ความสมมูลเท็จ (อังกฤษ : false equivalence, false equivalency ) เป็นเหตุผลวิบัติอรูปนัย ที่สิ่งสองสิ่งจัดว่าสมมูลกันหรือเท่าเทียมกัน โดยใช้เหตุผลที่บกพร่องหรือเป็นเท็จ[ 1]
ในสำนวนภาษาอังกฤษ การเปรียบเทียบเป็นความเท่าเทียมกันผิดๆ เช่นนี้มักจะเรียกว่า "การเปรียบเทียบแอปเปิลกับส้ม" (comparing apples and oranges)
ลักษณะ
การจัดสิ่งสองสิ่งที่มีลักษณะอย่างหนึ่งซึ่งเหมือนกันว่าเท่าเทียมกันหรือสมมูลกัน เมื่อความสมมูลกันไม่ใช่ผลหรือข้อสรุปทางตรรกะ โดยเฉพาะในเรื่องอันดับของขนาด นี่จัดเป็นความสมมูลเท็จ[ 2]
เหตุผลวิบัตินี้มักเกิดเมื่อระบุเกร็ดเรื่องราวที่คล้ายๆ กันว่าเท่าเทียมกัน แต่ข้อสรุปคือความเท่าเทียมกันไม่สมเหตุผล เพราะคิดง่ายๆ เกินไปหรือว่าไม่ได้พิจารณาปัจจัยอื่นๆ
โดยมักจะมีรูปแบบดังต่อไปนี้
ถ้า A เป็นเซต ที่มีสมาชิก c และ d ส่วน B เป็นเซตที่มี d และ e เพราะเซตทั้งสองมี d เหมือนกัน ดังนั้น A และ B จึงเท่ากัน
รูปแบบที่วิบัติยิ่งกว่านั้นก็คือ
ไม่มีสิ่งที่เหมือนกัน คือ d ในเซตทั้งสอง มีเพียงแต่สิ่งที่คล้ายกัน คือ d_1 ในเซต A และ d_2 ในเซต B
แต่กลับใช้สิ่งที่คล้ายกันเป็นเหตุผลเพื่อสรุปว่าเซตทั้งสองเท่ากัน[ 3] ตัวอย่างก็คือ
ถ้าทั้งแอปเปิลและส้มเป็นผลไม้ และทั้งสองต่างก็มีเม็ด ดังนั้น เพราะทั้งสองต่างมีเม็ด แอปเปิลและส้มจึงเท่ากัน[ 2]
ตัวอย่าง
รอยเปื้อนน้ำมันในลานจอดรถ
คราบน้ำมันรั่วไหล (oil spill) ในทะเล
นี้เป็นตัวอย่างต่างๆ ของความสมมูลเท็จ[ 3]
การรั่วไหลของน้ำมันดิบจากแท่นขุดเจาะดีพวอเทอร์ฮอไรซัน ไม่ได้เป็นอันตรายยิ่งกว่าเมื่อเพื่อนบ้านทำน้ำมัน รั่วลงบนพื้นเมื่อเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง รถ
ความสมมูลเป็นเท็จเพราะเปรียบเทียบสิ่งสองสิ่งที่ต่างกันเป็นหลายๆ อันดับขนาด [ 3] เพราะดีพวอเทอร์ฮอไรซัน ได้ทำน้ำมันให้รั่วไหลถึง 790 ล้านลิตร [ 4] เทียบกับเมื่อเพื่อนบ้านทำน้ำมันรั่วเพียงแค่ 0.47 ลิตร
(เพราะ)สัตว์ทั้งสองต่างก็อยู่ในวงศ์เสือและแมว ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในอันดับสัตว์กินเนื้อ [ 5] ดังนั้น การเลี้ยงแมว จึงไม่ต่างกับการเลี้ยงเสือจากัวร์ [ 6]
ความสมมูลเป็นเท็จเพราะเปรียบเทียบปัจจัยต่างๆ[ 7] ที่ทำให้สัตว์เหมาะสมเป็นสัตว์เลี้ยงง่ายเกินไป[ 3]
การใช้กัญชา จะทำให้ใช้และติดเฮโรอีน ต่อมาในชีวิต เพราะเป็นยาเปิดประตู ดังนั้น การใช้กัญชาจึงเหมือนกับการใช้เฮโรอีน[ 8]
ความสมมูลเป็นเท็จเพราะไม่พิจารณาความน่าจะเป็น ที่ต่างๆ กัน เพราะการใช้เฮโรอีนมีโอกาสทำให้ติดเฮโรอีนในอนาคตมากกว่าการใช้กัญชา นี้แม้เมื่อพิจารณาสมมติฐาน แล้วว่า คนที่ใช้กัญชามีโอกาสทดลองใช้เฮโรอีนในอนาคตมากกว่าคนที่ไม่เคยใช้[ 8]
ผลลบ
นักข่าวบางครั้งจะให้เหตุผลโดยอาศัยความสมมูลเท็จ[ 9] [ 10]
ในการเมือง ข้อบกพร่องของนักการเมืองคนหนึ่ง อาจจะเอาไปเทียบกับข้อบกพร่องแบบคนละเรื่องกันของอีกคนหนึ่ง[ 11]
ศาสตราจารย์ ทางด้านรัฐบาลและสื่อที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้เขียนเรื่องความสมมูลเท็จที่สื่อใช้ในช่วงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ศ. 2559
“
ข่าวเชิงลบที่ไม่จบสิ้นกำลังสร้างความสมมูลเท็จอย่างมโหฬาร ถ้าสื่อแสดงทุกสิ่งทุกอย่างและทุกๆ คนในเชิงลบ การทำให้เหมือนๆ กันเช่นนี้ก็จะเปิดประตูให้แก่คนปลิ้นปล้อน ในอดีต สื่อได้ช่วยประชาชนให้เข้าใจความต่างกันระหว่างนักการเมืองที่จริงใจกับคนเสแสร้ง แต่สื่อข่าวปัจจุบันกลับทำให้ไม่แตกต่าง[ 12]
”
ดูเพิ่ม
เชิงอรรถและอ้างอิง
↑ Phillips, Harry; Bostian, Patricia (2014). The Purposeful Argument: A Practical Guide, Brief Edition (Second ed.). Cengage Learning. p. 129. ISBN 9781285982847 .
↑ 2.0 2.1 "False Equivalence" . Truly Fallacious . 2013-08-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2019-05-14. สืบค้นเมื่อ 2017-02-17 .
↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 Bennett, Robert "Bo". "False Equivalence" . Logically Fallacious . สืบค้นเมื่อ 2018-11-27 .
↑ On Scene Coordinator Report on Deepwater Horizon Oil Spill (PDF) (Report). September 2011. เก็บ (PDF) จากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-15. สืบค้นเมื่อ 2018-08-10 .
↑ Salles, L. O. (1992). "Felid phylogenetics: extant taxa and skull morphology (Felidae, Aeluroidea)" (PDF) . American Museum Novitates (3047). เก็บ (PDF) จากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-18. สืบค้นเมื่อ 2017-04-17 .
↑ "Cat or Lion: Differences Between Wild and Domestic Cats" . Lone Tree Veterinary Medical Center . 2017-02-16.
↑ "Distinguishing Cougars, Bobcats, and Domestic Cats" . Department of Natural Resources . State of Michigan.
↑ 8.0 8.1 Finocchiaro, Maurice A. (1981). "Fallacies and the Evaluation of Reasoning" . American Philosophical Quarterly . 18 (1): 13–22. ISSN 0003-0481 . JSTOR 20013887 .
↑
Krugman, Paul (2016-09-16). "The Falsity of False Equivalence" . The New York Times . สืบค้นเมื่อ 2017-02-17 .
↑
Phillips, Ari (2016-08-26). "Welcome to the maddening world of false equivalence journalism (from a climate reporter who knows)" . Fusion . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2017-05-09. สืบค้นเมื่อ 2017-02-17 .
↑ Buchanan, Neil H. (2016-06-22). "The False Equivalence of Clinton and Trump's Negatives" . Newsweek . สืบค้นเมื่อ 2017-02-17 .
↑ Patterson, Thomas E. (2016-12-07). "News Coverage of the 2016 General Election: How the Press Failed the Voters" . Shorenstein Center .
แหล่งข้อมูลอื่น