ราชวินิต มัธยม (กรุงเทพมหานคร)
โรงเรียนราชวินิต มัธยม เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษา ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2521 เป็นโรงเรียนสหศึกษา มีการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ประวัติ
โรงเรียนราชวินิต มัธยม ถือกำเนิดขึ้นด้วยพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นที่ดินจำนวน 6 ไร่ 3 งาน 34 ตารางวา ใกล้กับสนามม้านางเลิ้ง (ปัจจุบันแปรสภาพเป็นอุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร) ซึ่งเดิมเป็นที่ตั้งของกรมอัศวราชในสมัยรัชกาลที่ 6 ให้กรมสามัญศึกษาจัดตั้งเป็นโรงเรียนมัธยม โดยมีจุดประสงค์ในการรับนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนราชวินิต รวมทั้งบุตรหลานข้าราชบริพารให้เข้าศึกษา พระราชทานนามโรงเรียนว่า "ราชวินิต มัธยม" หมายถึง สถานที่อบรมกุลบุตรกุลธิดาในระดับมัธยมศึกษาให้เป็นคนดี แห่งพระบารมีปกเกล้า ใช้ชื่อย่อว่า ร.น.ม. และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระมหามงกุฏเปล่งรัศมีมีเลขลำดับรัชกาลในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นตราประจำโรงเรียน และทำเป็นเข็มประดับหน้าอกสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย[1] มีนักฟุตซอลในตำนานอย่าง นํ้ามนต์ วงศ์สารสิน ฉายา นํ้ามนต์ สิกีบีดี้ ด็อบ
กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศตั้งโรงเรียนราชวินิต มัธยม เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2521 กรมสามัญศึกษาโดย ดร.ก่อ สวัสดิพาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้นเป็นผู้ลงนามืและให้คุณหญิงพวงรัตน วิเวกานนท์ ผู้อำนวยการโรงเรียนราชวินิต (ประถม) รักษาการในตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียนราชวินิต มัธยม อีกตำแหน่งหนึ่ง
ในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2521 กระทรวงศึกษาธิการประกาศยุบเลิกการสอนระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนราชวินิต (ประถม) และให้โอนนักเรียนมัธยมศึกษาระดับ ม.ศ.2 จำนวน 4 ห้องเรียนมาให้โรงเรียนราชวินิต มัธยม[1]
กรมสามัญศึกษา ได้มีคำสั่งให้นางสมจินตนา ภักดิ์ศรีวงศ์ (คุณหญิงสมจินตนา ภักดิ์ศรีวงศ์) อาจารย์ใหญ่โรงเรียนวัดประยูรวงศาวาส มาดำรงตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียนราชวินิต มัธยม
- ปีการศึกษา 2521 อาศัยสถานที่โรงเรียนราชวินิต (ประถม) เป็นที่เรียนชั่วคราว
- ปีการศึกษา 2522 ได้รับงบประมาณ 4,280,000.00 บาท สร้างอาคารเรียนถาวร หน่วยที่ 1 อาคารเรียนชั่วคราว ห้องน้ำ ห้องส้วม 2 หลัง เสาธงถาวร 1 ที่ ณ บริเวณกรมอัศวราช (ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งโรงเรียนราชวินิต มัธยม ใรปัจจุบัน)
- ปีการศึกษา 2523 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนหน่วยที่ 2 ด้วยงบประมาณ 4,000,000.00 บาท และงบประมาณผูกพันในปีการศึกษา 2524 อีก 7,600,000.00 บาท
- 1 เมษายน 2523 ได้ย้ายสถานที่เรียนจากโรงเรียนราชวินิต (ประถม) มาเรียนที่อาคารเรียนของโรงเรียนราชวินิต มัธยม และปรับปรุงโรงเก็บรถม้าพระที่นั่งเป็นอาคารเรียนอีกส่วนหนึ่ง ในปีนี้มีนักเรียนทั้งหมด 1,029 คน ครู - อาจารย์ 54 คน นักการภารโรง 4 คน และมีการสอน เฉพาะมัธยมศึกษาตอนต้น และในปีนี้ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งสมาคมผู้ปกครองและครูขึ้นตามหนังสือจดทะเบียนสมาคม เลขลำดับที่ จ1700 ลงวันที่ 24 เมษายน 2523 มีพันเอกวีระ วิชิตะกุล เป็นนายกสมาคมฯ คนแรก
- ปีการศึกษา 2524 ได้รับอนุญาตให้เปิดทำการสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามหลักสูตรปี 2518 (ม.ศ.4) จำนวน 2 ห้องเรียน และหลักสูตรปี 2524 (ม.4) จำนวน 2 ห้องเรียน
- ปีการศึกษา 2527 ได้เปิดการสอนการศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จระดับ 3, 4, 5 ขึ้น ตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ตามหนังสือ รล 0007/1045 ลงวันที่ 16 ตุลาคม 2527 เพื่อให้ข้าราชการทหารและพลเรือนได้รับการศึกษาเพิ่มเติม[1]
กิจกรรมดีเด่น
วงโยธวาทิตโรงเรียนราชวินิต มัธยม
วงดนตรีไทยโรงเรียนราชวินิต มัธยม
- รางวัลชนะเลิศ การประกวดวงเครื่อสายดนตรีไทย ถ้วยรางวัลพระราชทานพระบาทสมเด็จกระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ คณะกรรมการจัดงาน 5 ธันวามหาราช ครั้งนี้ 22 ประจำปี 2541
- สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานรางวัลชนะเลิศการประกวดประเภทวงปี่พาทย์ไม้นวม ประจำปี 2549 จัดโดย สมาคมศิษย์เก่าชุมพลทหารเรือร่วมกับบ้านดนตรีไทยศรีผ่อง
- สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานรางวัลชนะเลิศการประกวดประเภทวงปี่พาทย์ไม้นวม ประจำปี 2551 จัดโดย มูลนิธิเพื่อการพัฒนาและสันติร่วมกับบ้านดนตรีไทยศรีผ่อง
- พระราชทานรางวัลชนะเลิศ การประกวดบรรเลงดนตรีไทย "ศรทอง" ประเภทขลุ่ยเพียงออ ระดับมัธยมศึกษา จัดโดยมูลนิธิหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)
- ถ้วยพระราชทานระดับเหรียญเงิน การประกวดดนตรีไทยเเละดนตรีพื้นบ้านเพื่อความมั่นคงของชาติ ถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จกระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ จัดโดย กระทรวงวัฒนธรรม
- ประกาศเกียรติคุณ โรงเรียนราชวินิต มัธยม ได้รับคัดเลือกเป็นสถานศึกษาดีเด่นทางวัฒนธรรมด้านดนตรีไทยเเละดนตรีพื้นบ้าน ประจำปี 2559 โดย กระทรวงวัฒนธรรม
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 การประกวดเยาวชนดนตรีไทยในสถานศึกษา ประเภท "ขลุ่ย" ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561
คณะสีของโรงเรียนราชวินิต มัธยม
- คณะบุษราคัม-สีเหลือง
- คณะเพทาย-สีชมพู
- คณะมรกต-สีเขียว
- คณะโกเมน-สีแดง
- คณะไพลิน-สีฟ้า
ผู้อำนวยการโรงเรียนราชวินิต มัธยม
ลำดับ
|
รายนาม
|
วาระการดำรงตำแหน่ง[2]
|
1
|
คุณหญิงพวงรัตน์ วิเวกานนท์
|
26 พฤษภาคม 2521 – 29 กันยายน 2521 (รักษาการ)
|
2
|
คุณหญิงสมจินตนา ภักดิ์ศรีวงศ์
|
29 กันยายน 2521 – 30 พฤศจิกายน 2535
|
3
|
นางสาวสุวรรณา เอมประดิษฐ์
|
29 ตุลาคม 2535 – 13 พฤศจิกายน 2540
|
4
|
นางสาวสุกัญญา สันติพัฒนาชัย
|
3 ธันวาคม 2540 – 5 ตุลาคม 2547
|
5
|
นางสาวจริมศรี เพ็ชรกุล
|
8 ตุลาคม 2547 – 30 กันยายน 2551
|
6
|
นายไพรัช กรบงกชมาศ
|
29 ตุลาคม 2551 – 30 กันยายน 2553
|
|
นายธรรมิก ธรรมสโรช
(รักษาการในตำแหน่ง)
|
1 ตุลาคม 2553 – 16 พฤศจิกายน 2554
|
7
|
ดร.บุญธรรม พิมพาภรณ์
|
17 พฤศจิกายน 2554 – 30 กันยายน 2557
|
8
|
นายณรงค์ คงสมปราชญ์
|
7 พฤศจิกายน 2557 – 25 มกราคม 2560
|
9
|
ดร.เทพฤทธิ์ ยอดใส
|
25 มกราคม 2560 – ปัจจุบัน
|
สถานที่สำคัญใกล้เคียง
สถานศึกษาใกล้เคียง
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
13°45′35″N 100°31′04″E / 13.759760°N 100.517770°E / 13.759760; 100.517770
|
---|
|
|
(†)เฉพาะระดับมัธยมศึกษาปลาย (^)ชายล้วน (*)หญิงล้วน |