เขตการปกครอง/จังหวัด
|
ภาพตรา
|
ระยะเวลาการใช้
|
คำอธิบาย
|
ตราอื่น
|
หมายเหตุ
|
กรุงเทพมหานคร
|
|
พ.ศ. 2516 - ปัจจุบัน
|
รูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ พระหัตถ์ซ้ายทรงขอช้าง พระหัตถ์ขวาทรงวชิราวุธ ซึ่งเป็นอาวุธประจำกายของพระอินทร์ ตรานี้กรมศิลปากรออกแบบโดยอาศัยภาพเขียนฝีพระหัตถ์ของสมเด็จกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์เป็นต้นแบบ เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2516 ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พ.ศ. 2482 ฉบับที่ 60 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 (สมัยเมื่อยังเป็นจังหวัดพระนครนั้นใช้ตราพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทเป็นตราประจำจังหวัด)[2]
|
|
ตรานี้เคยใช้เป็นตราเทศบาลนครหลวงกรุงเทพธนบุรี โดยข้อความที่อยู่เหนือรูปพระอินทร์ทรงช้างนั้นเป็นคำว่า "เทศบาลนครหลวง"
|
จังหวัดกำแพงเพชร
|
|
พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน
|
รูปกำแพงเมืองมีใบเสมาประดับเพชร
|
|
|
จังหวัดชัยนาท
|
|
พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน
|
รูปธรรมจักรหน้าภูเขา ซึ่งหมายเอาได้ทั้งเขาสรรพยาและเขาธรรมามูล
|
|
แบบที่จังหวัดใช้ในปัจจุบัน เพิ่มตราครุฑไว้ที่ส่วนล่างของตราด้วย
|
จังหวัดนครนายก
|
|
พ.ศ. 2483 - 2545
( ตราแบบมีองค์ประกอบที่อยู่เบื้องหลังรูปช้างชูรวงข้าว )
พ.ศ. 2545 - ปัจจุบัน ( แบบปัจจุบัน )
|
รูปช้างชูรวงข้าว เบื้องหลังเป็นลอมฟาง
|
|
ใน พ.ศ. 2545 ตราของจังหวัดที่ประกาศอยู่ในราชกิจจานุเบกษาได้เพิ่มแถบชื่อจังหวัดและลายขอบตรา โดยตัดองค์ประกอบที่อยู่เบื้องหลังรูปช้างชูรวงข้าวออกทั้งหมด
|
จังหวัดนครปฐม
|
|
พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน
|
รูปพระปฐมเจดีย์ ประดับด้วยเครื่องหมายเลข 4 ไทยในพระมหาพิชัยมงกุฎ
|
|
ตรานี้เป็นตราเดิมในธงประจำกองลูกเสือมณฑลนครชัยศรี
|
จังหวัดนครสวรรค์
|
|
พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน
|
รูปวิมาน 3 ยอด
|
|
ตรานี้ดัดแปลงจากตราในธงประจำกองลูกเสือ มณฑลนครสวรรค์
|
จังหวัดนนทบุรี
|
|
พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน
|
รูปหม้อน้ำดินเผาลายวิจิตร หมายถึง ชาวจังหวัดนนทบุรีมีอาชีพทำเครื่องปั้นดินเผาซึ่งมีชื่อเสียงมาช้านาน
|
|
|
จังหวัดปทุมธานี
|
|
พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน
|
รูปบัวหลวงและช่อรวงข้าวชูช่อเหนือน้ำ
|
|
ตราที่จังหวัดใช้ในปัจจุบันเขียนขึ้นใหม่ โดยเพิ่มแถบชื่อจังหวัดไว้ที่ส่วนล่างของตรา
|
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
|
|
พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน
|
รูปสังข์ทักษิณาวัตร ประดิษฐานบนพานแว่นฟ้าในปราสาทใต้ต้นหมัน
|
|
ตรานี้เป็นตราเดิมในธงประจำกองลูกเสือมณฑลอยุธยา
|
จังหวัดพิจิตร
|
|
พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน
|
รูปต้นโพธิ์ริมสระหลวง
|
|
|
จังหวัดพิษณุโลก
|
|
พ.ศ. 2524 - ปัจจุบัน
|
รูปพระพุทธชินราช พระคู่บ้านคู่เมืองพิษณุโลก
|
|
เดิมกรมศิลปากรออกแบบให้ใช้ตราพระเจดีย์จุฬามณีอยู่เหนือลูกโลก 3 ลูก โดยหมายเอานามเมืองพิษณุโลกเป็นหลักในการผูกตรา
|
จังหวัดเพชรบูรณ์
|
|
พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน
|
รูปเพชรกับภูเขาและไร่ยาสูบ
|
|
|
จังหวัดลพบุรี
|
|
พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน
|
รูปพระนารายณ์สี่กร ประทับยืนหน้าพระปรางค์สามยอด
|
|
|
จังหวัดสมุทรปราการ
|
|
พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน
|
รูปพระสมุทรเจดีย์
|
|
|
จังหวัดสมุทรสงคราม
|
|
พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน
|
รูปกลองลอยน้ำ
|
|
|
จังหวัดสมุทรสาคร
|
|
พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน
|
รูปสำเภาจีนในแม่น้ำท่าจีน
|
|
|
จังหวัดสระบุรี
|
|
พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน
|
รูปมณฑปพระพุทธบาทสระบุรี
|
|
ตรานี้เขียนขึ้นจากภาพถ่ายจริงของมณฑปพระพุทธบาทสระบุรี
|
จังหวัดสิงห์บุรี
|
|
พ.ศ. 2547 - ปัจจุบัน
|
รูปอนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจันในวงกลม ขอบวงกลมเป็นแถบสีธงชาติ[3]
|
|
|
|
เดิมทางจังหวัดใช้ตรารูปค่ายบางระจัน
|
จังหวัดสุโขทัย
|
|
พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน
|
รูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราชประทับบนพระแท่นมนังคศิลาอาสน์
|
|
|
จังหวัดสุพรรณบุรี
|
|
พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน
|
รูปการทำยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับพระมหาอุปราชมังกะยอชวาที่ตำบลหนองสาหร่าย เมื่อ พ.ศ. 2135
|
|
|
จังหวัดอ่างทอง
|
|
พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน
|
รูปรวงข้าวในอ่างน้ำสีทอง
|
|
|
จังหวัดอุทัยธานี
|
|
พ.ศ. 2520 - ปัจจุบัน
|
รูปศาลสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก เบื้องหลังคือเขาสะแกกรัง
|
|
เดิมจังหวัดใช้ตราเขาปฐวีและพระอาทิตย์อุทัย
|