ทั่วไป
ชื่อ , สัญลักษณ์ , เลขอะตอม
ทองแดง, Cu, 29
อนุกรมเคมี
โลหะทรานซิชัน
หมู่ , คาบ , บล็อก
11 , 4 , d
ลักษณะ
copper, metallic
มวลอะตอม
63.546(3) กรัม/โมล
การจัดเรียงอิเล็กตรอน
[Ar ] 3d10 4s1
อิเล็กตรอน ต่อระดับพลังงาน
2, 8, 18, 1
คุณสมบัติทางกายภาพ
สถานะ
ของแข็ง
ความหนาแน่น (ใกล้ r.t. )
8.96 ก./ซม.³
ความหนาแน่น ของของเหลวที่m.p.
8.02 ก./ซม.³
จุดหลอมเหลว
1357.77 K (1084.62 °C )
จุดเดือด
2835 K (2562 °C )
ความร้อนของการหลอมเหลว
13.26 กิโลจูล/โมล
ความร้อนของการกลายเป็นไอ
300.4 กิโลจูล/โมล
ความร้อนจำเพาะ
(25 °C) 24.440 J/(mol·K)
ความดันไอ
P /Pa
1
10
100
1 k
10 k
100 k
ที่ T K
1509
1661
1850
2089
2404
2836
คุณสมบัติของอะตอม
โครงสร้างผลึก
สี่เหลี่ยมลูกบาศก์
สถานะออกซิเดชัน
2 , 1 (ออกไซด์เป็นเบส ปานกลาง)
อิเล็กโตรเนกาติวิตี
1.90 (พอลิงสเกล )
พลังงานไอออไนเซชัน (เพิ่มเติม )
ระดับที่ 1: 745.5 กิโลจูล/โมล
ระดับที่ 2: 1957.9 กิโลจูล/โมล
ระดับที่ 3: 3555 กิโลจูล/โมล
รัศมีอะตอม
135 pm
รัศมีอะตอม (คำนวณ)
145 pm
รัศมีโควาเลนต์
138 pm
รัศมีวานเดอร์วาลส์
140 pm
อื่น ๆ
การจัดเรียงทางแม่เหล็ก
diamagnetic
ความต้านทานไฟฟ้า
(20 °C) 16.78 nΩ·m
การนำความร้อน
(300 K) 401 W/(m·K)
การขยายตัวจากความร้อน
(25 °C) 16.5 µm/(m·K)
อัตราเร็วของเสียง (แท่งบาง)
(r.t. ) (annealed) 3810 m/s
มอดุลัสของยัง
130 GPa
โมดูลัสของแรงเฉือน
48 GPa
โมดูลัสของแรงบีบอัด
140 GPa
อัตราส่วนปัวซง
0.34
ความแข็งโมส
3.0
ความแข็งวิกเกอร์ส
369 MPa
ความแข็งบริเนล
874 MPa
เลขทะเบียน CAS
7440-50-8
ไอโซโทปเสถียรที่สุด
แหล่งอ้างอิง
ทองแดง (อังกฤษ : copper ) คือธาตุ ที่มีเลขอะตอม 29 และสัญลักษณ์คือ Cu ทองแดง อยู่ในตารางธาตุ หมู่ 11 เป็นที่ทราบกันว่ามนุษย์ใช้ประโยชน์จากทองแดงมาไม่น้อยกว่า 10,000 ปี พบหลักฐานว่ามนุษย์สามารถหลอมสกัดทองแดงให้บริสุทธิ์ได้เมื่อประมาณ 5000 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นช่วงก่อนที่มนุษย์จะรู้จักกับทองคำ โดยมนุษย์รู้จักทองคำ
เมื่อประมาณ 4000 ปีก่อนคริสตกาล
การถลุงทองแดง
ทองแดง
การถลุงทองแดงจากแร่ ขั้นแรกคือการแยกแร่ที่ต้องการออกจากสิ่งเจือปนหรือ กากแร่ อาจใช้วิธีการลอยตัว โดยนำแร่ที่บดละเอียดแล้วผสมเข้ากับน้ำ น้ำมันและสารซักล้างในถังผสม จากนั้นกวนและผ่านอากาศเข้าไปในของเหลวที่อยู่ในถังผสมตลอดเวลา เพื่อทำให้มีฟองเกิดขึ้น ซึ่งเป็นผลให้ฟองอากาศ และน้ำมันไปเกาะอยู่กับอนุภาคของแร่และลอยตัวอยู่ด้านบน ส่วนกากแร่จะจมลงอยู่ด้านล่าง เมื่อตักฟองที่ลอยอยู่ด้านบนออกและทำให้แห้ง จะได้ผลแร่ที่มีปริมาณทองแดงเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 15 โดยมวล ขั้นต่อไปนำแร่มาเผาในอากาศ เรียกกระบวนการนี้ว่า การย่างแร่ ไอร์ออน(II)ซัลเฟตบางส่วนจะถูกออกซิไดส์เป็นไอร์ออน(II)ออกไซด์ ดังสมการ
2CuFeS2 (s) + 3O2 (g) → 2CuS(s)+ 2FeO(s) + 2SO2 (g)
กำจัดไอร์ออน(II)ออกไซด์ออกไป โดยนำผลิตภัณฑ์ที่ได้ไปเผารวมกับออกไซด์ของซิลิคอนในเตาถลุงอุณหภูมิประมาณ 1100 °C ไอร์ออน(II)ออกไซด์จะทำปฏิกิริยากับออกไซด์ของซิลิคอนได้กากตะกอนเหลวซึ่งแยกออกมาได้ ดังสมการ
FeO(s) + SiO2 (s) → FeSiO3 (l)
ส่วนคอบเปอร์(II) ซัลไฟด์เมื่ออยู่ในที่มีอุณหภูมิสูงจะสลายตัวได้เป็นคอบเปอร์(I)ซัลไฟด์ในสถานะของเหลวซึ่งสามารถแยกออกได้
ในขั้นตอนสุดท้ายเมื่อแยกคอปเปอร์(I)ซัลไฟด์ในอากาศ บางส่วนจะเปลี่ยนเป็นคอปเปอร์(I)ออกไซด์ดังสมการ
2Cu2 S(s) + 3O2 (g) → 2Cu2 O(s) + 2SO2 (g)
และคอปเปอร์(I)ออกไซด์กับคอปเปอร์(I)ซัลไฟด์จะทำปฏิกิริยากันโดยมีซัลไฟด์ไอออนทำหน้าที่เป็นตัวรีดิวซ์ ได้โลหะทองแดงและแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ดังสมการ
2Cu2 O(s) + Cu2 S(s) → 6Cu(l) + SO2 (g)
ทองแดงที่ถลุงได้ในขั้นนี้ยังมีสิ่งเจือปนจึงต้องนำไปทำให้บริสุทธิ์ก่อน การทำทองแดงให้บริสุทธิ์โดยทั่วไปจะใช้วิธีแยกสารละลายด้วยกระแสไฟฟ้า
การประยุกต์
ทองแดงสามารถดัดได้ง่าย จึงใช้แพร่หลายในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น
บทบาทของทองแดงกับเครื่องประดับ
ทองแดงนั้นเป็นโลหะที่มีคุณประโยชน์นานัปการ โดยเฉพาะทองแดงในวงการของอุตสาหกรรม เช่น สายลวดทองแดง เครื่องจักรต่างๆ ฯลฯ
บทบาทของทองแดงกับเครื่องประดับอาจจะไม่เป็นที่ประจักษ์ชัด แต่หลายคนอาจลืมไปว่า โลหะผสมมีค่าหลายชนิด มีทองแดงเป็นส่วนประกอบสำคัญที่จะขาดไปไม่ได้
นาก ลักษณะเด่นของนาก คือมีสีออกทองแดงผสมทอง โดยมีทองคำ ผสมอยู่ในอัตราประมาณ 37% และนอกจากนั้นจะเป็นส่วนประกอบของทองแดง และเงิน [ 1]
ทองชมพู ลักษณะเด่นของทองชมพู คือจะมีสีสุกใส ทองอมชมพู สีชมพูอ่อน นั้นได้มาจากการผสมทองแดงในสัดส่วนที่น้อยกว่าทองแดงที่ผสมในโลหะนาก โดยใช้ทองเป็นส่วนผสมประมาณ 75% และโลหะอื่น ๆ เป็นลำดับต่อมา ลำดับสุดท้ายคือ ทองแดง
เรดโกลด์ ลักษณะเด่นของเรดโกลด์ จะคล้ายคลึงกับทองชมพูมาก มีส่วนผสมของโลหะแต่ละชนิดเหมือนกัน โดยปัจจัยหลักที่ทำให้ทองสองชนิดต่างกันคือปริมาณของทองแดง โดยจะเพิ่มทองแดงในอัตราส่วนที่มากกว่าทองชมพู
อ้างอิง
Massaro, Edward J., บ.ก. (2002). Handbook of Copper Pharmacology and Toxicology . Humana Press. ISBN 0-89603-943-9 .
"Copper: Technology & Competitiveness (Summary) Chapter 6: Copper Production Technology" (PDF) . Office of Technology Assessment. 2005.
Current Medicinal Chemistry, Volume 12, Number 10, May 2005, pp. 1161–1208(48) Metals, Toxicity and Oxidative Stress
William D. Callister (2003). Materials Science and Engineering: an Introduction, 6th Ed . Table 6.1, p. 137: Wiley, New York. ISBN 0471736961 . {{cite book }}
: CS1 maint: location (ลิงก์ )
Material: Copper (Cu), bulk , MEMS and Nanotechnology Clearinghouse.
Kim BE, Nevitt T, Thiele DJ (2008). "Mechanisms for copper acquisition, distribution and regulation" . Nat. Chem. Biol . 4 (3): 176. doi :10.1038/nchembio.72 . PMID 18277979 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
Copper transport disorders : an Instant insight from the Royal Society of Chemistry
แหล่งข้อมูลอื่น