"พระนครศรีอยุธยา" เปลี่ยนทางมาที่นี่ สำหรับความหมายอื่น ดูที่
อยุธยา
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
---|
|
การถอดเสียงอักษรโรมัน |
---|
• อักษรโรมัน | Changwat Phra Nakhon Si Ayutthaya |
---|
|
|
คำขวัญ: ราชธานีเก่า อู่ข้าวอู่น้ำ เลิศล้ำกานท์กวี คนดีศรีอยุธยา เลอคุณค่ามรดกโลก |
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเน้นสีแดงแผนที่ประเทศไทย จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเน้นสีแดง |
ประเทศ | ไทย |
---|
การปกครอง |
---|
• ผู้ว่าราชการ | นิวัฒน์ รุ่งสาคร (ตั้งแต่ พ.ศ. 2565) |
---|
• นายก อบจ. | สมทรง พันธ์เจริญวรกุล (ตั้งแต่ พ.ศ. 2547) |
---|
พื้นที่[1] |
---|
• ทั้งหมด | 2,556.640 ตร.กม. (987.124 ตร.ไมล์) |
---|
อันดับพื้นที่ | อันดับที่ 63 |
---|
ประชากร |
---|
• ทั้งหมด | 822,106 คน |
---|
• อันดับ | อันดับที่ 29 |
---|
• ความหนาแน่น | 321.56 คน/ตร.กม. (832.8 คน/ตร.ไมล์) |
---|
• อันดับความหนาแน่น | อันดับที่ 11 |
---|
รหัส ISO 3166 | TH-14
|
---|
ชื่อไทยอื่น ๆ | อยุธยา, กรุงเก่า |
---|
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด |
---|
• ต้นไม้ | หมัน |
---|
• ดอกไม้ | โสน |
---|
• สัตว์น้ำ | กุ้งก้ามกราม |
---|
ศาลากลางจังหวัด |
---|
• ที่ตั้ง | ภายในศูนย์ราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เลขที่ 123 หมู่ที่ 3 ถนนสายเอเชีย ตำบลคลองสวนพลู อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13000 |
---|
• โทรศัพท์ | 0 3533 6554-5 |
---|
เว็บไซต์ | http://www.ayutthaya.go.th/ |
---|
|
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
พระนครศรีอยุธยา เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางและเป็นเขตเศรษฐกิจอุตสาหกรรมที่สำคัญ โดยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดมีมูลค่าสูงเป็นอันดับ 3 ของประเทศ[3] และมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนาน เคยมีชื่อเสียงเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่ไม่มีอำเภอเมือง แต่มี อำเภอพระนครศรีอยุธยา เป็นศูนย์กลางการบริหารจัดการด้านต่าง ๆ ชาวบ้านโดยทั่วไปนิยมเรียกอีกชื่อว่า "กรุงเก่า" หรือ "เมืองกรุงเก่า" ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 75 กิโลเมตร
ประวัติศาสตร์
กรุงศรีอยุธยา(พ.ศ. 2209) วาดโดยบริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์
พระนครศรีอยุธยาเคยเป็นราชธานี (เมืองหลวง) ของอาณาจักรอยุธยา หรืออาณาจักรสยาม ตลอดระยะเวลา 417 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 1893 กระทั่งเสียกรุงแก่พม่า เมื่อ พ.ศ. 2310 ครั้นเมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงสถาปนาราชธานีแห่งใหม่ที่กรุงธนบุรี กรุงศรีอยุธยาก็ไม่ได้กลายเป็นเมืองร้าง ยังมีคนที่รักถิ่นฐานบ้านเดิมอาศัยอยู่และมีราษฎรที่หลบหนีไปอยู่ตามป่ากลับเข้ามาอาศัยอยู่รอบ ๆ เมือง รวมกันเข้าเป็นเมือง จนทางการยกเป็นเมืองจัตวาเรียกว่า "เมืองกรุงเก่า"
เมื่อ พ.ศ. 2325 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงยกเมืองกรุงเก่าขึ้นเป็น หัวเมืองจัตวา เช่นเดียวกับในสมัยกรุงธนบุรี หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้จัดการปฏิรูปการปกครองทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยการปกครองส่วนภูมิภาคนั้น โปรดให้จัดการปกครองแบบเทศาภิบาลขึ้น โดยให้รวมเมืองที่อยู่ใกล้เคียงกัน 3-4 เมือง ขึ้นเป็นมณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครอง โดยในปี พ.ศ. 2438 โปรดให้จัดตั้งมณฑลกรุงเก่าขึ้น ประกอบด้วยหัวเมืองต่าง ๆ คือ กรุงเก่าหรืออยุธยา อ่างทอง สระบุรี พระพุทธบาท ลพบุรี พรหมบุรี อินทร์บุรี และสิงห์บุรี
ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมเมืองอินทร์บุรีและเมืองพรหมบุรีเข้ากับเมืองสิงห์บุรี รวมเมืองพระพุทธบาทเข้ากับเมืองสระบุรี ตั้งที่ว่าการมณฑลที่อยุธยา และในปี พ.ศ. 2469 เปลี่ยนชื่อจาก "มณฑลกรุงเก่า" เป็น "มณฑลอยุธยา" ซึ่งจากการจัดตั้งมณฑลอยุธยามีผลให้อยุธยามีความสำคัญทางการบริหารการปกครองมากขึ้น การสร้างสิ่งสาธารณูปโภคหลายอย่างมีผลต่อการพัฒนาเมืองอยุธยาในเวลาต่อมา จนเมื่อยกเลิกการปกครองระบบมณฑลเทศาภิบาล ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 อยุธยาจึงเปลี่ยนฐานะเป็นจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจนถึงปัจจุบัน
ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีนโยบายบูรณะโบราณสถานภายในเมืองอยุธยา เพื่อเป็นการฉลองยี่สิบห้าพุทธศตวรรษ ประจวบกับในปี พ.ศ. 2498 นายกรัฐมนตรีประเทศพม่าเดินทางมาเยือนประเทศไทย และได้มอบเงินจำนวน 200,000 บาท เพื่อปฏิสังขรณ์วัดและองค์พระมงคลบพิตร เป็นการเริ่มต้นบูรณะโบราณสถานในอยุธยาอย่างจริงจัง ซึ่งต่อมากรมศิลปากรเป็นหน่วยงานสำคัญในการดำเนินการ จนองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโกมีมติให้ประกาศขึ้นทะเบียนอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เป็น "แหล่งมรดกโลก" เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2534 มีพื้นที่ครอบคลุมในบริเวณโบราณสถานเมืองอยุธยา
ภูมิศาสตร์
สภาพภูมิอากาศ
ข้อมูลภูมิอากาศของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
|
เดือน
|
ม.ค.
|
ก.พ.
|
มี.ค.
|
เม.ย.
|
พ.ค.
|
มิ.ย.
|
ก.ค.
|
ส.ค.
|
ก.ย.
|
ต.ค.
|
พ.ย.
|
ธ.ค.
|
ทั้งปี
|
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F)
|
31.0 (87.8)
|
33.3 (91.9)
|
35.4 (95.7)
|
35.9 (96.6)
|
34.3 (93.7)
|
32.6 (90.7)
|
32.0 (89.6)
|
31.4 (88.5)
|
31.3 (88.3)
|
31.3 (88.3)
|
30.7 (87.3)
|
30.0 (86)
|
32.4 (90.3)
|
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F)
|
17.0 (62.6)
|
19.4 (66.9)
|
22.3 (72.1)
|
24.3 (75.7)
|
24.5 (76.1)
|
24.3 (75.7)
|
24.0 (75.2)
|
23.8 (74.8)
|
23.5 (74.3)
|
22.5 (72.5)
|
20.0 (68)
|
17.4 (63.3)
|
21.9 (71.4)
|
ปริมาณฝน มม (นิ้ว)
|
2.4 (0.094)
|
18.8 (0.74)
|
43.5 (1.713)
|
67.9 (2.673)
|
208.0 (8.189)
|
223.0 (8.78)
|
180.8 (7.118)
|
260.0 (10.236)
|
213.9 (8.421)
|
167.6 (6.598)
|
37.1 (1.461)
|
0.8 (0.031)
|
1,423.8 (56.055)
|
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย
|
0
|
1
|
4
|
6
|
15
|
16
|
17
|
19
|
17
|
12
|
3
|
1
|
111
|
แหล่งที่มา: Thai Meteorological Department[4]
|
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
- คำขวัญประจำจังหวัด : ราชธานีเก่า อู่ข้าวอู่น้ำ เลิศล้ำกานท์กวี คนดีศรีอยุธยา เลอคุณค่ามรดกโลก
- ตราประจำจังหวัด : รูปสังข์ซึ่งประดิษฐานอยู่ในพานแว่นฟ้าภายในปราสาทใต้ต้นหมัน
- ต้นไม้ประจำจังหวัด : หมัน (Cordia dichotoma)
- ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกโสน (สะ-โหน) (Sesbania aculeata)
- สัตว์น้ำประจำจังหวัด : กุ้งก้ามกรามหรือกุ้งสมเด็จ (Macrobrachium rosenbergii)
การเมืองการปกครอง
ประวัติการแบ่งเขตการปกครอง
ในสมัยอาณาจักรอยุธยามีการแบ่งการปกครองในราชธานีออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ ได้แก่ การปกครองภายในบริเวณกำแพงเมือง และภายนอกบริเวณกำแพงเมือง โดยในบริเวณกำแพงเมืองก็จะแบ่งออกเป็น 4 แขวง ได้แก่ แขวงขุนธรณีบาล แขวงขุนโลกบาล แขวงขุนธราบาล และแขวงขุนนราบาล ต่อมาในสมัยอาณาจักรธนบุรีจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้รวมทั้ง 4 แขวงภายในกำแพงเมืองเป็นแขวงเดียวกัน เรียกว่า แขวงรอบกรุง และขยายอาณาเขตออกมาเท่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน และต่อมาเปลี่ยนมาเป็นอำเภอรอบกรุง อำเภอกรุงเก่า และอำเภอพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน ตามลำดับ
ส่วนการปกครองภายนอกบริเวณกำแพงเมือง บริเวณนอกกำแพงเมืองแบ่งออกเป็น 3 แขวง ได้แก่ แขวงขุนนคร แขวงขุนอุทัย และแขวงขุนเสนา และต่อมามีการแบ่งออกเป็นแขวงต่าง ๆ ดังนี้
- แขวงขุนนคร อยู่ทางทิศเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของกำแพงพระนครตั้งแต่ลำน้ำลพบุรีและลุ่มน้ำป่าสัก ต่อมามีการแบ่งออกเป็นแขวง คือ ทางด้านตะวันตกเป็นแขวงนครใหญ่ และด้านตะวันออกเป็น แขวงนครน้อย
- แขวงขุนอุทัย อยู่ทางใต้ตั้งแต่เขตของแขวงขุนนครตลอดลงมายังมายังแม่น้ำเจ้าพระยาด้านตะวันออก ต่อมาได้มีการแบ่งออกเป็นแขวง คือ แขวงอุทัยใหญ่ และแขวงอุทัยน้อย
- แขวงขุนเสนา อยู่ทางด้านตะวันตกมีอาณาเขตด้านเหนือจรดตะวันตกเฉียงใต้ของแขวงขุนนครและตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมาได้มีการแบ่งออกเป็นแขวง คือ แขวงเสนาใหญ่ ทางด้านตะวันตก และแขวงเสนาน้อย ทางด้านตะวันออก
ดังนั้น ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แขวงในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจึงมีทั้งหมด 7 แขวง ได้แก่ แขวงรอบกรุง แขวงนครใหญ่ แขวงนครน้อย แขวงอุทัยใหญ่ แขวงอุทัยน้อย แขวงเสนาใหญ่ และแขวงเสนาน้อย ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการจัดระเบียบการปกครองเป็นมณฑลเทศาภิบาล มีการรวมเมืองเข้าด้วยกันเป็นมณฑล เปลี่ยนคำเรียกเมืองเป็นจังหวัด แขวงจึงต้องเปลี่ยนเป็นอำเภอตามไปด้วย และต่อมาสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้นได้ทรงดำริว่า อำเภอแต่ละอำเภอมีพลเมืองมากและมีท้องที่กว้าง จึงให้แบ่งเขตการปกครองออกไปอีกในทุกอำเภอ ยกเว้นอำเภอรอบกรุง อำเภออุทัยใหญ่ และอำเภออุทัยน้อย ดังนี้
- อำเภอนครใหญ่ ให้ทางตอนเหนือคงเป็นอำเภอนครใหญ่ และแบ่งเขตท้องที่ตอนใต้ออกเป็นอำเภอนครใน
- อำเภอนครน้อย ให้ทางตอนเหนือคงเป็นอำเภอนครน้อย และแบ่งเขตท้องที่ตอนใต้ออกเป็นอำเภอนครกลาง
- อำเภอเสนาใหญ่ ให้ทางด้านทิศเหนือคงเป็นอำเภอเสนาใหญ่ และแบ่งเขตท้องที่ด้านทิศใต้ออกเป็นอำเภอเสนากลาง
- อำเภอเสนาน้อย ให้ทางด้านทิศใต้คงเป็นอำเภอเสนาน้อย และแบ่งเขตท้องที่ด้านทิศเหนือออกเป็นอำเภอเสนาใน
ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่ออำเภอต่าง ๆ โดยในปี พ.ศ. 2443 เปลี่ยนชื่ออำเภออุทัยน้อยเป็นอำเภอพระราชวัง ในปี พ.ศ. 2446 เปลี่ยนชื่ออำเภอนครกลางเป็นอำเภอนครหลวงมาจนถึงปัจจุบัน ในปี พ.ศ. 2450 ได้แบ่งเขตท้องที่อำเภอพระราชวังด้านตะวันออกรวมกับอำเภออุทัยใหญ่ด้านใต้ แล้วยกขึ้นเป็นอำเภออุทัยน้อย แทนอำเภออุทัยน้อยเดิมที่ได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอพระราชวังเมื่อปี พ.ศ. 2443 และมีการเปลี่ยนชื่ออำเภอต่าง ๆ อีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ตรงกับชื่อตำบลที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอ อำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจึงได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อใหม่ ดังนี้[5]
และอีก 4 กิ่งอำเภอได้แก่ กิ่งอำเภอลาดบัวหลวง (ขึ้นกับอำเภอบางไทร), กิ่งอำเภอภาชี (ขึ้นกับอำเภออุทัย), กิ่งอำเภอบางซ้าย (ขึ้นกับอำเภอเสนา) และกิ่งอำเภอบ้านแพรก (ขึ้นกับอำเภอมหาราช) ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอตามลำดับจนครบในปี พ.ศ. 2502
การแบ่งเขตการปกครองในปัจจุบัน
การปกครองส่วนภูมิภาค
แผนที่อำเภอในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน
ปัจจุบันจังหวัดพระนครศรีอยุธยาประกอบด้วย 16 อำเภอ 209 ตำบล ได้แก่
การปกครองส่วนท้องถิ่น
จังหวัดพระนครศรีอยุธยามีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวนทั้งสิ้น 158 แห่ง แบ่งออกเป็น องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา, เทศบาลนคร 1 แห่ง คือ เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา, เทศบาลเมือง 8 แห่ง, เทศบาลตำบล 27 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 121 แห่ง โดยเทศบาลสามารถจำแนกได้ตามอำเภอต่าง ๆ ดังนี้
อำเภอพระนครศรีอยุธยา
อำเภอท่าเรือ
- เทศบาลตำบลท่าเรือ
- เทศบาลตำบลท่าหลวง
อำเภอนครหลวง
- เทศบาลตำบลนครหลวง
- เทศบาลตำบลอรัญญิก
อำเภอบางไทร
อำเภอบางบาล
- เทศบาลตำบลบางบาล
- เทศบาลตำบลมหาพรามณ์
|
อำเภอบางปะอิน
อำเภอบางซ้าย
|
อำเภอบางปะหัน
อำเภอผักไห่
อำเภอภาชี
อำเภอลาดบัวหลวง
- เทศบาลตำบลลาดบัวหลวง
- เทศบาลตำบลสามเมือง
อำเภอวังน้อย
|
อำเภอเสนา
- เทศบาลเมืองเสนา
- เทศบาลเมืองเจ้าเจ็ด
- เทศบาลตำบลสามกอ
- เทศบาลตำบลบางนมโค
- เทศบาลตำบลหัวเวียง
อำเภออุทัย
อำเภอมหาราช
- เทศบาลตำบลมหาราช
- เทศบาลตำบลโรงช้าง
อำเภอบ้านแพรก
|
รายชื่อเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัด
ลำดับ
|
ชื่อ
|
ระยะเวลา
ดำรงตำแหน่ง
|
1
|
เจ้าพระยาชัยวิชิตสิทธิสงคราม
|
สมัยรัชกาลที่ 1
|
2
|
พระยาชัยวิชิตสิทธิสาตรามหาประเทศราชสุรชาติเสนาบดี
|
สมัยรัชกาลที่ 3
|
3
|
พระยามหาสิริธรรมพโลปถัมภ์เทพทราวดีศรีรัตนธาดามหาปเทศาธิบดีอภัยพิริยะปรากรมพาหุ
|
สมัยรัชกาลที่ 4
|
4
|
พระยาสีหราชฤทธิไกรยุตินัเนติธรรมธาดามหาปเทศาธิบดีอภัยพิริยะปรากรมพาหุ
|
สมัยรัชกาลที่ 4
|
5
|
พระยาชัยวิชิตสิทธิศักดามหานคราธิการ
|
สมัยรัชกาลที่ 4
|
6
|
พระยาชัยวิชิตสิทธิสาตรามหาปเทศาธิบดี (สิงห์โต)
|
สมัยรัชกาลที่ 5
|
7
|
พระยาเพชรชฎา (นาค ณ ป้อมเพชร) (ภายหลังรับพระราชทานบรรดาศักดิ์ใหม่เป็น พระยาชัยวิชิตสิทธิศักดามหานคราธิการ)
|
สมัยรัชกาลที่ 5
|
8
|
หลวงอนุรักษ์ภูเบศร์ (พร เดชะคุปต์) (ภายหลังเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระอนุรักษ์ภูเบศร์, พระยาโบราณบุรานุรักษ์, และพระยาโบราณราชธานินทร์ ตามลำดับ)
|
สมัยรัชกาลที่ 5
|
9
|
พระยาพิทักษ์เทพธานี (ชุ่ม อรรถจินดา)
|
สมัยรัชกาลที่ 5
|
10
|
หม่อมอมรวงษ์วิจิตร (หม่อมราชวงศ์ปฐม คเนจร)
|
พ.ศ. 2447–2448[6][7]
|
11
|
พระยาอมรฤทธิธำรง (ฉี่ บุนนาค)
|
พ.ศ. 2454–2455
|
12
|
หลวงพิทักษ์ฤทธิรงค์ (บุญ บุญอารักษ์)
|
พ.ศ. 2455
|
13
|
พระพิทักษ์เทพธานี (พร พิมพะสุต)
|
พ.ศ. 2456–2459
|
14
|
พระพิทักษ์เทพธานี (ปุ่น อาสนจินดา)
|
พ.ศ. 2459–2462
|
15
|
พระยาอมรฤทธิธำรง (บุญชู บุนนาค)
|
พ.ศ. 2462–2465
|
16
|
พระทวาราวดีภิบาล (เชย ชัยประภา)
|
พ.ศ. 2465
|
17
|
พระยากรุงศรีสวัสดิการ (จำรัส สวัสดิ์-ชูโต)
|
พ.ศ. 2465–2468
|
–
|
พระทวาราวดีภิบาล (เชย ชัยประภา) ครั้งที่ 2
|
พ.ศ. 2468–2472
|
18
|
พระยาสัจจาภิรมย์ (สรวง ศรีเพ็ญ)
|
พ.ศ. 2472–2474
|
19
|
พระยาจินดารักษ์ (จำลอง สวัสดิ์-ชูโต)
|
พ.ศ. 2474–2476
|
20
|
พระณรงค์ฤทธิ์ (ชาย ดิฐานนท์)
|
พ.ศ. 2476–2479
|
21
|
พระชาติตระการ (หม่อมราชวงศ์จิตร คเนจร)
|
พ.ศ. 2479–2482
|
22
|
หลวงบริหารชนบท (ส่าน สีหไตรย์)
|
พ.ศ. 2482–2484
|
23
|
หลวงประสิทธิบุรีรักษ์ (ประยงค์ สุขะปิยังคุ)
|
พ.ศ. 2484–2489
|
24
|
ขุนปฐมประชากร (สมบูรณ์ จันทรประทีป)
|
พ.ศ. 2489–2490
|
25
|
พระราชญาติรักษา (ประกอบ บุนนาค)
|
พ.ศ. 2490–2495
|
26.
|
ถนอม วิบูลษ์มงคล
|
พ.ศ. 2495–2495
|
27
|
ขุนธรรมรัฐูธุราทร (ธรรมรัตน์ โรจนสุนทร)
|
พ.ศ. 2495–2496
|
|
ลำดับ
|
ชื่อ
|
ระยะเวลา
ดำรงตำแหน่ง
|
28
|
เกียรติ ธนกุล
|
พ.ศ. 2496–2497
|
29
|
สง่า ศุขรัตน์
|
พ.ศ. 2497–2498
|
30
|
สุทัศน์ สิริสวย
|
พ.ศ. 2498–2502
|
31
|
พ.ต.อ. เนื่อง รายะนาค
|
พ.ศ. 2502–2510
|
32
|
จำนง เทพหัสดิน ณ อยุธยา
|
พ.ศ. 2510–2514
|
33
|
วรวิทย์ รังสิโยทัย
|
พ.ศ. 2514–2516
|
34
|
ร.ต.ท. ระดม มหาศรานนท์
|
พ.ศ. 2516–2517
|
35
|
วิทยา เกษรเสาวภาค
|
พ.ศ. 2517–2519
|
36
|
สมพร ธนสถิตย์
|
พ.ศ. 2519–2520
|
37
|
วิเชียร เวชสวรรค์
|
พ.ศ. 2520–2521
|
38
|
สุชาติ พัววิไล
|
พ.ศ. 2521–2523
|
39
|
ฉลอง วงษา
|
พ.ศ. 2523–2524
|
40
|
ร.ต. กิติ ประทุมแก้ว
|
พ.ศ. 2524–2529
|
41
|
ชัยวัฒน์ หุตะเจริญ
|
พ.ศ. 2529–2534
|
42
|
ปรีดี ตันติพงศ์
|
พ.ศ. 2534–2537
|
43
|
บรรจง กันตวิรุฒ
|
พ.ศ. 2537–2540
|
44
|
ยุวัฒน์ วุฒิเมธี
|
พ.ศ. 2540–2542
|
45
|
ฐิระวัตร กุลละวณิชย์
|
พ.ศ. 2542–2545
|
46
|
สุรพล กาญจนะจิตรา
|
พ.ศ. 2545–2546
|
47
|
สมศักดิ์ แก้วสุทธิ
|
พ.ศ. 2546–2548
|
48
|
สมชาย ชุ่มรัตน์
|
พ.ศ. 2548–2549
|
49
|
เชิดพันธ์ ณ สงขลา
|
พ.ศ. 2549–2551
|
50
|
ปรีชา กมลบุตร
|
พ.ศ. 2551–2552
|
51
|
วิทยา ผิวผ่อง
|
พ.ศ. 2552–2557
|
52
|
อภิชาติ โตดิลกเวชช์
|
พ.ศ. 2557–2558
|
53
|
ประยูร รัตนเสนีย์
|
พ.ศ. 2558–2559
|
54
|
สุจินต์ ไชยชุมศักดิ์
|
พ.ศ. 2559–2562
|
55
|
ภานุ แย้มศรี
|
พ.ศ. 2562–2564
|
56
|
วีระชัย นาคมาศ
|
พ.ศ. 2564–2565
|
57
|
นิวัฒน์ รุ่งสาคร
|
พ.ศ. 2565–ปัจจุบัน
|
|
เศรษฐกิจ
สวนอุตสาหกรรมโรจนะในช่วงมหาอุทกภัย พ.ศ. 2554
จังหวัดพระนครศรีอยุธยาถือเป็นจังหวัดที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดมีมูลค่าสูงเป็นอันดับที่ 3 ของประเทศ รองจากจังหวัดระยอง และจังหวัดชลบุรี ทั้งนี้จังหวัดพระนครศรีอยุธยาอยู่ในเขตส่งเสริมการลงทุน เขต 2 มีนิคมอุตสาหกรรม 3 แห่ง ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน, นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า (ไฮเทค), นิคมอุตสาหกรรมนครหลวง และมีเขตประกอบการอุตสาหกรรม 3 แห่ง ได้แก่ เขตประกอบการอุตสาหกรรมแฟตเตอรี่แลนด์วังน้อย สวนอุตสาหกรรมโรจนะ และสวนอุตสาหกรรมโรจนะ 2
ประชากร
สถิติประชากร
ตามทะเบียนราษฎร
จังหวัดพระนครศรีอยุธยาปี | ประชากร | ±% |
---|
2549 | 753,986 | — |
---|
2550 | 760,712 | +0.9% |
---|
2551 | 769,126 | +1.1% |
---|
2552 | 775,157 | +0.8% |
---|
2553 | 782,096 | +0.9% |
---|
2554 | 787,653 | +0.7% |
---|
2555 | 793,509 | +0.7% |
---|
2556 | 797,970 | +0.6% |
---|
2557 | 803,599 | +0.7% |
---|
2558 | 808,360 | +0.6% |
---|
2559 | 810,320 | +0.2% |
---|
2560 | 813,852 | +0.4% |
---|
2561 | 817,441 | +0.4% |
---|
2562 | 820,188 | +0.3% |
---|
2563 | 819,088 | −0.1% |
---|
2564 | 820,512 | +0.2% |
---|
2565 | 820,417 | −0.0% |
---|
2566 | 822,106 | +0.2% |
---|
อ้างอิง:กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย[8] |
โครงสร้างพื้นฐาน
การศึกษา
- สถานศึกษาในระดับอุดมศึกษา
- สถานศึกษาในระดับอาชีวศึกษา
- สถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา
การขนส่ง
ถนน
การเดินทางเข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ผ่านประตูน้ำพระอินทร์แล้วแยกเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 309 เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 (ถนนแจ้งวัฒนะ) หรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 302 (ถนนงามวงศ์วาน) เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 306 (ถนนติวานนท์) แล้วข้ามสะพานนนทบุรีหรือสะพานนวลฉวีไปยังจังหวัดปทุมธานีต่อด้วยเส้นทาง ปทุมธานี-สามโคก-เสนา (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3111) เลี้ยวแยกขวาที่อำเภอเสนา เข้าสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3263 เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- เส้นทางกรุงเทพฯ-นนทบุรี-ปทุมธานี ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 306 ถึงทางแยกสะพานปทุมธานี เลี้ยวเข้าสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 347 แล้วไปแยกเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3309 ผ่านศูนย์ศิลปาชีพบางไทร อำเภอบางปะอิน เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- ถนนกาญจนาภิเษก เริ่มตั้งแต่กิโลเมตรที่ 71+570 ที่ตำบลเชียงรากน้อย อำเภอบางไทร ตัดถนนสามโคก-ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร (3309) ที่กิโลเมตรที่ 72 เข้าสู่พื้นที่อำเภอบางปะอิน ตัดทางพิเศษอุดรรัถยา ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 347 ที่กิโลเมตรที่ 77 ข้ามคลองเปรมประชากรและทางรถไฟสายเหนือ ไปบรรจบถนนพหลโยธิน กับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32กิโลเมตรที่ 52-53
- ทางพิเศษอุดรรัถยา (ทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด หรือ "ทางด่วน 2 (ส่วนนอกเมือง)") เริ่มต้นจากถนนแจ้งวัฒนะ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ถึง ถนนกาญจนาภิเษก อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
รถโดยสารประจำทาง
ปัจจุบันรถโดยสารประจำทางสาย กรุงเทพฯ-อยุธยา มีให้บริการ 2 ประเภท[9]
1.รถบัส ประเภท ปรับอากาศชั้น 2 สายที่ 901 กรุงเทพฯ (หมอชิตใหม่) -อยุธยา ให้บริการอยู่ที่ ท่ารถไปกรุงเทพฯ (ถนนนเรศวร)
2.รถตู้ ประเภท มาตรฐาน 2 (จ) 2 (ต) 2 (ช)
รถโดยสารประจำทางพัดลม สายสุพรรณบุรี - อยุธยา
ประเภทรถ |
ต้นทาง |
เวลาบริการ |
ค่าโดยสาร |
เวลาเดินทาง
|
ปรับอากาศชั้น 1 (ไม่มีการให้บริการแล้ว) |
กรุงเทพ |
|
69 |
1 ชั่วโมง 30 นาที
|
ปรับอากาศชั้น 1 (ไม่มีการให้บริการแล้ว) |
อยุธยา |
|
69 |
1 ชั่วโมง 30 นาที
|
ปรับอากาศชั้น 2 |
กรุงเทพ |
|
53 |
1 ชั่วโมง 30 นาที
|
ปรับอากาศชั้น 2 |
อยุธยา |
05:00 07:00 16:30 เสาร์-อาทิตย์และวันหยุดพิเศษ 07:00 09:00 16:30 |
53 |
1 ชั่วโมง 30 นาที
|
รถไฟ
สถานีรถไฟอยุธยา
การเดินทางไปจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สามารถใช้บริการรถไฟโดยสารที่มีปลายทางสู่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขบวนรถไฟจะผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในเขตอำเภอบางปะอิน อำเภอพระนครศรีอยุธยา และอำเภอภาชี ทางรถไฟจะแยกไปภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สถานีรถไฟชุมทางบ้านภาชี
การคมนาคมภายในตัวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- รถสามล้อเครื่อง คิดค่าโดยสารตามระยะทาง
- รถสามล้อถีบ คิดค่าโดยสารตามระยะทาง
- รถจักรยานยนต์รับจ้าง คิดค่าโดยสารตามระยะทาง
- รถสองแถว มีหลายสาย คิดค่าโดยสารตามระยะทาง
สถานที่สำคัญ
วัดพระศรีสรรเพชญ์
พระราชวังโบราณ อยุธยา
วัดใหญ่ชัยมงคล
หอวิฑูรทัศนาและพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญในพระราชวังบางปะอิน
เมืองพี่เมืองน้อง
บุคคลที่มีชื่อเสียง
ด้านศาสนา
การเมือง
ศิลปวัฒนธรรมและบันเทิง
กีฬา
อ้างอิง
ดูเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น
14°22′N 100°34′E / 14.36°N 100.57°E / 14.36; 100.57
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
สถานที่ใกล้เคียงกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
---|
|
|
---|
อำเภอ | | |
---|
ประวัติศาสตร์ | |
---|
ภูมิศาสตร์ | |
---|
เศรษฐกิจ | |
---|
สังคม | การศึกษา | |
---|
วัฒนธรรม | |
---|
กีฬา | |
---|
การเมือง | |
---|
|
---|
|
|
---|
เขต 1 | | |
---|
เขต 2 | |
---|
เขต 3 | |
---|
เขต 4 | |
---|
เขต 5 | |
---|
เขต 6 | |
---|
เขต 7 | |
---|
เขต 8 | |
---|
เขต 9 | |
---|
เขต 10 | |
---|
|
---|
สถานที่ | |
---|
ประเทศที่เข้าร่วม | สวนภายนอกอาคาร | |
---|
สวนภายในอาคาร/ นิทรรศการหมุนเวียน | |
---|
|
---|
องค์กรในประเทศที่เกี่ยวข้อง | ส่วนราชการ | |
---|
รัฐวิสาหกิจ | |
---|
เอกชน | |
---|
|
---|