ความสัมพันธ์เกาหลีเหนือ–ไทย
ทวีปเอเชีย เป็นภูมิภาคกลาง ( THAILAND ) กึ่งกลางความปวดหัว ภูมิหลังการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตการทูตระหว่างไทยและเกาหลีเหนือเริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2515 จากการแลกเปลี่ยนการติดต่อในด้านการค้าและกีฬาอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2517 ทางเกาหลีเหนือได้แสดงความสนใจที่จะขอเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศไทย โดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น ในวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2518 ประเทศไทยและเกาหลีเหนือได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน และมีการแลกเปลี่ยนเอกอัครราชทูตระหว่างกันในเวลาต่อมา โดยเอกอัครราชทูตเกาหลีเหนือประจำสหภาพพม่าในขณะนั้นดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต ประจำประเทศไทย และเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต ณ กรุงเปียงยาง ในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2534 เกาหลีเหนือได้ยกระดับสำนักงานผู้แทนการค้าของเกาหลีเหนือในกรุงเทพมหานคร (ที่ตั้งขึ้นเมื่อ 25 ธ.ค. 2522) เป็นสถานเอกอัครทูต แต่ทางการไทยยังไม่ได้เปิดสถานทูต ณ กรุงเปียงยาง โดยขณะนี้สถานเอกอัครทูตไทย ณ กรุงปักกิ่ง เป็นผู้ดูแล การแลกเปลี่ยนการเยือนนับตั้งแต่สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันแล้ว ทั้ง 2 ประเทศได้มีการแลกเปลี่ยนการเยือน ระหว่างทั้งสองฝ่ายอย่างสม่ำเสมอ ดังนี้ การเยือนที่สำคัญจากฝ่ายเกาหลีเหนือมาประเทศไทย ได้แก่
การเยือนที่สำคัญจากฝ่ายประเทศไทย ได้แก่
ความร่วมมือในด้านต่าง ๆความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุน
ความตกลงการบินเมื่อ 18 มีนาคม พ.ศ. 2536 ประเทศไทยและเกาหลีเหนือได้ทำความตกลงการบินระหว่างกัน โดยสายการบิน แอร์โครยอ ของเกาหลีเหนือ ได้เริ่มทำการบินจากกรุงเปียงยางมาประเทศไทยแล้วระยะหนึ่ง (เที่ยวบินปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2536) และได้ระงับเที่ยวบินไว้ระยะหนึ่ง เพราะมีผู้โดยสารน้อย โดยเกาหลีเหนืออ้างว่าสาเหตุที่ไม่มีผู้โดยสารเพราะปัญหาความไม่สะดวกเกี่ยวกับการขอรับการตรวจลงตราให้แก่ชาวเกาหลีเหนือที่เดินทางมาประเทศไทย ซึ่งไม่สามารถรับการตรวจลงตราที่ท่าอากาศยานนานาชาติกรุงเทพ ได้ แต่ยังต้องไปขอรับการตรวจลงตราที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง ที่ผ่านมา เกาหลีเหนือได้เปิดเส้นทางบินไปกลับ เปียงยาง - มาเก๊า - กรุงเทพฯ โดยบินสัปดาห์ละ 1 เที่ยว เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2540 ได้ขยายเป็นสัปดาห์ละ 2 เที่ยว แต่ต่อมาได้ลดลงเป็นสัปดาห์ละ 1 เที่ยวเหมือนเดิม เนื่องจากปริมาณผู้โดยสารมีไม่มากพอ ปัจจุบันเนื่องจากมีผู้โดยสารน้อยมาก สายการบิน แอร์โครยอ จึงทำการบินเส้นทางเปียงยาง - กรุงเทพฯ - เปียงยาง เพียงเดือนละ 1 เที่ยวเท่านั้น ความร่วมมือทางทหารประเทศไทยและเกาหลีเหนือยังไม่มีความร่วมมือทางทหารที่เป็นทางการระหว่างกันแต่อย่างใด แต่ทั้งสองฝ่ายก็มีการติดต่อระหว่างกัน โดย จอมพลโอ จิน-อู รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเกาหลีเหนือมาเยือนประเทศไทย เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2533 และเมื่อระหว่างวันที่ 18 - 21 สิงหาคม 2536 พล.อ. วิจิตร สุขมาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของประเทศไทยก็ได้ไปเยือนเกาหลีเหนือ ฝ่ายเกาหลีเหนือได้เคยทาบทามขอแต่งตั้งผู้ช่วยทูตทหารเกาหลีเหนือประจำประเทศไทย และเสนอให้ทางไทยพิจารณาแต่งตั้งให้ผู้ช่วยทูตทหารประจำกรุงปักกิ่ง มีอาณาเขตปกคลุมถึงเกาหลีเหนือด้วย ซึ่งกระทรวงกลาโหมกำลังพิจารณาข้อเสนอของเกาหลีเหนือ ด้านวัฒนธรรมประเทศไทย และเกาหลีเหนือมีการแลกเปลี่ยนการติดต่อและการดำเนินกิจกรรมทางด้านวัฒนธรรมในสาขาต่าง ๆ ระหว่างกันอย่างสม่ำเสมอ เช่น โครงการแลกเปลี่ยนเยาวชน โครงการแลกเปลี่ยนสื่อมวลชน กีฬา นอกจากนี้ ยังมีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกระทรวงการต่างประเทศ ประเทศไทย - เกาหลีเหนือ โดยเริ่มมาตั้งแต่ปี 2534 เป็นต้น อนึ่ง เกาหลีเหนือได้เคยทาบทามขอทำความตกลงด้านวัฒนธรรมกับประเทศไทยในปี 2532 และปี 2534 แต่ประเทศไทยไม่ได้ตอบสนอง ล่าสุด เมื่อนายคิม ยอง นาม ประธานสภาบริหารสูงสุดกำหนดเยือนประเทศไทยตามคำเชิญของนายกรัฐมนตรีระหว่าง 28 กุมภาพันธ์ – 3 มีนาคม 2545 ฝ่ายเกาหลีเหนือได้เสนอร่างความตกลงฯ อีกครั้ง และประเทศไทยตอบรับ และมีการลงนามความตกลงใน 1 มีนาคม 2545 ในโอกาสครบรอบ 30 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตในปี 2548 ประเทศไทยและเกาหลีเหนือได้เห็นชอบให้มีการแลกเปลี่ยนกิจกรรมทางวัฒนธรรม โดยเกาหลีเหนือเสนอจะให้มีการแลกเปลี่ยนการแสดงของคณะนาฏศิลป์ ด้านการศึกษาวันที่ 14 พฤศจิกายน 2557 มุน ซงโม เอกอัครราชทูตเกาหลีเหนือประจำประเทศไทย หารือความร่วมมือด้านการศึกษากับพลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยกระทรวงศึกษาธิการยินดีหารือกับมหาวิทยาลัยของไทยที่สนใจความร่วมือกับมหาวิทยาลัยเกาหลีเหนือ ส่วนมุนก็ว่า เกาหลีเหนือต้องการมีความร่วมมือและแลกเปลี่ยนทางการศึกษากับไทยในอนาคต ต่างฝ่ายต่างว่า การศึกษาของทั้งสองประเทศคล้ายกัน[1]
ความร่วมมือทางวิชาการปัจจุบันประเทศไทยได้ให้ความร่วมมือทางวิชาการแก่เกาหลีเหนือภายใต้การดำเนินงานของกรมวิเทศสหการ โดยเมื่อปี 2539 เกาหลีเหนือได้จัดส่งคณะผู้แทนเข้าหารือกับผู้แทนกรมวิเทศสหการเพื่อแสดงความประสงค์ในการที่จะจัดส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมในโครงการหลักสูตรฝึกอบรมประจำปี ซึ่งรัฐบาลไทยได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในสาขาต่าง ๆ เช่น สาขาการค้าระหว่างประเทศ การคลัง การลงทุน และการขนส่ง โดยการเข้าร่วมการฝึกอบรมดังกล่าวของเกาหลีเหนืออยู่ในรูปแบบของความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศกำลังพัฒนา (Technical Cooperation among Developing Countries- TCDC) ซึ่งรัฐบาลของประเทศผู้ขอรับการฝึกอบรมจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเดินทางระหว่างประเทศ และรัฐบาลของประเทศผู้จัดการฝึกอบรมจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายภายในประเทศทั้งหมด พร้อมกันนี้ เกาหลีเหนือยังได้เสนอที่จะให้ประเทศไทยจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปเข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรฝึกอบรมที่เกาหลีเหนือจัด ซึ่งเกาหลีเหนือมีศักยภาพ เช่น สาขาเหมืองแร่ และนิวเคลียร์ เป็นต้น ซึ่งในปี 2541 คณะผู้แทนกรมวิเทศสหการได้เดินทางไปหารือความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการกับเกาหลีเหนือที่กรุงเปียงยาง ตามคำเชิญของรัฐบาลเกาหลีเหนือ โดยฝ่ายประเทศไทยได้ตกลงที่จะให้ความร่วมมือทางวิชาการ ดังนี้ ทุนฝึกอบรม/ดูงานระยะสั้นทางด้านวิทยาศาสตร์และการเกษตรฯ การเชิญเจ้าหน้าที่เกาหลีเหนือเยือนประเทศไทย รวมทั้งการแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญ เป็นต้น นอกจากนี้ กรมวิเทศสหการยังได้จัดสรรการให้ความร่วมมือในกรอบการฝึกอบรมประเทศที่สาม (Third Country Training Program) โดยร่วมมือกับ WHO ในการจัดการฝึกอบรม/ดูงานด้านสาธารณสุขให้แก่เกาหลีเหนือปีละประมาณ 15–18 หลักสูตร ดูเพิ่มอ้างอิง |
Portal di Ensiklopedia Dunia