การอ้างอำนาจการอ้างอำนาจ[1] (อังกฤษ: argument from authority, appeal to authority, argument against shame argumentum ab auctoritate, argumentum ad verecundiam) เป็นการให้เหตุผลโดยใช้จุดยืนของผู้ที่น่าเชื่อถือ เช่น ผู้มีอิทธิพล ผู้มีอำนาจหน้าที่ หรือผู้เชี่ยวชาญเป็นหลักฐานว่าสิ่งที่กล่าวนั้นถูกต้อง[2] แม้นี่จะไม่ใช่ข้อพิสูจน์ทางตรรกะที่ถูกต้อง[2] แต่ก็เป็นวิธีเสาะหาความรู้ที่ใช้ได้และดี ซึ่งโดยทั่วไปน่าจะถูกต้องเมื่อบุคคลนั้นมีอยู่จริง ๆ เป็นผู้เชี่ยวชาญในประเด็นนั้น และแนวคิดเรื่องนั้นได้การยอมรับโดยทั่วไป[2][3][4] เหตุผลโดยนิรนัยและอุปนัยนิรนัยการให้เหตุผลเช่นนี้จัดเป็นเหตุผลวิบัติทางตรรกะ (logical fallacy) ตั้งแต่นักปรัชญาชาวอังกฤษจอห์น ล็อก และริชาร์ด เวตลี เริ่มใช้[5] โดยเฉพาะก็คือเป็นเหตุผลวิบัติโดยกำเนิดรูปแบบหนึ่ง เป็นการให้เหตุผลแก่เนื้อความโดยยกคุณลักษณะของบุคคลที่ยกข้ออ้าง คล้าย ๆ กับเหตุผลวิบัติที่โจมตีบุคคลที่ยกข้ออ้าง เช่น ad hominem[6] ล็อกได้บัญญัติวลีละตินว่า argumentum ad verecundiam แปลว่า (การยกการเสียหน้า/ความถ่อมตน) เพราะการไม่ยอมรับข้ออ้างอาจทำให้ถูกดูถูก เพราะเท่ากับไม่เคารพต่อบุคคลผู้มีอำนาจหรือมีความเชี่ยวชาญ[7] การเป็นเหตุผลวิบัติทางตรรกะหมายความว่า การให้เหตุผลเช่นนี้ใช้ไม่ได้ทางนิรนัย เพราะบอกไม่ได้ว่าต้องเป็นเช่นนั้นอย่างแน่นอน[8] กล่าวอีกอย่างก็คือ การให้เหตุผลว่าข้อตั้งเป็นจริงเพราะผู้มีอิทธิพลได้กล่าวไว้ เป็นเรื่องที่ใช้ไม่ได้ทางตรรกะ เพราะก็ยังสามารถผิดได้ และจะพิสูจน์ทางตรรกะได้ก็ต่อเมื่อให้หลักฐานจริง ๆ หรือใช้การนิรนัยทางตรรกะที่ถูกต้องเพื่อชี้ว่าข้ออ้างเป็นจริง[9][10][11] เหตุผลวิบัติทางตรรกะที่เกี่ยวข้องกันอื่น ๆถ้าให้เหตุผลว่าบุคคลที่แสดงความคิดเห็นไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ ดังนั้น จึงไม่ต้องพิจารณา ก็จะเป็นเหตุผลวิบัติแบบ ad hominem[6] มีเหตุผลวิบัติที่เกี่ยวข้องกันอื่น ๆ ว่า บุคคลไม่มีตำแหน่งฐานะอะไร ๆ หรืออำนาจอะไร ๆ ดังนั้น จึงเชื่อถือได้ เช่น การยกความจน (appeal to poverty) เป็นเหตุผลวิบัติเพราะระบุว่า บุคคลมีโอกาสถูกยิ่งกว่าเพราะยากจน[12] ถ้าให้เหตุผลว่า ข้อสรุปน่าจะจริงกว่าเพราะคนที่ยกข้อสรุปหรือแสดงข้อสรุปนั้นไม่มีอำนาจ ไม่มีอิทธิพล หรือไม่เชี่ยวชาญ นี่เป็นเหตุผลวิบัติโดยการยกบุคคลธรรมดา (appeal to the common man)[13] อุปนัยแต่เมื่อใช้กับวิธีการทางอุปนัย ซึ่งชี้ว่า ข้อสรุปไม่สามารถพิสูจน์หรือระบุได้อย่างแน่นอน[8] การให้เหตุผลนี้อาจจัดได้ว่าดีและไม่วิบัติ ถ้าบุคคลมีความเชี่ยวชาญอันน่าเชื่อถือได้ เรื่องที่ประเมินก็น่าจะถูกต้องมากกว่า โดยเฉพาะถ้าผู้เชี่ยวชาญอื่น ๆ มีมติร่วมกัน[ต้องการอ้างอิง] แต่ก็ยังอาจเป็นเหตุผลวิบัติถ้าเป็นความเชี่ยวชาญเท็จ เช่นไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญจริง ๆ หรือให้ข้อสรุปนอกสาขาที่เชี่ยวชาญ เหตุผลวิบัติเช่นนี้อาจเรียกได้ว่า การให้เหตุผลจากผู้เชี่ยวชาญเท็จ (argument from false authority)[14] นี่ก็ยังอาจจะเป็นเหตุผลวิบัติด้วยถ้าผู้เชี่ยวชาญมีความชำนาญในประเด็นที่อ้าง แต่สิ่งที่อ้างก็ยังโต้เถียงกัน ยังไม่มีมติร่วมกัน ในบรรดาผู้เชี่ยวชาญอื่น ๆ ในสาขาเดียวกัน การให้เหตุผลเช่นนี้อาจจัดว่าเชื่อถือได้ หากทุก ๆ ฝ่ายตกลงกันได้ว่า ผู้เชี่ยวชาญที่อ้างเป็นผู้เชื่อถือได้ในบริบทนั้น ๆ[2] คือจัดได้ว่าเป็นเหตุผลที่ดีถ้าทั้งสองฝ่ายซึ่งกำลังถกประเด็นนั้นตกลงกันได้ว่า คนนั้นเป็นผู้เชี่ยวชาญจริง ๆ[2][3][4] อนึ่ง มีการอ้างว่า การเชื่อใจผู้เชี่ยวชาญนั้นหลีกเลี่ยงไม่ได้เพื่อให้วิทยาศาสตร์ก้าวหน้า เพราะจะยากมากหรือเป็นไปไม่ได้ ถ้านักศึกษาและนักวิจัยจะต้องตรวจดูหลักฐานจริง ๆ และประเมินข้อสรุปสำหรับความรู้ทั้งหมดที่จำเป็นเพื่อให้ศึกษาประเด็นใหม่ ๆ ทางวิทยาศาสตร์ได้[15] ในขณะเดียวกัน คนอื่น ๆ ก็อ้างว่าผู้เชี่ยวชาญไม่ได้ข้อยกเว้น[16] เพราะความถูกต้องของข้ออ้างจะต้องขึ้นอยู่กับหลักฐานและข้อพิสูจน์ที่ให้ ไม่ใช่เนื่องกับความมีชื่อเสียงของผู้ยกข้ออ้าง [ต้องการอ้างอิง] ความสับสนเพราะเป็นเหตุผลวิบัติทางตรรกะแต่เป็นเกณฑ์การอุปนัยที่ดีนี้เป็นเหตุผลวิบัติทางตรรกะ แต่จะเป็นเหตุผลวิบัติในการอุปนัยก็ต่อเมื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญเท็จ หรือข้ออ้างของผู้เชี่ยวชาญไม่ได้การยอมรับ อย่างไรก็ดี การให้เหตุผลนี้จะมีน้ำหนักโดยเปรียบเทียบเท่านั้น ไม่ใช่ข้อพิสูจน์เพราะยังไม่สมเหตุผลทางตรรกะ การจัดให้เหตุผลเช่นนี้เป็นเหตุผลวิบัติทางตรรกะ ชี้ว่ามันไม่ใช่วิธีการที่สมเหตุผลในการนิรนัยข้อสรุป คือการพิสูจน์ข้อสรุป[8] แต่ก็ไม่ใช่ว่า สิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญซึ่งน่าเชื่อถือได้อ้างและได้การยอมรับ จะไม่มีโอกาสถูกยิ่งกว่าคนที่ไม่เชี่ยวชาญ แต่น้ำหนักของการให้เหตุผลนี้ก็ไม่ได้สมบูรณ์ตามที่บางคนเชื่ออย่างผิด ๆ[8] ในวิทยาศาสตร์การหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์โดยใช้หลักฐานและการทดลอง ดีกว่าการอ้างผู้เชี่ยวชาญ[9][10][11] เพราะผู้เชี่ยวชาญไม่ได้ข้อยกเว้น[10][17][18] คาร์ล เซแกนได้เขียนไว้ว่า "บัญญัติเอกของวิทยาศาสตร์อย่างหนึ่งก็คือ อย่าพึ่งเชื่อเหตุผลจากผู้เชี่ยวชาญ ... เพราะการให้เหตุผลเยี่ยงนี้ได้พิสูจน์แล้วว่าผิดพลาดอย่างน่าเจ็บใจ [ดังนั้น]ผู้เชี่ยวชาญจึงต้องพิสูจน์ข้ออ้างของตนเหมือนกับคนอื่น ๆ"[16] ในนัยตรงกันข้าม มีการอ้างว่าวิทยาศาสตร์โดยพื้นฐานจะต้องอาศัยเหตุผลจากผู้เชี่ยวชาญ จึงจะก้าวหน้าต่อไปได้เพราะทำให้ไม่ต้องตรวจดูเรื่องเก่า ๆ อยู่เรื่อย ๆ[15] ตัวอย่างการยกผู้เชี่ยวชาญในวิทยาศาสตร์เรื่องหนึ่งเกิดขึ้นในปี 1923[19] เมื่อนักสัตววิทยาชั้นแนวหน้าชาวอเมริกัน ธีโอฟิลัส เพนเตอร์ ได้ใช้ข้อมูลที่ไม่ดีและสังเกตการณ์ที่ขัดแย้งกันเพื่อประกาศว่า[20][21] มนุษย์มีโครโมโซม 24 คู่ ดังนั้นตั้งแต่ทศวรรษ 1920 จนถึงปี 1956[22] นักวิทยาศาสตร์จึงได้กล่าวอย่างนี้ตาม ๆ กันโดยอาศัยชื่อเสียงของเพนเตอร์[23][24][21] แม้กระทั่งภายหลังจะนับได้อย่างถูกต้องเพียงแค่ 23 คู่[20][25] กระทั่งหนังสือเรียน[20] ที่แสดงรูปโครโมโซม 23 คู่อย่างถูกต้อง ก็ยังระบุว่ามีโครโมโซม 24 คู่โดยอาศัยอิทธิพลของมติร่วมกันในเวลานั้นว่ามี 24 คู่[26] เหตุการณ์นี้ดูเหมือนจะได้สร้างความเอนเอียงเพื่อยืนยันในหมู่นักวิจัย และ "นักวิทยาเซลล์โดยมาก เพราะคาดหมายว่าจะได้เลขเช่นเดียวกันกับของเพนเตอร์ ปกติก็จะได้เลขเช่นนั้นจริง ๆ"[26] "อิทธิพลของเพนเตอร์มหาศาลจนกระทั่งว่า นักวิทยาศาสตร์หลายท่านเลือกเชื่อตัวเลขของเขาแทนที่จะเชื่อหลักฐานที่ได้จริง ๆ"[25] ส่วนผู้ที่ได้ตัวเลขที่ถูกต้องก็ยังเปลี่ยน[27] หรือทิ้ง[28] ข้อมูลของตนเพื่อให้ตรงกับเลขของเพนเตอร์ ความเอนเอียงทางประชานที่เป็นรากการให้เหตุผลแบบนี้มีรากฐานอยู่ที่แนวคิดว่าทุกคนควรจะมีความเห็นเช่นเดียวกันกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญหรือผู้เชี่ยวชาญ โดยนี่เองก็มีรากฐานอยู่ในความเอนเอียงทางประชาน[29] เช่น ปรากฏการณ์ Asch effect ที่บุคคลจะยอมรับความเห็นของคนส่วนมากแม้รู้ว่าผิด[30][31][32] ในวิธีการทดลอง Asch conformity experiments แบบแก้ไขที่ได้ทำช้ำ ๆ พบว่า คนที่มีฐานะสูงมีโอกาสทำให้คนยอมรับข้อสรุปที่ชัดเจนว่าไม่ถูกต้องยิ่งกว่า แม้ปกติจะสามารถเห็นคำตอบเช่นนั้นว่าไม่ถูกต้อง[33] อนึ่ง พบว่า มนุษย์ปกติจะรู้สึกถูกกดดันให้ยอมรับจุดยืนของผู้เชี่ยวชาญหรือของคนโดยมาก นักวิจัยอีกกลุ่มหนึ่งทำซ้ำการทดลองเดียวกันแล้วพบว่า ผู้ร่วมการทดลองรายงานว่าได้รับแรงกดดันจากกลุ่ม โดยมี 59% ที่คล้อยตามยอมรับคำตอบที่ไม่ถูกต้องอย่างชัดเจน เทียบกับเมื่อไม่อยู่ในกลุ่มที่จะไม่ค่อยยอมรับคำตอบนี้[34] การทดลองของมิลแกรมเกี่ยวกับการคล้อยตามเจ้าหน้าที่ เป็นงานศึกษาอีกอย่างที่แสดงพื้นฐานทางจิตวิทยาของเหตุผลวิบัตินี้ โดยแสดงว่าเรามักจะคล้อยตามทำสิ่งที่เจ้าหน้าที่ระบุ แม้อาจจะรู้สึกว่าไม่ถูกต้อง[35] ในอีกรูปแบบหนึ่งของการทดลองนี้ ที่นักวิจัยไม่ได้ใส่เสื้อกาวน์ ซึ่งทำให้ผู้ร่วมการทดลองลดความรู้สึกว่าเป็นเจ้าหน้าที่ อัตราการเชื่อฟังก็จะลดลงเหลือ 20% เทียบกับอัตราเดิมซึ่งมากกว่า 50% มีการกระตุ้นให้เชื่อฟังโดยเตือนผู้ร่วมการทดลองว่าเจ้าหน้าที่ได้ระบุอะไรไว้ และโดยแสดงว่าความเห็นของผู้ร่วมการทดลองไม่ตรงกับเจ้าหน้าที่[35] นักวิชาการให้ข้อสังเกตว่าสิ่งแวดล้อมบางอย่างมีโอกาสก่อสถานการณ์เช่นนี้ได้มากสุด โดยก่อกระบวนการที่เรียกว่า groupthink[36] ซึ่งสมาชิกในกลุ่มจะรู้สึกเอนไปในการลดความขัดแย้งและสนับสนุนให้คล้อยตามกัน โดยเมื่อยกผู้มีอำนาจเป็นเหตุผล สมาชิกอาจจะแสดงว่าความเห็นนั้นเป็นมติส่วนรวม แล้วสนับสนุนให้สมาชิกอื่น ๆ ไม่ขัดแย้งกับมติที่ว่านี้[37][38] งานเขียนหนึ่งเกี่ยวกับปรัชญาคณิตศาสตร์ระบุว่า ในมหาวิทยาลัย
บริษัทก็มักจะมีปัญหาเรื่องการยกผู้มีอำนาจหรือผู้เชี่ยวชาญซึ่งจะก่อภาวะ groupthink[40] รัฐบาลและกองทัพทหารก็เช่นกัน[41] ดูเพิ่มเชิงอรรถและอ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia