การใช้เหตุผลโดยเข้าข้างการใช้เหตุผลโดยเข้าข้าง หรือ การหาเหตุผลโดยเข้าข้าง (อังกฤษ: rationalization) เป็นกลไกป้องกันตนโดยให้เหตุผลสำหรับพฤติกรรมที่เกิดจากแรงผลักดันทางสัญชาตญาณในจิตไร้สำนึก[1] เป็นการพยายามหาเหตุผลสำหรับพฤติกรรมต่างๆ โดยเฉพาะที่เป็นของตน[2] เป็นวิธีการป้องกันตนไม่ให้รู้สึกผิด รักษาความเคารพตน และไม่ให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ การหาเหตุผลโดยเข้าข้างมีสองขั้นตอน คือ
นิยามของ DSMตามคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิตรุ่น 4 (DSM-IV) การใช้เหตุผลเข้าข้างตนจะเกิด "เมื่อบุคคลรับมือกับความขัดแย้งกันทางอารมณ์ หรือกับสิ่งที่ก่อความเครียดไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอก โดยปิดบังแรงจูงใจที่แท้จริงซึ่งก่อความคิด การกระทำ หรือความรู้สึก ด้วยคำอธิบายที่ทำให้สบายใจหรือเข้าข้างตนเองแต่ไม่ถูกต้อง"[3] ตัวอย่างบุคคล
การให้เหตุผลเข้าข้างตนอย่างโต้งๆ โดยโทษคนอื่น อาจจะอยู่ในรูปแบบการโจมตีบุคคลแทนที่จะระบุเหตุผลที่สมควร บางอย่างอยู่ในรูปแบบการเปรียบเทียบ เพื่อจะลดการถูกมองว่าเลวร้าย เพื่อให้เหตุผลแก่การกระทำ หรือเพื่อจะปฏิเสธความผิด เช่น
หลักฐานที่เป็นเรื่องเล่าและการสำรวจอาจแสดงว่า ในสาขาแพทยศาสตร์ มีการให้เหตุผลเข้าข้างตัวเองเพื่อปิดบังการกระทำที่ผิดพลาดมากกว่าสาขาอื่นๆ[4] ข้อแก้ตัวที่สามัญคือ
การให้เหตุผลเข้าข้างตัวเองซึ่งใช้เป็นข้อแก้ตัวสำหรับพฤติกรรมผิดปกติ พบว่ามีส่วนทำให้พฤติกรรมผิดปกติเกิดขึ้นและคงยืน[5] กลุ่ม
ข้อคัดค้านนักวิทยาศาสตร์บางท่านวิจารณ์แนวคิดว่า สมองได้วิวัฒนาการขึ้นเพื่อให้เหตุผลแก่การตัดสินใจที่ไม่สมเหตุผล โดยอ้างว่ากระบวนการวิวัฒนาการย่อมคัดเลือกไม่ให้ใช้พลังงานเพิ่มสำหรับกระบวนการทางจิตใจที่ไม่ช่วยให้ตัดสินใจได้ดีขึ้น เช่น การให้เหตุผลแก่การตัดสินใจที่อย่างไรก็จะเกิดอยู่ดี และอ้างว่าการให้เหตุผลเข้าข้างตนทำให้เรียนรู้ได้น้อยลงจากการกระทำที่ผิดพลาด ไม่ใช่มากขึ้น[8] ความไม่ลงรอยกันทางประชานในปี 1957 นักจิตวิทยาชาวอเมริกันได้ชี้ว่า เมื่อคนมีความคิดต่างๆ ที่ไม่สอดคล้องกัน ก็จะรู้สึกไม่สบายใจ[9] การให้เหตุผลเข้าข้างตนสามารถลดความไม่สบายใจ โดยให้คำอธิบายเพื่อกำจัดความไม่ลงรอยกัน เช่น เมื่อคนกลับมาสูบบุหรี่ใหม่หลังจากที่ได้เลิก โดยชี้ว่าหลักฐานว่ามันเป็นอันตรายหนักแน่นน้อยกว่าที่เคยคิด[10] ดูเพิ่มเชิงอรรถและอ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|
Portal di Ensiklopedia Dunia