ความสัมพันธ์จีน–ไทย
ความสัมพันธ์จีน–ไทย ได้เริ่มต้นอย่างเป็นทางการในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2518 หลังจากเจรจากันมาหลายปี[1][2] ซึ่งเป็นเวลานานแล้ว ที่ประเทศไทยหรือในชื่อเดิมคือสยามได้เป็นประเทศที่แน่นแฟ้นต่อจีนอย่างมาก และโดยปกติแล้ว ชาวจีนก็แสดงความนับถือสยามอย่างสูงโดยรับรองสัมพันธไมตรีต่อกัน อย่างไรก็ตาม หลังจากที่จอมพล แปลก พิบูลสงคราม พยายามลบล้างและขัดขวางชาวจีน ความรู้สึกชื่นชอบของคนไทยที่มีต่อจีนได้รับความสูญเสียอย่างหนัก ขณะนี้ อาจมีการแย่งชิงอำนาจระหว่างสหรัฐและจีน เนื่องจากการปรากฏตัวของทั้งสองประเทศในไทยทวีความรุนแรงขึ้น[3] จีนยังคงเป็นพันธมิตรที่สำคัญของไทย ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากอิทธิพลและความโดดเด่นในภูมิภาค[4][5][6][7][8] ประวัติสมัยกลางและสมัยใหม่ตอนต้นความสัมพันธ์จีน–ไทยย้อนหลังไปถึงช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 เมื่อการเดินทางสมบัติหมิงของเจิ้งเหอได้มาจอดที่อยุธยา ประเทศไทย แม้ว่าจีนจะสนับสนุนรัฐมะละกาซึ่งเป็นคู่แข่งของไทย แต่ก็ยังถือว่าไทยเป็นหนึ่งในระบบบรรณาการของจีนที่ซื่อสัตย์มากกว่า เมื่อญี่ปุ่นบุกครองเกาหลี ไทยได้เสนอให้จีนบุกญี่ปุ่น ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศต่อเนื่องมาถึงสมัยราชวงศ์ชิง โดยในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1760 การรุกรานพม่าของราชวงศ์ชิงได้ช่วยบรรเทาแรงกดดันจากพม่าที่มีต่อประเทศไทย ส่วนการนำเข้าข้าวไทยได้ช่วยหล่อเลี้ยงประชากรจีนสมัยชิง ในขณะที่ชาวไทยเชื้อสายจีนมีอิทธิพลอย่างมากต่อการเมืองของไทยสมัยใหม่ตอนต้น สมัยใหม่
ระหว่างการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ความตึงเครียดระหว่างทั้งสองประเทศรุนแรงขึ้นจากสงครามเย็น แต่จอมพลแปลกได้ส่งลูก ๆ ของสังข์ พัธโนทัย ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของเขาไปอาศัยอยู่ในประเทศจีนด้วยท่าทีปรารถนาดี แต่ยังเป็นการลับหลังอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งหนังสือมุกมังกรที่เขียนโดยสิรินทร์ ลูกสาวของสังข์ พัธโนทัย ได้เล่าถึงประสบการณ์ของเธอที่เติบโตขึ้นในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรมในประเทศจีน ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2506 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงได้เสด็จเยือนไทเป สาธารณรัฐจีน (ROC) ส่วนใน พ.ศ. 2512 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เจียง จิ่งกั๊วะ ได้เยือนกรุงเทพมหานครในฐานะทูตพิเศษของรัฐบาลสาธารณรัฐจีนเพื่อเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์ไทย ทั้งนี้ ราชอาณาจักรไทยได้เปลี่ยนความสัมพันธ์ทางการทูตจากสาธารณรัฐจีนเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีนในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2518[9] ก่อน พ.ศ. 2518 ความสัมพันธ์ระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนกับราชอาณาจักรไทยเป็นหนึ่งในความหวาดระแวงซึ่งกัน เนื่องจากสาธารณรัฐประชาชนจีนสนับสนุนกลุ่มที่เอียงซ้ายในแวดวงการเมืองไทย และราชอาณาจักรไทยได้ระมัดระวังการมีส่วนร่วมของจีนกับความขัดแย้งของประเทศกัมพูชา[1] ความสัมพันธ์สาธารณรัฐประชาชนจีน–ราชอาณาจักรไทย พัฒนาไปในทางบวกใน พ.ศ. 2521 เมื่อสาธารณรัฐประชาชนจีนยังคงให้การสนับสนุนไทยในช่วงที่กัมพูชามีความขัดแย้งภายใน โดยกองกำลังมาร์กซิสต์จากประเทศเวียดนามได้ขับไล่เขมรแดงผู้นับถือลัทธิเหมาออกจากอำนาจ และคุกคามความมั่นคงของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[10] นับตั้งแต่ไทยเชื้อสายจีนเข้าครอบงำเศรษฐกิจไทยตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1950 ธุรกิจชาวไทยเชื้อสายจีนได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายไผ่[11] ซึ่งเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี กรุ๊ป) กลุ่มบริษัทไทยที่มีชื่อเสียงซึ่งก่อตั้งโดยตระกูลเจียรวนนท์เชื้อสายไทย–จีน เป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุดรายเดียวในประเทศจีน[12] ส่วนใน พ.ศ. 2537 ผู้นำไต้หวัน หลี่ เติงฮุย ได้มาเยือนประเทศไทยเป็นการส่วนตัว และเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทพระมหากษัตริย์ไทยเพื่อหารือเกี่ยวกับโครงการเกี่ยวกับความร่วมมือทางเศรษฐกิจ[9] สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์รัฐมิตราภรณ์ และรางวัลมิตรภาพภาษาและวัฒนธรรมจีน จากงานส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างสองประเทศ พระองค์ตรัสภาษาจีนกลางได้อย่างคล่องแคล่ว และได้แปลนวนิยายจีนหลายเล่มเป็นภาษาไทย[13] ประเทศไทยมีนโยบายปรับปรุงความสัมพันธ์กับจีนตั้งแต่รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เมื่อความสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศตะวันตกแย่ลง[14] ในสภาผู้แทนราษฎรไทยมีความกังวลเกี่ยวกับอิทธิพลของจีนที่เพิ่มขึ้นในประเทศ และบางส่วนเรียกประเทศไทยว่าเป็นมณฑลของประเทศจีน โดยจีนได้ครอบครองที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ทำให้จีนสามารถสร้างเขื่อนในแม่น้ำโขงได้ รวมถึงบริษัทเอกชนจีนลงทุนในโครงการเมกะโปรเจกต์รถไฟความเร็วสูงของไทย[15] ตลอดปี พ.ศ. 2567 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิทำการบินไปประเทศจีนมากถึง 42 [16]ท่าอากาศยานในประเทศจีน เมื่อรวมท่าอากาศยานดอนเมืองและท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ด้วยแล้ว สามท่าอากาศยานหลักในประเทศไทยทำการบินไปประเทศจีนมากถึง 50 ท่าอากาศยาน ทั้งท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานดอนเมืองทำการบินจุดหมายเดียวกันในประเทศจีนมากถึง 20 ท่าอากาศยาน โดยท่าอากาศยานดอนเมืองทำการบินเมืองซานย่า[17], ยังจิ๋ว [18]นครอี๋ชาง[19]ต้าเหลียน[20]เทียนจิน[21] เขาหวง[22]และฮาร์บิน[23]ประเทศจีนเพิ่มอีกเจ็ดเมือง ในขณะที่ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ทำการบินไปยังท่าอากาศยานนานาชาติกาดทรายสิบสองปันนา[24]เพียงท่าอากาศยานเดียว หากรวม ฮ่องกง และ มาเก๊า ซึ่งเป็นเขตบริหารพิเศษ การท่องเที่ยวระหว่างประเทศไทยและประเทศจีนในปี พ.ศ. 2567 มีเที่ยวบินไปกลับมากถึง 52 ท่าอากาศยาน ปีเดียวกัน การเดินทางทางเรือ ท่าเรือเชียงแสนมีเส้นทางไปกลับท่าเรือกวนเหล่ย อำเภอเมืองล้า[25] อีกด้วย ความสัมพันธ์ทวิภาคีความสัมพันธ์ทางการค้าทวิภาคีเติบโตขึ้นทุกปี[26] การค้าทวิภาคีจีน-ไทยใน พ.ศ. 2542 มีมูลค่า 4.22 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[26] ซึ่งมีมูลค่าถึง 25.3 พันล้านดอลลาร์ใน พ.ศ. 2549, 31.07 พันล้านดอลลาร์สหรัฐใน พ.ศ. 2550 และ 36.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐใน พ.ศ. 2551[27] การเปลี่ยนแปลงของจีนในคริสต์ศตวรรษที่ 21 ไปสู่อำนาจทางเศรษฐกิจที่สำคัญได้นำไปสู่การเพิ่มการลงทุนจากต่างประเทศในเครือข่ายไผ่ ซึ่งเครือข่ายธุรกิจจีนโพ้นทะเลที่ดำเนินงานในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความสัมพันธ์ในครอบครัวและวัฒนธรรมร่วมกัน[28][11] การส่งออกของจีนไปยังประเทศไทย ได้แก่ ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์, มอเตอร์ไฟฟ้า, เครื่องใช้ไฟฟ้า, เครื่องจักร, ผลิตภัณฑ์โลหะ, เคมีภัณฑ์ และเสื้อผ้า[27] ส่วนการส่งออกของไทยไปยังประเทศจีน ได้แก่ ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์, ยาง, น้ำมันสำเร็จรูป, เม็ดพลาสติก, เคมีอิเล็กทรอนิกส์, น้ำมันดิบ, ผลิตภัณฑ์ไม้ และอาหาร[27] จีนเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่เป็นอันดับสองของไทย นอกจากนี้ จีนยังเป็นผู้นำเข้าสินค้าเข้าประเทศรายใหญ่ที่สุดของไทยใน พ.ศ. 2553[29] ความสัมพันธ์ทางการทหารนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้สั่งซื้อรถถังหลักวีที-4 ของจีน 49 คัน และเรือดำน้ำ 3 ลำ ซึ่งมีราคากว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[30][31] จีนและไทยกำลังวางแผนที่จะเปิดโรงงานผลิตอาวุธร่วมในเทศบาลนครขอนแก่น[30] ซึ่งจะรับผิดชอบการประกอบ, การผลิต และการบำรุงรักษาระบบอาวุธภาคพื้นดินสำหรับกองทัพบกไทย รายละเอียดที่เฉพาะเจาะจงอาจมีการหารือเพิ่มเติมระหว่างกระทรวงและนอริงโก ซึ่งสร้างรถถังและอาวุธในเครื่องจักรกลหนักอื่น ๆ ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2560 กองทัพเรือไทยได้ลงนามในสัญญากับบริษัทอุตสาหกรรมการต่อเรือแห่งประเทศจีนสำหรับเรือดำน้ำพลังดีเซล-ไฟฟ้า เอส26ที ซึ่งมีกำเนิดมาจากเรือดำน้ำแบบ 039A[31] โดยคาดว่าจะส่งมอบเรือดำน้ำใน พ.ศ. 2566[31] โจว เฉินหมิง ซึ่งเป็นผู้บรรยายข่าวกองทัพจีน กล่าวว่าจีนน่าจะให้คำแนะนำทางเทคนิคแก่ประเทศไทยเช่นกัน[31] ดูเพิ่มอ่านเพิ่ม
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่นหนังสือและบทความ
เว็บไซต์
|
Portal di Ensiklopedia Dunia