ทองคำ
ทองคำ (อังกฤษ: gold) คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 79 และสัญลักษณ์คือ Au (มาจากภาษาละตินว่า aurum) จัดอยู่ในกลุ่มธาตุโลหะมีสกุลชนิดหนึ่ง ทองคำเป็นธาตุโลหะทรานซิชันสีเหลืองทองมันวาวเนื้ออ่อนนุ่ม สามารถยืดและตีเป็นแผ่นได้ ทองคำไม่ทำปฏิกิริยากับสารเคมีส่วนใหญ่ ทองคำใช้เป็นทุนสำรองทางการเงินของหลายประเทศ ใช้ประโยชน์เป็นเครื่องประดับ งานทันตกรรม และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ คุณสมบัติมีความแวววาวอยู่เสมอ ทองคำไม่ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนดังนั้น เมื่อสัมผัสถูกอากาศสีของทองจะไม่หมองและไม่เกิดสนิม มีความอ่อนตัว ทองคำเป็นโลหะที่มีความอ่อนตัวมากที่สุด ด้วยทองเพียงประมาณ 2 บาท เราสามารถยืดออกเป็นเส้นลวดได้ยาวถึง 8 กิโลเมตร หรืออาจตีเป็นแผ่นบางได้ถึง 100 ตารางฟุต ทองคำเป็นโลหะชนิดหนึ่งที่สามารถนำไฟฟ้าได้ดี สะท้อนความร้อนได้ดี ทองคำสามารถสะท้อนความร้อนได้ดี ได้มีการนำทองคำไปฉาบไว้ที่หน้ากากหมวกของนักบินอวกาศ เพื่อป้องกันรังสีอินฟราเรด มนุษย์รู้จักทองคำมาตั้งแต่ประมาณ 5,000 ปี เป็นความหมายแห่งความมั่งคั่ง จุดหลอมเหลว 1064 องศาเซลเซียส และจุดเดือด 2970 องศาเซลเซียส เป็นโลหะที่มีค่าที่มีความเหนียว (Ductility) และความสามารถในการขึ้นรูป (Malleability) คือจะยืดขยาย (Extend) เมื่อถูกตีหรือรีดในทุกทิศทาง โดยไม่เกิดการปริแตกได้สูงสุด ทองคำบริสุทธิ์หนัก 1 ออนซ์สามารถดึงเป็นเส้นลวดยาวได้ถึง 80 กิโลเมตร ถ้าตีเป็นแผ่นก็จะได้บางเกินกว่า 1/300,000 นิ้ว ส่วนความกว้างจะได้ถึง 9 ตารางเมตร ทองคำบริสุทธิ์ไม่ว่องไวต่อการเกิดปฏิกิริยาเคมี จึงทนต่อการผุกร่อนและไม่เกิดสนิมกับอากาศ แต่ทำปฏิกิริยากับสารเคมีบางชนิด เช่น คลอรีน ฟลูออรีน น้ำประสานทอง คุณสมบัติเหล่านี้ประกอบกับลักษณะภายนอกที่เป็นประกายจึงทำให้ทองคำเป็นที่หมายปองของมนุษย์มาเป็นเวลานับพันปี โดยนำมาตีมูลค่าสำหรับการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศและใช้เป็นวัตถุดิบที่สำคัญสำหรับวงการเครื่องประดับ ทองคำได้รับความนิยมอย่างสูงสุดในวงการเครื่องประดับทองคำ เพราะเป็นโลหะมีค่าชนิดเดียวที่มีคุณสมบัติพื้นฐาน 4 ประการซึ่งทำให้ทองคำโดดเด่น และเป็นที่ต้องการเหนือบรรดาโลหะมีค่าทุกชนิดในโลก คือ
การเกิดของแร่ทองคำกรมทรัพยากรธรณี ได้มีการแบ่งการเกิดของแร่ทองคำออกเป็น 2 แบบ ตามลักษณะที่พบในธรรมชาติได้ดังนี้
การใช้จ่ายเงินทองคำถูกใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลกในฐานะเงิน[1][2] สำหรับการแลกเปลี่ยนทางอ้อมที่มีประสิทธิภาพ (เมื่อเปรียบเทียบกับการแลกเปลี่ยนสินค้า) และสำหรับการเก็บรักษาทรัพย์สินในห้องเก็บของ เพื่อวัตถุประสงค์ในการแลกเปลี่ยน โรงกษาปณ์ได้ผลิตทองคำแท่ง เหรียญ และหน่วยอื่นๆ ที่มีน้ำหนักและความบริสุทธิ์ที่กำหนดมาตรฐานไว้ เหรียญแรกที่ทราบกันว่ามีส่วนผสมของทองคำถูกผลิตใน Lydia, Asia น้อย ประมาณ 600 ปีก่อนคริสตศักราช[3] ส่วนแบ่งของทองคำ (นัยพรรณ) ในโลหะผสมจะถูกวัดในหน่วยกะรัต (k). ทองคำบริสุทธิ์ (ที่มีชื่อเรียกทางการค้าว่าทองคำไร้สิ่งเจือปน) จะเรียกว่า 24 กะรัต, และจะย่อเป็น 24k เหรียญทองอังกฤษที่ผลิตเพื่อการหมุนเวียนระหว่างปี 1526 ถึง 1930s ส่วนใหญ่มักจะเป็นโลหะผสมมาตรฐานที่มี 22 กะรัต เรียกว่า crown gold[4][5] เพื่อเพิ่มความแข็ง (เหรียญทองสหรัฐที่ออกให้หมุนเวียนหลังปี 1837 มีโลหะผสมที่มีทองคำบริสุทธิ์ 0.900 หรือ 21.6 k)[6] เช่นเดียวกับโลหะมีค่าอื่นๆ ทองคำจะถูกวัดในหน่วยนํ้าหนักทรอยและกรัม ส่วนแบ่งของทองคำในโลหะผสมจะถูกวัดในหน่วยกะรัต (k) โดยที่ 24 กะรัต (24k) ถือว่าเป็นทองคำบริสุทธิ์ (100%), และค่ากะรัตที่ต่ำกว่าจะน้อยลงตามสัดส่วน (18k = 75%) ความบริสุทธิ์ของทองคำแท่งหรือเหรียญยังสามารถแสดงเป็นทศนิยมในช่วง 0 ถึง 1, ที่รู้จักกันในชื่อ millesimal fineness ตัวอย่างเช่น, 0.995 หมายถึงเกือบบริสุทธิ์. ในปัจจุบัน ทองคำคือสกุลเงินสำรองของโลก[7] ราคาทองคำถูกกำหนดผ่านการซื้อขายในตลาดทองคำและอนุพันธ์ แต่ขั้นตอนที่เรียกว่าการตั้งราคาทองคำในลอนดอน ซึ่งเริ่มต้นในเดือนกันยายน 1919 มอบราคาพื้นฐานรายวันสำหรับอุตสาหกรรม[8][9][10] การตั้งราคาทองคำในแต่ละวันถูกนำมาใช้ในปี 1968 เพื่อกำหนดราคาเมื่อเปิดตลาดสหรัฐ ณ เดือนกันยายน 2017 ทองคำถูกประเมินว่ามีค่าอยู่ประมาณ 42 ดอลลาร์ต่อกรัม (1300 ดอลลาร์ต่อออนซ์ทรอย) การใช้ประโยชน์
ในทางอวกาศได้มีการนำทองคำมาใช้เป็นชุดนักบินอวกาศและแคปซูล เพื่อป้องกันไม่ให้นักบินอวกาศกระทบกับรังสีในอวกาศที่มีพลังงานสูง นอกจากนี้ยังมีการใช้ทองคำบริสุทธิ์เคลือบกับเครื่องยนต์ ระบบอิเล็กทรอนิกส์ หมวกเหล็ก เกราะบังหน้า และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ในอวกาศ เนื่องจากทองคำที่มีความหนา 0.000006 นิ้ว จะมีคุณสมบัติช่วยสะท้อนรังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์ไม่ให้ทำลาย หรือลดประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์เหล่านี้
มีการใช้ทองคำเพื่อการครอบฟัน เชื่อมฟัน หรือการเลี่ยมทอง และยังมีการใช้ในการผลิตฟันปลอมด้วย เนื่องจากทองคำมีความคงทนต่อการกัดกร่อน การหมองคล้ำ และยังมีความแข็งแรงอีกด้วย โดยจะใช้ทองคำผสมกับธาตุอื่น เช่น แพลทินัม
มีการนำทองคำมาใช้เป็นวัสดุที่ทำหน้าที่สัมผัสในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่น เครื่องคิดเลข โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือ เนื่องจากทองคำมีค่าการนำไฟฟ้าสูง และมีความคงทนต่อการกัดกร่อน จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และอายุการใช้งานของเครื่องไฟฟ้าเหล่านั้น แหล่งข้อมูลอื่นวิกิพจนานุกรม มีความหมายของคำว่า ทองคำ
เก็บถาวร 2019-01-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน อ้างอิง
|
Portal di Ensiklopedia Dunia