โรงเรียนวัดบวรนิเวศ
โรงเรียนวัดบวรนิเวศ เป็นโรงเรียนรัฐบาลประเภทชายล้วน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาทั้งตอนต้นและตอนปลายเป็นโรงเรียนชายล้วน มีที่ตั้งอยู่ในบริเวณวัดบวรนิเวศวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร โรงเรียนนี้ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2436 ตามพระดำริของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เพื่อจัดการศึกษาเล่าเรียนแก่พระภิกษุสามเณรในคณะธรรมยุติกนิกาย ต่อมาในปี พ.ศ. 2442 การจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนวัดบวรนิเวศได้ก็กลายเป็นต้นแบบของการจัดการศึกษาในโรงเรียนต่าง ๆ ทั่วประเทศ ตามพระราชประสงค์ที่จะขยายโอกาสทางการศึกษาแก่ประชาชนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โรงเรียนแห่งนี้เคยมีองค์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร เป็นองค์อุปถัมภ์ ประวัติ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระปิยะมหาราช รัชกาลที่ 5 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้ง วิทยาลัย ขึ้นในวัดบวรนิเวศวิหารพระราชทานนามว่า มหามกุฏราชวิทยาลัยในปีพุทธศักราช 2436 (ร.ศ. 112) เพื่อให้เป็นที่ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมของพระภิกษุสามเณรในคณะธรรมยุตินิกาย ตามพระดำริของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสผู้ครองวัดบวรนิเวศวิหารในขณะนั้น โดยแบ่งเป็น 2 แผนกคือส่วนวิทยาลัยใช้เป็นที่เล่าเรียนพระปริยัติธรรมชั้นสูง และจัดตั้งโรงเรียนตามพระอารามเป็นสาขาหนึ่งของวิทยาลัยนี้ โรงเรียนวัดบวรนิเวศเป็นส่วนหนึ่งของมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยมีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส ทรงเป็นผู้จัดการพระองค์แรก ต่อมาการเรียนการสอนในโรงเรียน ได้ขยายตัวกว้างขวางออกไปตามลำดับ ในปีพุทธศักราช 2442 (ร.ศ. 117) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์ให้ขยายการศึกษาให้แพร่หลายไปทั่วประเทศ จึงโปรดเกล้าฯ ให้นำหลักสูตรและวิธีการสอนที่ใช้ในโรงเรียนวัดบวรนิเวศ ไปใช้สอนตามโรงเรียน ต่าง ๆ ทั่วประเทศ จึงถือได้ว่าโรงเรียนวัดบวรนิเวศเป็นโรงเรียนสาธิตในการใช้หลักสูตร เป็นแห่งแรกของประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งลูกเสือขึ้น เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2454 ตามระเบียบปกครองลูกเสือของชาติ โดยเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2454 กองลูกเสือโรงเรียนวัดบวรนิเวศตั้งขึ้นในมณฑลกรุงเทพมหานคร เป็นกองร้อยที่ 7 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จัดสร้างตึกมนุษยนาควิทยาทาน เพื่อเป็นที่ระลึกให้แก่ พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นวชิรญาณวโรรส 2 สิงหาคม พ.ศ. 2467 โดยหลวงสาโรชรัตนนิมานก์ เป็นสถาปนิก โดยตึกมนุษยนาควิทยาทาน ใช้เป็นสถานที่สำหรับการเรียนการสอนของนักเรียนโรงเรียนวัดบวรนิเวศ และโรงเรียนฝึกหัดครูวัดบวรนิเวศ สัญลักษณ์ตราประจำโรงเรียนตราสัญลักษณ์ประจำโรงเรียนวัดบวรนิเวศ เป็นรูปอักษรพระปรมาภิไธยย่อ จ.ป.ร. ครอบจุลมงกุฎ ประดิษฐานบนพญานาคสองหัว มีชื่อโรงเรียน "บวรนิเวศ" อยู่กลางลำตัวพญานาค รูปสัญลักษณ์ดังกล่าวมีนัยความหมายดังต่อไปนี้
ต้นไม้ประจำโรงเรียนต้นราชพฤกษ์ หรือต้นคูน ออกดอกเป็นช่อสีเหลือง ต้นราชพฤกษ์ออกดอกบานในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน ตรงกับช่วงเวลาที่นักเรียนจบหลักสูตร มัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) และ มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) ปัจจุบันต้นราชพฤกษ์ของโรงเรียนปลูกอยู่ด้านหน้ามุขอรพินทุ์ ตรงข้ามศาลาจตุรมุข สีประจำโรงเรียน
คติพจน์เรียนดี มีวินัย ใจสะอาด สุภาษิตปญฺญา นรานํ รตนํ หมายถึง ปัญญาเป็นรัตนะของนรชน คำขวัญ
ทำเนียบผู้บริหาร[1]
ระบบการปกครองนักเรียนโรงเรียนวัดบวรนิเวศจัดระบบการปกครองนักเรียนออกเป็น 5 คณะ ดังนี้
บุคคลสำคัญของโรงเรียนพระนามและนามอาจารย์ของโรงเรียนวัดบวรนิเวศ
รายนามบุคคลสำคัญจากโรงเรียนวัดบวรนิเวศ
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
13°45′35″N 100°30′04″E / 13.759707°N 100.501106°E{{#coordinates:}}: ไม่สามารถมีป้ายกำกับหลักมากกว่าหนึ่งป้ายต่อหน้าได้ |
Portal di Ensiklopedia Dunia