วิกิพีเดีย:บทความแนะนำ/พ.ศ. 2568



บทความแนะนำแบ่งตามปี
2548 - 2549 - 2550 - 2551 - 2552 - 2553 - 2554 - 2555 - 2556 - 2557 - 2558 - 2559 - 2560 - 2561 - 2562 - 2563 - 2564 - 2565 - 2566 - 2567 - 2568


มกราคม

1 มกราคม พ.ศ. 2568

แม่แบบ:บทความแนะนำ/2025-01-01 (ประวัติ)
ภาพ 253 มาทิลเด ถ่ายโดยนาซา
ภาพ 253 มาทิลเด ถ่ายโดยนาซา

253 มาทิลเด (ในภาพ) เป็นดาวเคราะห์น้อยในแถบดาวเคราะห์น้อยหลัก ค้นพบโดยโยฮัน พาลีซา ใน พ.ศ. 2428 ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์จำนวน 4 ปี และโคจรรอบตัวเองด้วยอัตราที่ช้าผิดปกติ คือใช้เวลา 17.4 วัน ในการโคจรรอบตัวเองครบ 1 รอบ

เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2540 ยานเนียร์ชูเมกเกอร์ได้สำรวจดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ระหว่างทางที่จะเดินทางไปยังดาวเคราะห์น้อยอีรอส และได้ถ่ายภาพของดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ไว้ซึ่งแสดงให้เห็นถึงหลุมอุกกาบาตจำนวนมากบนพื้นผิว ปัจจุบัน 253 มาทิลเด เป็นดาวเคราะห์น้อยประเภท C ดวงแรกที่มียานอวกาศไปสำรวจ และก่อนหน้าการเดินทางไปยัง 21 ลูเทเชีย ดาวเคราะห์น้อยมาทิลเดจะเป็นดาวเคราะห์น้อยดวงใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีการสำรวจในปัจจุบัน

เมื่อ พ.ศ. 2423 โยฮัน พาลีซา กรรมการของหอดูดาวนาวีออสเตรีย ได้รับมอบหมายให้ไปเป็นผู้ช่วยในหอดูดาวเวียนนาที่เพิ่งเปิดใหม่ พาลีซาได้ใช้กล้องโทรทรรศน์หักเหแสงขนาด 27 นิ้ว (690 มม.) ซึ่งเป็นกล้องที่ใหญ่ที่สุดในโลกในขณะนั้น และกล้องขนาด 12 นิ้ว (300 มม.) ในการค้นพบดาวเคราะห์น้อยจำนวน 94 ดวง โดยก่อนหน้านี้เขาได้ค้นพบดาวเคราะห์น้อยมาแล้ว 27 ดวง

15 มกราคม พ.ศ. 2568

แม่แบบ:บทความแนะนำ/2025-01-15 (ประวัติ)
ศาลาราชมงคลที่ประดิษฐาน "พระพุทธศรีศากยมุนี" พระพุทธรูปประจำมหาวิทยาลัย
ศาลาราชมงคลที่ประดิษฐาน "พระพุทธศรีศากยมุนี" พระพุทธรูปประจำมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเป็นมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของรัฐ ได้รับการยกฐานะขึ้นจากวิทยาเขตของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล โดยชื่อ "ราชมงคล" นั้น ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2533 พร้อมทั้งพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญ "พระมหาพิชัยมงกุฎ" และ "พระราชลัญจกร" ประจำพระองค์ ให้เป็นตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเป็นศูนย์กลางการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในภาคเหนือของประเทศไทย โดยมีการเรียนการสอน 5 ระดับ คือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท และระดับปริญญาเอก

ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยระยะแรก พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในช่วงเดือนพฤศจิกายนหรือธันวาคมเป็นประจำทุกปี ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้องคมนตรีเป็นผู้แทนพระองค์

กุมภาพันธ์

1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568

แม่แบบ:บทความแนะนำ/2025-02-01 (ประวัติ)
ธงชาติญี่ปุ่นตั้งแต่ ค.ศ. 1999
ธงชาติญี่ปุ่นตั้งแต่ ค.ศ. 1999

ธงชาติญี่ปุ่น มีลักษณะเป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีขาว กึ่งกลางธงเป็นรูปวงกลมสีแดง มีชื่อตามกฎหมายว่า นิชโชกิ แต่ในญี่ปุ่นนิยมเรียกธงนี้ว่า ฮิโนมารุ ซึ่งมีความหมายว่า วงกลมดวงอาทิตย์ จึงมีการเรียกประเทศนี้อย่างลำลองว่า ดินแดนแห่งพระอาทิตย์อุทัย ตามชื่อธง

ธงรูปดวงอาทิตย์เป็นธงชาติของญี่ปุ่นโดยพฤตินัยก่อนการประกาศใช้พระราชบัญญัติธงชาติและเพลงชาติใน ค.ศ. 1999 ก่อนหน้านั้นไม่มีบัญญัติใดที่กำหนดลักษณะของธงชาติขึ้นเฉพาะ ต่อมาเมื่อ ค.ศ. 1870 ไดโจกังได้ออกพระบรมราชโองการกำหนดลักษณะของธงชาติสองฉบับ โดยธงรูปดวงอาทิตย์ได้รับการประกาศใช้เป็นธงเรือราษฎร์ตามพระบรมราชโองการที่ 57 แห่งรัชศกเมจิที่ 3 และธงชาติที่ใช้ในเรือหลวงตามพระบรมราชโองการที่ 651 แห่งรัชศกเมจิที่ 3

ความรู้สึกของสาธารณชนต่อธงชาติญี่ปุ่นมีความหลากหลาย แหล่งข้อมูลทั้งทางตะวันตกและญี่ปุ่นเองกล่าวว่าในอดีตธงชาติญี่ปุ่นนั้นเป็นสัญลักษณ์ที่ทรงพลังและยั่งยืนของชาวญี่ปุ่น นับแต่การสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่สอง การใช้ธงชาติและเพลงชาติคิมิงาโยะในโรงเรียนรัฐญี่ปุ่นเป็นประเด็นถกเถียงที่นำไปสู่การประท้วงและการฟ้องร้อง มีการนำฮิโนมารุเป็นต้นแบบของธงอื่นในญี่ปุ่นทั้งภาครัฐและเอกชน

มีนาคม

เมษายน

พฤษภาคม

มิถุนายน

กรกฎาคม

สิงหาคม

กันยายน

ตุลาคม

พฤศจิกายน

ธันวาคม

 

Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9

Portal di Ensiklopedia Dunia