
|
อีสวิลล์
|
|
|
|
ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
|
สังคมสงเคราะห์
|
|
|
|
คลองเตย
|
|
|
|
|
เพลินจิต – แม่น้ำ
|
สายสีเหลือง ลาดพร้าว 71 – มหาดไทย
|
|
|
|
|
ลาดพร้าว 83
|
|
|
|
งามดูพลี
|
ศรีวรา
|
|
|
|
ลุมพินี
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สีลม
|
|
|
|
|
สวนพลู
|
|
|
|
|
ศาลาแดง – เช็นตหลุยส์
|
นวลศรี
|
|
|
|
ช่องนนทรี
|
รฟม. – รามคำแหง 12
|
|
|
|
|
วัดพระราม 9
|
|
|
|
ทุ่งมหาเมฆ
|
มักกะสัน – หัวหมาก
|
|
|
|
|
ศูนย์วิจัย
|
|
|
|
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
|
แจ่มจันทร์
|
|
|
|
นางลิ้นจี่
|
เจริญสุข
|
|
|
|
รัชดา-นราธิวาส
|
ทองหล่อ
|
|
|
|
คลองภูมิ-วงแหวนอุตสาหกรรม
|
สุขุมวิท พร้อมพงษ์ – เอกมัย
|
|
|
|
ยานนาวา
|
|
|
|
|
สาธุประดิษฐ์
|
|
|
|
|
บางโคล่
|
|
|
|
|
เจริญราษฎร์
|
|
|
|
|
บางคอแหลม
|
|
|
|
|
แม่น้ำเจ้าพระยา
|
|
|
|
|
มไหสวรรย์
|
|
|
|
|
โพธิ์นิมิตร – บางหว้า
|
|
|
|
|
ตลาดพลู
|
|
|
|
|
ท่าพระ
|
|
|
|
|
จรัญฯ 13
|
|
|
|
|
อิสรภาพ – บางไผ่
|
|
|
|
|
|
|
|
|
| |
|
รถไฟฟ้าสายสีเทา (วัชรพล-ทองหล่อ และ พระโขนง-ท่าพระ) เป็นโครงการเส้นทางระบบขนส่งมวลชนรองในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เป็นหนึ่งในสี่เส้นทางนำร่องของ โครงการระบบขนส่งมวลชนทางราง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระยะที่สอง (M-Map Phase 2) โดยกระทรวงคมนาคม และสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ได้เร่งรัดแผนงานจากกำหนดการเดิมในปี พ.ศ. 2572 มาอยู่ในช่วงแผนงานปัจจุบันคือ พ.ศ. 2566 เพื่อเป็นการเชื่อมเส้นทางจากชานเมืองฝั่งเหนือของกรุงเทพมหานคร ให้เข้าสู่ใจกลางเมืองได้อย่างรวดเร็ว แก้ไขปัญหาการจราจรบนถนนสุขุมวิท ถนนสาทร ถนนพระรามที่ 3 และตามวงแหวนถนนรัชดาภิเษก ตลอดจนนำระบบขนส่งเข้าสู่ถนนที่ยังไม่มีระบบขนส่งมวลชนตัดผ่าน คือ ถนนประดิษฐ์มนูธรรม
เส้นทางดังกล่าวปรากฏขึ้นครั้งแรกในแผนแม่บทโครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พ.ศ. 2552 (M-Map 1) พร้อมกับเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีฟ้า โดยกำหนดเป็นหนึ่งในเส้นทางแนวเหนือ-ใต้ ของกรุงเทพมหานครฝั่งตะวันออก ก่อนถูกยกเลิกไปเมื่อครั้งการปรับแผนแม่บทโครงการระบบขนส่งมวลชน (M-Map 1) เมื่อ พ.ศ. 2554 เนื่องจากไม่อยู่ในแผนเร่งรัด 4 ปี ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ แต่ต่อมา กรุงเทพมหานครได้ดำเนินโครงการแบบต่อเนื่อง เพื่อเชื่อมต่อเส้นทางขนส่งมวลชนให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ก่อนที่ สนข. จะยกสถานะขึ้นเป็นหนึ่งในสี่เส้นทางนำร่องของโครงการระบบขนส่งมวลชนทางราง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระยะที่สอง ต่อไป
โครงการได้รับการเสนอเป็นระบบรถไฟฟ้ายกระดับแบบรางเดี่ยว แนวเส้นทางจะแบ่งออกเป็นสองช่วงแยกขาดจากกัน ช่วงแรกมีจุดเริ่มต้นที่จุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีชมพู ที่สถานีวัชรพล จากนั้นมุ่งลงใต้ตามแนวถนนประดิษฐ์มนูธรรม เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเหลืองที่สถานีลาดพร้าว 83 เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้มที่สถานีวัดพระราม 9 จากนั้นข้ามเส้นทางรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงอ่อน ช่วง Missing Link บางซื่อ - หัวหมาก เพื่อเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนเพชรบุรี จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าซอยสุขุมวิท 55 (ซอยทองหล่อ) เพื่อสิ้นสุดเส้นทางช่วงแรกที่สถานีทองหล่อ อันเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท และช่วงที่สองมีจุดเริ่มต้นที่รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท สถานีพระโขนง จากนั้นมุ่งลงใต้ตามแนวถนนพระรามที่ 4 เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สถานีคลองเตย และสถานีลุมพินี แล้วเบี่ยงซ้ายเข้าสู่ถนนสาทรไปเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม ที่สถานีช่องนนทรี จากนั้นเลี้ยวซ้ายวิ่งตามแนวของรถโดยสารด่วนพิเศษ สายสาทร–ราชพฤกษ์ ที่จะยกเลิกโครงการเมื่อมีโครงการรถไฟฟ้าสายสีเทาไปจนถึงปลายทางสถานีราชพฤกษ์ อันเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลมอีกจุดหนึ่งที่สถานีตลาดพลู แล้วมุ่งหน้าขึ้นทางเหนือตามแนวถนนรัชดาภิเษกไปสิ้นสุดที่สถานีท่าพระ อันเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลอีก 1 จุด ระยะทางรวมประมาณ 40 กิโลเมตร
ปัจจุบัน กรุงเทพมหานคร ได้โอนถ่ายโครงการให้ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. เป็นผู้ดำเนินการเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2567 เนื่องจากเล็งเห็นว่าการรวมโครงการไว้ที่เจ้าของเดียวจะทำให้สามารถควบคุมค่าโดยสารไม่ให้สูงเกินความจำเป็นได้ โดยภายหลังการรับโอน รฟม. จะนำโครงการกลับมาศึกษาใหม่เพื่อหาความเหมาะสมในการก่อสร้างโครงการต่อไป
พื้นที่ที่เส้นทางผ่าน
แนวเส้นทาง
เป็นเส้นทางยกระดับความสูง 14 เมตรจากระดับดินไปตามแนวถนนเดิม แบ่งเป็น 2 ช่วงหลัก 3 ช่วงย่อยได้แก่
สายสีเทาส่วนเหนือ (วัชรพล-ทองหล่อ)
เริ่มต้นจากบริเวณแยกต่างระดับรามอินทรา จุดตัดถนนรามอินทรา ถนนวัชรพล ถนนประดิษฐ์มนูธรรม และทางพิเศษฉลองรัช มุ่งหน้าลงมาทางทิศใต้ตามแนวเขตทางของถนนประดิษฐ์มนูธรรม โดยวางโครงสร้างบนพื้นที่ด้านข้างทางเท้าและทางจักรยาน ผ่านถนนนวลจันทร์ ถนนสุคนธสวัสดิ์ ยกข้ามถนนประเสริฐมนูกิจ (ถนนเกษตร-นวมินทร์) ผ่านซอยลาดพร้าว 87 เข้าถนนประดิษฐ์มนูธรรม ผ่านแยกประชาธรรม จุดตัดถนนประชาอุทิศ ลอดใต้ทางพิเศษศรีรัช ที่แยกพระราม 9-ประดิษฐ์มนูธรรม เลี้ยวที่แยกเอกมัยเหนือมาทางทิศตะวันตกเข้าสู่แนวเกาะกลางถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แล้วเลี้ยวลงมาทางทิศใต้เข้าสู่แนวเกาะกลางถนนทองหล่อตลอดสาย สิ้นสุดเส้นทางที่บริเวณปากซอยสุขุมวิท 55 รวมระยะทาง 16.25 กิโลเมตร มีทั้งสิ้น 15 สถานี เส้นทางส่วนนี้มีระยะทางรวมทั้งหมด 16.25 กิโลเมตร
สายสีเทาส่วนใต้ ช่วงที่ 1 (พระโขนง - พระราม 3)
แนวเส้นทางเริ่มต้นจากบริเวณแยกพระโขนง จุดตัดถนนสุขุมวิท กับถนนพระรามที่ 4 แล้ววิ่งตามเส้นทางถนนพระรามที่ 4 มาจนถึงสี่แยกวิทยุ แนวเส้นทางจะเบี่ยงลงไปยังถนนสาทรโดยใช้คลองสาทรเป็นแนวเส้นทางจนถึงแยกสาทร-นราธิวาส แนวเส้นทางจะเบี่ยงซ้ายเข้าถนนนราธิวาสราชนครินทร์แล้ววิ่งตามเส้นทางเดียวกับ รถโดยสารด่วนพิเศษ สายสาทร-ราชพฤกษ์ แล้วเบี่ยงขวาสิ้นสุดเส้นทางบริเวณซอยพระรามที่ 3 ซอย 58 รวมระยะทาง 12.17 กิโลเมตร มีทั้งสิ้น 15 สถานี
สายสีเทาส่วนใต้ ช่วงที่ 2 (พระราม 3 - ท่าพระ)
แนวเส้นทางต่อเนื่องจากช่วงก่อนหน้านี้ เริ่มจากบริเวณซอยพระรามที่ 3 ซอย 58 วิ่งตามแนวถนนพระรามที่ 3 ลอดใต้ถนนวงแหวนอุตสาหกรรม, สะพานพระราม 9 (ทางพิเศษเฉลิมมหานคร) แล้วข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณช่องว่างระหว่างสะพานพระราม 3 กับสะพานกรุงเทพ เข้าสู่ฝั่งธนบุรี ผ่านสี่แยกมไหสวรรย์เข้าสู่ถนนรัชดาภิเษก และสิ้นสุดเส้นทางบริเวณแยกท่าพระ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล รวมระยะทาง 11.48 กิโลเมตร มี 9 สถานี
รายละเอียดปลีกย่อย
- เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว แบบวางคร่อมราง (straddle-beam monorail)
- ทางวิ่ง ยกระดับที่ความสูง 15.5 เมตรตลอดทั้งโครงการ ยกเว้น ช่วงข้ามทางพิเศษฉลองรัช ยกระดับที่ความสูง 18.5 เมตร ช่วงข้ามทางพิเศษศรีรัช รถไฟฟ้าเอราวัณและถนนเพชรบุรี รถไฟฟ้าจะใต้ยกระดับที่ความสูง 26 เมตร หลังออกจากสถานีพระราม 9 ซึ่งเป็นจุดสูงสุดของโครงการ จากนั้นลดระดับเหลือ 22 เมตร เพื่อเข้าสู่สถานีเพชรบุรี-ทองหล่อ และช่วงบนนถนนทองหล่อ ยกระดับที่ความสูง 14 เมตรจนถึงสถานีปลายทาง
- มีรางที่ 3 ตีขนานไปกับรางวิ่งสำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับตัวรถ
- ตัวรถเป็นรถปรับอากาศขนาดกว้าง 3.147 เมตร ยาว 11.8-13.2 เมตร สูงประมาณ 4.06 เมตร (เมื่อคร่อมรางทั้งหมด) ความจุ 356 คนต่อคัน (คำนวณจากอัตราความหนาแน่นที่ 4 คน/ตารางเมตร) ต่อพวงได้ 2-8 คันต่อขบวน ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง 750 โวลท์ ป้อนระบบขับเคลื่อนรถ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 24,100 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง
- ใช้ระบบอาณัติสัญญาณเดินรถด้วยระบบอัตโนมัติจากศูนย์ควบคุมการเดินรถ และใช้ระบบเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ
ศูนย์ซ่อมบำรุงและศูนย์ควบคุมการเดินรถ
โครงการมีการศึกษาศูนย์ซ่อมบำรุงไว้สองแห่ง ได้แก่ ที่บริเวณจุดตัดทางพิเศษฉลองรัช ใกล้ ๆ กับถนนประเสริฐมนูกิจ เป็นศูนย์ซ่อมบำรุงสำหรับช่วงวัชรพล-ทองหล่อ และที่บริเวณแยกยานนาวา หรือจุดตัดถนนยานนาวา กับถนนพระราม 3 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา (ปัจจุบันเป็นที่ดินเปล่า ส่วนหน้าติดถนนเป็น บริษัท โรแยลคลีฟ บีช โฮเต็ล จำกัด) เป็นศูนย์ซ่อมบำรุงสำหรับช่วงพระโขนง-ท่าพระ ศูนย์ซ่อมบำรุงทั้งสองแห่งประกอบไปด้วยอาคารโรงจอด ศูนย์ซ่อมบำรุง อาคารเปลี่ยนล้อ ส่วนควบคุมระบบจัดการเดินรถซึ่งควบคุมแยกกัน และสำนักงานบริหารจัดการโครงการ
สถานี
มีทั้งหมด 39 สถานี เป็นสถานียกระดับทั้งหมด โดยสถานีในส่วนใต้เป็นการนำเส้นทางรถโดยสารด่วนพิเศษ สายสาทร-ราชพฤกษ์ มาดัดแปลงเป็นเส้นทางรถไฟฟ้า เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการยกเลิกการให้บริการรถโดยสารด่วนพิเศษ
- รูปแบบสถานี
โครงการออกแบบรูปแบบสถานีไว้ทั้งหมด 4 รูปแบบ ดังต่อไปนี้
- สถานีโครงสร้างปกติ แบบชานชาลาด้านข้าง เสายึดริมทางเท้า สถานีมีความยาวประมาณ 125 เมตร กว้าง 20 เมตร มีประตูชานชาลา (platform screen door) ความสูงแบบ Half-Height ทุกสถานี ออกแบบให้หลบเลี่ยงสาธารณูปโภคใต้ดินและบนดินและรักษาสภาพผิวจราจรบนถนนมากที่สุด มีเสายึดสถานีอยู่บริเวณริมทางเท้า และมีชั้นจำหน่ายบัตรโดยสารอยู่ใต้ชานชาลา มีจำนวน 10 สถานี ส่วนใหญ่เป็นสถานีช่วงบนถนนประดิษฐ์มนูธรรม
- สถานีโครงสร้างปกติ แบบชานชาลาด้านข้าง เสายึดริมทางเท้าแบบโครงสร้างข้อแข็ง สถานีมีความยาวประมาณ 139 เมตร กว้าง 20 เมตร มีประตูชานชาลา (platform screen door) ความสูงแบบ Half-Height ออกแบบให้หลบเลี่ยงสาธารณูปโภคใต้ดินและบนดินและรักษาสภาพผิวจราจรบนถนนมากที่สุด มีเสายึดสถานีอยู่บริเวณสองฝั่งริมทางเท้า และมีชั้นจำหน่ายบัตรโดยสารอยู่ใต้ชานชาลา มีจำนวน 2 สถานี คือสถานีแจ่มจันทร์ และสถานีทองหล่อ 10
- สถานีโครงสร้างปกติแบบสูงพิเศษ แบบชานชาลาด้านข้าง เสายึดริมทางเท้าแบบโครงสร้างข้อแข็ง สถานีมีความยาวประมาณ 139 เมตร กว้าง 20 เมตร สูง 30 เมตร มีประตูชานชาลา (platform screen door) ความสูงแบบ Half-Height ออกแบบให้หลบเลี่ยงสาธารณูปโภคใต้ดินและบนดินและรักษาสภาพผิวจราจรบนถนนมากที่สุด มีเสายึดสถานีอยู่บริเวณสองฝั่งริมทางเท้า และมีชั้นจำหน่ายบัตรโดยสารอยู่ใต้ชานชาลา มีจำนวน 1 สถานี คือสถานีเพชรบุรี-ทองหล่อ
- สถานีโครงสร้างปกติ แบบชานชาลากลาง เสายึดริมทางเท้าแบบโครงสร้างข้อแข็ง สถานีมีความยาวประมาณ 136-139 เมตร กว้าง 20 เมตร มีประตูชานชาลา (platform screen door) ความสูงแบบ Half-Height ออกแบบให้หลบเลี่ยงสาธารณูปโภคใต้ดินและบนดินและรักษาสภาพผิวจราจรบนถนนมากที่สุด มีเสายึดสถานีอยู่บริเวณสองฝั่งริมทางเท้า และมีชั้นจำหน่ายบัตรโดยสารอยู่ใต้ชานชาลา มีจำนวน 2 สถานี คือสถานีวัชรพล และสถานีทองหล่อ
รายชื่อสถานี
การปรับเปลี่ยนเส้นทาง
- มกราคม พ.ศ. 2557 - กรุงเทพธนาคมได้มีการปรับเปลี่ยนแนวเส้นทางจากการศึกษาเดิมของ สนข. ที่เดิมแนวเส้นทางส่วนใต้จะต่อเนื่องจากซอยทองหล่อไปจนถึงถนนพระรามที่ 4 แล้วเลี้ยวขวาวิ่งไปตามแนวถนนพระรามที่ 4 จนถึงแยกรัชดา-พระราม 4 แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนรัชดาภิเษกและต่อเนื่องไปยังถนนพระรามที่ 3 เพื่อสิ้นสุดเส้นทางบริเวณเชิงสะพานพระราม 9 ให้เป็นเริ่มต้นที่บริเวณแยกพระโขนง (จุดตัดถนนสุขุมวิท-ถนนพระรามที่ 4) แล้ววิ่งมาตามแนวถนนพระรามที่ 4 จนถึงแยกวิทยุแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนสาทร จากนั้นวิ่งตามแนวถนนสาทรมาจนถึงแยกสาทร-นราธิวาสฯ แนวเส้นทางจะเลี้ยวซ้ายแล้ววิ่งทับเส้นทางเดิมของรถโดยสารด่วนพิเศษ สายสาทร-ราชพฤกษ์ ไปจนสุดโครงการที่บริเวณแยกท่าพระ พร้อมกันนี้ยังได้รวมโครงการส่วนเหนือทั้งสองช่วงเข้าเป็นช่วงเดียวกัน เป็นวัชรพล-ทองหล่อ โดยกรุงเทพธนาคมให้ความเห็นกรณีการแยกช่วงว่าเนื่องจากช่วงที่ต้องผ่านถนนสุขุมวิทเพื่อออกถนนพระรามที่ 4 ส่วนใหญ่เป็นซอยที่มีพื้นที่คับแคบ และอาจจะมีผลกระทบจากการเวนคืนที่ดินเพื่อขยายเขตทางสูงซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากราคาที่ดินบริเวณดังกล่าวมีการปรับตัวสูงขึ้น ดังนั้นการแยกเส้นทางเหนือ-ใต้ออกจากกันจึงเป็นแนวคิดที่ดีที่สุด
ส่วนต่อขยาย
สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและแผนการจราจรได้ศึกษาแนวเส้นทางเพิ่มเติมต่อเนื่องจากจุดสิ้นสุดบริเวณแยกต่างระดับรามอินทราของสายสีเทาส่วนเหนือไปตามแนวถนนสุขาภิบาล 5 และสิ้นสุดเส้นทางที่ถนนสายไหม เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร ใกล้กับอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี รวมระยะทาง 14 กิโลเมตร
ความคืบหน้า
- 19 กันยายน พ.ศ. 2561 นายสกลธี ภัททิยกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า ภายในปี 2561 กรุงเทพมหานครจะพยายามผลักดันเร่งรัดให้เกิดโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าไลท์เรล สายบางนา-สุวรรณภูมิ และรถไฟฟ้าสายสีเทา ระยะที่ 1 ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ ให้ได้ โดยให้สำนักการจราจรและขนส่ง ติดตามผลการจัดทำรายงานผลการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ของรถไฟฟ้าไลท์เรล สายบางนา-สุวรรณภูมิ ในขณะที่สายสีเทา ระยะที่ 1 กรุงเทพมหานครจะไปหารือกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เนื่องจากจำเป็นต้องขอใช้พื้นที่ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยบางส่วนในการก่อสร้างโครงการ[1]
- 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่ารัฐบาลรับทราบความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยว “โมโนเรลสายสีเทา” จะใช้ช่วงสถานีวัชรพล-ทองหล่อ เป็นเส้นทางนำร่อง ระยะทางรวม 16.3 กม. วงเงินการก่อสร้าง 27,500 ล้านบาท [2] คาดว่าจะจัดทำรายงานผลการศึกษาและวิเคราะห์โครงการ ระยะที่ 1 วัชรพล-ทองหล่อ[3]
- 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ที่มีนายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธาน มีมติเห็นชอบโอนภารกิจโครงการรถไฟฟ้าที่จะต้องลงทุนก่อสร้างใหม่ในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร (กทม.) กลับคืนไปให้กระทรวงคมนาคมโดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ โครงการสายสีเงิน สายสีเทา และสายสีฟ้า โดยกรณีของสายสีเทาสาเหตุมาจากพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย และการทางพิเศษแห่งประเทศไทยซึ่งอยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงคมนาคม[4]
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|
---|
ช่วงวัชรพล – ทองหล่อ (โครงการ) | |
---|
ช่วงพระโขนง – พระราม 3 (โครงการ) | |
---|
ช่วงพระราม 3 – ท่าพระ (โครงการ) | |
---|
|
---|
เปิดให้บริการ | |
---|
กำลังก่อสร้าง | |
---|
โครงการ | |
---|