แหวนวิเศษ เป็นภาพยนตร์ไทย ในปี พ.ศ. 2472 โดยฝีพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายใต้นามแฝง นายน้อย ศรศักดิ์[1] โดยทรงเป็นผู้อำนวยการสร้าง แต่งเรื่อง และกำกับการแสดง ใช้ชื่อบริษัทผู้สร้างว่า ภาพยนตร์อัมพร ซึ่งก็คือนามของพระที่นั่งอัมพรสถาน เป็นภาพยนตร์เงียบ มีความยาว 25 นาที บนฟิล์ม 16 มม. มีอินเตอร์ไตเติลคั่นบอกความเป็นไปและบทเจรจาของแต่ละฉาก[2] ถ่ายทำที่อ่าวธารเสด็จ และบริเวณน้ำตกธารเสด็จ เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฏร์ธานี โดยทรงพระราชนิพนธ์บทภาพยนตร์ขึ้นในเรือพระที่นั่งมหาจักรี (ลำที่ 2) ระหว่างการเสด็จฯ ประพาสทางทะเล และโปรดเกล้าฯ ให้ถ่ายทำขึ้นที่เกาะพะงันในหมู่เกาะสมุย ตัวละครสวมบทบาทโดยพระประยูรญาติในราชวงศ์จักรี
ในปี พ.ศ. 2556 หอภาพยนตร์ได้ลงทะเบียนเป็นมรดกของชาติครั้งที่ 3 จากภาพยนตร์ 25 เรื่อง[3] ภาพยนตร์ แหวนวิเศษ บางส่วนอยู่ในสภาพชำรุดมาก ต่อมากรมศิลปากรมอบให้หอจดหมายเหตุภาพยนตร์และเสียงแห่งชาติออสเตรเลียช่วยดำเนินการอนุรักษ์ให้ด้วยการซ่อมแซมและฟื้นสภาพเพื่อพิมพ์ถ่ายทอดใหม่ จนเสร็จเรียบร้อยสมบูรณ์[4] ปัจจุบันยังจัดฉายให้ดูเป็นประจำ ที่ศาลาเฉลิมกรุงจำลอง ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร[5]
เนื้อเรื่อง
ภาพยนตร์มีเนื้อหาเกี่ยวกับพ่อเลี้ยงที่มีลูกเลี้ยงถึง 5 คน จึงคิดพาลูกเลี้ยงไปปล่อยเกาะโดยบังคับให้หาผลไม้มาให้ ลูกเลี้ยงชื่อไอ้ซนพบกับนางพรายและเล่าเรื่องของพ่อเลี้ยงใจร้ายให้ฟัง นางพรายได้มอบแหวนวิเศษให้ ที่ให้ความปรารถนาเป็นจริง สามารถเสกได้เพียงสามครั้ง เด็ก ๆ จึงลองนำไปใช้กับพ่อเลี้ยงดู พ่อเลี้ยงต้องการแหวนจึงคิดกำจัดลูก ๆ ไอ้ซนชี้ให้พ่อเลี้ยงกลายเป็นสุนัขแต่ต่อมาให้กลับเป็นคนดังเดิม พ่อเลี้ยงรู้สำนึกจึงพากันกลับบ้าน ขณะขึ้นเรือแหวนวิเศษเกิดหลุดลงน้ำหายไป หนูแหวนจึงพูดเตือนสติพี่ ๆ ว่า "ของผีของสางหายไปก็ดีแล้ว"[6]
ตัวละคร
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|
---|
ครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2554) | |
---|
ครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2555) | |
---|
ครั้งที่ 3 (พ.ศ. 2556) | |
---|
ครั้งที่ 4 (พ.ศ. 2557) | |
---|
ครั้งที่ 5 (พ.ศ. 2558) | |
---|
ครั้งที่ 6 (พ.ศ. 2559) | |
---|
ครั้งที่ 7 (พ.ศ. 2560) | พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒๔๖๙ (พ.ศ. 2469) • การเดินทางกลับจากประเทศญี่ปุ่นของคณะทูตไทยในการไปเจรจาตกลง การเรียกร้องดินแดนคืนจากรัฐบาล อินโด-จีน ของฝรั่งเศส ถึงกรุงเทพพระมหานคร (พ.ศ. 2484) • ทะเลรัก (พ.ศ. 2496) • พิธีเปิดป้าย พรรคเสรีมนังคศิลา ๒ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๙ (พ.ศ. 2499) • ไทยไดมารู (พ.ศ. 2507) • ศึกบางระจัน (พ.ศ. 2509) • กองพันจงอางศึก [พ.ศ. 2510] • ชุมแพ (พ.ศ. 2519) • เพลงรักเพื่อเธอ (พ.ศ. 2521) • บ้านทรายทอง (พ.ศ. 2523) • หลวงตา (พ.ศ. 2523) • มือปืน (พ.ศ. 2526) • ข้างหลังภาพ (พ.ศ. 2528) • ฉลุย (พ.ศ. 2531) • เกรซแลนด์ GRACELAND (พ.ศ. 2549) |
---|
ครั้งที่ 8 (พ.ศ. 2561) | |
---|
ครั้งที่ 9 (พ.ศ. 2562) | |
---|
ครั้งที่ 10 (พ.ศ. 2563) | |
---|
ครั้งที่ 11 (พ.ศ. 2564) | |
---|
ครั้งที่ 12 (พ.ศ. 2565) | กิจการในกระทรวงพาณิชย์ แล คมนาคม THE ACTIVITIES OF THE MINISTRY OF COMMERCE AND COMMUNICATIONS [2470 - 2472] • [ตัดหัวต่อหัว] [2470 - 2473] • ดรรชนีนาง (2496) • [งานอภิเษกพระสังฆราชมีแชล มงคล (อ่อน) ประคองจิต] (2496) • [การประกวดการจัดบ้านและบริเวณ] (2497) • [จอมพลสฤษดิ์ไปอเมริกา] (2501) • เด็กกับหมี The Children and the Bear (2502) • มันมากับความมืด (2514) • แหวนทองเหลือง (2516) • เทพธิดาบาร์ 21 (2521) • ส.อ.ว.ห้อง 2 รุ่น 44 (2533) • October Sonata รักที่รอคอย (2552) |
---|
ครั้งที่ 13 (พ.ศ. 2566) | |
---|
ครั้งที่ 14 (พ.ศ. 2567) | Compte-rendu de Mission Archéologique…au SIAM ~ NOV-DEC 1929 ~ (รายงานการสำรวจทางโบราณคดี ณ กรุงสยาม พฤศจิกายนถึงธันวาคม 2472) (2472) • WEDDING TRIP TO BANGKOK 1938-1939 (2481-2482) • PRINCE PARIBATRA OF SIAM (2491) • [สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีทรงอัญเชิญพระบรมอัฐิ ร.7 จากลอนดอนกลับประเทศไทย] (2492) • สามพราน (2503) • น้อยไจยา (2509) • บ๊าย..บาย ไทยแลนด์ (ไม่ปรากฏวันออกฉาย) • คนกราบหมา (2540 / ฉบับ Director’s Cut 2567) • Birth of Seanéma (2547) • กระเบนราหู (2562) |
---|
|