ก้านกล้วย

ก้านกล้วย
ใบปิดภาพยนตร์
กำกับคมภิญญ์ เข็มกำเนิด
บทภาพยนตร์อมราภรณ์ แผ่นดินทอง
จรูญพร ปรปักษ์ประลัย
คมภิญญ์ เข็มกำเนิด
สร้างจากเจ้าพระยาปราบหงสาวดี โดย อริยา จินตพานิชการ
อำนวยการสร้างจาฤก กัลย์จาฤก
นิรัตติศัย กัลย์จาฤก
นักแสดงนำ
ตัดต่อจาฤก กัลย์จาฤก
นิรัตติศัย กัลย์จาฤก
พรสวรรค์ ศรีบุญวงศ์
ดนตรีประกอบชาติชาย พงษ์ประภาพันธ์
บริษัทผู้สร้าง
ผู้จัดจำหน่ายบริษัท สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
วันฉาย18 พฤษภาคม พ.ศ. 2549
ความยาว95 นาที
ประเทศไทย
ภาษาไทย
ทุนสร้าง115 ล้านบาท[1]
ทำเงิน93.63 ล้านบาท
(กรุงเทพฯ ปริมณฑล และเชียงใหม่)[2]
ต่อจากนี้ก้านกล้วย ๒

ก้านกล้วย เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันสามมิติของไทย ผลิตโดย บริษัท กันตนาแอนิเมชัน จำกัด ออกฉายในปี พ.ศ. 2549 ซึ่งก่อนหน้านั้นในปี พ.ศ. 2531 กันตนาได้ก่อตั้งบริษัท ไทยแอนิเม จำกัด วาดการ์ตูนแอนิเมชันสองมิติ อาทิ เซนต์เซยา ดราก้อนบอล เซเลอร์มูน ป้อนให้กับ บริษัท โตเอะ แอนิเมชัน จำกัด ประเทศญี่ปุ่น ด้วยแนวคิดอยากสร้างภาพยนตร์การ์ตูนด้วยฝีมือคนไทย ต่อมาได้พัฒนาฝีมือมาสู่การทำแอนิเมชันสามมิติด้วยคอมพิวเตอร์ โครงการสร้างภาพยนตร์แอนิเมชั่นสามมิติก้านกล้วยจึงถือกำเนิดขึ้น ด้วยความตั้งใจของจาฤก กัลย์จาฤก ผู้บริหารกันตนา ที่อยากทำภาพยนตร์แอนิเมชันเกี่ยวกับช้างที่ถือเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองของไทย[3] โดยได้แรงบันดาลใจจากส่วนหนึ่งของพงศาวดารไทย ที่กล่าวถึงลักษณะของช้างทรงของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่มีหลังโค้งลาดคล้ายก้านกล้วย จึงตั้งชื่อภาพยนตร์แอนิเมชันและตัวละครเอกว่า "ก้านกล้วย" โดยบทภาพยนตร์ต้นฉบับ คือ "เจ้าพระยาปราบหงสาวดี" ประพันธ์โดย อริยา จินตพานิชการ ได้ถูกนำมาพัฒนาเป็นบทภาพยนตร์แอนิเมชันนานถึง 3 ปี โดยมีสมสุข กัลย์จาฤก ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ประเภทภาพยนตร์และละคร (ละครวิทยุ-ละครโทรทัศน์) ประจำปี พ.ศ. 2561 เป็นที่ปรึกษา[4] มีการทำวิจัยค้นคว้าเกี่ยวกับช้างและประวัติศาสตร์ไทยในยุคสมัยพระนเรศวรมหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา ไปดูสถานที่และบรรยากาศเมืองหงสาวดีในประเทศพม่า ทีมงานเขียนการ์ตูนต้องศึกษาการเคลื่อนไหวและพฤติกรรมของช้าง รวมทั้งออกไปสำรวจธรรมชาติป่าเขาโดยละเอียด ภาพในภาพยนตร์แอนิเมชันจึงแสดงออกถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทย ทั้งภูมิทัศน์ บ้านเรือน เวียงวัง และวัฒนธรรมความเป็นอยู่แบบไทยได้อย่างโดดเด่น[5]

กำกับภาพยนตร์และแอนิเมชัน โดยคมภิญญ์ เข็มกำเนิด ซึ่งเคยไปศึกษาการทำแอนิเมชัน ที่สหรัฐอเมริกา และเคยทำงานกับดิสนียและบลูสกายสตูดิโอในภาพยนตร์แอนิเมชันอย่างทาร์ซาน, ไอซ์ เอจ และแอตแลนติส[6] ออกแบบการสร้างโดย พัชนุ โนรี กำกับศิลป์โดย ทวีลาภ ศรีวุฒิวงศ์ และจิรวุฒิ แสงวารี เป็นหัวหน้าทีมแอนิเมชัน ควบคุมการผลิตโดย อัจฉรา กิจกัญจนาสน์ อำนวยการสร้างโดยจาฤก กัลย์จาฤก และนิรัตติศัย กัลย์จาฤก [3]

ก้านกล้วยฉายในโรงภาพยนตร์วันแรกเมื่อ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 และได้รับความนิยมจากผู้ชมอย่างมากจนเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดแห่งปี รวมทั้งได้รับรางวัลมากมายทั้งในและต่างประเทศ มีการสร้าง ก้านกล้วย ๒ และนำออกฉายในปี พ.ศ. 2552[7]

งานพากย์

ตัวละคร เสียงพากย์ไทย
ก้านกล้วย อัญญาฤทธิ์ พิทักษ์ติกุล (วัยเด็ก)
ภูริ หิรัญพฤกษ์ (วัยหนุ่ม)
ชบาแก้ว นวรัตน์ เตชะรัตนประเสริฐ (วัยเด็ก)
วรัทยา นิลคูหา (วัยสาว)
จิ๊ดริด พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์
แสงดา / ผู้กำกับเสียง นันทนา บุญ-หลง
พังนวล จุรี โอศิริ
คุณตามะหูด สุเทพ โพธิ์งาม
สิงขร รอง เค้ามูลคดี
งวงแดง เอกชัย พงศ์สมัย
นายกองพม่า ชาญณรงค์ ขันทีท้าว
หัวหน้าหมู่พม่า วสันต์ พัดทอง
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พระองค์ดำ) บุญชลิด โชคดีภูษิต (วัยเด็ก)
สุเมธ องอาจ (วัยผู้ใหญ่)
พระมหาอุปราชา สราวุธ เจริญลาภ (วัยเด็ก)
กลศ อัทธเสรี (วัยผู้ใหญ่)
มะโรง ฤทธิเดช ฤทธิชุ
มะโหนก เจริญพร อ่อนละม้าย
เสริม วิยะดา จิตมะหิมา
บักอึด พุทธิพันธ์ พรเลิศ
ทหารพม่า ธงชัย คะใจ
องอาจ เจียมเจริญพรกุล
ธีระวัฒน์ ทองจิตติ

ในต่างประเทศ

ก้านกล้วย การ์ตูนแอนิเมชั่นเรื่องแรกของไทยที่ได้เป็นที่รู้จักในวงการอุตสาหกรรมภาพยนตร์โลก เนื่องจากได้มีโอกาสไปฉายโชว์ในตลาดซื้อขายหนังของเมืองคานส์ ประเทศฝรั่งเศสถึง 2 รอบ ได้รับรางวัลการันตีคุณภาพมาจากหลาย ๆ ประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศสเปน ฝรั่งเศส และบราซิล เป็นต้น'[8]

เพลงประกอบภาพยนตร์

  • "ตำนานช้าง"

คำร้อง/ทำนองดั้งเดิม คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง คำร้อง/ทำนองดัดแปลง คงเดช จาตุรันต์รัศมี เรียบเรียง ชาติชาย พงษ์ประภาพันธ์ ขับร้อง ด.ช.นนท์ธนะ ลิมมะณีประเสริฐ ด.ญ.ฉัตรกมล ธารีฉัตร ด.ญ.ธันยา ฐิตะศิริ ด.ญ.อรญา ฐิตะศิริ ด.ญ.สุชญา ฐิตะศิริ

  • “ช้างก้านกล้วย”

คำร้อง/ทำนอง ยืนยง โอภากุล เรียบเรียง ดนู ฮันตระกูล ขับร้อง ยืนยง โอภากุล

  • “ฮึด"

คำร้อง/ทำนอง คงเดช จาตุรันต์รัศมี เรียบเรียง ชาติชาย พงษ์ประภาพันธ์ ขับร้อง มิสเตอร์ดี เนตรนภา หาญโรจนวุฒิ คณะประสานเสียง ธานี พูนสุวรรณ นิรันดร์ ดาวลอย วรพล กาญจน์วีระโยธิน วัชระ โกกนก

  • "หนทางของเธอ"

คำร้อง/ทำนอง คงเดช จาตุรันต์รัศมี เรียบเรียง ชาติชาย พงษ์ประภาพันธ์ ขับร้อง ดวงพร พงศ์ผาสุข

  • "พลังในใจ"

คำร้อง/ทำนอง The Peach Band ขับร้อง มิสเตอร์ดี และ The Peach Band

รางวัล

  • รางวัล Best Feature Film จากการประกวดแอนิเมชัน AniMadrid 2006 ที่ประเทศสเปน[9]
  • รางวัล The Golden Sprockets Awards (Jury Awards) :Best Feature Film สำหรับผู้ชมอายุ 8-9 ปี จากงานประกวดภาพยนตร์นานาชาติสำหรับเยาวชน (Sprocket Toronto International Film Festival for Children) ณ เมืองโตรอนโต ประเทศแคนาดา[7]
  • รางวัล Best Feature Film Audience Award จากการประกวดภาพยนตร์แอนิเมชั่นครั้งที่ 15 ANIMA MUNDI 2007 ณ กรุงริโอเดอจาเนโร และเมืองเซาท์เปาโล ประเทศ บราซิล[7]
  • รางวัลที่ 2 Public Award for Best Animated Film จากงานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติครั้งที่ 13 (13th Lyon Asian Film Festival) ณ เมืองลียง ประเทศฝรั่งเศส[7]
  • รางวัล My Favorite Animation Film จาก The 10th China International Children's Film Festival ประเทศจีน[7]
  • รางวัลตุ๊กตาทอง (พระสุรัสวดี) : ภาพยนตร์เกียรติยศแห่งปี, ภาพยนตร์ยอดนิยมแห่งปีที่ทำรายได้สูงสุด, บันทึกเสียงยอดเยี่ยม, ดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี (ตุ๊กตาทอง) ครั้งที่ 28 ประจำปี พ.ศ. 2549[10]
  • รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ (สุพรรณหงส์) : ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม, บันทึกเสียงยอดเยี่ยม, บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม จากงานประกาศรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 16 ประจำปี พ.ศ. 2549[11]
  • รางวัล Star Entertainment Awards 2006 : ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, บันทึกเสียงยอดเยี่ยม[12]
  • รางวัล Box Office :รายได้อันดับหนึ่งของประเทศสาขาภาพยนตร์แอนิเมชัน จาก Mejor Largometraje Animadio 2006[7]
  • รางวัลสื่อมวลชนดีเด่นประเภทภาพยนตร์ไทย จากงานประกาศผลรางวัลสื่อมวลชนคาทอลิกแห่งประเทศไทย ประจำปี 2549 [7]
  • มรดกภาพยนตร์ของชาติประจำปี พ.ศ. 2561[13]

อ้างอิง

  1. "Khan Kluay (2006) Box Office Mojo". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ 13 June 2016.
  2. "Khan Kluay (2006) Box Office Mojo". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ 13 June 2016.
  3. 3.0 3.1 แม่แบบ:รายงานการวิจัย"กันตนากับอุตสาหกรรมภาพยนตร์",2567,จุมพล รอดคำดี,สถาบันกันตนา
  4. creditตอนต้นของภาพยนตร์"ก้านกล้วย"
  5. วิดีโอ"เบื้องหลังก้านกล้วย"
  6. "คมภิญญ์ เข็มกำเนิด ผู้นำหนัง "ก้านกล้วย"". Positioning Magazine. 10 กุมภาพันธ์ 2548. สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 7.6 ศูนย์ข้อมูลกันตนา
  8. https://mgronline.com/smes/detail/9510000131881
  9. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-01-08. สืบค้นเมื่อ 2006-11-06.
  10. รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ครั้งที่ 28 ประจำปี พ.ศ. 2549
  11. https://th.wikipedia.org/wiki/รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ_สุพรรณหงส์_ครั้งที่_16
  12. https://th.wikipedia.org/wiki/สตาร์เอนเตอร์เทนเมนต์อวอร์ดส_2006_ครั้งที่_5
  13. https://fapot.or.th/main/heritage/view/186

แหล่งข้อมูลอื่น

 

Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9

Portal di Ensiklopedia Dunia