บทความแนะนำในหน้าหลักของวิกิพีเดีย
บทความแนะนำ คือบทความคัดสรรหรือบทความคุณภาพที่ได้รับคัดเลือกจากชาววิกิพีเดีย สำหรับนำไปแสดงไว้ในหน้าหลักของวิกิพีเดียในแต่ละเดือน
การคัดเลือกบทความแนะนำ จะพิจารณาจากบทความที่แสดงให้เห็นว่าวิกิพีเดียเป็นสารานุกรมที่ดี น่าเชื่อถือ มีรายละเอียดที่ครอบคลุม และมีผู้ลงชื่อสนับสนุนมากที่สุด
หากเหลือบทความคัดสรรที่ยังไม่เคยเป็นบทความคัดสรรประจำเดือนขณะใดก็ตามน้อยกว่า 3 บทความ ให้เสนอบทความคุณภาพเพื่อเป็นแสดงผลในหน้าหลักในตำแหน่งของบทความคัดสรรประจำเดือนได้
- สนับสนุนให้ใช้เดือนคู่แสดงบทความคุณภาพ เดือนคี่แสดงบทความคัดสรร
- เดือนที่ปิดการเสนอไปแล้วไม่มีบทความได้รับการพิจารณา จะแสดงข้อความอธิบายบทความคัดสรรและบทความคุณภาพรวมถึงข้อความเชิญชวนให้พัฒนาบทความให้เป็นบทความคัดสรรหรือบทความคุณภาพ
- การพิจารณานำบทความขึ้นแสดงผลทำเพียงเดือนละหนึ่งครั้ง แต่สามารถรับบทความได้มากกว่าหนึ่งบทความต่อหนึ่งเดือน โดยเฉพาะกรณีที่เป็นบทความคุณภาพในช่วงแรกสนับสนุนให้แสดงผลสองบทความต่อเดือน
- หมายเหตุเพิ่มเติม
- การเสนอและการพิจารณาดังกล่าวไม่ทำให้ความคุณภาพกลายเป็นบทความคุณภาพหรือบทความคัดสรรแต่อย่างใด บทความที่เสนอได้ต้องเป็นบทความคุณภาพหรือบทความคัดสรรอยู่แล้ว
การนับจำนวนน้อยกว่า 3 ให้นับบทความคัดสรรที่ยังไม่เคยเป็นบทความคัดสรรประจำเดือนทั้งหมด ไม่ต้องคำนึงว่าบทความเหล่านั้นอาจได้รับการเสนอชื่อเป็นบทความคัดสรรประจำเดือนอยู่ระหว่างรอการพิจารณาในเดือนใดในอนาคตหรือไม่
บทความคุณภาพที่ได้รับการพิจารณาให้แสดงผลแทนที่บทความคัดสรรประจำเดือนแล้วจะแสดงผลอยู่ทั้งเดือนเช่นเดียวกับบทความคัดสรร ไม่ว่าระหว่างเดือนนั้นจะมีบทความใหม่ได้รับการพิจารณาให้เป็นบทความคัดสรรเพิ่มเติมหรือไม่
- สนับสนุนให้ผู้เขียนบทความหลักเป็นผู้เสนอชื่อบทความคัดสรรหรือบทความคุณภาพเพื่อการแสดงผลในหน้าหลักก่อน เว้นแต่
- ผู้เขียนหลักขาดการเข้าใช้งานวิกิพีเดียและโครงการพี่น้องต่อเนื่องกันเวลาหนึ่งเดือนขึ้นไป หรือ
- เหลือเวลาน้อยกว่า 15 วันก่อนที่จะต้องเปลี่ยนบทความประจำเดือนและยังไม่มีบทความใดได้รับการเสนอชื่อ
- ในทุกกรณี สนับสนุนให้เสนอบทความล่วงหน้าไม่เกิน 12 เดือนในอนาคตเพื่อให้สัมพันธ์กับเหตุการณ์ในบทความ ยกเว้นมีเหตุจำเป็นพิเศษ
หรือมีจำนวนบทความคัดสรรที่ยังไม่เคยได้รับเลือกเป็นบทความคัดสรรประจำเดือนตั้งแต่ 12 บทความขึ้นไป
- หากมีบทความอยู่เต็มทุกเดือนแล้วอาจพิจารณาเสนอให้มีบทความคัดสรรมากกว่าหนึ่งบทความในเดือนเดียวกัน หรือมีบทความคุณภาพมากกว่าสองบทความในเดือนเดียวกัน โดยแบ่งตามระยะเวลาหรือใช้วิธีแสดงผลแบบสุ่มจากการเขียนโปรแกรมไว้ในแม่แบบ
|
- บทความคัดสรร
- หน้าที่เกี่ยวข้อง
- บทความคุณภาพ
- หน้าที่เกี่ยวข้อง
|
บทความแนะนำ
แม่แบบ {{บทความแนะนำ}} จะแสดงบทความแนะนำล่าสุดเช่นเดียวกับที่แสดงในหน้าหลักดังนี้
![ธงชาติญี่ปุ่นตั้งแต่ ค.ศ. 1999](//upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/9/9e/Flag_of_Japan.svg/171px-Flag_of_Japan.svg.png)
ธงชาติญี่ปุ่นตั้งแต่ ค.ศ. 1999
ธงชาติญี่ปุ่น มีลักษณะเป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีขาว กึ่งกลางธงเป็นรูปวงกลมสีแดง มีชื่อตามกฎหมายว่า นิชโชกิ แต่ในญี่ปุ่นนิยมเรียกธงนี้ว่า ฮิโนมารุ ซึ่งมีความหมายว่า วงกลมดวงอาทิตย์ จึงมีการเรียกประเทศนี้อย่างลำลองว่า ดินแดนแห่งพระอาทิตย์อุทัย ตามชื่อธง
ธงรูปดวงอาทิตย์เป็นธงชาติของญี่ปุ่นโดยพฤตินัยก่อนการประกาศใช้พระราชบัญญัติธงชาติและเพลงชาติใน ค.ศ. 1999 ก่อนหน้านั้นไม่มีบัญญัติใดที่กำหนดลักษณะของธงชาติขึ้นเฉพาะ ต่อมาเมื่อ ค.ศ. 1870 ไดโจกังได้ออกพระบรมราชโองการกำหนดลักษณะของธงชาติสองฉบับ โดยธงรูปดวงอาทิตย์ได้รับการประกาศใช้เป็นธงเรือราษฎร์ตามพระบรมราชโองการที่ 57 แห่งรัชศกเมจิที่ 3 และธงชาติที่ใช้ในเรือหลวงตามพระบรมราชโองการที่ 651 แห่งรัชศกเมจิที่ 3
ความรู้สึกของสาธารณชนต่อธงชาติญี่ปุ่นมีความหลากหลาย แหล่งข้อมูลทั้งทางตะวันตกและญี่ปุ่นเองกล่าวว่าในอดีตธงชาติญี่ปุ่นนั้นเป็นสัญลักษณ์ที่ทรงพลังและยั่งยืนของชาวญี่ปุ่น นับแต่การสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่สอง การใช้ธงชาติและเพลงชาติคิมิงาโยะในโรงเรียนรัฐญี่ปุ่นเป็นประเด็นถกเถียงที่นำไปสู่การประท้วงและการฟ้องร้อง มีการนำฮิโนมารุเป็นต้นแบบของธงอื่นในญี่ปุ่นทั้งภาครัฐและเอกชน
รายชื่อบทความแนะนำรายเดือน
บทความแนะนำ
ตั้งแต่ พ.ศ. 2568 รวมเรียกว่าบทความแนะนำ ใช้ได้ทั้งบทความคุณภาพและบทความคัดสรร บทความคุณภาพแสดงด้วยตัวอักษรปกติ (บทความคัดสรรแสดงด้วยตัวหนาเนื่องจากมีจำนวนน้อยกว่า)
บทความคัดสรรประจำเดือน
พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2567 เรียกโครงการว่า "บทความคัดสรรประจำเดือน" ใช้บทความคัดสรรเป็นหลัก แสดงด้วยตัวอักษรปกติ (หากใช้บทความคุณภาพจะถือเป็นข้อยกเว้น แสดงชื่อบทความด้วยตัวเอียง)
† = อดีตบทความคัดสรร
- พื้นที่นี้ใช้สำหรับเสนอบทความที่คุณคิดว่าเหมาะสมที่จะเป็นบทความแนะนำประจำเดือน
- ขณะนี้วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 07:28 น. (UTC+7 กรุงเทพฯ)
บทความแนะนำประจำเดือนมีนาคม 2568 จะได้รับการพิจารณาจากข้อเสนอด้านล่างในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 (วันสิ้นเดือน) ตั้งแต่เวลา 00:01 น. เป็นต้นไป
- แม่แบบสำหรับแสดงผลในหน้าหลักควรมีขนาดสม่ำเสมอกันในทุกเดือนประมาณ
4,000 ไบต์ (+/-5% คือ 3,800 ถึง 4,200 ไบต์) 1,000 อักขระ (+/-5% คือ 950 ถึง 1,050 อักขระ) ทั้งนี้นับรวมช่องว่างไว้แล้วด้วยโปรแกรมอัตโนมัติในวิกิพีเดียเอง ไม่ต้องใช้เครื่องมือภายนอกอื่นใดอีก
- ทดสอบเสนอชื่อสำหรับ 2568 (หกเดือนแรกเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านและปรับปรุง มกราคม-มิถุนายน)
- สนับสนุนให้ใช้เดือนคู่แสดงบทความคุณภาพ เดือนคี่แสดงบทความคัดสรร
- สิ่งที่ได้เสนอไปแล้วจะพยามคงไว้ดังเดิม แต่ถ้าเป็นไปได้จะไม่เสนอบทความคุณภาพเข้าไปในเดือนคี่อีก
- หากไม่มีบทความคัดสรรได้รับการพิจารณาใหม่ในวันสิ้นเดือนเมษายน 2568 หน้าหลักตลอดเดือนพฤษภาคมจะเป็นเดือนแรกที่แสดงข้อความประชาสัมพันธ์การเขียนบทความแนะนำตลอดเดือน รวมถึงประชาสัมพันธ์โครงการสนับสนุน (ถ้ามี) ในขณะนั้น
- ใช้เลขคิวเรียงลำดับไปถึง 24 แล้วเวียนซ้ำกลับมาที่ 1 ใหม่ / หากมีการเปลี่ยนเดือนที่นำเสนอหรือแทรกคิวที่เสนอแก้ไขจากลำดับที่แสดงผลด้านล่างได้ทันทีโดยเรียงจากที่ใกล้ปัจจุบันที่สุดขึ้นมาก่อน
- กรณีแสดงผลสองบทความต่อเดือน บทความที่สองเริ่มแสดงผลวันที่ 15 ของเดือนเสมอไม่ว่าเดือนนั้นจะมีกี่วันก็ตาม
- วิธีการทางเทคนิค (แม่แบบที่เกี่ยวข้องในการตั้งการแสดงผลล่วงหน้าและทำประวัติบทความเก่า) ลอกตามวิกิพีเดีย:รู้ไหมว่า มาทั้งหมด ซึ่งผ่านการทดสอบและปรับปรุงมาถึง 6 เดือนแล้ว น่าจะให้ผลที่ดีและช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพที่สุด
![Clostridium tetani กำลังสร้างเอนโดสปอร์](//upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/c/c7/Clostridium_tetani_01.png/171px-Clostridium_tetani_01.png) Clostridium tetani กำลังสร้างเอนโดสปอร์
Clostridium tetani เป็นแบคทีเรียในดินที่พบได้ทั่วไปและเป็นตัวก่อบาดทะยัก ขณะที่ยังเติบโตในดิน C. tetani จะมีรูปร่างเป็นแท่งความยาวถึง 2.5 μm อย่างไรก็ตามหากมีการสร้างเอนโดสปอร์ C. tetani จะพองออกที่ปลายข้างหนึ่งคล้ายกับไม้เทนนิสหรือไม้กลอง สปอร์ของ C. tetani นั้นมีความทนทานสูงและสามารถพบได้ในดินทั่วโลกหรือในทางเดินอาหารของสัตว์ หาก C. tetani เข้าไปในแผลจะเติบโตและผลิตสารพิษที่มีความรุนแรงชื่อว่าเททาโนสปาสมิน ซึ่งจะรบกวนเซลล์ประสาทสั่งการ ส่งผลให้เกิดบาดทะยัก การออกฤทธิ์ของสารพิษนี้สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนท็อกซอยด์บาดทะยักซึ่งมีการฉีดให้กับเด็กทั่วโลก
C. tetani เป็นแบคทีเรียแกรมบวกรูปท่อน มีความกว้างประมาณ 0.5 μm และยาว 2.5 μm สามารถเคลื่อนที่ได้ด้วยแฟลเจลลัมจำนวนมากที่รายล้อมรอบตัว C. tetani ไม่สามารถโตได้ในสภาวะที่มีออกซิเจน (obligate anaerobe) และเติบโตได้ดีสุดที่อุณหภูมิ 33 ถึง 37 °ซ. ในบางสภาวะ C. tetani สามารถสลัดแฟลเจลลัมทิ้งและสร้างเอนโดสปอร์ขึ้นทดแทน เซลล์หนึ่งเซลล์จะสามารถสร้างได้หนึ่งสปอร์ โดยปกติที่จะสร้างที่ส่วนปลายด้านหนึ่งของเซลล์ ทำให้เซลล์มีรูปร่างเหมือนไม้กลองอันเป็นเอกลักษณ์
อภิปราย (แก้ไข ประวัติ)
- เสนอสำหรับมีนาคม 2568 (บทความคุณภาพ-ปักษ์หลัง)
เหตุผล: เสนอเรียงไปตามลำดับในรายชื่อเพื่อง่ายแก่การตรวจสอบว่าบทความใดใช้ไปแล้วหรือยัง (ได้ติดต่อผู้เขียนหลัก คุณ Chainwit. แล้ว) --Taweethaも (คุย) 07:43, 26 ธันวาคม 2567 (+07)[ตอบกลับ]
- ความเห็น
เห็นด้วย --Chainwit.〈 พูดคุย 〉 13:10, 30 ธันวาคม 2567 (+07)[ตอบกลับ]
|
- พฤษภาคม
- เป็นที่ของบทความคัดสรรจะไม่เสนอบทความคุณภาพไปเพิ่มอีก หากไม่มีบทความคัดสรรจะแสดงข้อความประชาสัมพันธ์ให้เขียนบทความคุณภาพและบทความคัดสรรเพื่อให้กลายเป็นบทความแนะนำต่อไป