พระพรหมดิลก นามเดิม เอื้อน กลิ่นสาลี ฉายา หาสธมฺโม เป็นกรรมการมหาเถรสมาคมพระราชาคณะเจ้าคณะรองชั้นหิรัญบัฏ, เจ้าอาวาสวัดสามพระยา ครูสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี, บาลีศึกษา สำนักเรียนวัดสามพระยา
ประวัติ
พระพรหมดิลก นามเดิม เอื้อน กลิ่นสาลี เกิดเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 ภูมิลำเนาเดิม ณ บ้านเลขที่ 116 หมู่ที่ 6 ตำบลนครหลวง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2510 ณ วัดมหาพล ตำบลนครหลวง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีเจ้าอธิการพัฒน์ ติสฺสสุวณฺโณ วัดปรีดาราม ตำบลแม่ลา อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการคต โฆสิโต วัดมหาพล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูอุดมนครกิจ (วาส สุนฺทโร) วัดตะโหนด เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "หาสธมฺโม"
ท่านเป็นที่รู้จักจากการเป็นเจ้าอาวาสและเจ้าสำนักเรียนวัดสามพระยา (สำนักเรียนบาลี,บาลีศึกษาที่มีพระภิกษุ-สามเณร และคฤหัสถ์ให้ความสนใจเข้าศึกษา และมีผลสอบไล่ได้เป็นจำนวนมากของประเทศ) เคยดำรงตำแหน่งกรรมการมหาเถรสมาคม, เจ้าคณะภาค 14 และเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร
การต้องอธิกรณ์
ต่อมาเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2561 ท่านเข้ารับทราบข้อกล่าวหาในทางคดีความจากคณะเจ้าหน้าที่ตำรวจ และเข้าสู่ระบบกระบวนการยุติธรรมตามที่ภาครัฐราชการกำหนด ถูกคุมขังในเรือนจำเนื่องจากไม่ได้รับการประกันตัวในการต่อสู้ทางคดีความในกระบวนการยุติธรรมของศาลในระยะแรก โดยท่านไม่ได้ยินยอมสละสมณเพศ และประพฤติวัตรปฏิบัติธรรมตามพระธรรมวินัยธรรมเนียมของพระภิกษุสงฆ์ นักบวชในพระพุทธศาสนาโดยตลอด ถึงแม้จะสวมใส่ชุดขาวปฏิบัติธรรม เปรียบเสมือนว่าผ้ากาสาวพัสตร์ถูกหมู่โจรลักขโมยไป ในข้อกล่าวหากระทำการทุจริตและถูกดำเนินคดีอาญา ในความผิดฐานสนับสนุนเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์และปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือ โดยทุจริต พร้อมกับพระอีกหลายรูปจากวัดสามพระยาและวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร
หลังจากได้รับการยกฟ้องแล้วจึงได้คืนสู่สมณเพศเมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2563 ณ พระอุโบสถวัดสามพระยา มีชื่ออย่างพระสงฆ์ทั่วไปว่า พระมหาเอื้อน หาสธมฺโม[1]ป.ธ.9
ในวันที่ 18 มีนาคม 2566 มีประกาศพระบรมราชโองการ โปรดสถาปนาสมณศักดิ์พระราชาคณะเจ้าคณะรองชั้นหิรัญบัฏ ในราชทินนามเดิม ที่ "พระพรหมดิลก" โดยให้ถือว่าไม่เคยถูกถอดถอนสมณศักดิ์ และราชทินนามมาก่อน[2]
การศึกษา/วิทยฐานะ
งานด้านการศึกษา
งานปกครองบริหารกิจการคณะสงฆ์
รางวัลเกียรติคุณที่ได้รับ
- พ.ศ. 2554 ได้รับรางวัลพุทธคุณูปการ ประเภทวัชรเกียรติคุณ[4] จากคณะกรรมาธิการศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม ในสภาผู้แทนราษฎรไทย
สมณศักดิ์
- 2523 ได้รับพระราชทานทรงตั้งเปรียญธรรม 9 ประโยค
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญที่ พระศรีปริยัติบดี,(สป.)[5]
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2537 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชปริยัติบดี ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[6]
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพสุธี ธรรมปรีชาญาณดิลก ตรีปิฏกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[7]
- 12 สิงหาคม พ.ศ. 2547 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมคุณาภรณ์ บวรศีลสมาจาร สุวิธานศาสนกิจจานุกิจ ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[8]
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2553 เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองชั้นหิรัญบัฎที่ พระพรหมดิลก ปริยัตินายกคณาทร บวรศาสนกิจวิธาน ศีลสมาจารนิวิฐ ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[9]
- 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 โปรดให้ถอดถอนออกจากสมณศักดิ์ เนื่องจากถูกกล่าวหาว่า กระทำการทุจริตและถูกดำเนินคดีอาญา ในความผิดฐานสนับสนุนเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์และปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือ โดยทุจริต[10]
- 18 มีนาคม พ.ศ. 2566 โปรดสถาปนาสมณศักดิ์ขึ้นเป็น พระราชาคณะเจ้าคณะรองชั้นหิรัญบัฏ ในราชทินนามเดิม[11]โดยให้ถือว่าไม่เคยถูกถอดถอนสมณศักดิ์ และราชทินนามมาก่อน ที่ พระพรหมดิลก [12]ปริยัตินายกคณาทร บวรศาสนกิจวิธาน ศีลสมาจารนิวิฐ ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
อ้างอิง
- ↑ "อดีตพระพรหมดิลก - ผู้ช่วยฯ กลับห่มจีวร ทำพิธีในวัดสามพระยา หลังอุทธรณ์ยกฟ้องเงินทอนวัด". pptvhd36.com.
- ↑ "โปรดสถาปนาคืนสมณศักดิ์ "พระพรหมดิลก" หลังพ้นมลทินคดีเงินทอนวัด". พีพีทีวี. 2023-03-18. สืบค้นเมื่อ 2023-03-18.
- ↑ สมเด็จพระสังฆราช’ทรงมีพระบัญชา ปลด 3 พระผู้ใหญ่โยงคดีเงินทอนวัด
- ↑ "ประกาศคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร เรื่อง รายนามผู้ได้รับรางวัลพุทธคุณูปการ ครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๕๔ | PDF". Scribd (ภาษารัสเซีย).
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๐๔, ตอนที่ ๒๕๓ ง ฉบับพิเศษ, ๕ ธันวาคม ๒๕๓๐, หน้า ๑๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๑๑, ตอนพิเศษ ๕๗ ง, ๗ ธันวาคม ๒๕๓๗, หน้า ๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๑๖, ตอน ๒๓ ข, ๒๗ ธันวาคม ๒๕๔๒, หน้า ๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ เก็บถาวร 2015-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ตอนที่ 17 ข, เล่ม 121, 15 กันยายน 2547, หน้า 3
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, ตอนที่ 9 ข, เล่ม 128, 1 มิถุนายน พ.ศ. 2554, หน้า 13
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง ถอดถอนสมณศักดิ์, ตอนที่ 15 ข, เล่ม 135, 30 พฤษภาคม 2561, หน้า 1
- ↑ chanhena, Bandit. "โปรดเกล้าฯ สถาปนาสมณศักดิ์ 'พระพรหมดิลก' หลังพ้นผิดทุกคดี 'เงินทอนวัด'". เดลินิวส์.
- ↑ "โปรดเกล้าฯ สถาปนาสมณศักดิ์ "พระพรหมดิลก" วัดสามพระยา". Thai PBS.