ความสัมพันธ์ไทย–ออสเตรเลีย
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศระหว่างประเทศออสเตรเลียและประเทศไทย ประเทศไทยได้แสดงผ่านสถานเอกอัครราชทูตในแคนเบอร์ราและสถานกงสุลใหญ่ในซิดนีย์ ส่วนประเทศออสเตรเลียมีสถานเอกอัครราชทูตอยู่ในกรุงเทพมหานคร โดยมีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการฑูตอย่างเป็นทางการระหว่างสองประเทศใน พ.ศ. 2495[ต้องการอ้างอิง] ![]() ครั้นในช่วงรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 อเล็กซานเดอร์ ดาวเนอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศออสเตรเลีย ได้กล่าวว่า "เรากังวลอย่างยิ่งว่ารัฐบาลถูกโค่นล้มในลักษณะนี้"[1] การค้าของพลเมือง![]() ![]() ใน พ.ศ. 2546 ทั้งสองประเทศประกาศว่าพวกเขาจะทำความตกลงการค้าเสรี[2] ความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA) มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548 ซึ่งความตกลงนี้ได้อำนวยความสะดวกในการค้าและการลงทุนแบบสองทางที่เพิ่มขึ้น, ความคล่องตัวทางธุรกิจที่ดีขึ้น, การทิ้งขยะ, สนับสนุนแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศระดับนานาชาติ และส่งเสริมความร่วมมือทวิภาคีในด้านต่าง ๆ รวมถึงขั้นตอนทางศุลกากร, การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐบาล, นโยบายการแข่งขัน และการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา[3] ใน พ.ศ. 2558 การค้าสินค้าและบริการแบบสองทางมีมูลค่ามากกว่า 20,800 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย[4] การส่งออกแร่ประเทศไทยเป็นตลาดที่สำคัญสำหรับอะลูมิเนียมและโลหะของออสเตรเลีย ส่วนออสเตรเลียยังเป็นผู้จัดจำหน่ายถ่านหินรายใหญ่ของประเทศไทย การท่องเที่ยวประเทศไทยเป็นตลาดการท่องเที่ยวที่สำคัญสำหรับชาวออสเตรเลีย โดยในปี ค.ศ. 2023 มีชาวออสเตรเลียเดินทางมาประเทศไทยจำนวน 687,745 คน ส่วนตลาดการบินออสเตรเลีย-ไทย ใหญ่เป็นอันดับ 6 ของประเทศออสเตรเลีย[5] นอกจากนี้ มีสายการบินหลายแห่งให้บริการเที่ยวบินตรงระหว่างออสเตรเลียและไทย ได้แก่ แอร์เอเชีย,[6] เจ็ตสตาร์แอร์เวย์, การบินไทย และควอนตัส ดูเพิ่มอ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น![]() วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ ความสัมพันธ์ไทย–ออสเตรเลีย |
Portal di Ensiklopedia Dunia