ท่าอากาศยานดอนเมือง
ท่าอากาศยานดอนเมือง (ชื่อเดิมคือ ท่าอากาศยานกรุงเทพ) หรือที่เรียกกันติดปากว่า สนามบินดอนเมือง อักษรย่อ ทดม. เป็นท่าอากาศยานในประเทศไทย และเป็นท่าอากาศยานที่ให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศ (International Airport)[2] ที่ตั้งอยู่บนถนนวิภาวดีรังสิต แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง ช่วงกิโลเมตรที่ 24 ทางตอนเหนือของกรุงเทพมหานคร เป็นจุดศูนย์กลางทางการบินในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่สามารถเชื่อมโยงการคมนาคมทางอากาศไปยังจุดต่าง ๆ ของโลกได้อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการบินภายในทวีปเอเชียด้วยกัน หรือระหว่างทวีปยุโรป ทวีปอเมริกา ทวีปออสเตรเลีย ซึ่งสามารถใช้เป็นจุดแวะลงและเชื่อมต่อในการเดินทางของผู้โดยสารตลอดจนพัสดุไปรษณียภัณฑ์ไปยังจุดอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี ท่าอากาศยานดอนเมืองเปิดดำเนินการครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2457 หลังจากการเปิดใช้งานท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 ท่าอากาศยานดอนเมืองถูกเปลี่ยนเป็นสถานที่ซ่อมเครื่องบิน ฝึกบิน และสำหรับจอดเครื่องบินส่วนตัวของบุคคลสำคัญ อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา ท่าอากาศยานดอนเมืองได้กลับมาให้บริการเที่ยวบินแบบประจำ (Scheduled flight) ในประเทศอีกครั้ง หลังจากพบปัญหาหลายอย่างที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ท่าอากาศยานดอนเมืองได้กลับมาเปิดให้บริการในฐานะท่าอากาศยานนานาชาติแห่งที่ 2 อีกครั้ง เนื่องด้วยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ต้องการสานต่อจากนโยบายของรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ต้องการลดความแออัดของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิลง ด้วยเหตุนี้ทำให้ท่าอากาศยานดอนเมือง เป็นท่าอากาศยานที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และเก่าแก่ที่สุดในเอเชียที่ยังคงดำเนินการอยู่[3] ปัจจุบัน ท่าอากาศยานดอนเมืองรับเที่ยวบินจากประเทศกัมพูชา ประเทศมาเลเซีย ประเทศพม่า ประเทศเวียดนาม ประเทศไต้หวัน ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศอินเดีย ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศเนปาล ประเทศศรีลังกา และ ประเทศออสเตรเลีย ที่ตั้งท่าอากาศยานดอนเมือง ตั้งอยู่ริมถนนวิภาวดีรังสิต ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศเหนือประมาณ 24 กิโลเมตร ดอนเมืองได้รับการขยายพื้นที่ตลอดมา โดยการขอซื้อที่ดินของกรมรถไฟหลวงที่มีพื้นที่ติดต่อกับท่าอากาศยานดอนเมืองบ้าง และซื้อจากเอกชนบ้าง จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2538 พื้นที่ท่าอากาศยานกรุงเทพมีจำนวน 3,881 ไร่ โดยผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สิน ที่ดิน และการบริการอากาศยานพาณิชย์อย่างเป็นทางการ คือ กองทัพอากาศไทย และ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ประวัติสำรวจหาที่ตั้งท่าอากาศยานแห่งใหม่นับตั้งแต่การยกเลิกใช้สนามบินสระปทุม ส่วนหนึ่งของสนามม้าราชกรีฑาสโมสร ซึ่งถือเป็นสนามบินแห่งแรกของสยามประเทศ เนื่องจากสาเหตุคือมีพื้นที่คับแคบ มีเนื้อที่จำกัด และมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ไม่เหมาะสม ทางราชการจึงได้คิดหาสถานที่ใหม่ที่มีบริเวณกว้างขวาง เป็นพื้นที่ดอน น้ำไม่ท่วม ไม่ห่างไกลจากพระนครและเป็นพื้นที่ที่สามารถพัฒนาเป็นสนามบินขนาดใหญ่ต่อไปได้ในอนาคต โดยมีพันโท พระยาเฉลิมอากาศ (สุณี สุวรรณประทีป) หัวหน้านายทหารนักบินชุดแรกของประเทศไทยซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานยศและบรรดาศักดิ์ครั้งสุดท้ายเป็นพลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ ทำหน้าที่เป็นบุคคลสำคัญในการแสวงหาพื้นที่ที่เหมาะสมที่จะสร้างเป็นสนามบินถาวร จากการบินสำรวจทางอากาศพระยาเฉลิมอากาศได้พบเห็นผืนนาซึ่งเป็นที่ดอน อยู่ทางตอนเหนือของอำเภอบางเขน เป็นพื้นที่ที่เหมาะสม จึงได้บินลงมาสำรวจทางพื้นดิน ได้ความว่า พื้นที่บริเวณนั้นชาวบ้านเรียกว่า "ดอนอีเหยี่ยว" เพราะมีฝูงเหยี่ยวบินมารวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ในบริเวณที่ดอนแห่งนี้ ทั้งยังมีทางรถไฟสายเหนือวิ่งผ่าน พื้นที่นี้อยู่ห่างจากสนามบินสระปทุมไปทางเหนือใช้เวลาบินประมาณ 13 นาที (ด้วยเครื่องบินเบรเกต์ในสมัยนั้น) คิดเป็นระยะทางประมาณ 22 กิโลเมตรเศษ บริเวณนี้เป็นที่นาที่หลายเจ้าของ เช่น หมื่นหาญใจอาจ (พู่ จามรมาน) ซึ่งท่านผู้นี้มีที่นาจำนวนมาก ได้ยกที่ดินส่วนหนึ่งให้สร้างเป็นวัด สมัยนั้นยังไม่มีชื่อ ชาวบ้านเรียกว่า "วัดดอนอีเหยี่ยว" ต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งกองบินขึ้นที่บริเวณนี้และเรียกกันว่า "ดอนเมือง" วัดนี้จึงถูกเรียกว่า "วัดดอนเมือง" ตามชื่อสนามบินไปด้วย นอกจากนั้นยังมีที่นาของพระยาอร่ามมณเฑียร และราษฎรคนอื่น ๆ อีกหลายคน บางส่วนเป็นที่ดินของกรมรถไฟหลวง พันโทพระยาเฉลิมอากาศได้รายงานขึ้นตามลำดับชั้น เพื่อขอจัดสร้างสนามบินถาวรขึ้นที่บริเวณนี้ กระทรวงกลาโหมจึงได้จัดซื้อบ้าง ขอเวนคืนบ้าง และมีผู้บริจาคให้เป็นประโยชน์แก่ทางราชการบ้าง กรมเกียกกายทหารบกได้เริ่มดำเนินการปรับพื้นที่ให้เป็นสนามหญ้าที่เครื่องบินสามารถวิ่งและบินขึ้น-ลงได้ พร้อมทั้งสร้างโรงเก็บเครื่องบิน และอาคารสถานที่ทำการตามความจำเป็น การก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2457 กรมเกียกกายทหารบกจึงส่งมอบให้กรมจเรการช่างทหารบกรับช่วงดูแลต่อ และเรียกชื่อสนามบินนี้ว่า "สนามบินดอนเมือง" ต่อมาเมื่อวันที่ 8 มีนาคม นายทหารนักบินทั้ง 3 นาย นำเครื่องบินจากสนามบินสระปทุมมาลงที่สนามบินดอนเมืองเป็นปฐมฤกษ์ในตอนเช้า จนกระทั่งวันที่ 27 มีนาคม กระทรวงกลาโหมได้ออกคำสั่งตั้งกองบินทหารบกขึ้น และย้ายเข้าที่ตั้งถาวรที่สนามบินดอนเมือง นับเป็นรากฐานการเริ่มต้นของกิจการการบินของไทยที่มั่นคง และภายหลังกองทัพอากาศได้ถือเอาวันที่ 27 มีนาคม เป็นวันที่ระลึกของกองทัพอากาศ การเปิดใช้งานและช่วงแรกเริ่มพื้นที่ของสนามบินดอนเมืองในสมัยเริ่มแรก จากการสำรวจเมื่อวันที่ 1 มีนาคม มีพื้นที่ 1,770 ไร่ พื้นดินเป็นสนามหญ้า มีผิวดินชนิดดินปนทรายแดง เครื่องบินขนาดใหญ่ของสายการบินพาณิชย์ไม่สามารถใช้ขึ้นลงได้ในฤดูฝน ดังนั้นในปี พ.ศ. 2476 รัฐบาลจึงอนุมัติให้กระทรวงเศรษฐการและกระทรวงมหาดไทย ร่วมกันดำเนินการสร้างทางวิ่งเป็นคอนกรีตและลาดยางแอสฟัลต์ พร้อมกับให้สร้างถนนเชื่อมระหว่างสนามบินดอนเมืองกับใจกลางพระนคร คือถนนพหลโยธิน ทางวิ่งดังกล่าวแล้วเสร็จเรียบร้อยเปิดใช้การได้ในวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2478 ปี พ.ศ. 2483 กองทัพอากาศได้จัดตั้งกองการบินพลเรือนขึ้นดำเนินงานเกี่ยวกับการบินระหว่างประเทศ ซึ่งในปี พ.ศ. 2491 ได้ยกฐานะขึ้นเป็นกรมการบินพลเรือน ได้เข้ามาดำเนินการปรับปรุงสนามบินดอนเมือง และเรียกชื่อว่า ท่าอากาศยานดอนเมือง (อังกฤษ: Don Mueang Airport) จัดเป็นท่าอากาศยานสากล จนกระทั่งวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2498 จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น ท่าอากาศยานกรุงเทพ หรือ ทกท. (อังกฤษ: Bangkok Airport ต่อมาเปลี่ยนเป็น Bangkok International Airport) อยู่ภายใต้การดูแลของการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยต่อมาในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (ทอท.) ได้รับการจัดตั้งตามพระราชบัญญัติการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2522 เป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น ส่งผลทำให้ท่าอากาศยานดอนเมืองที่สังกัดกับกรมการบินพลเรือน กองทัพอากาศ ได้รับการโอนกิจการย้ายมาสังกัดกับ ทอท. แทน โดยอาศัยตามความบทเฉพาะกาล มาตรา 50 ของพระราชบัญญัติดังกล่าว[4] การเติบโตของท่าอากาศยานแต่ละแห่งสามารถวัดได้จากอัตราการเจริญเติบโตของปริมาณผู้โดยสาร จำนวนการขึ้น-ลงของอากาศยาน และปริมาณการขนถ่ายสินค้าทางอากาศ ซึ่งผลการให้บริการของท่าอากาศยานกรุงเทพ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 นับเป็นท่าอากาศยานพาณิชย์สากลที่สำคัญมากในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากเป็นศูนย์กลางและเป็นจุดเชื่อมต่อของเส้นทางการบินพาณิชย์ระหว่างประเทศของภูมิภาคนี้ได้อย่างเหมาะสม สถิติในช่วงปีงบประมาณ 2522–2548 ของผลการดำเนินงานให้บริการทางอากาศในด้านการขึ้น-ลงของอากาศยาน พบว่าในปีงบประมาณ 2522 มีเที่ยวบินรวม 51,518 เที่ยวบิน และเพิ่มขึ้นเป็น 265,122 เที่ยวบินในปีงบประมาณ 2548 ซึ่งมีอัตราการเพิ่มเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 6.69 โดยในปีงบประมาณ 2548 ให้บริการสายการบินแบบประจำขนส่งผู้โดยสารรวม 79 สายการบิน เที่ยวบินร่วม 7 สายการบิน และเที่ยวบินขนส่งสินค้าอย่างเดียวอีก 11 สายการบิน ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มเที่ยวบินของสายการบินราคาประหยัด ในส่วนของจำนวนผู้โดยสารรวมของท่าอากาศยานกรุงเทพเพิ่มขึ้นจาก 5,135,490 คน ในปีงบประมาณ 2522 เป็น 38,889,229 คน ในปีงบประมาณ 2548 ซึ่งมีอัตราการเพิ่มเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 8.45 โดยเฉพาะในช่วงปีงบประมาณ 2530–2532 ผลการดำเนินงานให้บริการในด้านผู้โดยสารอยู่ในระดับที่ดีมาก ทั้งนี้เนื่องจากปี 2530 รัฐบาลได้ประกาศให้เป็นปีการท่องเที่ยวไทย ประกอบกับปี 2531 เป็นปีที่เศรษฐกิจไทยขยายตัวสูงสุดในรอบ 30 ปีของการพัฒนา หลังการเปิดใช้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเมื่อมีการย้ายเที่ยวบินพาณิชย์ทั้งหมดไปสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 จึงเป็นเหตุให้การบริการสำหรับเที่ยวบินเพื่อการพาณิชย์ทั้งหมดในท่าอากาศยานดอนเมืองต้องหยุดตัวลงในวันเดียวกัน แต่อย่างไรก็ตาม ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 มติของคณะรัฐมนตรีในสมัยพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ก็ได้มีความต้องการที่จะให้มีการเปิดบริการที่ท่าอากาศยานดอนเมืองอีกรอบหนึ่ง เนื่องมาจากพบปัญหาหลายประการของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และเพื่อการขยายและพัฒนาประสิทธิภาพของดอนเมืองให้มีความคล่องตัว รองรับในระบบการอากาศยาน นอกเหนือจากการบินพาณิชย์แล้ว ทำให้มีการกลับมาเปิดให้บริการอีกรอบหนึ่งและกลับมาใช้ชื่อว่า ท่าอากาศยานดอนเมือง เหมือนเช่นเดิม ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา โดยมีการบินไทย นกแอร์ วัน-ทู-โก และพีบีแอร์ มาเปิดให้บริการในลำดับแรก[5] อาคารผู้โดยสารปัจจุบันท่าอากาศยานดอนเมืองมีอาคารผู้โดยสาร 3 อาคาร คือ อาคาร 1 อาคาร 2 และอาคารผู้โดยสารในประเทศหลังเดิม ทุกอาคารตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของสนามบิน ด้านหน้าติดกับถนนวิภาวดีรังสิต เรียงลำดับจากทิศเหนือไปทิศใต้ (จากซ้ายไปขวาเมื่อหันหน้าเข้าหาสนามบินจากถนนวิภาวดีรังสิต) โดยอาคารแรกที่ก่อสร้าง คือ อาคาร 3 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2528 (โดยมีการขยายอาคาร 3 เพิ่มเติมในภายหลัง ซึ่งแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2538) ต่อมา คือ อาคาร 1 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2531 และสุดท้าย คือ อาคาร 2 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2538[6][7][8] ท่าอากาศยานเมือง มีหลุมจอดอากาศยานทั้งหมด 101 หลุมจอด โดยแบ่งเป็นหลุมจอดที่เชื่อมต่อกับประตูทางออกอาคารผู้โดยสาร(Contact Gate) อาคาร 1 จำนวน 35 หลุมดจอด และเป็นหลุมจอดที่ไม่เชื่อมต่อกับประตูทางออก(Remote Parking) จำนวน 66 หลุมจอด อาคารผู้โดยสาร 1 (อาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ)เปิดให้บริการในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2530 และเปิดอย่างเต็มรูปแบบในเดือนกันยายน พ.ศ. 2530 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคาร 1 เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2530 อาคาร 1 มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 109,033 ตารางเมตร ในช่วงที่ใช้งานเต็มรูปแบบครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ. 2549 รองรับผู้โดยสารได้ 16 ล้านคนต่อปี ปัจจุบันรองรับผู้โดยสารได้ 18.5 ล้านคนต่อปี[7][9] ก่อนท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเปิดใช้ อาคาร 1 ใช้เป็นอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ หลังจากนั้นได้ปิดใช้งานพร้อมกับการย้ายสายการบินที่ทำการบินแบบประจำทั้งหมดไปยังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในคืนวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 คงเหลือแต่เฉพาะสายการบินที่ทำการบินแบบเช่าเหมาลำเท่านั้น แม้จะมีการนำเที่ยวบินภายในประเทศบางเที่ยวบินมาทำการบินที่ท่าอากาศยานดอนเมือง ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2550 แต่ใช้พื้นที่ทำการที่อาคาร 3 (อาคารผู้โดยสารในประเทศ) ไม่ได้ใช้อาคาร 1[10][11] ต่อมา เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554 บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ได้ย้ายการปฏิบัติการของสายการบินภายในประเทศ (ขณะนั้น คือ นกแอร์ - เอสจีเอ แอร์ไลน์ - โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ - โซล่าแอร์) จากอาคาร 3 มารวมกับสายการบินระหว่างประเทศที่ทำการบินแบบเช่าเหมาลำ ที่อาคาร 1 เนื่องจากอาคาร 1 มีพื้นที่รองรับการเติบโตของจำนวนผู้โดยสารในอนาคตได้มากกว่า และขณะนั้น ทอท. ต้องการใช้ประโยชน์อาคาร 3 รวมทั้งอาคารคลังสินค้าและพื้นที่โดยรอบเพื่อดำเนินการตามแผนการใช้ประโยชน์ท่าอากาศยานดอนเมืองให้เต็มประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น โครงการศูนย์ซ่อมอากาศยาน โครงการบริหารจัดการอะไหล่อากาศยาน โครงการศูนย์ขนส่งกระจายสินค้า โครงการศูนย์ประชุมและนิทรรศการ ฯลฯ[12][13] สำหรับการใช้อาคาร 1 เพื่อรองรับเที่ยวบินในประเทศ ทอท. ได้แบ่งพื้นที่ภายในอาคารเป็น 2 ส่วน คือ พื้นที่ฝั่งทิศเหนือใช้สำหรับผู้โดยสารระหว่างประเทศ ทิศใต้สำหรับผู้โดยสารภายในประเทศ และใช้ทางเข้าสู่จุดตรวจค้นผู้โดยสารขาออกฝั่งทิศเหนือใช้สำหรับผู้โดยสารระหว่างประเทศ ฝั่งทิศใต้สำหรับผู้โดยสารในประเทศ เที่ยวบินระหว่างประเทศใช้อาคารเทียบเครื่องบินฝั่งเหนือ (ประตูทางออกขึ้นเครื่อง 1–6 [บัสเกต] และ 12 14–15) ส่วนเที่ยวบินในประเทศใช้อาคารเทียบเครื่องบิน 2 และ 3 (ประตูทางออกขึ้นเครื่อง 21–26 31–36 และ 71–77 [บัสเกต]) ซึ่งในช่วงแรกได้เปิดใช้เฉพาะอาคารเทียบเครื่องบิน 3 ก่อน จากนั้นอาคารเทียบเครื่องบิน 2 จึงเปิดใช้ตามมาในวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555 สำหรับผู้โดยสารขาเข้าระหว่างประเทศจะใช้สายพานรับกระเป๋า 1–3 และในประเทศใช้สายพานรับกระเป๋า 4–6 แต่ยังคงใช้ห้องโถงเคาน์เตอร์ตรวจบัตรโดยสารเดียวกัน อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2554 ทอท. จำเป็นต้องปิดให้บริการท่าอากาศยานดอนเมืองชั่วคราว เนื่องจากเหตุการณ์มหาอุทกภัยในปีนั้น ส่งผลให้น้ำเริ่มไหลเข้ามาจากด้านทิศเหนือและเข้าท่วมผิวทางวิ่งและพื้นที่ภายในท่าอากาศยาน โดยสายการบินที่ทำการบินแบบประจำอยู่ในช่วงเวลาดังกล่าวได้หยุดให้บริการตั้งแต่ประมาณ 12.00 น. ของวันนั้น ก่อนย้ายไปให้บริการชั่วคราวที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และกรมการบินพลเรือนได้ออกประกาศหยุดทำการบินตั้งแต่เวลาประมาณ 14.00 น. ของวันเดียวกันด้วยเหตุผลด้านความไม่ปลอดภัยต่อการบิน[14] แต่ด้วยน้ำที่ท่วมภายในท่าอากาศยานมีระดับสูงสุดถึงเกือบ 4 เมตร น้ำจึงได้เข้าท่วมชั้นใต้ดินและชั้น 1 ภายในอาคารผู้โดยสารทั้งหมด ทำให้อาคาร 1 ซึ่งเปิดใช้งานอยู่ขณะนั้นจึงได้รับความเสียหายอย่างหนัก ซึ่งแม้น้ำที่ท่วมจะลดระดับลงจนเข้าสู่สภาวะปกติตั้งแต่ต้นเดือนธันวาคม พ.ศ. 2554 และ ทอท. เปิดใช้ทางวิ่งฝั่งตะวันออกตั้งแต่ปลายเดือนมกราคม พ.ศ. 2555 แล้วก็ตาม แต่ก็ต้องใช้เวลาในการบูรณะซ่อมแซมอาคาร 1 ประมาณ 4 เดือน ด้วยงบประมาณ 441 ล้านบาท (งบประมาณฟื้นฟูท่าอากาศยานทั้งหมด 930 ล้านบาท) ก่อนจะเปิดใช้งานได้อีกครั้ง พร้อมกับทางวิ่งฝั่งตะวันตกและระบบสนับสนุนต่าง ๆ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2555 และเริ่มให้บริการเชิงพาณิชย์ตั้งแต่วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป[15][16] จนกระทั่ง วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555 คณะรัฐมนตรีจึงได้อนุมัติงบประมาณจำนวน 1,600 ล้านบาท ให้ ทอท. นำไปปรับปรุงท่าอากาศยานดอนเมือง เพื่อมุ่งเน้นให้เป็นท่าอากาศยานสำหรับสายการบินต้นทุนต่ำ (โลว์คอสต์ แอร์ไลน์) และเป็นศูนย์กลางเส้นทางการบินในแบบจุดต่อจุด ตามความสมัครใจของแต่ละสายการบิน[17] โดย ทอท. ได้ใช้งบประมาณดังกล่าวเพื่อปรับปรุงบางส่วนของอาคาร 1 และอาคารเทียบเครื่องบิน 2–4 ก่อนจะเปิดให้บริการท่าอากาศยานดอนเมืองแบบเต็มรูปแบบ โดยให้สายการบินระหว่างประเทศที่ทำการบินแบบประจำเข้ามาใช้พื้นที่ทำการที่อาคาร 1 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555[18][19] ในการนี้ ทอท. ได้ปรับการใช้งานอาคารเทียบเครื่องบินที่เชื่อมต่อกับอาคาร 1 ใหม่ โดยให้เที่ยวบินระหว่างประเทศใช้อาคารเทียบเครื่องบินฝั่งเหนือและอาคารเทียบเครื่องบิน 2 (ประตูทางออกขึ้นเครื่อง 1–6 [บัสเกต] 12 14–15 และ 21–26) ส่วนเที่ยวบินในประเทศใช้อาคารเทียบเครื่องบิน 3 และ 4 (ประตูทางออกขึ้นเครื่อง 31–36 41–46 และ 71–77 [บัสเกต]) แต่การแบ่งการใช้งานห้องโถงเคาน์เตอร์ตรวจบัตรโดยสารและห้องโถงรับกระเป๋าสัมภาระยังคงเหมือนเช่นเดิม[20] อาคาร 1 เป็นอาคาร 4 ชั้น และชั้นใต้ดินอีก 1 ชั้น โดยแบ่งพื้นที่การใช้งาน ดังนี้
หลังจากการเปิดให้บริการอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศหลังใหม่ที่สร้างบนพื้นที่เดิมของอาคาร 3 ในปี พ.ศ. 2571 บมจ. ท่าอากาศยานไทย มีแผนปิดให้บริการอาคาร 1 ชั่วคราว เพื่อปรับปรุงเป็นอาคารผู้โดยสารภายในประเทศต่อไป[21] อาคารผู้โดยสาร 2 (อาคารผู้โดยสารในประเทศ)เปิดให้บริการเมื่อปี พ.ศ. 2538[22] และใช้เป็นอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศเพื่อรองรับการขยายตัวของจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นร่วมกับอาคาร 1 มีพื้นที่ 106,586.5 ตารางเมตร โดยอาคาร 2 ให้บริการอย่างต่อเนื่องมาจนถึงวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 ได้ปิดตัวลงเพื่อย้ายสายการบินทั้งหมดที่ใช้งานอาคารหลังนี้ไปยังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยในช่วงที่ใช้งานเต็มรูปแบบครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ. 2549 อาคาร 2 รองรับผู้โดยสารได้ 9 ล้านคนต่อปี หลังจาก ทอท. ได้เปิดให้บริการท่าอากาศยานดอนเมืองแบบเต็มรูปแบบ ทอท. ได้เริ่มปรับปรุงอาคาร 2 เพื่อใช้เป็นอาคารผู้โดยสารในประเทศ ตามแผนการพัฒนาท่าอากาศยานดอนเมือง ระยะที่ 2 ซึ่งเปิดให้บริการบางส่วนตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2559 (วันครบรอบ 102 ปี ของท่าอากาศยานดอนเมือง) โดยหลังจากปรับปรุงแล้ว อาคาร 2 จะรองรับผู้โดยสารได้ 11.5 ล้านคนต่อปี จากเดิม 9 ล้านคนต่อปี นอกจากนี้ได้มีการเปิดใช้งานอาคารเทียบเครื่องบิน 5 และทางเชื่อมฝั่งทิศใต้ (เซาท์ คอร์ริดอร์) ซึ่งได้ทำการปรับปรุงพร้อมกับอาคาร 2 ขึ้นใหม่อีกครั้ง ในปลายเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 ทำให้เที่ยวบินในประเทศสามารถใช้อาคารเทียบเครื่องบินได้เพิ่มอีก 1 อาคาร รวมเป็น 3 อาคาร คือ อาคารเทียบเครื่องบิน 3 4 และ 5 (ประตูทางออกขึ้นเครื่อง 31–36 41–46 51–56 และ 71–78 [บัสเกต]) โดยเชื่อมต่อกับอาคาร 2 ขณะที่เที่ยวบินระหว่างประเทศใช้อาคารเทียบเครื่องบินฝั่งเหนือ อาคารเทียบเครื่องบิน 2 และ 3 (ประตูทางออกขึ้นเครื่อง 1-6 [บัสเกต] 12 14–15 21–26 และ 31–36) โดยเชื่อมต่อกับอาคาร 1 เช่นเดิม (เดิมหลังเปิดใช้อาคาร 2 ทอท. จะปรับการใช้งานอาคารเทียบเครื่องบินใหม่ โดยให้เที่ยวบินในประเทศใช้อาคารเทียบเครื่องบิน 4 และ 5 เท่านั้น และเปลี่ยนอาคารเทียบเครื่องบิน 3 ไปใช้กับเที่ยวบินระหว่างประเทศ) อาคารผู้โดยสาร 2 เป็นอาคาร 4 ชั้น โดยแบ่งพื้นที่การใช้งานเป็น 2 ส่วน คือ พื้นที่นอกเขตห้าม (แลนด์ไซด์) สำหรับผู้โดยสารและบุคคลทั่วไป และพื้นที่ในเขตห้าม (แอร์ไซด์) เฉพาะผู้โดยสารและเจ้าหน้าที่ พื้นที่นอกเขตห้าม ประกอบด้วย
พื้นที่ในเขตห้าม ประกอบด้วย
อาคารผู้โดยสารภายในประเทศ หลังเดิมอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ อาคารหลังเดิมที่เป็นอาคาร 2 ชั้น อยู่ทางฝั่งทิศเหนือ เปิดใช้งานในปี พ.ศ. 2528 โดยภายหลังมีเฉพาะส่วนบริการสำหรับผู้โดยสารขาออกที่ชั้น 1 เท่านั้น และอาคารหลังใหม่ที่เป็นอาคาร 3 ชั้น อยู่ทางฝั่งทิศใต้และเชื่อมต่อกับอาคารเดิม ซึ่งเปิดใช้งานในปี พ.ศ. 2536 โดยมีส่วนผู้โดยสารขาออกเพิ่มเติมที่ชั้น 2 และมีส่วนผู้โดยสารขาเข้าที่ชั้น 1 โดยในช่วงที่ใช้งานเต็มรูปแบบครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ. 2549 อาคารหลังนี้รองรับผู้โดยสารได้ 9 ล้านคนต่อปี อาคารหลังใหม่ เป็นอาคาร 3 ชั้น โดยแบ่งพื้นที่การใช้งาน ดังนี้
อาคาร 3 ให้บริการอย่างต่อเนื่องมาจนถึงวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 จึงได้ปิดตัวลงเพื่อย้ายสายการบินภายในประเทศทั้งหมดไปยังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ต่อมาเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2550 สายการบินในประเทศที่ทำการบินแบบประจำ จำนวนหนึ่ง ได้แก่ การบินไทย นกแอร์ และวัน-ทู-โก (ภายหลังเปลี่ยนเป็นโอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ เมื่อ พ.ศ. 2553) ได้ย้ายการปฏิบัติการทั้งหมดจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ กลับมายังท่าอากาศยานดอนเมืองอีกครั้ง โดยใช้อาคาร 3 เป็นพื้นที่ให้บริการ ยกเว้นการบินไทยที่ยังคงให้บริการเที่ยวบินภายในประเทศบางส่วนในเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เชียงราย ภูเก็ต และกระบี่ ซึ่งเป็นเที่ยวบินเชื่อมต่อสำหรับผู้โดยสารต่างประเทศที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิต่อไป โดยมีเที่ยวบินออกจากดอนเมืองในจุดบิน 4 จุดดังกล่าวเช่นเดียวกัน นอกจากนี้การบินไทยยังได้เปิด ไทย ซิตี้ แอร์ เทอร์มิน่อล (ท่าอากาศยานดอนเมือง) บริเวณโถงชั้น 1 อาคารจอดแล้วจรของ รฟม. ที่เชื่อมต่อกับสถานีลาดพร้าวของรถไฟฟ้ามหานคร (สายสีน้ำเงิน) เพื่อเป็นการเพิ่มจุดบริการตรวจบัตรโดยสารให้แก่ผู้โดยสารที่จะเดินทางไปท่าอากาศยานดอนเมือง โดยมีบริการรถเวียนระหว่างสถานีลาดพร้าวและท่าอากาศยานดอนเมือง[23][24] อย่างไรก็ดี ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2552 การบินไทย ได้ย้ายการปฏิบัติการของเที่ยวบินในประเทศกลับไปยังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิทั้งหมด เพื่อลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อเที่ยวบินของผู้โดยสารและผู้ส่งสินค้า และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เครื่องบินและอุปกรณ์บริการภาคพื้น ตามนโยบายการเสริมสร้างศักยภาพให้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศของภูมิภาคของรัฐบาลในขณะนั้น ขณะที่นกแอร์และวัน-ทู-โก ยังคงให้บริการที่อาคาร 3 ท่าอากาศยานดอนเมืองต่อไป[25][26] จนกระทั่ง วันที่ 1 สิงหาคม 2554 ทอท. จึงได้ย้ายพื้นที่ปฏิบัติการของสายการบินในประเทศไปยังอาคาร 1 ทั้งหมด อีกทั้งปลายปี พ.ศ. 2554 อาคาร 3 ได้รับความเสียหายอย่างหนักจากเหตุการณ์มหาอุทกภัย และหลังจากนั้นยังไม่ได้รับการฟื้นฟูให้ใช้งานได้ตามเดิม ปัจจุบันจึงไม่มีสายการบินใดที่เปิดทำการให้บริการที่อาคาร 3 ในอนาคต บมจ. ท่าอากาศยานไทย มีแผนรื้อถอนอาคาร 3 ทั้งหมด เพื่อก่อสร้างอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศหลังใหม่ ซึ่งย้ายการให้บริการมาจากอาคาร 1 โดยกำหนดเปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2571 จากนั้นจะปิดการใช้งานอาคาร 1 เพื่อปรับปรุงเป็นอาคารผู้โดยสารภายในประเทศต่อไป[21] อาคารผู้โดยสารหลังเดิมในอดีตก่อนจะมีการก่อสร้างอาคาร 1 ท่าอากาศยานดอนเมืองมีอาคารผู้โดยสารเพียงหลังเดียว (อยู่ทางทิศเหนือของอาคาร 1) สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2513–2516 แบ่งเป็น 3 ส่วน เรียงจากเหนือไปใต้
อาคารผู้โดยสารหลังเดิมนี้ เชื่อมต่อกับอาคารเทียบเครื่องบินที่มีสะพานเทียบเครื่องบิน 4 ชุด (ขณะนั้นท่าอากาศยานดอนเมือง มีหลุมจอดแบบประชิดอาคาร 4 หลุมจอด โดยเครื่องบินจะจอดหันหน้าเข้าสู่อาคารในแนวเฉียงไปทางทิศเหนือ) ภายหลังอาคารส่วนนี้ใช้เป็นอาคารเทียบเครื่องบินฝั่งเหนือ (นอร์ท คอร์ริดอร์) เชื่อมต่อกับอาคาร 1 และใช้มาจนถึงปัจจุบัน[6] ปัจจุบัน อาคารส่วนที่ 1 ใช้เป็นอาคารผู้โดยสารส่วนบุคคล (ไพรเวท เจ็ท เทอร์มินอล) โดยก่อนหน้านั้นได้ปรับปรุงเป็นอาคารห้องรับรองพิเศษระหว่างประเทศ อาคารส่วนที่ 2 ใช้เป็นอาคารสำนักงานของท่าอากาศยาน โดยส่วนถนนยกระดับหน้าอาคารชั้น 2 ที่เชื่อมกับสะพานกลับรถใช้เป็นทางเข้าอาคารผู้โดยสาร 1 อาคารส่วนที่ 3 หรือเรียกว่า อาคารส่วนกลาง (เซ็นทรัล บล็อก) ใช้เป็นอาคารสำนักงานของสายการบินและส่วนบริการต่าง ๆ โดยลานจอดรถหน้าอาคารใช้เป็นลานจอดรถโดยสารขนาดใหญ่ รวมทั้งรถเวียนรับส่งระหว่างท่าอากาศยานดอนเมือง-สุวรรณภูมิ (ชัตเทิ้ล บัส) สำหรับหอบังคับการบินบนหลังคาอาคาร มีสร้างหลังใหม่ทดแทน บริเวณทิศใต้ของอาคารผู้โดยสาร 3 แล้ว อาคารเทียบเครื่องบินท่าอากาศยานดอนเมืองใช้อาคารผู้โดยสารรูปแบบคล้ายนิ้วมือ (เพียร์ ฟิงค์เกอร์ เทอร์มินอล) มีอาคารเทียบเครื่องบิน 6 อาคาร เรียงจากทิศเหนือไปใต้ คือ อาคารฝั่งเหนือ (นอร์ท คอร์ริดอร์ หรือเพียร์ 1) อาคาร 2 3 4 5 และ 6 (เพียร์ 2 3 4 5 และ 6) โดยอาคาร 2-6 ยื่นออกจากอาคารผู้โดยสารหลักเข้าไปในลานจอดอากาศยานในแนวตั้งฉาก ส่วนอาคารฝั่งเหนือยื่นออกไปทางทิศเหนือในแนวขนานกับอาคารผู้โดยสารหลัก ปัจจุบันอาคารเทียบเครื่องบิน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 คือ อาคารที่เชื่อมกับอาคารผู้โดยสาร 1 และ 2 ประกอบด้วย อาคารฝั่งเหนือและอาคาร 2–5 กลุ่มที่ 2 คือ อาคารที่เชื่อมกับในประเทศหลังใหม่ (อาคารผู้โดยสาร 3) ซึ่งมีเฉพาะอาคาร 6 เท่านั้น โดยอาคารเทียบเครื่องบิน 3 และ 4 เป็นอาคารที่สร้างขึ้นพร้อมกับอาคารผู้โดยสาร 1 และเปิดใช้งานพร้อมกันในปี พ.ศ. 2530 ต่อมาปลายปี พ.ศ. 2531 อาคารเทียบเครื่องบิน 2 จึงสร้างแล้วเสร็จ สำหรับอาคารเทียบเครื่องบินฝั่งเหนือแล้วเสร็จในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2532 จากนั้นในปี พ.ศ. 2536 อาคารเทียบเครื่องบิน 6 จึงสร้างแล้วเสร็จ พร้อมกับอาคารผู้โดยสารในประเทศหลังใหม่ ส่วนอาคารเทียบเครื่องบิน 5 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2543 อาคารเทียบเครื่องบินเป็นอาคาร 3 ชั้น ชั้น 3 เป็นห้องโถงพักรอผู้โดยสารขาออก (เกต โฮลด์ รูม) และทางออกขึ้นเครื่องที่มีสะพานเทียบเครื่องบิน (เกต) ซึ่งเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องบินที่จอดอยู่ในหลุมจอดประชิดอาคาร (คอนแทค เกต) ชั้น 2 เป็นโถงทางเดินผู้โดยสารขาเข้า ชั้น 1 เป็นพื้นที่ระบบสายพานขนถ่ายกระเป๋า พื้นที่คัดแยกกระเป๋าสัมภาระ และพื้นที่ส่วนงานบริการลานจอด รวมทั้งในบางอาคารยังใช้เป็นห้องโถงพักรอผู้โดยสารรถบัสขาออก (บัส เกต โฮลด์ รูม) และทางออกขึ้นเครื่องที่ไม่มีสะพานเทียบเครื่องบิน (บัส เกต) โดยมีจุดจอดรถบัสรับผู้โดยสารขาออกเพื่อไปยังหลุมจอดระยะไกล (รีโมท สแตนด์) ทั้งนี้ท่าอากาศยานดอนเมือง กำหนดให้หมายเลขของเกต ตรงกับหมายเลขของหลุมจอดประชิดอาคาร โดยใช้ตัวเลขสองหลัก ซึ่งหลักแรกแสดงหมายเลขของอาคารเทียบเครื่องบิน (1-6) หลักที่สองแสดงลำดับที่ของเกต/หลุมจอด ส่วนหมายเลขของบัส เกต จะใช้ตัวเลขหนึ่งหรือสองหลักที่ไม่ซ้ำกับเกตอื่น โดยจะไม่เกี่ยวข้องกับหมายเลขของหลุมจอดระยะไกล ก่อนปี พ.ศ. 2543ช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2532-2538 ท่าอากาศยานดอนเมือง มีอาคารเทียบเครื่องบิน 4 อาคาร และหลุมจอดอากาศยานแบบประชิดอาคาร 26 หลุม สำหรับเครื่องบินโดยสารขนาด โค้ด อี ที่มีความยาวปีกตั้งแต่ 52 เมตร แต่ไม่เกิน 65 เมตร 14 หลุม (เช่น โบอิง 747) และขนาด โค้ด ดี ที่มีความยาวปีกตั้งแต่ 36 เมตร แต่ไม่เกิน 52 เมตร 12 หลุม (เช่น แอร์บัส เอ300/เอ310 โบอิง 707/757/767 แมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-10/เอ็มดี-11 ล็อกฮีด แอล-1011 เป็นต้น) ดังนี้
เมื่อมีการเปิดใช้อาคารผู้โดยสารในประเทศหลังใหม่ (อาคารผู้โดยสาร 3) พร้อมอาคารเทียบเครื่องบิน 6 ในปี พ.ศ. 2538 ท่าอากาศยานดอนเมืองจึงมีอาคารเทียบเครื่องบิน 5 อาคาร และหลุมจอดอากาศยานแบบประชิดอาคาร 34 หลุม สำหรับเครื่องบินโดยสารขนาด โค้ด อี 15 หลุม ขนาด โค้ด ดี 17 หลุม และขนาด โค้ด ซี ที่มีความยาวปีกตั้งแต่ 24 เมตร แต่ไม่เกิน 36 เมตร (เช่น โบอิง 737) 2 หลุม ดังนี้
นอกจากนี้เมื่อมีการเปิดใช้อาคารผู้โดยสาร 2 ในปี พ.ศ. 2538 เช่นกัน ได้มีการเปิดใช้ห้องโถงพักรอผู้โดยสารรถบัสขาออก สำหรับทางออกขึ้นเครื่อง 71–77 เพิ่มเติมภายในอาคารผู้โดยสาร 2 โดยอยู่บริเวณปลายอาคารเทียบเครื่องบิน 4 ฝั่งทิศตะวันตก หลังปี พ.ศ. 2543ต่อมาในช่วงปี พ.ศ. 2541–2543 ได้มีการปรับปรุงอาคารเทียบเครื่องบิน ตามแผนพัฒนาท่าอากาศยานกรุงเทพ (ดอนเมือง) ในขณะนั้น ให้รองรับการบริการได้จนถึงประมาณปี พ.ศ. 2546 เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายการเปิดให้บริการของท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งที่ 2 (ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ) ในปี พ.ศ. 2547 โดยอาคารทั้งหมดยังคงใช้งานต่อมาจนกระทั่งย้ายการให้บริการไปยังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในปี พ.ศ. 2549 ทั้งนี้การปรับปรุงประกอบด้วย (1) ลดจำนวนหลุมฝั่งทิศเหนือของอาคาร 2-4 จาก 4 หลุมเป็น 3 หลุม เพื่อให้หลุมจอดมีขนาดใหญ่ขึ้นสำหรับรองรับเครื่องบินโดยสารขนาด โค้ด อี ได้ (2) ก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องบิน 5 พร้อมทางเชื่อมฝั่งทิศใต้ (เซาท์ คอร์ริดอร์) เชื่อมต่อกับอาคารผู้โดยสาร 2 (3) ลดจำนวนหลุมจอดฝั่งทิศใต้ของอาคาร 4 จาก 4 หลุมเป็น 3 หลุม เพื่อใช้พื้นที่ก่อสร้างทางเชื่อมฝั่งทิศใต้ไปยังอาคาร 5 (4) ปรับปรุงห้องโถงพักรอผู้โดยสารขาออกของอาคาร 2-4 เพื่อให้มีพื้นที่ใช้งานมากขึ้น จากแบบที่มีการกั้นห้องแยกกันระหว่างแต่ละทางออกขึ้นเครื่องและอยู่บนชั้น 2 ของอาคาร โดยมีทางเดินผู้โดยสารขาออกอยู่บนชั้น 3 ให้เป็นแบบรวมกันในห้องเดียวและอยู่บนชั้น 3 ของอาคาร โดยก่อสร้างทางลงไปยังสะพานเทียบเครื่องบินที่อยู่บนชั้น 2 ให้เป็นส่วนต่อเติมที่ยื่นออกไปนอกตัวอาคารเดิมตามตำแหน่งของสะพานเทียบเครื่องบิน (5) เปลี่ยนสะพานเทียบเครื่องบินของอาคารฝั่งเหนือและอาคาร 2-4 ฝั่งทิศใต้ จากแบบซองเดียว (ส่วนใหญ่) เป็นแบบ 2 ซองทั้งหมด (6) ก่อสร้างห้องโถงพักรอผู้โดยสารรถบัสขาออกภายในอาคาร 6 เพิ่มเติมบริเวณปลายอาคารฝั่งทิศตะวันออก หลังปี พ.ศ. 2543 เมื่อการปรับปรุงแล้วเสร็จ ท่าอากาศยานดอนเมืองมีอาคารเทียบเครื่องบิน 6 อาคาร และหลุมจอดประชิดอาคาร 36 หลุม สำหรับเครื่องบินโดยสารขนาด โค้ด อี 29 หลุม ขนาด โค้ด ดี 5 หลุม และขนาด โค้ด ซี 2 หลุม (แต่หลุมจอดสำหรับเครื่องบินขนาด โค้ด อี จำนวน 9 หลุม มีลักษณะจำกัด โดยรองรับเฉพาะเครื่องบินขนาด โค้ด อี ที่มีความยาวปีกไม่เกิน 61 เมตร เท่านั้น เช่น แอร์บัส เอ330 แอร์บัส เอ340-200/300 โบอิง 777-200/200อีอาร์) ดังนี้
ในช่วงหลังการเปิดท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในปี พ.ศ. 2549 ได้มีการปรับปรุงพื้นที่ลานจอดบริเวณทิศเหนือบางส่วน ที่ติดกับอาคารเทียบเครื่องบินฝั่งเหนือ เพื่อใช้สร้างโรงเก็บอากาศยานและลานจอด สำหรับอากาศยานส่วนบุคคล พร้อมกับการปรับปรุงอาคารห้องรับรองพิเศษระหว่างประเทศเป็นอาคารผู้โดยสารส่วนบุคคล จึงได้มีการยกเลิกหลุมจอด 11 และทางออกขึ้นเครื่อง 11 โดยถอดสะพานเทียบเครื่องบินออก ทำให้อาคารเทียบเครื่องบินฝั่งเหนือ เหลือหลุมจอด 3 หลุม ซึ่งตรงกับทางออกขึ้นเครื่อง 12 และ 14–15 โดยยังมีขนาดเท่าเดิม (รองรับเครื่องบินขนาดโค้ด อี) อาคารคลังสินค้าคลังสินค้าท่าอากาศยานดอนเมือง “Cargo Village” เป็นชื่อที่เรียกกลุ่มอาคารคลังสินค้าขนาดใหญ่ของท่าอากาศยานดอนเมือง อาคารดังกล่าวเริ่มเปิดใช้ในปี พ.ศ. 2529 มีพื้นที่ 37,400 ตารางเมตร ภายหลังขยายพื้นที่จนครอบคลุมอาณาบริเวณกว่า 100,740 ตารางเมตร และเป็นอาคารคลังสินค้าที่ใหญ่ที่สุดและทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในทวีปเอเชีย สามารถให้บริการขนถ่าย สินค้าขาเข้า ขาออก และถ่ายลำได้ภายในบริเวณเดียวกัน เพื่อให้สามารถอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าปริมาณมาก ๆ คลังสินค้าแห่งนี้ใช้อุปกรณ์ที่ล้ำสมัยควบคุมด้วยระบบ Computer และได้มีการประสานงานกับกรมศุลกากรในการขนถ่ายสินค้าถ่ายลำทำให้สามารถลดเวลาในการปฏิบัติการลงให้ใช้เวลาน้อยที่สุด เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการขนถ่ายสินค้า ( Gateway ) ที่สะดวกที่สุดแห่งหนึ่งของทวีปเอเชีย ปัจจุบันคลังสินค้าท่าอากาศยานดอนเมืองได้ถูกแบ่งออกเป็นคลังสินค้าย่อยจำนวน 4 อาคาร ได้แก่
อาคารอื่นที่มีสายการบินเปิดใช้อาคารรับรองพิเศษ
สายการบินและจุดหมายปลายทางสถิติเส้นทางการบินระหว่างประเทศ
เส้นทางการบินภายในประเทศ
ข้อมูลสถิติการขนส่งทางอากาศ
การคมนาคมที่เกี่ยวข้องกับท่าอากาศยานรถโดยสารประจำทาง
ท่าอากาศยานดอนเมือง (ภายใน)
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
รถเอกชนรถหมวด 3 (ระหว่างจังหวัด)
รถตู้โดยสารปรับอากาศร่วมบริการขสมก.
รถไฟฟ้าท่าอากาศยานดอนเมือง สามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยา ช่วงสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ - รังสิต ที่สถานีดอนเมืองได้ในประตูที่ 4 และ 6 ซึ่งจะมีทางเดินสกายวอล์ค เข้า/ออก อาคารผู้โดยสารชั่น 2 ฝั่งทิศใต้ ท่าอากาศยานดอนเมืองได้โดยตรง แผนการพัฒนาปรับเปลี่ยนเพื่อรองรับผู้โดยสารสูงสุด 50ล้านคน/ปี Terminal 1 ปรับตึกเหมือน T2 & เป็นตึกบินในประเทศ คาดว่าจะเปิดทำการปี 2572 Terminal 3 รื้อและทำการสร้างใหม่ คาดว่าจะเปิดทำการปี 2569 เพิ่มที่จอดรถรวม 10,000 คัน เดิมสนามบินดอนเมืองมีพื้นที่รองรับผู้โดยสาร 30ล้านคน/ปี
หากปรับปรุงพัฒนาแล้วเสร็จ จะปรับปรุงให้มีผู้โดยสารได้มากถึง 50ล้านคน/ปี
คาดว่าทั้งโครงการพัฒนาท่าอากาศยานดอนเมือง จะแล้วเสร็จและเปิดใช้ในปี 2572
เหตุการณ์เฉพาะกิจ
ดูเพิ่มอ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่นวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ ท่าอากาศยานดอนเมือง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia