การอ้างความใหม่การอ้างความใหม่ (อังกฤษ: appeal to novelty, appeal to modernity, argumentum ad novitatem) เป็นเหตุผลวิบัติโดยการอ้างว่า แนวคิดหรือข้อเสนอหนึ่งถูกต้องกว่าหรือดีกว่าเพราะเป็นของใหม่ เมื่อถกเถียงกันเรื่องการใช้ของเก่ากับของใหม่ การอ้างความใหม่โดยตนเองไม่ใช่เหตุผลที่สมเหตุสมผล เหตุผลวิบัติมีสองรูปแบบคือ การมองของใหม่ดีเกินไปโดยไม่ได้ตรวจสอบแต่สมมุติว่าดีที่สุด หรือว่าการให้เครดิตของเก่าน้อยเกินไปโดยที่ไม่ได้ตรวจสอบแต่สมมุติว่าแย่สุด แม้เมื่อตรวจสอบแล้วอาจพิสูจน์ข้ออ้างเช่นนี้ได้ว่าถูกต้อง แต่เหตุผลวิบัติก็คือการสรุปก่อนควรว่าของใหม่จะต้องดีทุกอย่าง Chronological snobbery เป็นรูปแบบหนึ่งของการอ้างความใหม่ ซึ่งอ้างว่าความรู้และข้อปฏิบัติที่สำคัญหรือเข้าประเด็น จะต้องได้มาในทศวรรษที่เพิ่งผ่านๆ มา เหตุผลวิบัติตรงข้ามกันก็คือ การอ้างประเพณี (appeal to tradition) ซึ่งให้เหตุผลว่า วิธีเก่าๆ ย่อมดีกว่าแนวคิดใหม่ๆ การให้เหตุผลเยี่ยงนี้มักได้ผลในโลกปัจจุบัน เพราะทุกคนอยากจะใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ อยู่ตลอด ภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ดอตคอมเมื่อต้นทศวรรษ 2000 อาจมองได้ว่าเป็นผลของการยอมรับแนวคิดใหม่ๆ โดยไม่ได้ตรวจสอบให้ดีก่อน อนึ่ง โฆษณามักจะชักชวนให้ซื้อผลิตภัณฑ์เพราะเป็นของใหม่ คำอธิบายเพราะเราอาจคิดว่าคนทั่วไปมักจะพยายามปรับปรุงสิ่งที่ตนทำ การให้เหตุผลโดยความใหม่จึงได้ผล เช่น เราอาจคิดว่าบริษัทคงจะรู้ว่าผลิตภัณฑ์ของตนมีปัญหา ดังนั้น ก็จะพยายามแก้ไขรุ่นต่อไป แต่การให้เหตุผลเช่นนี้มีปัญหาหลายอย่าง เช่นไม่พิจารณาเรื่องต่อไปนี้
ตัวอย่าง
ปัญหาการระบุเป็นเหตุผลวิบัติในบางกรณี ความใหม่อาจสัมพันธ์กับคุณสมบัติที่ดี เช่นเทคโนโลยีใหม่ๆ มักจะซับซ้อนกว่าและก้าวหน้ามากกว่าเทคโนโลยีเก่าๆ ฐานข้อมูลไวรัสใหม่ของโปรแกรมป้องกันไวรัสอาจสัมพันธ์กับความมั่นคงของเครื่องคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ใหม่ๆ อาจสัมพันธ์กับความเร็วและการทำงานที่ดีขึ้น ในกรณีเฉพาะๆ เหล่านี้ อะไรบางอย่างอาจจะดีกว่าเมื่อใหม่ แม้ปกติก็จะไม่ใช่เพราะความใหม่เท่านั้น ดังนั้น การอ้างความใหม่จึงไม่ใช่เหตุผลวิบัติในทุกๆ กรณี จะเป็นก็ต่อเมื่อไม่สัมพันธ์กันจริงๆ หรือว่ายังไม่ได้ตรวจสอบความสัมพันธ์ หรือเพราะอ้างเป็นข้อพิสูจน์ ถ้าเป็นอะไรที่เสื่อมอยู่ตลอดเวลา ความใหม่ก็จะเป็นเหตุผลที่ดี ตราบเท่าที่มันคืนสภาพอะไรที่เคยมีมาก่อนหรือทำให้ดีขึ้นกว่าก่อน เช่น เสื้อผ้าใหม่ก็จะดีกว่าเสื้อผ้าที่เก่าแต่เหมือนกัน หรือว่าอวัยวะสัตว์ใหม่ๆ ก็จะดีกว่าในกรณีที่ลอกคราบ ในเรื่องสุนทรียภาพ เช่นศิลปะและการดนตรี ก็เช่นกัน เพราะคุณค่าอาจไม่ได้อยู่ที่ผลงานที่ได้หรือว่าการเล่นโดยตรง แต่อยู่ที่ความรู้สึกว่าเป็นของใหม่และความอัศจรรย์ใจที่ก่อ เช่น สถานีวิทยุกระจายเสียงอาจจะเล่นเพียงแต่ดนตรีที่ปัจจุบันกำลังได้ความนิยม หรือคาดว่าจะได้ความนิยมหลังจากเปิดแผ่น ไม่ใช่เล่นดนตรีที่นิยมเมื่อหลายเดือนก่อน ซึ่งเท่ากับระบุว่า ความนิยมในปัจจุบันเป็นสิ่งที่ให้ค่า ไม่ใช่คุณสมบัติอะไรในตัวเองของดนตรี ไม่ใช่ความนิยมที่เคยมีมาก่อน ถ้าเป็นเช่นนี้จริงๆ ความใหม่เองนั่นแหละจึงเป็นคุณค่าหลัก แม้อาจใช้ไม่ได้กับทุกสิ่งทุกอย่าง ในกรณีเช่นนี้ ประพจน์ที่เทียบสิ่งสองอย่างโดยความใหม่จึงไม่ใช่เหตุผลวิบัติ เช่น "เพลง ก น่าจะดีกว่าเพลง ข เพราะใหม่กว่า" |
Portal di Ensiklopedia Dunia