ลูกอีสาน เป็นภาพยนตร์ไทยซึ่งผลิตและจัดจำหน่ายโดยไฟว์สตาร์โปรดักชั่น ออกฉายเมื่อปี พ.ศ. 2525 โดยสร้างจากนวนิยายรางวัลซีไรต์ประจำปี พ.ศ. 2522 เรื่องลูกอีสาน ผลงานของคำพูน บุญทวี [1] กำกับการแสดงโดย วิจิตร คุณาวุฒิ นำแสดงโดย องอาจ มณีวรรณ เจ้าของบท "ทองปาน โพนทอง" ในภาพยนตร์ต้องห้ามสะท้อนสภาพสังคมหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา เรื่อง ทองปาน[2] และ ด.ช. คณิต จีระดิษฐ์
อนึ่ง คำพูน บุญทวี ผู้ประพันธ์นวนิยายต้นฉบับ ได้ร่วมแสดงภาพยนตร์เรื่องนี้ในบทของ "ลุงกา"
โครงเรื่อง
ภาพยนตร์เรื่องลูกอีสานเป็นเรื่องราวของวิถีชีวิตชาวนาอีสานในหมู่บ้านโคกอีแหลว ซึ่งอยู่ในพื้นที่ตอนเหนือของจังหวัดอุบลราชธานี ในช่วงทศวรรษ 2480[note 1] โดยบอกเล่าถึงการฟันฝ่าอุปสรรคจากภัยธรรมชาติ ขนบธรรมเนียม ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม และความเชื่อของผู้คนในสังคม ผ่านมุมมองของตัวละครหลัก 2 คน คือบักคูน เด็กชายที่ถอดมาจากชีวิตจริงของผู้ประพันธ์[note 2] และพ่อสุด พ่อของบักคูน
นักแสดง
นักแสดงเกียรติยศรับเชิญ
รางวัล
- รางวัลตุ๊กตาทองพระสุรัสวดี ครั้งที่ 14 ประจำปี 2525 (มอบรางวัล 25/12/2525)
- ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
- นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม - ทองปาน โพนทอง (เข้าชิง)
- นักแสดงประกอบหญิงยอดเยี่ยม - ศรินทิพย์ ศิริวรรณ ได้รับรางวัล, จันทร์เพ็ญ ศิริเทพ (เข้าชิง)
- ผู้กำกับการแสดงยอดเยี่ยม - วิจิตร คุณาวุฒิ
- บทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม - วิจิตร คุณาวุฒิ
- รางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ ครั้งที่ 4 ประจำปี 2525 (มอบรางวัล 10/4/2526)
- ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
- นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม - ทองปาน โพนทอง
- ผู้กำกับการแสดงยอดเยี่ยม - วิจิตร คุณาวุฒิ
- บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม - วิจิตร คุณาวุฒิ
- การลำดับภาพยอดเยี่ยม - วิจิตร คุณาวุฒิ
เชิงอรรถ
อ้างอิง
- ↑ "ลูกอีสาน". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-22. สืบค้นเมื่อ 2007-10-22.
- ↑ วีระยศ สำราญสุขทิวาเวทย์. หนังกับหนังสือ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ห้องสมุด, 2552. 286 หน้า. ISBN 978-974-642-677-0
แหล่งข้อมูลอื่น
|
---|
ครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2554) | |
---|
ครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2555) | |
---|
ครั้งที่ 3 (พ.ศ. 2556) | |
---|
ครั้งที่ 4 (พ.ศ. 2557) | |
---|
ครั้งที่ 5 (พ.ศ. 2558) | |
---|
ครั้งที่ 6 (พ.ศ. 2559) | |
---|
ครั้งที่ 7 (พ.ศ. 2560) | พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒๔๖๙ (พ.ศ. 2469) • การเดินทางกลับจากประเทศญี่ปุ่นของคณะทูตไทยในการไปเจรจาตกลง การเรียกร้องดินแดนคืนจากรัฐบาล อินโด-จีน ของฝรั่งเศส ถึงกรุงเทพพระมหานคร (พ.ศ. 2484) • ทะเลรัก (พ.ศ. 2496) • พิธีเปิดป้าย พรรคเสรีมนังคศิลา ๒ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๙ (พ.ศ. 2499) • ไทยไดมารู (พ.ศ. 2507) • ศึกบางระจัน (พ.ศ. 2509) • กองพันจงอางศึก [พ.ศ. 2510] • ชุมแพ (พ.ศ. 2519) • เพลงรักเพื่อเธอ (พ.ศ. 2521) • บ้านทรายทอง (พ.ศ. 2523) • หลวงตา (พ.ศ. 2523) • มือปืน (พ.ศ. 2526) • ข้างหลังภาพ (พ.ศ. 2528) • ฉลุย (พ.ศ. 2531) • เกรซแลนด์ GRACELAND (พ.ศ. 2549) |
---|
ครั้งที่ 8 (พ.ศ. 2561) | |
---|
ครั้งที่ 9 (พ.ศ. 2562) | |
---|
ครั้งที่ 10 (พ.ศ. 2563) | |
---|
ครั้งที่ 11 (พ.ศ. 2564) | |
---|
ครั้งที่ 12 (พ.ศ. 2565) | กิจการในกระทรวงพาณิชย์ แล คมนาคม THE ACTIVITIES OF THE MINISTRY OF COMMERCE AND COMMUNICATIONS [2470 - 2472] • [ตัดหัวต่อหัว] [2470 - 2473] • ดรรชนีนาง (2496) • [งานอภิเษกพระสังฆราชมีแชล มงคล (อ่อน) ประคองจิต] (2496) • [การประกวดการจัดบ้านและบริเวณ] (2497) • [จอมพลสฤษดิ์ไปอเมริกา] (2501) • เด็กกับหมี The Children and the Bear (2502) • มันมากับความมืด (2514) • แหวนทองเหลือง (2516) • เทพธิดาบาร์ 21 (2521) • ส.อ.ว.ห้อง 2 รุ่น 44 (2533) • October Sonata รักที่รอคอย (2552) |
---|
ครั้งที่ 13 (พ.ศ. 2566) | |
---|
ครั้งที่ 14 (พ.ศ. 2567) | Compte-rendu de Mission Archéologique…au SIAM ~ NOV-DEC 1929 ~ (รายงานการสำรวจทางโบราณคดี ณ กรุงสยาม พฤศจิกายนถึงธันวาคม 2472) (2472) • WEDDING TRIP TO BANGKOK 1938-1939 (2481-2482) • PRINCE PARIBATRA OF SIAM (2491) • [สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีทรงอัญเชิญพระบรมอัฐิ ร.7 จากลอนดอนกลับประเทศไทย] (2492) • สามพราน (2503) • น้อยไจยา (2509) • บ๊าย..บาย ไทยแลนด์ (ไม่ปรากฏวันออกฉาย) • คนกราบหมา (2540 / ฉบับ Director’s Cut 2567) • Birth of Seanéma (2547) • กระเบนราหู (2562) |
---|
|