การอ้างธรรมชาติการอ้างธรรมชาติ (อังกฤษ: appeal to nature) เป็นการให้เหตุผลหรือเป็นกลยุทธ์ทางวาทศิลป์โดยระบุว่า สิ่งนี้ดีก็เพราะเป็นธรรมชาติ หรือสิ่งนี้ไม่ดีก็เพราะไม่เป็นธรรมชาติ[1] ซึ่งทั่วไปจัดว่าเป็นเหตุผลที่ไม่ดี เพราะมีข้อตั้งหลักโดยปริยายที่ไม่ได้ระบุคือ "สิ่งที่เป็นธรรมชาติเป็นของดี" ซึ่งปกติจะไม่เข้าประเด็น ไม่น่าเชื่อถือ หรือเป็นเพียงความเห็นและไม่ใช่ความจริง รูปแบบรูปแบบทั่วไปของการให้เหตุผลนี่ก็คือ
ในบางกรณี การใช้คำว่าธรรมชาติอาจไม่ชัดเจน ทำให้สัมพันธ์กับแนวคิดอื่น ๆ อย่างไม่ได้ตั้งใจ อนึ่ง คำว่าธรรมชาติ อาจมีอรรถที่ก่ออารมณ์อย่างมีกำลัง อาจก่อความรู้สึกว่าถูกหรือผิดอย่างแรง การอ้างธรรมชาติเป็นการให้เหตุผลเป็นวง เพราะข้อตั้งต้องสมมุติว่าข้อสรุปเป็นจริง[2] มีความเห็นหลายอย่างเกี่ยวกับการให้เหตุผลเยี่ยงนี้ ในมุมมองที่เปิดกว้าง นี้ยังอาจเป็นหลักทั่วไปที่มีประโยชน์ แต่ก็ในเรื่องที่จำกัดและต้องมีข้อยกเว้น เมื่อใช้เป็นหลักทั่วไป ก็จะสมมุติว่าเหตุผลนี้ให้ข้อตัดสินที่ดีอย่างน่าเชื่อถือได้ นอกจากจะมีเหตุผลต่อต้าน และโดยนัยเดียวกัน สิ่งที่ไม่ใช่ธรรมชาติ ก็จะทำให้ตัดสินได้ว่าไม่ดีอย่างเชื่อถือได้ การใช้หลักทั่วไปในเรื่องจำกัดเช่น "เมื่ออย่างอื่นเหมือนกันทุกอย่าง เราควรจะพยายามทานอาหารธรรมชาติ" โดยทำเหมือนกับไม่มีข้อยกเว้นอาจเป็นเหตุผลวิบัติแบบ fallacy of accident คือให้เหตุผลที่ไม่สมควรในเรื่องที่ควรยกเว้น[2][3] การให้เหตุผลเช่นนี้เป็นเหตุผลวิบัติก็เพราะ "แม้จะตกลงกันได้ว่า อะไรเป็นธรรมชาติและไม่ใช่ แล้วอะไรละจะเป็นผลที่ตามมา คำตอบก็คือไม่มีอะไร" ไม่มีเหตุผลโดยอาศัยความจริงอะไรที่จะบอกได้ว่าสิ่งที่เป็นธรรมชาติต้องเป็นของดี หรือเเม้แต่ดีกว่า และอะไรที่ไม่ใช่ธรรมชาติก็จะต้องเป็นของแย่ หรือแย่กว่า[4] ประวัติทั้งวิทยาศาสตร์และปรัชญาได้พิจารณาความเป็นธรรมชาติในแนวคิดต่าง ๆ มาอย่างต่อเนื่อง ในกรีซโบราณ "กฎธรรมชาติไม่ได้มองแค่ว่า เป็นเพียงคำอธิบายทั่วไปของความจริงที่เกิดขึ้นในโลก แต่ยังเป็นบรรทัดฐานที่มนุษย์ควรจะประพฤติตาม ดังนั้นการยกธรรมชาติ จึงมักเป็นการยกธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งจัดเป็นแหล่งเกิดอย่างหนึ่งของบรรทัดฐานทางพฤติกรรม สำหรับคนกรีก นี่หมายถึงการเจตนาเข้าไปตรวจสอบและสำรวจในเรื่องซึ่งตามแนวคิดทางวัฒนธรรมของพวกเขา เป็นแหล่งกำเนิดที่แท้จริงสำหรับบรรทัดฐานทางพฤติกรรม"[5] ในยุคปัจจุบัน นักปรัชญาได้คัดค้านแนวคิดว่า การเป็นสัตว์ธรรมชาติของมนุษย์ควรจะระบุหรือกำหนดบรรทัดฐานทางพฤติกรรมของตน เช่นนักปรัชญาชาวฝรั่งเศส ฌ็อง-ฌัก รูโซ ได้เขียนไว้ว่า "เราไม่รู้หรอกว่า ธรรมชาติของเราจะให้เราเป็นอะไร"[6] ตัวอย่าง![]() ตัวอย่างการยกธรรมชาติที่เห็นบ่อยพบได้ในป้ายและโฆษณาของอาหาร เครื่องนุ่งห่ม สมุนไพร และอื่น ๆ[4][7] โดยอาจจะขึ้นป้ายว่าเป็นของธรรมชาติล้วน ๆ เป็นการกล่าวโดยนัยว่า ผลิตภัณฑ์ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมและผู้บริโภค แต่จริง ๆ แล้วผลิตภัณฑ์จะเป็นธรรมชาติหรือไม่ ก็ไม่ใช่เหตุให้ได้ความปลอดภัยและประสิทธิผล[4][8] ตัวอย่างเช่น สารประกอบที่เป็นพิษก็มีอยู่ตามธรรมชาติ เรื่องยาก็มักจะอ้างธรรมชาติเหมือนกันโดยกล่าวว่า ยาไม่เป็นธรรมชาติ ดังนั้นจึงไม่ควรใช้[7] นี้เห็นชัดเป็นพิเศษเมื่อใช้เป็นเหตุผลต่อต้านการฉีดวัคซีน[9] ในเรื่องการกินเนื้อ นักปรัชญาชาวออสเตรเลียอ้างว่า การให้เหตุผลว่าการกินเนื้อถูกศีลธรรมเพราะเป็นธรรมชาติ เป็นเหตุผลวิบัติ เพราะไม่ว่ามนุษย์หรือสัตว์จะประพฤติอย่างไรตามธรรมชาติ ก็ยังไม่ใช่เหตุผลว่า เราควรจะประพฤติเช่นไร ฉะนั้น การกินเนื้อหรือไม่กินเนื้อ ควรพิจารณาตามความผิดถูกของตนเอง ไม่ใช่ยกธรรมชาติ[10] ดูเพิ่มเชิงอรรถและอ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|
Portal di Ensiklopedia Dunia