ความสัมพันธ์ไต้หวัน–ไทย
ความสัมพันธ์ไต้หวัน (สาธารณรัฐจีน) –ไทย ไทยประกาศความสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐจีนขึ้นครั้งแรกหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2489 หลังจากสงครามกลางเมืองจีนสิ้นสุดลงใน พ.ศ. 2492 รัฐบาลสาธารณรัฐจีนย้ายไปไต้หวัน ไทยกับสาธารณรัฐจีนยังคงมีความสัมพันธ์ทางการทูตแบบเป็นทางการจนถึง 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 ไทยประกาศยุติความสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐจีน ช่วงปี 2455 ถึง 2514 สาธารณรัฐจีนเป็นตัวแทนจีนเพียงหนึ่งเดียวในเวทีโลก หลังจากข้อมติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่ 2758 วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2514 รับรองสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็น "ผู้แทนชอบด้วยกฎหมายเพียงหนึ่งเดียวของจีนในสหประชาชาติ" สาธารณรัฐจีนแทนชื่อในเวทีโลกด้วยไต้หวัน หรือจีนไทเป ปัจจุบันไทยยอมรับว่าสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นจีนเพียงหนึ่งเดียว แต่มีความสัมพันธ์ทางการทูตแบบไม่เป็นทางการกับสาธารณรัฐจีน(ไต้หวัน) ผ่านสำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย ประจำ ณ กรุงไทเป ปัจจุบันไทยเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับ 3 ของสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) รองจากสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น[1] ประวัติก่อนการปฏิวัติซินไฮ่
สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต23 มกราคม 2489 สยามและสาธารณรัฐจีนประกาศสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตในการลงนาม "สนธิสัญญามิตรภาพสยามและสาธารณรัฐจีน" โดยมีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยในเวลานั้นเป็นผู้ลงนาม มีการสร้างสถานเอกอัครราชทูตขึ้นในกรุงเทพมหานครและกรุงนานกิง ปี 2492 สงครามกลางเมืองจีนสิ้นสุดลง พรรคคอมมิวนิสต์จีนยึดครองจีนแผ่นดินใหญ่ รัฐบาลสาธารณรัฐจีนย้ายฐานไปไต้หวัน ไทยกับสาธารณรัฐจีนยังคงมีการสานสัมพันธ์ทางการทูตอยู่ 5 ถึง 8 มิถุนายน 2506 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินเยือนไต้หวัน สาธารณรัฐจีน ระยะเวลา 4 วัน ทั้งนี้เจียงไคเช็ค ประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีน และซ่ง เหม่ย์หลิง ภริยาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ ณ ท่าอากาศยานซงวานในกรุงไทเปพร้อมกองทหารเกียรติยศรับเสด็จฯ[2][3][4] ตลอดระยะเวลาที่เสด็จฯ สาธารณรัฐจีนได้เสด็จไปทอดพระเนตรเทคโนโลยีการเกษตร ณ นครไถจงและนครเถา-ยฺเหวียน[5] 27 มีนาคม 2510 จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นเยือนสาธารณรัฐจีนอย่างเป็นทางการ เข้าพบคารวะเจียงไคเช็ค ประธานาธิบดี ปีเดียวกัน 4 กรกฎาคมนายเว้ยต้าวหมิง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐจีน เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ 1 เมษายน 2511 นายเหยียนเจียกั้น รองประธานาธิบดีเยือนประเทศไทย[6]: 748 14 พฤษภาคม 2512 เจียง จิ่งกั๊วะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในขณะนั้นเป็นผู้แทนประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีนเดินทางเยือนประเทศไทย ได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร[7]: 490 25 ตุลาคม 2514 ไทยงดออกเสียงในข้อมติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่ 2758 ที่รับรองสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็น "ผู้แทนชอบด้วยกฎหมายเพียงหนึ่งเดียวของจีนในสหประชาชาติ" แทนที่สาธารณรัฐจีน 1 พฤศจิกายน 2518 ไทยประกาศยุติความสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐจีน อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|
Portal di Ensiklopedia Dunia