มรดกภาพยนตร์ของชาติ เป็นโครงการของหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) เพื่อขึ้นทะเบียนภาพยนตร์ที่มีคุณค่าของชาติและเสี่ยงต่อการสูญเสีย โดยโครงการจะจัดขึ้นในวันที่ 4 ตุลาคม ของทุกปี ซึ่งได้กำหนดให้เป็นวันอนุรักษ์ภาพยนตร์ไทย และมีการประกาศรายชื่อภาพยนตร์ไทยปีละครั้ง
ประวัติ
หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ได้กำหนดให้วันที่ 4 ตุลาคม เป็นวันอนุรักษ์ภาพยนตร์ไทย เพื่อรำลึกถึงวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2509 วันที่คณะอนุกรรมการด้านการสื่อสารมวลชน ในคณะกรรมการชาติว่าด้วยองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม แห่งองค์การสหประชาชาติ ซึ่งมี พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร ทรงเป็นประธาน จัดประชุมกันที่สถานีไทยโทรทัศน์ช่อง 4 บางขุนพรหม ที่ประชุมมีมติเสนอให้หอสมุดแห่งชาติเปิดแผนกเก็บรักษาฟิล์มภาพยนตร์ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมของชาติเพื่อให้ยุวชนรุ่นหลังได้เข้าศึกษาค้นคว้า แต่ข้อเสนอนี้ไม่มีการปฏิบัติอย่างแท้จริงแผนกเก็บรักษาฟิล์มภาพยนตร์จึงไม่เกิดขึ้น [1][2]
หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ได้จัดทำโครงการขึ้นทะเบียนมรดกภาพยนตร์ของชาติซึ่งเป็นเสมือนการทำบัญชีภาพยนตร์ไทยที่สำคัญและที่เสี่ยงต่อการสูญเสียของชาติ เพื่อดำเนินการอนุรักษ์ได้ทันการ โครงการนี้จะทำต่อเนื่องไปทุกปี โดยกำหนดให้มีการประกาศในวันที่ 4 ตุลาคม ของทุกปี เพื่อเป็นการรำลึกถึงวันประวัติศาสตร์และเป็นการสืบทอดและเชิดชูเจตนารมณ์ของที่ประชุมครั้งนั้น โดยได้จัดทำโครงการขึ้นทะเบียนมรดกภาพยนตร์ของชาติขึ้นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2554 เป็นต้นมา และมีการประกาศรายชื่อภาพยนตร์ไทยในทุกปี ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่ได้รับคัดเลือกจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายสาขาอาชีพ โดยนำรายชื่อจากที่ได้รับการเสนอจากประชาชนรวมกับรายชื่อในคลังอนุรักษ์ของหอภาพยนตร์ มาคัดเลือกเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภาพยนตร์ของชาติ และเป็นหลักประกันว่าภาพยนตร์เหล่านี้จะได้รับการอนุรักษ์อย่างดีเพื่อส่งต่อให้ชนรุ่นหลังต่อไป [3]
หลักเกณฑ์ในการพิจารณา
หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาคัดเลือกภาพยนตร์ขึ้นทะเบียนมรดกภาพยนตร์ของชาติ มีหลักเกณฑ์ทั้งหมด 6 หลักเกณฑ์ ดังนี้
- เป็นภาพยนตร์ที่ถ่ายทอดเรื่องราวของ สถานที่ กาลสมัย บุคคล เหตุการณ์ ที่เกี่ยวข้องกับคนไทยและสังคมไทย ในมิติต่างๆ เช่น มานุษยวิทยา สังคมวิทยา เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม ทั้งในฐานะปัจเจกและกลุ่มหรือมวลชน สามารถทำให้ผู้ชมเข้าถึงและเข้าใจมิติเหล่านั้นในเชิงประวัติศาสตร์หรือความทรงจำ
- เป็นผลงานภาพยนตร์ที่สร้างสรรค์ อันแสดงถึงศิลปะวิทยาทางด้านภาพยนตร์
- เป็นภาพยนตร์ที่มีความโดดเด่นเป็นพิเศษ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น การนำเสนอภาพยนตร์นั้นไม่ว่าการถ่ายทำ การแสดง การตัดต่อ ฯลฯ มีความคิดริเริ่ม ไม่เคยมีแบบอย่างมาก่อนในภาพยนตร์อื่นๆ
- บูรณภาพ คือความสมบูรณ์ครบถ้วนของผลงานภาพยนตร์ตรงตามต้นฉบับของผู้สร้างสรรค์ ภาพยนตร์ที่ออกฉายแล้วอาจถูกตัดทอน ถูกเสริมเติมแต่งเพิ่มเติม ถูกดัดแปลงไปด้วยเหตุต่าง ๆ
- เป็นภาพยนตร์ที่ยังมีฟิล์มต้นฉบับหรือสำเนาในรูปแบบอื่นใดอยู่ แต่ตกอยู่ในภาวะความเสี่ยงที่จะสูญเสียภาพยนตร์นั้นไป ด้วยเหตุปัจจัยต่าง ๆ เช่น มีต้นฉบับหรือสำเนาอยู่เพียงชุดเดียว หรือภาพยนตร์นั้นกำลังเสื่อมสภาพ หรือสภาพการจัดเก็บไม่ปลอดภัย ไม่ได้มาตรฐาน เป็นต้น
- ภาพยนตร์ที่สามารถส่งผลกระทบโดยตรงหรือโดยอ้อมต่อปัจเจกชนและหรือต่อสังคม ไม่ว่าทางด้านพฤติกรรม ความคิด ความเชื่อ อารมณ์ ฯลฯ อาจก่อให้เกิดกระแสสมัยนิยมเกิดการเปลี่ยนแปลง ค่านิยม ขนบธรรมเนียม ไม่ว่าชั่วระยะเวลาสั้นหรือยั่งยืนนาน [4]
ลำดับงานพิธีประกาศรายชื่อภาพยนตร์
ครั้งที่ (ปีที่จัด) |
สถานที่ประกาศรายชื่อภาพยนตร์ |
จำนวน (เรื่อง) |
อ้างอิง
|
ครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2554) |
โรงภาพยนตร์ศรีศาลายา หอภาพยนตร์ |
25 |
[5]
|
ครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2555) |
25 |
[6][7]
|
ครั้งที่ 3 (พ.ศ. 2556) |
25 |
[8][9]
|
ครั้งที่ 4 (พ.ศ. 2557) |
25 |
[10][11]
|
ครั้งที่ 5 (พ.ศ. 2558) |
25 |
[12][13]
|
ครั้งที่ 6 (พ.ศ. 2559) |
25 |
[14][15]
|
ครั้งที่ 7 (พ.ศ. 2560) |
15 |
[16][17]
|
ครั้งที่ 8 (พ.ศ. 2561) |
20 |
[18][19]
|
ครั้งที่ 9 (พ.ศ. 2562) |
15 |
[20][21]
|
ครั้งที่ 10 (พ.ศ. 2563) |
โรงภาพยนตร์ศาลาศีนิมา หอภาพยนตร์ |
10 |
[22][23]
|
ครั้งที่ 11 (พ.ศ. 2564) |
Facebook Live หอภาพยนตร์ |
11 |
[24][25]
|
ครั้งที่ 12 (พ.ศ. 2565) |
โรงภาพยนตร์ศาลาศีนิมา หอภาพยนตร์ |
12 |
[26][27]
|
ครั้งที่ 13 (พ.ศ. 2566) |
10 |
[28][29]
|
ครั้งที่ 14 (พ.ศ. 2567) |
10 |
[30][31]
|
รายชื่อภาพยนตร์
ครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2554)
ผีเสื้อและดอกไม้ (พ.ศ. 2528)
ทวิภพ (พ.ศ. 2547)
ครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2555)
สวรรค์มืด (พ.ศ. 2501)
อินทรีทอง (พ.ศ. 2513)
ครั้งที่ 3 (พ.ศ. 2556)
2499 อันธพาลครองเมือง (พ.ศ. 2540)
มหา’ลัยเหมืองแร่ (พ.ศ. 2548)
ครั้งที่ 4 (พ.ศ. 2557)
นางนาก (พ.ศ. 2542)
แฟนฉัน (พ.ศ. 2546)
ครั้งที่ 5 (พ.ศ. 2558)
สุริโยไท (พ.ศ. 2544)
องค์บาก (พ.ศ. 2546)
ครั้งที่ 6 (พ.ศ. 2559)
แพรดำ (พ.ศ. 2504)
สตรีเหล็ก (พ.ศ. 2543)
ครั้งที่ 7 (พ.ศ. 2560)
ฉลุย (พ.ศ. 2531)
ครั้งที่ 8 (พ.ศ. 2561)
สัตว์ประหลาด ! (พ.ศ. 2547)
ครั้งที่ 9 (พ.ศ. 2562)
พี่มาก..พระโขนง (พ.ศ. 2556)
ครั้งที่ 10 (พ.ศ. 2563)
เวลาในขวดแก้ว (พ.ศ. 2534)
ครั้งที่ 11 (พ.ศ. 2564)
Goal Club เกมล้มโต๊ะ (พ.ศ. 2544)
ครั้งที่ 12 (พ.ศ. 2565)
ส.อ.ว.ห้อง 2 รุ่น 44 (พ.ศ. 2533)
- กิจการในกระทรวงพาณิชย์ แล คมนาคม THE ACTIVITIES OF THE MINISTRY OF COMMERCE AND COMMUNICATIONS [พ.ศ. 2470 - 2472]
- [ตัดหัวต่อหัว] [พ.ศ. 2470 - 2473]
- ดรรชนีนาง (พ.ศ. 2496)
- [งานอภิเษกพระสังฆราชมีแชล มงคล (อ่อน) ประคองจิต] (พ.ศ. 2496)
- [การประกวดการจัดบ้านและบริเวณ] (พ.ศ. 2497)
- [จอมพลสฤษดิ์ไปอเมริกา] (พ.ศ. 2501)
- เด็กกับหมี The Children and the Bear (พ.ศ. 2502)
- มันมากับความมืด (พ.ศ. 2514)
- แหวนทองเหลือง (พ.ศ. 2516)
- เทพธิดา บาร์ 21 (พ.ศ. 2521)
- ส.อ.ว.ห้อง 2 รุ่น 44 (พ.ศ. 2533)
- October Sonata รักที่รอคอย (พ.ศ. 2552)
ครั้งที่ 13 (พ.ศ. 2566)
14 ตุลา สงครามประชาชน (พ.ศ. 2544)
ครั้งที่ 14 (พ.ศ. 2567)
กระเบนราหู (พ.ศ. 2562)
- Compte-rendu de Mission Archéologique…au SIAM ~ NOV-DEC 1929 ~ (รายงานการสำรวจทางโบราณคดี ณ กรุงสยาม พฤศจิกายนถึงธันวาคม 2472) (พ.ศ. 2472)
- WEDDING TRIP TO BANGKOK 1938-1939 (พ.ศ. 2481-2482)
- PRINCE PARIBATRA OF SIAM (พ.ศ. 2491)
- สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีทรงอัญเชิญพระบรมอัฐิ ร.7 จากลอนดอนกลับประเทศไทย (พ.ศ. 2492)
- สามพราน (พ.ศ. 2503)
- น้อยไจยา (พ.ศ. 2509)
- บ๊าย..บาย ไทยแลนด์ (ไม่ปรากฏวันออกฉาย)
- คนกราบหมา (พ.ศ. 2540 / ฉบับ Director’s Cut พ.ศ. 2567)
- Birth of Seanéma (พ.ศ. 2547)
- กระเบนราหู (พ.ศ. 2562)
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|
---|
ครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2554) | |
---|
ครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2555) | |
---|
ครั้งที่ 3 (พ.ศ. 2556) | |
---|
ครั้งที่ 4 (พ.ศ. 2557) | |
---|
ครั้งที่ 5 (พ.ศ. 2558) | |
---|
ครั้งที่ 6 (พ.ศ. 2559) | |
---|
ครั้งที่ 7 (พ.ศ. 2560) | พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒๔๖๙ (พ.ศ. 2469) • การเดินทางกลับจากประเทศญี่ปุ่นของคณะทูตไทยในการไปเจรจาตกลง การเรียกร้องดินแดนคืนจากรัฐบาล อินโด-จีน ของฝรั่งเศส ถึงกรุงเทพพระมหานคร (พ.ศ. 2484) • ทะเลรัก (พ.ศ. 2496) • พิธีเปิดป้าย พรรคเสรีมนังคศิลา ๒ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๙ (พ.ศ. 2499) • ไทยไดมารู (พ.ศ. 2507) • ศึกบางระจัน (พ.ศ. 2509) • กองพันจงอางศึก [พ.ศ. 2510] • ชุมแพ (พ.ศ. 2519) • เพลงรักเพื่อเธอ (พ.ศ. 2521) • บ้านทรายทอง (พ.ศ. 2523) • หลวงตา (พ.ศ. 2523) • มือปืน (พ.ศ. 2526) • ข้างหลังภาพ (พ.ศ. 2528) • ฉลุย (พ.ศ. 2531) • เกรซแลนด์ GRACELAND (พ.ศ. 2549) |
---|
ครั้งที่ 8 (พ.ศ. 2561) | |
---|
ครั้งที่ 9 (พ.ศ. 2562) | |
---|
ครั้งที่ 10 (พ.ศ. 2563) | |
---|
ครั้งที่ 11 (พ.ศ. 2564) | |
---|
ครั้งที่ 12 (พ.ศ. 2565) | กิจการในกระทรวงพาณิชย์ แล คมนาคม THE ACTIVITIES OF THE MINISTRY OF COMMERCE AND COMMUNICATIONS [2470 - 2472] • [ตัดหัวต่อหัว] [2470 - 2473] • ดรรชนีนาง (2496) • [งานอภิเษกพระสังฆราชมีแชล มงคล (อ่อน) ประคองจิต] (2496) • [การประกวดการจัดบ้านและบริเวณ] (2497) • [จอมพลสฤษดิ์ไปอเมริกา] (2501) • เด็กกับหมี The Children and the Bear (2502) • มันมากับความมืด (2514) • แหวนทองเหลือง (2516) • เทพธิดาบาร์ 21 (2521) • ส.อ.ว.ห้อง 2 รุ่น 44 (2533) • October Sonata รักที่รอคอย (2552) |
---|
ครั้งที่ 13 (พ.ศ. 2566) | |
---|
ครั้งที่ 14 (พ.ศ. 2567) | Compte-rendu de Mission Archéologique…au SIAM ~ NOV-DEC 1929 ~ (รายงานการสำรวจทางโบราณคดี ณ กรุงสยาม พฤศจิกายนถึงธันวาคม 2472) (2472) • WEDDING TRIP TO BANGKOK 1938-1939 (2481-2482) • PRINCE PARIBATRA OF SIAM (2491) • [สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีทรงอัญเชิญพระบรมอัฐิ ร.7 จากลอนดอนกลับประเทศไทย] (2492) • สามพราน (2503) • น้อยไจยา (2509) • บ๊าย..บาย ไทยแลนด์ (ไม่ปรากฏวันออกฉาย) • คนกราบหมา (2540 / ฉบับ Director’s Cut 2567) • Birth of Seanéma (2547) • กระเบนราหู (2562) |
---|
|