รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา สาย 1 (สุขุมวิท) |
---|
 |
 รถไฟฟ้า EMU-B1 มุ่งหน้าเข้าสถานีพญาไท |
ข้อมูลทั่วไป |
---|
เจ้าของ | กรุงเทพมหานคร |
---|
ที่ตั้ง | ปทุมธานี, กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ |
---|
ปลายทาง | |
---|
จำนวนสถานี | 47 |
---|
สีบนแผนที่ | สีเขียวอ่อน |
---|
การดำเนินงาน |
---|
รูปแบบ | ระบบขนส่งมวลชนเร็ว |
---|
ระบบ | รถไฟฟ้าบีทีเอส[1] |
---|
ผู้ดำเนินงาน | บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (กลุ่มบีทีเอส) (สัญญาสัมปทานโครงการ หมด พ.ศ. 2572 / สัญญาจ้างเดินรถ หมด พ.ศ. 2585) บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (สัญญาสัมปทานโครงการ หมด พ.ศ. 2585) |
---|
ศูนย์ซ่อมบำรุง | หมอชิต, เคหะฯ, คูคต |
---|
ประวัติ |
---|
เปิดเมื่อ | 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542; 25 ปีก่อน (2542-12-05) |
---|
ข้อมูลทางเทคนิค |
---|
ระยะทาง | 54.25 km (33.71 mi) |
---|
จำนวนทางวิ่ง | 2 |
---|
รางกว้าง | 1,435 mm (4 ft 8 1⁄2 in) สแตนดาร์ดเกจ |
---|
ระบบจ่ายไฟ | 750 V DC รางที่สาม |
---|
อาณัติสัญญาณ | บอมบาร์ดิเอร์ CITYFLO 450 moving block CBTC ATC ภายใต้ ATO GoA 2 (STO), ด้วยระบบย่อยของ ATP, ATS และ CBI[2][3] |
---|
|
รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา สาย 1 หรือ รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท หรือ รถไฟฟ้าสายสีเขียว (สุขุมวิท) ซึ่งเรียกตามสีที่กำหนดในแผนแม่บทโครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นรถไฟฟ้ายกระดับของระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร, จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดสมุทรปราการ เปิดให้บริการครั้งแรกในปี พ.ศ. 2542 จากศูนย์กลางที่สถานีสยามที่เชื่อมต่อกับสายสีลม สายเหนือมีแนวเส้นทางไปตามถนนพญาไทและถนนพหลโยธิน ปลายทางสถานีคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี สายตะวันออกมีแนวเส้นทางไปตามถนนพระราม 1 ถนนเพลินจิต และถนนสุขุมวิท ผ่านเขตบางนา ไปยังสถานีเคหะฯ จังหวัดสมุทรปราการ และมีจำนวนผู้โดยสารสูงสุด (ใน พ.ศ. 2562) อยู่ที่ 740,000 คนต่อวัน[4]
ภาพรวม
รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท เป็นระบบรถไฟฟ้าที่มีโครงสร้างเป็นทางยกระดับเหนือพื้นดินตลอดโครงการ มีแนวเส้นทางเป็นแนวเหนือ-ตะวันออก พาดผ่านพื้นที่สามจังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร, จ.ปทุมธานี และ จ.สมุทรปราการ เริ่มต้นเส้นทางจากบริเวณย่านลำลูกกา จ.ปทุมธานี วิ่งไปตามแนวถนนลำลูกกา จากนั้นเบี่ยงซ้ายเข้าถนนเลียบเส้นทางกับกรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศของกองทัพอากาศ เข้าสู่เขตกรุงเทพมหานคร วิ่งผ่านพื้นที่สำคัญหลายแห่ง อาทิ กองทัพอากาศ, กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์, ม.ศรีปทุม, ม.เกษตรศาสตร์ จากนั้นเข้าสู่พื้นที่กรุงเทพมหานครชั้นในที่บริเวณแยกรัชโยธิน วิ่งมาจนถึงปากทางห้าแยกลาดพร้าว ยกระดับข้ามดอนเมืองโทลล์เวย์ เข้าถนนพหลโยธิน ผ่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เมื่อถึงแยกปทุมวันแนวเส้นทางจะเลี้ยวซ้ายเข้าถนนพระรามที่ 1 และมุ่งตรงไปยังถนนเพลินจิต และถนนสุขุมวิท เพื่อเข้าเขตจังหวัดสมุทรปราการ ผ่านพื้นที่สำคัญของจังหวัดสมุทรปราการอีกหลายแห่ง อาทิ พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ, โรงเรียนนายเรือ, ศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ และสิ้นสุดเส้นทางทั้งโครงการที่ย่านบางปู บริเวณสถานตากอากาศบางปู จังหวัดสมุทรปราการ รวมระยะทางทั้งสิ้น 53.58 กิโลเมตร นับเป็นเส้นทางระบบขนส่งมวลชนเร็วที่ยาวที่สุดในกรุงเทพมหานคร แนวเส้นทางจะเน้นขนส่งผู้โดยสารจากชานเมืองทั้งฝั่งเหนือและฝั่งตะวันออกให้เข้าสู่พื้นที่ใจกลางกรุงเทพมหานคร พื้นที่ท่องเที่ยว, สถานบันเทิง และเขตเศรษฐกิจชั้นในตามแนวถนนสุขุมวิทได้อย่างรวดเร็ว
รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท ส่วนแรกสุดในเส้นทางหมอชิต-อ่อนนุช ดำเนินการโดยบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (บีทีเอสซี) ซึ่งได้รับสัมปทานโครงการเป็นระยะเวลา 30 ปีจากกรุงเทพมหานคร ถึง พ.ศ. 2572 ส่วนเส้นทางส่วนต่อขยายที่เหลือดำเนินการโดยบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด[5] โดยยังมีบีทีเอสซีเป็นผู้ให้บริการเดินรถตลอดทั้งเส้นทาง
พื้นที่เส้นทางผ่าน
|
แขวง/ตำบล |
เขต/อำเภอ |
จังหวัด
|
|
คูคต |
ลำลูกกา |
ปทุมธานี
|
สายไหม |
สายไหม |
กรุงเทพมหานคร
|
สนามบิน |
ดอนเมือง
|
อนุสาวรีย์ |
บางเขน
|
ลาดยาว, จตุจักร |
จตุจักร
|
พญาไท |
พญาไท
|
ถนนพญาไท, ทุ่งพญาไท, ถนนเพชรบุรี |
ราชเทวี
|
วังใหม่, ปทุมวัน, ลุมพินี |
ปทุมวัน
|
คลองเตย, คลองตัน, พระโขนง |
คลองเตย
|
คลองเตยเหนือ, คลองตันเหนือ, พระโขนงเหนือ |
วัฒนา
|
บางจาก, พระโขนงใต้ |
พระโขนง
|
บางนาเหนือ, บางนาใต้ |
บางนา
|
สำโรงเหนือ, เทพารักษ์,บางเมืองใหม่, ปากน้ำ, ท้ายบ้านใหม่ |
เมืองสมุทรปราการ |
สมุทรปราการ
|
|
แนวเส้นทาง
ทางวิ่งรถไฟฟ้าบีทีเอส ช่วงยกระดับเหนือถนนเพลินจิต
แนวเส้นทางเป็นเส้นทางยกระดับทั้งโครงการในแนวเหนือ-ตะวันออก ผ่านกรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดปทุมธานี มีจุดเริ่มต้นของทั้งโครงการที่สถานีสยาม ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม รวมระยะทางทั้งสิ้น 52.65 กิโลเมตร นับเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนที่ยาวที่สุดในกรุงเทพมหานคร
ในแนวเหนือ เส้นทางจะเริ่มจากสถานีสยามไปทางทิศตะวันตกตามแนวถนนพระรามที่ 1 ก่อนเลี้ยวขวาที่สี่แยกปทุมวัน วิ่งขึ้นไปทางทิศเหนือตามแนวถนนพญาไท เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้มที่สถานีราชเทวี รวมทั้งรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและทางรถไฟสายตะวันออกที่สถานีพญาไท จากนั้นหักโค้งผ่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิและตรงเข้าสู่ถนนพหลโยธิน ข้ามทางพิเศษศรีรัช เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่สถานีหมอชิต จากนั้นยกระดับข้ามทางยกระดับอุตราภิมุขที่ความสูง 26 เมตร แล้วเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลอีกครั้งที่สถานีห้าแยกลาดพร้าว รวมทั้ง รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลที่สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และรถไฟฟ้าสายสีชมพูที่สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ จากนั้นผ่านกองทัพอากาศและท่าอากาศยานดอนเมือง ก่อนเบี่ยงเข้าสู่ถนนตัดใหม่ ข้ามคลองหกวาเข้าสู่จังหวัดปทุมธานี แล้ววิ่งเข้าถนนลำลูกกา และไปสิ้นสุดในแนวเหนือที่สถานีคูคต
ในแนวตะวันออก เส้นทางจะเริ่มจากสถานีสยามไปทางทิศตะวันออกตามแนวถนนพระรามที่ 1 และถนนเพลินจิต ข้ามทางพิเศษเฉลิมมหานคร ก่อนเข้าสู่พื้นที่เศรษฐกิจตามแนวถนนสุขุมวิท โดยจะไปเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลอีกครั้งที่สถานีอโศก และเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเทาที่สถานีทองหล่อและสถานีพระโขนง จากนั้นข้ามคลองพระโขนง ลอดใต้ทางพิเศษฉลองรัช เข้าสู่พื้นที่ชานเมืองฝั่งตะวันออก เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเงินที่สถานีบางนา ข้ามทางพิเศษเฉลิมมหานครอีกครั้งลอดใต้ทางพิเศษบูรพาวิถี มุ่งหน้าตรงเข้าสู่จังหวัดสมุทรปราการ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลืองที่สถานีสำโรง จากนั้นวิ่งต่อไปตามแนวถนนสุขุมวิท ข้ามถนนกาญจนาภิเษกฝั่งใต้ (ทางพิเศษบางพลี-สุขสวัสดิ์) ที่ความสูง 28 เมตร แล้วมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ตามแนวถนนสุขุมวิท และสิ้นสุดเส้นทางทั้งระบบที่สถานีเคหะฯ
- แผนที่เส้นทาง
สถานีที่เปิดให้บริการในปัจจุบัน
การเชื่อมต่อ
เส้นทางการคมนาคมทางราง
รถไฟฟ้าบีทีเอส
ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังเส้นทางอื่น ๆ ในระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ได้ที่สถานีดังต่อไปนี้
รหัสสถานี
|
สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส
|
สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส
|
หมายเหตุ
|
จุดเชื่อมต่อระหว่างสถานีที่เปิดให้บริการแล้ว
|
CEN |
สถานีสยาม |
สายสีลม : สถานีสยาม |
สถานีร่วม
|
รถไฟฟ้ามหานคร
อาคารเชื่อมต่อระหว่างสถานีอโศก (บีทีเอส) และสถานีสุขุมวิท (รถไฟฟ้ามหานคร)
ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนไปใช้บริการรถไฟฟ้ามหานครได้ที่
รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์
รหัสสถานี
|
สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส
|
สถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์
|
หมายเหตุ
|
จุดเชื่อมต่อระหว่างสถานีที่เปิดให้บริการแล้ว
|
N2 |
สถานีพญาไท |
สายซิตี้ : สถานีพญาไท |
เชื่อมต่อโดยตรง ซึ่งสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสได้ติดตั้งประตูเครื่องตรวจตั๋วโดยสารอัตโนมัติเพิ่มเติมบริเวณกลางสถานี ทำให้พื้นที่ที่ผ่านเครื่องตรวจตั๋วโดยสารแล้ว (paid area) ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนในลักษณะเดียวกันกับสถานีสยาม เพื่อเพิ่มความสะดวกสำหรับผู้ที่จะต่อรถเดินทางไปยังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
|
รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง
เส้นทางการคมนาคมทางบก
รถบริการรับส่ง
ในบางสถานีผู้โดยสารสามารถเดินทางจากสถานีไปยังอาคารต่างๆ ด้วยบริการรถรับส่งจากสถานี ดังต่อไปนี้
บริการรถรับส่งดังกล่าวทั้งหมดไม่เสียค่าบริการ ยกเว้นเส้นทางหมอชิต–อิมแพ็ค เมืองทองธานี ที่เก็บค่าโดยสาร 30 บาทต่อเที่ยว
ทางเดินเชื่อมเข้าอาคาร
ทางเชื่อมจากสถานีเอกมัย เข้าสู่เกตเวย์ เอกมัย
ในบางสถานีผู้โดยสารสามารถเดินจากสถานีไปยังอาคารต่างๆ ในบริเวณใกล้เคียงได้ดังนี้ (ตัวเอน หมายถึงกำลังก่อสร้าง)
รหัสสถานี |
สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส |
ทางเดินเชื่อมเข้าอาคาร |
หมายเหตุ
|
N21 |
สถานีโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช |
โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช |
เชื่อมต่อโดยตรง
|
N11 |
สถานีรัชโยธิน |
เมเจอร์ รัชโยธิน
|
รัชโยธิน อเวนิว เอสซีบีพาร์กพลาซา (ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่) |
เชื่อมต่อด้วยทางเดินยกระดับ
|
N10 |
สถานีพหลโยธิน 24 |
เดอะ เซ็นทรัล
|
N9 |
สถานีห้าแยกลาดพร้าว |
เซ็นทรัล ลาดพร้าว |
เชื่อมต่อโดยตรง
|
ยูเนียน มอลล์ อาคารศูนย์เอ็นเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ บมจ.ปตท. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน |
เชื่อมต่อด้วยทางเดินยกระดับ
|
N8 |
สถานีหมอชิต |
เดอะไลน์ จตุจักร-หมอชิต, บีทีเอส วิชันนารี พาร์ค
|
N3 |
สถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ |
เซ็นจูรี่ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ |
เชื่อมต่อโดยตรง
|
วิคตอรี่ ฮับ, เซ็นเตอร์วัน |
เชื่อมต่อด้วยทางเดินยกระดับรอบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
|
N2 |
สถานีพญาไท |
อาคารซีพีทาวเวอร์ 3 เดอะ ยูนิคอร์น พญาไท |
เชื่อมต่อโดยตรง
|
ศูนย์การแพทย์รามาธิบดีศรีอยุธยา |
เชื่อมต่อผ่านทางเชื่อมอาคารของสถานีฝั่งแอร์พอร์ต เรล ลิงก์
|
N1 |
สถานีราชเทวี |
โรงแรมเอเชีย ซัมมิท ทาวเวอร์ |
เชื่อมต่อโดยตรง
|
CEN |
สถานีสยาม |
สยามสแควร์วัน, สยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์, เซ็นเตอร์พอยท์ ออฟ สยามสแควร์ |
เชื่อมต่อโดยตรง
|
เซ็นทรัลเวิลด์ |
เชื่อมต่อด้วยทางเดินยกระดับราชประสงค์เซาท์วอล์ก
|
E1 |
สถานีชิดลม |
เซ็นทรัล ชิดลม |
เชื่อมต่อโดยตรง
|
เกษรเซ็นเตอร์, เกษรทาวเวอร์ เกษรอัมรินทร์ มณียา เซ็นเตอร์ อาคารวันซิตี้เซ็นเตอร์ |
เชื่อมต่อด้วยทางเดินยกระดับราชประสงค์อีสต์วอล์ก
|
เซ็นทรัลเวิลด์ |
เชื่อมต่อด้วยทางเดินยกระดับราชประสงค์เซาท์วอล์กและอีสต์วอล์ก
|
E2 |
สถานีเพลินจิต |
โรงแรมโรสวูด กรุงเทพ |
เชื่อมต่อโดยตรง
|
อาคารปาร์ค เวนเจอร์ ดิ อีโคเพล็กซ์ ออน วิทยุ, โนเบิล เพลินจิต, อาคารเวฟเพลส, เซ็นทรัล เอ็มบาสซี, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สำนักเพลินจิต, อาคารวันซิตี้เซ็นเตอร์ |
เชื่อมต่อด้วยทางเดินยกระดับ
|
E3 |
สถานีนานา |
โรงแรมไฮแอท รีเจนซี สุขุมวิท, คิว สุขุมวิท, โอ-เนส ทาวเวอร์, เท็นธ์อเวนิว |
เชื่อมต่อโดยตรง
|
E4 |
สถานีอโศก |
เทอร์มินัล 21 อโศก และโรงแรมแกรนด์เซ็นเตอร์พอยท์ สุขุมวิท-เทอร์มินัล 21
|
อาคารเอ็กซ์เชนจ์ทาวเวอร์, อาคารอินเตอร์เชนจ์ 21, โรงแรมเชอราตันแกรนด์ สุขุมวิท, อาคารไทม์สแควร์, โรงแรมเวสตินแกรนด์ สุขุมวิท, โรงแรมโซลาเรีย นิชิเท็ตสึ กรุงเทพ, โรงแรมโซฟิเทล กรุงเทพ สุขุมวิท, เท็นธ์อเวนิว |
เชื่อมต่อด้วยทางเดินยกระดับ
|
E5 |
สถานีพร้อมพงษ์ |
เอ็มโพเรียม, เอ็มควอเทียร์ |
เชื่อมต่อโดยตรง
|
เอ็มสเฟียร์, โรงแรมฮอลลิเดย์อินน์ กรุงเทพ สุขุมวิท 24, โรงแรมเรดิสันบลู กรุงเทพ, อาคารจัสมินซิตี้ |
เชื่อมต่อด้วยทางเดินยกระดับ
|
E6 |
สถานีทองหล่อ |
โนเบิล รีมิกซ์ 2, อาคารทีวัน ทองหล่อ
|
E7 |
สถานีเอกมัย |
ศูนย์การแพทย์บางกอกเมดิเพล็กซ์, เกตเวย์ เอกมัย, เอกมัย คอร์เนอร์ |
เชื่อมต่อโดยตรง
|
เมเจอร์ สุขุมวิท, สหกรณ์กรุงเทพ |
เชื่อมต่อด้วยทางเดินยกระดับ
|
E8 |
สถานีพระโขนง |
ดับเบิลยู ดิสทริกต์
|
E9 |
สถานีอ่อนนุช |
เซ็นจูรี่ อ่อนนุช |
เชื่อมต่อโดยตรง
|
โลตัส สุขุมวิท 50 |
เชื่อมต่อด้วยทางเดินยกระดับ
|
E11 |
สถานีปุณณวิถี |
ทรู ดิจิทัล พาร์ค, คลาวด์ 11
|
E12 |
สถานีอุดมสุข |
66 ทาวเวอร์, คลาวด์ 11, ทรู ดิจิทัล พาร์ค, แบงค็อก มอลล์ |
เชื่อมต่อด้วยทางเดินยกระดับ
|
E13 |
สถานีบางนา |
ไบเทคบุรี, เดอะคอสท์ บางนา
|
E15 |
สถานีสำโรง |
อิมพีเรียลเวิลด์ สำโรง
|
E16 |
สถานีปู่เจ้า |
บิ๊กซี สำโรง 2
|
E19 |
สถานีปากน้ำ |
หอชมเมืองจังหวัดสมุทรปราการและอุทยานการเรียนรู้อ่าวไทย
|
E21 |
สถานีแพรกษา |
โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ สมุทรปราการ, บิ๊กซี เพลส สมุทรปราการ |
เชื่อมต่อโดยตรง
|
แผนที่แสดงการเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนอื่น
รูปแบบของโครงการ
- เป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดหนัก (heavy rail transit)
- ทางวิ่งยกระดับที่ความสูง 12 เมตรตลอดทั้งโครงการ ยกเว้น ช่วงข้ามทางพิเศษศรีรัช และทางพิเศษเฉลิมมหานครมีความสูง 17 เมตร ช่วงข้ามทางพิเศษบางพลี-สุขสวัสดิ์ (ถนนกาญจนาภิเษกด้านใต้) มีความสูง 27.40 เมตร และช่วงข้ามทางยกระดับอุตราภิมุขและถนนพหลโยธินกับถนนวิภาวดีรังสิตมีความสูง 27.96 เมตร[8]
- ขนาดราง 1.435 เมตร (European standard guage) โดยมีรางที่ 3 ขนานไปกับรางวิ่งสำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับตัวรถ
- ตัวรถเป็นรถปรับอากาศขนาดกว้าง 3.2 เมตร ยาว 20-24 เมตร สูงประมาณ 3.7 เมตร ความจุ 320 คนต่อคัน ต่อพวงได้ 3-6 คันต่อขบวน ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง 750 โวลท์ ป้อนระบบขับเคลื่อนรถ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 50,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง
- ใช้ระบบอาณัติสัญญาณเดินรถด้วยระบบอัตโนมัติจากศูนย์ควบคุมการเดินรถ และใช้ระบบเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ
ศูนย์ซ่อมบำรุงและศูนย์ควบคุมการเดินรถ
เส้นทางช่วงหมอชิต-แบริ่ง จะใช้ศูนย์ซ่อมบำรุงใหญ่หมอชิต (ที่ทำการ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในปัจจุบัน) ร่วมกับสายสีลม ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ จะใช้ศูนย์ซ่อมบำรุงย่อยสมุทรปราการ (บางปิ้ง) และช่วงหมอชิต-คูคต จะใช้ศูนย์ซ่อมบำรุงย่อยสายไหม ระบบเดินรถทั้งระบบมีศูนย์ควบคุมการเดินรถกลางอยู่ที่ศูนย์ซ่อมบำรุงใหญ่หมอชิต และมีระบบเดินรถสำรองอยู่ที่ศูนย์บำรุงย่อยสายไหม
สิ่งอำนวยความสะดวก
ลานจอดรถติดกับศูนย์ซ่อมบำรุงใหญ่หมอชิต
โครงการมีจุดจอดแล้วจร (park and ride) ทั้งหมดสี่แห่ง ได้แก่ ที่สถานีหมอชิตบริเวณพื้นที่ของโครงการบางกอกเทอร์มินัล หรือสถานีขนส่งหมอชิตเดิม อันเป็นพื้นที่ของกรมธนารักษ์, สถานีเคหะฯ (สถานีปลายทาง) โดยจะเป็นลานจอดรถเช่นเดียวกัน นอกจากนี้มีอาคารจอดรถจำนวน 2 แห่งที่ สถานีคูคต (สถานีต้นทาง) 1 แห่ง และ สถานีแยก คปอ. 1 แห่ง
สถานี
มีทั้งหมด 55 สถานี เป็นสถานียกระดับทั้งหมด
- รูปแบบสถานี
สถานีมีความยาวประมาณ 150 เมตร มีประตูชานชาลา (platform screen door) ความสูงแบบ Half-Height ในบางสถานี ออกแบบให้หลบเลี่ยงสาธารณูปโภคใต้ดินและบนดิน และรักษาสภาพผิวจราจรบนถนนมากที่สุด และมีเสายึดสถานีอยู่บริเวณเกาะกลางถนน
ขบวนรถโดยสาร
รถไฟฟ้าซีเมนส์ โมดูลาร์ เมโทร สองขบวน ที่ประแจทางแยกเข้าศูนย์ซ่อมบำรุงหมอชิต
ส่วนต่อขยาย
ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท
เคหะฯ - ตำหรุ
รายชื่อสถานี
ส่วนต่อขยายสายพหลโยธิน
คูคต - วงแหวนรอบนอกตะวันออก
รายชื่อสถานี
สถานีโครงการในอนาคต
ส่วนต่อขยายของโครงการที่ถูกยกเลิก
ส่วนต่อขยายอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ – ลำลูกกาคลอง 7
- หน่วยงานที่รับผิดชอบ: สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร
- พื้นที่ที่เส้นทางผ่าน : เขตราชเทวี, เขตพญาไท, เขตดินแดง, เขตห้วยขวาง, เขตลาดพร้าว, เขตบางเขน, เขตดอนเมือง, เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร, อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
- เส้นทาง : แนวเส้นทางเริ่มต้นจากปลายสายที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเลี้ยวขวาเข้าถนนราชวิถีผ่านสามเหลียมดินแดงเข้าถนนดินแดงวิ่งตามถนนดินแดงและถนนอโศก-ดินแดงไปจนถึงแยกพระราม 9 เพื่อเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน จากนั้นวิ่งต่อไปจนถึงแยกประดิษฐ์มนูธรรมแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนประดิษฐ์มนูธรรม เลี้ยวซ้ายอีกครั้งที่แยกประดิษฐ์มนูธรรม-ลาดพร้าวเพื่อเข้าถนนลาดพร้าว และเลี้ยวขวาเข้าถนนลาดพร้าว-วังหิน เพื่อออกสู่ถนนลาดปลาเค้าและถนนประเสริฐมนูกิจ จากนั้นเบี่ยงซ้ายตามถนนผลาสินธุ์ออกสู่ถนนพหลโยธิน แล้วเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนลำลูกกา เพื่อสิ้นสุดเส้นทางที่ย่านลำลูกกาคลอง 7 อย่างไรก็ดีแผนส่วนต่อขยายนี้ไม่ได้ถูกนำมาดำเนินการจริง เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนที่ตั้งของศูนย์ซ่อมบำรุงมาอยู่ย่านหมอชิต รวมถึงสภาพเศรษฐกิจในขณะนั้น และปัจจุบันแนวศึกษาของโครงการมีเส้นทางรถไฟฟ้าทดแทนหลายเส้นทาง เช่น ช่วงแยกผังเมือง - ประดิษฐ์มนูธรรม เป็นส่วนหนึ่งของรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงประดิษฐ์มนูธรรม - ลาดพร้าว 80 เป็นส่วนหนึ่งของรถไฟฟ้าสายสีเทา ช่วงลาดพร้าว 80 - ลาดพร้าว-วังหิน เป็นส่วนหนึ่งของรถไฟฟ้าสายสีเหลือง และช่วงบางบัว - ลำลูกกา เป็นส่วนหนึ่งของส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท ช่วงหมอชิต - สะพานใหม่ - คูคตในปัจจุบัน[9]
ส่วนต่อขยายสุขุมวิท - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
- หน่วยงานที่รับผิดชอบ: สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร
- พื้นที่ที่เส้นทางผ่าน : เขตวัฒนา, เขตสวนหลวง, เขตประเวศ, เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร, อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
- เส้นทาง : แนวเส้นทางนี้ปรากฏขึ้นครั้งแรกในแผนการขยายแนวเส้นทางระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ตามมติการประชุมร่วมกับคณะกรรมการจัดการจราจรทางบก (คจร.) เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2547 ที่คจร. มีมติให้กรุงเทพมหานครศึกษาแนวทางเพิ่มเติมเพื่อต่อขยายสายทางภายใน พ.ศ. 2552 โดยแนวเส้นทางจะต่อขยายจากสถานีอ่อนนุช แล้วเลี้ยวขวาเข้าถนนอ่อนนุช ผ่านแยกสวนหลวง แยกพัฒนาการ เข้าสู่ถนนลาดกระบัง จากนั้นเลี้ยวขวาเข้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในแนวเดียวกับถนนสุวรรณภูมิ 1 เพื่อสิ้นสุดทั้งโครงการที่สถานีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งจะยกระดับอยู่ด้านหน้าอาคารผู้โดยสารหลัก รวมระยะทาง 20 กิโลเมตร แต่เนื่องจากแนวเส้นทางส่วนใหญ่เป็นแนวคู่ขนานกับ รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ช่วงรามคำแหง - สุวรรณภูมิ ถึงแม้จะเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระให้กับโครงการ รวมถึงขนส่งผู้โดยสารออกไปตามแนวถนนอ่อนนุช และถนนลาดกระบัง แต่ด้วยข้อกังขาเรื่องการลงทุน กรุงเทพมหานครจึงไม่ได้เสนอส่วนต่อขยายนี้ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา[10]
ส่วนต่อขยายอ่อนนุช - บางนา - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
- หน่วยงานที่รับผิดชอบ : สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร
- พื้นที่ที่เส้นทางผ่าน : เขตบางนา กรุงเทพมหานคร
- เส้นทาง : แนวเส้นทางนี้ปรากฏขึ้นครั้งแรกในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2537 (MTMP) และแผนแม่บทเพื่อการปฏิบัติจริง พ.ศ. 2539 (CTMP) โดยแนวเส้นทางจะต่อขยายจากสถานีอ่อนนุชไปยังสถานีอุดมสุข แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนบางนา-บางปะกง มุ่งหน้าไปทางจังหวัดชลบุรีจนถึงกิโลเมตรที่ 16 แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าพื้นที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิด้านใต้ แต่ด้วยสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ฟื้นฟูดีในการปรับปรุงแผนแม่บทเมื่อครั้ง พ.ศ. 2543 (URMAP) จึงได้ยกเลิกเส้นทางดังกล่าวไป ต่อมาในการประชุมร่วมกับคณะกรรมการจัดการจราจรทางบก (คจร.) เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2547 คจร. มีมติให้กรุงเทพมหานครศึกษาแนวทางเพิ่มเติมเพื่อต่อขยายสายทางภายใน พ.ศ. 2552 กรุงเทพมหานครจึงหยิบเอาแนวเส้นทางดังกล่าวกลับมาพิจารณา โดยลดระยะทางเหลือเพียงกิโลเมตรที่ 4 บริเวณวัดศรีเอี่ยม รวมระยะทาง (จากสถานีอุดมสุข) 4.4 กิโลเมตร แต่เนื่องจากแนวเส้นทางเป็นเส้นทางระยะสั้น จึงไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน ประกอบกับเส้นทางช่วงอ่อนนุช - สุวรรณภูมิไม่ได้ถูกนำเสนอเข้าพิจารณา กรุงเทพมหานครจึงมีแนวคิดในการต่อขยายเส้นทางจากวัดศรีเอี่ยมออกไปอีก 12 กิโลเมตร เพื่อสิ้นสุดที่บริเวณอาคารผู้โดยสารฝั่งใต้ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิตามแผนแม่บทเดิมเมื่อ พ.ศ. 2539 ก่อนแยกโครงการออกมาดำเนินการต่างหากในชื่อ รถไฟฟ้าสายสีเงิน และลดระดับโครงการจากรถไฟฟ้ารางหนักเป็นรถไฟฟ้ารางเบา
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|
---|
สายเหนือ (N) | วงแหวนรอบนอกตะวันออก–คูคต (โครงการ) | |
---|
คูคต–สะพานใหม่ | |
---|
สะพานใหม่–หมอชิต | |
---|
หมอชิต–สยาม | |
---|
|
---|
สายตะวันออก (E) | สยาม–อ่อนนุช | |
---|
อ่อนนุช–แบริ่ง | |
---|
แบริ่ง–เคหะฯ | |
---|
เคหะฯ–บางปู (โครงการ) | |
---|
|
---|