มหาสมุทรและสุสาน (อังกฤษ: The Island Funeral) คือภาพยนตร์ไทยขนาดยาวกำกับโดยพิมพกา โตวิระ เขียนบทโดยพิมพกา โตวิระ และก้อง ฤทธิ์ดี นำแสดงโดย ศศิธร พานิชนก อุกฤษ พรสัมพันธ์สุข และยศวัศ สิทธิวงค์ เล่าเรื่องการเดินทางของไลลา หญิงสาวมุสลิมที่เดินทางจากกรุงเทพฯ ไปยังจังหวัดปัตตานี เพื่อไปเยี่ยมป้าที่ไม่ได้เจอกันเป็นเวลานาน และเพื่อค้นหารากเหง้าของตัวตนและจิตวิญญาณของตัวเอง[2] โดยเรื่องราวในภาพยนตร์เกิดขึ้นในช่วงกลางปี พ.ศ. 2553 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงคุกรุ่น และความขัดแย้งทางการเมืองในกรุงเทพฯ ก็กำลังเกิดขึ้นอย่างรุนแรง
ภาพยนตร์เรื่องนี้เข้าฉายครั้งแรกในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2558 และเข้าฉายในประเทศไทยเป็นครั้งแรกภายใต้โครงการอันล็อกอินดีส์ เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2559 ในโรงภาพยนตร์เครือเอสเอฟ
เนื้อเรื่องย่อ
ภาพยนตร์เรื่องนี้เล่าเรื่องของไลลา (ศศิธร พานิชนก) หญิงสาวมุสลิมที่เติบโตในกรุงเทพฯ ที่ตัดสินใจออกเดินทางไปจังหวัดปัตตานี เพื่อไปเยี่ยมป้าไซนับ (เกียรติสุดา ภิรมย์) ญาติที่เหลืออยู่เพียงคนเดียวของพ่อและไม่ได้พบกันเป็นเวลานาน โดยมีซูกู้ด (อุกฤษ พรสัมพันธ์สุข) น้องชายของไลลา และต้อย (ยศวัศ สิทธิวงค์) เพื่อนสนิทของซูกู้ดร่วมเดินทางไปด้วย การเดินทางของทั้งสามเกิดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงคุกรุ่น ส่วนในกรุงเทพฯ ก็เกิดเหตุการณ์การสลายการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ
ด้วยความที่หมู่บ้าน "อัลคัฟ" ที่ไซนับอาศัยอยู่เป็นหมู่บ้านที่ไม่ปรากฏอยู่บนแผนที่ ทั้งสามจึงไม่รู้เส้นทาง และขณะเดียวกัน ต้อยก็เกิดความหวาดระแวงต่อผู้คนในพื้นที่และกลัวว่าจะเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงขึ้นกับตน
การเดินทางอย่างไม่รู้ทิศทางของทั้งสามนำพวกเขาไปพบกับสุรินทร์ (พัฒนพงษ์ ศรีบุญเรือง) ทหารรับจ้างชาวอีสานที่ถูกส่งมาปฏิบัติภารกิจในปัตตานี พวกเขาได้ขอร้องให้สุรินทร์ช่วยนำทางไปยังอัลคัฟ สุรินทร์ตอบตกลงพวกเขาทั้งสี่จึงเดินทางไปพร้อมกัน เส้นทางที่ไปนำทางพวกเขาไปยังเรือลำหนึ่งที่ไซนับส่งให้มารับหลานสาวของตน ทั้งสามแยกทางกับสุรินทร์ ณ ที่นั้น และลงเรือเดินทางไปยังเกาะลึกลับแห่งหนึ่ง
บนเกาะแห่งนั้น พวกเขาได้พบกับไซนับและชุมชนขนาดเล็กที่ไซนับดูแลอยู่ ไซนับเล่าให้ทั้งสามฟังว่า ชุมชนแห่งนี้เป็นแหล่งรวมผู้คนจากหลากหลายศาสนาและวัฒนธรรม ทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างสงบ มีอิสระในการใช้ชีวิต และปราศจากการควบคุมของอำนาจรัฐ แต่อีกไม่นานชุมชนแห่งนี้ก็จะสิ้นสุดลง เพราะเมื่อใดก็ตามที่คนจาก "แผ่นดินใหญ่" ค้นพบเกาะแห่งนี้ พวกเขาก็จะมองว่าชุมชนนี้เป็นฝ่ายเดียวกับผู้ก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้และนำไปสู่การกวาดล้างชุมชนในที่สุด
รุ่งเช้าของอีกวัน พวกเขาทั้งสามก็เดินทางออกจากเกาะดังกล่าว พร้อมกับอานัส (วัลลภ รุ่งกำจัด) ชายหนุ่มจากชุมชนของไซนับ ที่ขอร่วมเดินทางไปกรุงเทพฯ กับพวกเขาด้วย
นักแสดง
การเข้าฉาย
ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับเลือกให้เข้าฉายในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ ดังต่อไปนี้[2]
ส่วนในประเทศไทย ภาพยนตร์เรื่องนี้เข้าฉายครั้งแรกภายใต้โครงการอันล็อกอินดีส์ เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2559 ในโรงภาพยนตร์เครือเอสเอฟ[3]
รางวัล
พ.ศ.
|
รายการ
|
รางวัล/สาขา
|
ผู้ได้รับการเสนอชื่อ
|
ผล
|
2558
|
เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโตเกียว ครั้งที่ 28
|
ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม/เอเชียนฟิวเจอร์
|
พิมพกา โตวิระ
|
ได้รับรางวัล
|
2559
|
เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเซี่ยงไฮ้ ครั้งที่ 19
|
เอเชียนนิวทาเลนต์/กำกับภาพยอดเยี่ยม
|
พุทธิพงษ์ อรุณเพ็ง
|
ได้รับรางวัล
|
เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติฮ่องกง ครั้งที่ 40
|
FIPRESCI
|
พิมพกา โตวิระ
|
ได้รับรางวัล
|
โกลเดนไฟเออร์เบิร์ด/ยังซีเนมา
|
พิมพกา โตวิระ
|
ได้รับการเสนอชื่อ
|
เทศกาลภาพยนตร์ฮัมบวร์ค 2016
|
รางวัลนักวิจารณ์
|
พิมพกา โตวิระ
|
ได้รับการเสนอชื่อ
|
เทศกาลภาพยนตร์กอเทนเบิร์ก 2016
|
อิงมาร์ เบิร์กแมน อินเตอร์เนชันแนลเดบิวต์
|
พิมพกา โตวิระ
|
ได้รับการเสนอชื่อ
|
เทศกาลภาพยนตร์อิสระนานาชาติบัวโนสไอเรส
|
ภาพยนตร์ขนาดยาวยอดเยี่ยม/อาว็อง-การ์ดแอนด์ฌ็องร์
|
พิมพกา โตวิระ
|
ได้รับการเสนอชื่อ
|
2560
|
รางวัลไบโอสโคป ประจำปี พ.ศ. 2559[4]
|
หนังไทยแห่งปี
|
|
ได้รับรางวัล
|
รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 26[5]
|
ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
|
พิมพกา โตวิระ และชาติชาย ไชยยนต์ (เอ็กซ์ตร้า เวอร์จิ้น)
|
ได้รับการเสนอชื่อ
|
ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
|
พิมพกา โตวิระ
|
ได้รับการเสนอชื่อ
|
ผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม
|
ศศิธร พานิชนก
|
ได้รับการเสนอชื่อ
|
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
|
พิมพกา โตวิระ และก้อง ฤทธิ์ดี
|
ได้รับการเสนอชื่อ
|
ถ่ายภาพยอดเยี่ยม
|
พุทธิพงษ์ อรุณเพ็ง
|
ได้รับการเสนอชื่อ
|
ลำดับภาพยอดเยี่ยม
|
หรินทร์ แพทรงไทย เบญจรัตน์ ชูนวน และอุรุพงศ์ รักษาสัตย์
|
ได้รับการเสนอชื่อ
|
บันทึกเสียงและผสมเสียงยอดเยี่ยม
|
อัคริศเฉลิม กัลยาณมิตร
|
ได้รับการเสนอชื่อ
|
ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม
|
อินสไปเรทีฟ และนพนันทน์ พานิชเจริญ
|
ได้รับการเสนอชื่อ
|
รางวัลสตาร์พิคส์ ครั้งที่ 14 ประจำปี พ.ศ. 2559[6]
|
ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
|
พิมพกา โตวิระ และชาติชาย ไชยยนต์ (เอ็กซ์ตร้า เวอร์จิ้น)
|
ได้รับรางวัล
|
ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
|
พิมพกา โตวิระ
|
ได้รับการเสนอชื่อ
|
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม
|
ศศิธร พานิชนก
|
ได้รับการเสนอชื่อ
|
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
|
พิมพกา โตวิระ และก้อง ฤทธิ์ดี
|
ได้รับรางวัล
|
ลำดับภาพยอดเยี่ยม
|
หรินทร์ แพทรงไทย เบญจรัตน์ ชูนวน และอุรุพงศ์ รักษาสัตย์
|
ได้รับการเสนอชื่อ
|
กำกับภาพยอดเยี่ยม
|
พุทธิพงษ์ อรุณเพ็ง
|
ได้รับรางวัล
|
ออกแบบงานสร้างยอดเยี่ยม
|
วิกรม เจนพนัส
|
ได้รับการเสนอชื่อ
|
ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม
|
อินสไปเรทีฟ และนพนันทน์ พานิชเจริญ
|
ได้รับรางวัล
|
รางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 25 ประจำปี พ.ศ. 2559[7]
|
ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
|
พิมพกา โตวิระ และชาติชาย ไชยยนต์ (เอ็กซ์ตร้า เวอร์จิ้น)
|
ได้รับการเสนอชื่อ
|
ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
|
พิมพกา โตวิระ
|
ได้รับการเสนอชื่อ
|
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม
|
ศศิธร พานิชนก
|
ได้รับการเสนอชื่อ
|
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
|
พิมพกา โตวิระ และก้อง ฤทธิ์ดี
|
ได้รับรางวัล
|
กำกับภาพยอดเยี่ยม
|
พุทธิพงษ์ อรุณเพ็ง
|
ได้รับการเสนอชื่อ
|
ลำดับภาพยอดเยี่ยม
|
หรินทร์ แพทรงไทย เบญจรัตน์ ชูนวน และอุรุพงศ์ รักษาสัตย์
|
ได้รับการเสนอชื่อ
|
ออกแบบงานสร้างยอดเยี่ยม
|
วิกรม เจนพนัส
|
ได้รับการเสนอชื่อ
|
ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม
|
อินสไปเรทีฟ และนพนันทน์ พานิชเจริญ
|
ได้รับรางวัล
|
รางวัลคมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 14 ประเภทภาพยนตร์ไทย[8]
|
ภาพยนตร์ไทยยอดเยี่ยม
|
พิมพกา โตวิระ และชาติชาย ไชยยนต์ (เอ็กซ์ตร้า เวอร์จิ้น)
|
ได้รับการเสนอชื่อ
|
ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
|
พิมพกา โตวิระ
|
ได้รับการเสนอชื่อ
|
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม
|
ศศิธร พานิชนก
|
ได้รับการเสนอชื่อ
|
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
|
พิมพกา โตวิระ และก้อง ฤทธิ์ดี
|
ได้รับรางวัล
|
รางวัลสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย ครั้งที่ 7[9]
|
ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
|
พิมพกา โตวิระ และชาติชาย ไชยยนต์ (เอ็กซ์ตร้า เวอร์จิ้น)
|
ได้รับการเสนอชื่อ
|
ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
|
พิมพกา โตวิระ
|
ได้รับการเสนอชื่อ
|
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม
|
ศศิธร พานิชนก
|
ได้รับการเสนอชื่อ
|
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น