เลือดสุพรรณ เป็นบทละครอิงประวัติศาสตร์ ถูกประพันธ์โดย พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ ถูกแสดงครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2479 ละครแบบผสม คือมีทั้งบทพูดแบบละครพูด มีทั้งการรำแบบละครรำ มีเพลงร้องทั้งเพลงไทยเดิม และเพลงไทยสากล
เนื้อเรื่องเกี่ยวกับการศึกระหว่างไทยและพม่า โดยมีเนื้อหาปลุกใจให้รักชาติตามนโยบายของนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น คือ พลโทหลวงพิบูลสงคราม โดยเนื้อหาเป็นการประพันธ์ขึ้นมาใหม่จากจินตนาการ โดยมิได้อิงมาจากประวัติศาสตร์หรือพงศาวดารฉบับใดแต่อย่างใด[1] นอกจากนี้ เลือดสุพรรณ ยังเป็นชื่อของเพลงประกอบละคร ที่หลวงวิจิตรวาทการ ประพันธ์ทั้งคำร้องและทำนอง สำหรับละครเรื่องนี้ด้วย[1]
เลือดสุพรรณ ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2494 และถูกสร้างเป็นภาพยนตร์อีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2522 กำกับโดยเชิด ทรงศรี นำแสดงโดย ลลนา สุลาวัลย์ และไพโรจน์ สังวริบุตร ภาพยนตร์เรื่องนี้ทำให้ลลนา สุลาวัลย์ ถูกเสนอชื่อ 1 ใน 5 เข้าชิงรางวัลตุ๊กตาทองพระสุรัสวดี ปี 2524
วันที่ 4 ตุลาคม 2561 หอภาพยนตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงวัฒนธรรม ประกาศให้ภาพยนตร์เรื่อง เลือดสุพรรณ เป็นมรดกภาพยนตร์ของชาติ ครั้งที่ 8 ประจำปี พ.ศ. 2561
ละครโทรทัศน์
เลือดสุพรรณเป็น ละครโทรทัศน์แนวพีเรียด-ดราม่า ผลิตโดยบริษัท พรี-โพร-โพสต์ ไลฟ์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด จากบทประพันธ์ของ พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ บทโทรทัศน์โดย ศาสตราจารย์ ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนสิน ชุตินธรานนท์, กอบชัย ศรีทอง กำกับการแสดงโดย นุชิต นวลสกุล, สมชาย คงครุฑ ออกอากาศทุกวันเสาร์– วันอาทิตย์ เวลา 20.20 - 21.10 น. ทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 นำแสดงโดย นิธิดล ป้อมสุวรรณ, พรภัสร์ชนก มิตรชัย, แสนยา สมสะอาด, พิมพ์ขวัญ บุญจิตต์พิมล และนักแสดงชั้นนำอีกมากมาย เริ่มตอนแรกวันเสาร์ที่ 12,19,26 และวันอาทิตย์ที่ 20,27 ตุลาคม ออกอากาศ 5 วัน 5 ตอน
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 หน้า 3, จากเลือดสุพรรณ ถึงพิษสวาท. "ชักธงรบ" โดย กิเลน ประลองเชิง. ไทยรัฐปีที่ 67 ฉบับที่ 21427: วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2559 แรม 4 ค่ำ เดือน 10 ปีวอก
แหล่งข้อมูลอื่น
|
---|
ครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2554) | |
---|
ครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2555) | |
---|
ครั้งที่ 3 (พ.ศ. 2556) | |
---|
ครั้งที่ 4 (พ.ศ. 2557) | |
---|
ครั้งที่ 5 (พ.ศ. 2558) | |
---|
ครั้งที่ 6 (พ.ศ. 2559) | |
---|
ครั้งที่ 7 (พ.ศ. 2560) | พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒๔๖๙ (พ.ศ. 2469) • การเดินทางกลับจากประเทศญี่ปุ่นของคณะทูตไทยในการไปเจรจาตกลง การเรียกร้องดินแดนคืนจากรัฐบาล อินโด-จีน ของฝรั่งเศส ถึงกรุงเทพพระมหานคร (พ.ศ. 2484) • ทะเลรัก (พ.ศ. 2496) • พิธีเปิดป้าย พรรคเสรีมนังคศิลา ๒ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๙ (พ.ศ. 2499) • ไทยไดมารู (พ.ศ. 2507) • ศึกบางระจัน (พ.ศ. 2509) • กองพันจงอางศึก [พ.ศ. 2510] • ชุมแพ (พ.ศ. 2519) • เพลงรักเพื่อเธอ (พ.ศ. 2521) • บ้านทรายทอง (พ.ศ. 2523) • หลวงตา (พ.ศ. 2523) • มือปืน (พ.ศ. 2526) • ข้างหลังภาพ (พ.ศ. 2528) • ฉลุย (พ.ศ. 2531) • เกรซแลนด์ GRACELAND (พ.ศ. 2549) |
---|
ครั้งที่ 8 (พ.ศ. 2561) | |
---|
ครั้งที่ 9 (พ.ศ. 2562) | |
---|
ครั้งที่ 10 (พ.ศ. 2563) | |
---|
ครั้งที่ 11 (พ.ศ. 2564) | |
---|
ครั้งที่ 12 (พ.ศ. 2565) | กิจการในกระทรวงพาณิชย์ แล คมนาคม THE ACTIVITIES OF THE MINISTRY OF COMMERCE AND COMMUNICATIONS [2470 - 2472] • [ตัดหัวต่อหัว] [2470 - 2473] • ดรรชนีนาง (2496) • [งานอภิเษกพระสังฆราชมีแชล มงคล (อ่อน) ประคองจิต] (2496) • [การประกวดการจัดบ้านและบริเวณ] (2497) • [จอมพลสฤษดิ์ไปอเมริกา] (2501) • เด็กกับหมี The Children and the Bear (2502) • มันมากับความมืด (2514) • แหวนทองเหลือง (2516) • เทพธิดาบาร์ 21 (2521) • ส.อ.ว.ห้อง 2 รุ่น 44 (2533) • October Sonata รักที่รอคอย (2552) |
---|
ครั้งที่ 13 (พ.ศ. 2566) | |
---|
ครั้งที่ 14 (พ.ศ. 2567) | Compte-rendu de Mission Archéologique…au SIAM ~ NOV-DEC 1929 ~ (รายงานการสำรวจทางโบราณคดี ณ กรุงสยาม พฤศจิกายนถึงธันวาคม 2472) (2472) • WEDDING TRIP TO BANGKOK 1938-1939 (2481-2482) • PRINCE PARIBATRA OF SIAM (2491) • [สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีทรงอัญเชิญพระบรมอัฐิ ร.7 จากลอนดอนกลับประเทศไทย] (2492) • สามพราน (2503) • น้อยไจยา (2509) • บ๊าย..บาย ไทยแลนด์ (ไม่ปรากฏวันออกฉาย) • คนกราบหมา (2540 / ฉบับ Director’s Cut 2567) • Birth of Seanéma (2547) • กระเบนราหู (2562) |
---|
|