| บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วย ปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่ หน้าอภิปราย
- บทความนี้ต้องการจัดรูปแบบข้อความ การจัดหน้า การแบ่งหัวข้อ การจัดลิงก์ภายใน และอื่น ๆ
- บทความนี้ต้องการพิสูจน์อักษร อาจเป็นด้านการใช้ภาษา การสะกด ไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน หรือการแปลจากภาษาอื่น
- บทความนี้ยังขาดแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง
|
โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว โรงเรียนสหศึกษาในพระบรมราชูปถัมภ์[2] สังกัดส่วนกลาง กรมสามัญศึกษา ตั้งอยู่ที่ ตำบลบางแก้ว อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ โดยคำว่า "ราชวินิต " หมายความว่า "สถานที่ อบรมสั่งสอนกุลบุตรกุลธิดาให้เป็นคนดีโดยพระราชา"
ประวัติ
โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว โดยมีประวัติเริ่มจากนายสุขุม และคุณหญิงจันทร์ฟอง ถิระวัฒน์ ได้น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดิน จำนวน 30 ไร่ แด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2513 เพื่อก่อสร้างโรงเรียนมัธยมศึกษาแทนสถานที่บริเวณโรงเรียนราชวินิตซึ่งคับแคบ ไม่สามารถจะขยายออกไปได้ ซึ่งพระองค์โปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่กระทรวงศึกษาธิการให้จัดตั้งเป็นโรงเรียนรัฐบาลมัธยมศึกษาสายสามัญ เมื่อวันที่ 16 พฤจิกายน 2514 ได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารโรงเรียนด้วยเงินงบประมาณปีพ.ศ. 2513 จะสำเร็จเรียบร้อยภายในเดือนมิถุนายน 2515 เป็นอย่างช้า และได้รับพระราชทานนามโรงเรียนว่า "โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว" เปิดสอนครั้งแรกเมื่อพ.ศ. 2515 โดยขณะนั้นมีนักเรียน 347 คน ปัจจุบันโรงเรียนมีเนื้อที่เพิ่มขึ้นอีก ประมาณ 42 ไร่ 2 งาน 30 ตารางวา
นับแต่โรงเรียนราชวินิตบางแก้วได้ก่อตั้งมา โรงเรียนได้รับพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ พระองค์ทรงเอาพระทัยใส่ด้านความเจริญเติบโตก้าวหน้าของโรงเรียนมาโดยตลอด ดังเห็นได้จากการเสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดอาคารเรียนต่าง ๆ ของโรงเรียน ดังนี้
ครั้งที่ 1 วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2516 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินมา ทรงประกอบพิธีเปิดอาคารเรียนหลังที่ 1 อาคาร “ร่มเกล้า” ทรงปลูกต้นประดู่แดงไว้เป็นที่ระลึกโรงเรียนจึงถือว่าวันที่ 9 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันสถาปนาโรงเรียน และถือเอาต้น“ประดู่แดง” เป็นต้นไม้ประจำโรงเรียน
ครั้งที่ 2 วันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2521 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มาทรงประกอบพิธีเปิดอาคาร “บงกชมาศ”
ครั้งที่ 3 วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครั้นทรงดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดอาคาร “ราชวิธานค์”
ครั้งที่ 4 วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดอาคาร
“เฉลิมพระเกียรติ” กับทั้งได้รับพระบรมราชานุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์ พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๐ และตราพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก วันที่ ๒ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๓๑ ประดิษฐานหน้าอาคาร
ครั้งที่ 5 วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2540 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครั้นทรงดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดอาคาร“เฉลิมพระเกียรติ” อาคาร “สิริยาคาร” และอาคาร“พิพิธภัณฑ์” กับทั้งได้รับพระบรมราชานุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์ งานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี พุทธศักราช ๒๕๓๙ ประดิษฐานหน้าอาคาร “เฉลิมพระเกียรติ”
ครั้งที่ 6 วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2543 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดศูนย์คอมพิวเตอร์ การเรียนการสอนเฉลิมพระเกียรติ ศูนย์สืบค้นข้อมูลนานาชาติ (R.W.B.International Resource Center) และห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษามหาราช
ครั้งที่ 7 วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2547 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดอาคาร 48 พรรษาเฉลิมพระเกียรติ
ครั้งที่ 8 วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดอาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อาคารศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติครองราชย์ 60 ปี ศูนย์เทคโนโลยีสิรินธร และสวนเจ้าฟ้านักเกษตร
ครั้งที่ 9 วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดอาคาร เฉลิมพระเกียรติ ทั้งได้รับพระราชานุญาตให้เชิญตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ ๕ รอบ ๒ เมษายน ๒๕๕๘ ประดิษฐานหน้าอาคาร “เฉลิมพระเกียรติ”
รายนามผู้บริหารโรงเรียน
เกียรติประวัติโรงเรียน
เกียรติประวัติโรงเรียน
- โรงเรียนต้นแบบสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กรมสามัญศึกษา[ต้องการอ้างอิง]
- โรงเรียนได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนส่งเสริมประชาธิปไตยตัวอย่าง[ต้องการอ้างอิง]
- รางวัลโรงเรียนพระราชทาน[ต้องการอ้างอิง]
- โรงเรียนผ่านเกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอก ระดับดีมาก 17 มาตรฐาน ระดับดี 1 มาตรฐาน[ต้องการอ้างอิง]
- นักเรียนรางวัลพระราชทาน ประจำปีการศึกษา 2564, 2565, และ 2566
ด้านวิชาการ
- ชนะเลิศ การแข่งขันระบบปฏิบัติการลินุกซ์ ครั้งที่ 9 ประเภท คอมพิวเตอร์สำหรับควบคุมและบริการเครือข่าย[ต้องการอ้างอิง]
- ปีการศึกษา 2551 การแข่งขันการเขียนโปรแกรมบังคับหุ่นยนต์ สสวท รางวัลชมเชย[ต้องการอ้างอิง]
- ปีการศึกษา 2548 รอบชิงชนะเลิศ สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น)รางวัลชมเชย[ต้องการอ้างอิง]
- ปีการศึกษา 2547 การแข่งขันการเขียนโปรแกรมบังคับหุ่นยนต์ สสวท รางวัลชมเชย[ต้องการอ้างอิง]
- เกียรติบัตรเหรียญทองแดง การแข่งขันคณิตศาสตร์โอลิมปิกระดับมัธยมศึกษาตอนต้น[ต้องการอ้างอิง]
ด้านดนตรีไทย
- ชนะเลิศ ครองถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จากการประกวดดนตรีไทยมหาดุริยางค์ รายการ “ อัศจรรย์ คันธรรพ ” ทางทีวีไทย PBS[ต้องการอ้างอิง]
- ชนะเลิศ ครองถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 7 สมัยติดต่อกันวงปี่พาทย์ไม้นวม มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปี 2549, 2550, 2551, 2552, 2553, 2554, 2555 (2556 ครองที่2 ไม่มีที่1) และปัจจุบัน 2557[ต้องการอ้างอิง]
- ชนะเลิศ ครองถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีวงเครื่องสายผสม มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปี 2548, 2550[ต้องการอ้างอิง]
- ชนะเลิศ ครองถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีวงอังกะลุง มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปี 2549, 2552[ต้องการอ้างอิง]
ด้านดนตรีสากล
- ได้รับรางวัลชนะเลิศ การประกวดวงโยธวาทิต ระดับประเทศชิงถ้วยพระราชทานประเภทนั่งบรรเลง (Concert Band) ประจำ พ.ศ. 2551[ต้องการอ้างอิง]
- รางวัลชนะเลิศ การประกวดวงโยธวาทิต ระดับประเทศชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประเภท ก ประจำ พ.ศ. 2536-2542[ต้องการอ้างอิง]
- รางวัลเหรียญทองการแปรขบวน รางวัลเหรียญทองการเดินมาร์ชชิ่ง การประกวดดนตรีโลก ณ ประเทศเนเธอร์แลนด์ พ.ศ. 2536[ต้องการอ้างอิง]
- รางวัลรองชนะเลิศการประกวดดุริยางค์เครื่องลมนานาชาติ (Asian Symphonic Band Competition[ต้องการอ้างอิง]
- รางวัลชนะเลิศการประกวด Rangsit Music Competition 2016 ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระปรมินทรภูมิพลอดุลยเดช[ต้องการอ้างอิง]
- ราฃวัลชนะเลิศดนตรีธนาคารโรงเรียนธนาคารออมสิน พ.ศ. 2559 ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี[ต้องการอ้างอิง]
ด้านกีฬา
กีฬาฟุตซอล
- รองแชมป์กีฬานักเรียนนักศึกษาแห่งประเทศไทย ปี 2550(จังหวัดชุมพร)[ต้องการอ้างอิง]
- แชมป์เนชั่นแมน สพฐ.ฟุตซอลลีก ครั้งที่ 4 รางวัลถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ปี 2551(รุ่นอายุไม่เกิน 17 ปี)[ต้องการอ้างอิง]
- รองชนะเลิศอันดับ 3 รายการฟุตซอลรุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี ซูเปอร์แม็ต[ต้องการอ้างอิง]
- ชนะเลิศฟุตซอลรายการกรมพลศึกษา รุ่นอายุ 16 ปี ประเภททั่วไป ปี 2558[ต้องการอ้างอิง]
กีฬาฟุตบอล
ด้านพัฒนาผู้เรียนและอื่นๆ
- รองชนะเลิศอันดับ 1 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในการประกวดการสร้างโมเดลลูกโลกจากวัสดุเหลือใช้ ภายใต้แนวคิด "Anit Druge Anti"[ต้องการอ้างอิง]
จากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ[ต้องการอ้างอิง]
- โรงเรียนต้นแบบการพัฒนาระบบการรายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจำปีตามระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาปีการศึกษา 2549[ต้องการอ้างอิง]
- สถานศึกษานำร่องและให้การสนับสนุนการฝึกยุวชนทหารส่วนกลางที่ 1 โดยหน่วยบัญชาการกำลังสำรอง[ต้องการอ้างอิง]
- รางวัลสถานศึกษาวิชาทหารดีเด่น โดยหน่วยบัญชาการกำลังสำรอง[ต้องการอ้างอิง]
บุคคลที่มีชื่อเสียง
อาคารและสถานที่
- อาคารร่มเกล้า(อาคาร 1)
- ฝ่ายบริหารงบประมาณ
- ฝ่ายบริหารงานวิชาการ
- ฝ่ายบริหารงานส่วนบุคคล
- ห้องเรียนนักเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
- ห้องเรียนภาษาที่ 2
- กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
- อาคารบงกชมาศ(อาคาร 2)
- ฝ่ายบริหารทั่วไป
- สำนักงานสภานักเรียน
- R.W.B. Music & Dance Room
- กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
- กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
- อาคารราชวิธานค์(อาคาร 3)
- ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์
- กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
- อาคารสิริยาคาร(อาคาร 4)
- ห้องประชาสัมพันธ์
- ธนาคารโรงเรียน
- ห้องเรียนนักเรียนโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์
- ห้องปฏิบัติการทางอาหาร
- ห้องโสตทัศนศึกษา
- กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
|
- อาคารเฉลิมพระเกียรติ 2(อาคาร 5)
- โรงอาหารเก่า
- ร้านค้าสวัสดิการโรงเรียน
- ห้องเรียนนักเรียนโครงการห้องเรียนพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
- ห้องเรียนนักเรียนโครงการห้องเรียนพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี
- ห้องกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
- ห้องพลังงานแสงอาทิตย์
- ศูนย์เทคโนโลยีสิรินธร (ห้องคอมพิวเตอร์)
- โรงพลศึกษา
- กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
- กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
- อาคารเฉลิมพระเกียรติ(อาคาร 6)
- ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษามหาราช
- กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปศึกษา (ดนตรีและนาฏศิลป์)
- หอประชุมอาคารเฉลิมพระเกียรติ
- อาคาร 48 พรรษา เฉลิมพระเกียรติ(อาคาร 7)
- MEP Library
- MEP Staff Room
- ห้องเรียนนักเรียนโครงการห้องเรียนพิเศษ MEP
- Chinese Staff Room
- ห้องเรียนนักเรียนโครงการห้องเรียนพิเศษ IP Chinese
- สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนราชวินิตบางแก้ว
- ห้องประชุม 721
- ห้องคอมพิวเตอร์
|
- อาคารเฉลิมพระเกียรติ (อาคาร 8)
- กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
- กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
- กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
- ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติครองราชย์ 60 ปี
- อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
- โรงอาหารใหม่
- หอประชุมอาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
- สวนสุขภาพ
- หอพระจัตุรมุข
- บ้านสบายใจ (ห้องแนะแนว)
- อาคารหอเกียรติยศ
- อาคารพยาบาล สุขุม-จันทร์ฟอง
- อาคารจริยธรรม
- สนามกีฬา 3 ทศวรรษ
|
หลักสูตรที่เปิดการเรียนการสอน
- ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1-3) 14 ห้องเรียน แบ่งเป็น
- ห้องเรียนพิเศษ MEP (Mini English Program)
- ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์
- ห้องเรียนพิเศษ EIS (English Integrated Study)
- ห้องเรียนเตรียมนายร้อย (Pre-cadet)
- ห้องเรียนดนตรี (Music Program : MSP)
- ห้องเรียนทั่วไป
- ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-6) 16 ห้องเรียน แบ่งเป็น
- ห้องเรียนพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Science & Mathematics Intensive Program : SMIP)
- ห้องเรียนพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี (Science Mathematics and Technology : SMT)
- ห้องเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
- ห้องเรียนภาษาญี่ปุ่น
- ห้องเรียนเตรียมนายร้อย (Pre-cadet)
- ห้องเรียนพิเศษด้านภาษาจีน (Chinese Intensive Program : CHIP)
- ห้องเรียนภาษาอังกฤษ-คณิตศาสตร์
- ห้องเรียนดนตรี (Music Program : MSP)
- ห้องเรียนโครงการความสามารถพิเศษฟุตบอลและฟุตซอล
คณะสี 6 คณะ
- ██ คณะธำรงชาติ (สีชมพู)
- ██ คณะเกื้อศาสน์ (สีเหลือง)
- ██ คณะเทิดกษัตริย์ (สีฟ้า)
- ██ คณะศาสตร์พัฒนา (สีเทา)
- ██ คณะประชาบำรุง (สีเขียว)
- ██ คณะผดุงเอกลักษณ์ (สีม่วง)
สถานที่ใกล้โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
โรงเรียนที่เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดสมุทรปราการ |
---|
*เปิดสอนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า, †เปิดสอนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น, ‡เปิดสอนเฉพาะระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย |
สังกัด สพม. สมุทรปราการ | |
---|
สังกัด สพป. สมุทรปราการ | |
---|
สังกัด อปท. | |
---|
สังกัด สช. | |
---|
|
โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ |
---|
*อำเภอที่มีโรงเรียนอยู่ในพื้นที่ของ 2 สหวิทยาเขตหรือมากกว่า |
จังหวัดสมุทรปราการ | สหวิทยาเขตป้อมปราการ | สหวิทยาเขตเมืองปราการ |
|
|
|
| สหวิทยาเขตวิทยปราการ | สหวิทยาเขตสุวรรณภูมิปราการ |
|
|
|
|
|
---|
|