ประชาชนนอก เป็นภาพยนตร์ไทย กึ่งสารคดี ที่กำกับและเขียนบทโดยมานพ อุดมเดช เป็นโครงการของสภาคาทอลิกแห่งประเทศไทยเพื่อการพัฒนา (Catholic Council of Thailand for Development (CCTD) เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม [ 1]
ประชาชนนอก มีชื่อภาษาอังกฤษว่า On the Fringe of Society ตั้งชื่อโดยสุพจน์ สมบูรณ์ อาจารย์มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้ทำบทบรรยายภาษาอังกฤษของภาพยนตร์ [ 1] ภาพยนตร์กล่าวถึงปัญหาการย้ายถิ่นของคนอีสาน เข้ามาหางานทำในเมืองใหญ่เนื่องจากความแร้นแค้น สะท้อนให้เห็นปัญหาการกดขี่ของนายทุน และปัญหาการคอรัปชั่นของข้าราชการไทย จนนำไปสู่ปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาวนา ข้าราชการ และนายทุน [ 2] โดยผู้กำกับใช้เรื่องราวบางส่วนจากชีวิตจริงของคนในครอบครัว [ 1]
ภาพยนตร์เริ่มถ่ายทำช่วงปลายปี พ.ศ. 2521 ที่จังหวัดยโสธร แต่ประสบปัญหาถูกเพ่งเล็งจากหน่วยงานราชการ โดยเฉพาะจาก กอ.รมน. มานพ อุดมเดชถูกตำรวจสันติบาล เข้าตรวจค้นบ้าน และส่งเจ้าหน้าที่ลอบติดตาม ด้วยข้อสงสัยว่ากระทำการเป็นคอมมิวนิสต์ ภาพยนตร์ต้องหยุดถ่ายทำจนกระทั่งสถานการณ์ทางการเมืองเริ่มผ่อนคลายลง จึงเริ่มถ่ายทำต่อในปี พ.ศ. 2523 ที่อำเภออำนาจเจริญ (ขณะนั้นยังไม่แยกเป็นจังหวัด) อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี และกรุงเทพมหานคร แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2524 [ 1]
ภาพยนตร์ออกฉายครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และได้ฉายที่ศูนย์สังคีตศิลป์ และได้รับความสนใจจากนักวิชาการ นักศึกษา ได้รับการฉายตามสถาบันการศึกษา และเทศกาลภาพยนตร์ในต่างประเทศ
ประชาชนนอก เป็นภาพยนตร์ไทย หนึ่งในสองเรื่องแรก พร้อมกับ แผลเก่า ของเชิด ทรงศรี ที่ได้ไปฉายในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติลอนดอน ในปี ค.ศ. 1981 จากนั้นได้ไปฉายที่ น็องส์ ประเทศฝรั่งเศส ฮ่องกง อิตาลี ญี่ปุ่น ปัจจุบันภาพยนตร์เรื่องนี้ยังคงได้รับการฉายในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ เช่นที่ ปูซาน เกาหลีใต้ ในปี พ.ศ. 2542 และเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพ ในปี พ.ศ. 2547 [ 3]
อ้างอิง
ครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2554) ครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2555) ครั้งที่ 3 (พ.ศ. 2556) ครั้งที่ 4 (พ.ศ. 2557) ครั้งที่ 5 (พ.ศ. 2558) ครั้งที่ 6 (พ.ศ. 2559) ครั้งที่ 7 (พ.ศ. 2560) พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒๔๖๙ (พ.ศ. 2469) • การเดินทางกลับจากประเทศญี่ปุ่นของคณะทูตไทยในการไปเจรจาตกลง การเรียกร้องดินแดนคืนจากรัฐบาล อินโด-จีน ของฝรั่งเศส ถึงกรุงเทพพระมหานคร (พ.ศ. 2484) •
ทะเลรัก (พ.ศ. 2496) • พิธีเปิดป้าย พรรคเสรีมนังคศิลา ๒ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๙ (พ.ศ. 2499) • ไทยไดมารู (พ.ศ. 2507) •
ศึกบางระจัน (พ.ศ. 2509) • กองพันจงอางศึก [พ.ศ. 2510] •
ชุมแพ (พ.ศ. 2519) •
เพลงรักเพื่อเธอ (พ.ศ. 2521) •
บ้านทรายทอง (พ.ศ. 2523) •
หลวงตา (พ.ศ. 2523) •
มือปืน (พ.ศ. 2526) •
ข้างหลังภาพ (พ.ศ. 2528) •
ฉลุย (พ.ศ. 2531) • เกรซแลนด์ GRACELAND (พ.ศ. 2549)
ครั้งที่ 8 (พ.ศ. 2561) ครั้งที่ 9 (พ.ศ. 2562) ครั้งที่ 10 (พ.ศ. 2563) ครั้งที่ 11 (พ.ศ. 2564) ครั้งที่ 12 (พ.ศ. 2565) กิจการในกระทรวงพาณิชย์ แล คมนาคม THE ACTIVITIES OF THE MINISTRY OF COMMERCE AND COMMUNICATIONS [2470 - 2472] • [ตัดหัวต่อหัว] [2470 - 2473] • ดรรชนีนาง (2496) • [งานอภิเษกพระสังฆราชมีแชล มงคล (อ่อน) ประคองจิต] (2496) • [การประกวดการจัดบ้านและบริเวณ] (2497) • [จอมพลสฤษดิ์ไปอเมริกา] (2501) • เด็กกับหมี The Children and the Bear (2502) •
มันมากับความมืด (2514) •
แหวนทองเหลือง (2516) •
เทพธิดาบาร์ 21 (2521) •
ส.อ.ว.ห้อง 2 รุ่น 44 (2533) •
October Sonata รักที่รอคอย (2552)
ครั้งที่ 13 (พ.ศ. 2566) ครั้งที่ 14 (พ.ศ. 2567) Compte-rendu de Mission Archéologique…au SIAM ~ NOV-DEC 1929 ~ (รายงานการสำรวจทางโบราณคดี ณ กรุงสยาม พฤศจิกายนถึงธันวาคม 2472) (2472) • WEDDING TRIP TO BANGKOK 1938-1939 (2481-2482) • PRINCE PARIBATRA OF SIAM (2491) • [สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีทรงอัญเชิญพระบรมอัฐิ ร.7 จากลอนดอนกลับประเทศไทย] (2492) •
สามพราน (2503) •
น้อยไจยา (2509) •
บ๊าย..บาย ไทยแลนด์ (ไม่ปรากฏวันออกฉาย) •
คนกราบหมา (2540 / ฉบับ Director’s Cut 2567) • Birth of Seanéma (2547) •
กระเบนราหู (2562)