ทุ่งครุ เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพทั่วไปเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อยและหนาแน่นปานกลาง โดยมีพื้นที่ทำการเกษตรเป็นหลักทางทิศตะวันตกเฉียงใต้
ที่ตั้งและอาณาเขต
เขตทุ่งครุตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของฝั่งธนบุรี มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตจอมทองและเขตราษฎร์บูรณะ มีลำรางสาธารณะ คลองกอไผ่ขวด ลำรางสาธารณะ คลองตาเทียบ คลองราษฎร์บูรณะ คลองข้างโรงเรียนขจรโรจน์ ลำรางสาธารณะ คลองแจงร้อน และลำรางสาธารณะเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอพระประแดง (จังหวัดสมุทรปราการ) มีคลองบางพึ่ง ลำรางสาธารณะ คลองขุดเจ้าเมือง และคลองรางใหญ่เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอพระสมุทรเจดีย์ (จังหวัดสมุทรปราการ) มีคลองบางจาก คลองกะออมใน คลองท่าเกวียน คลองตาสน และคลองกะออมเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตบางขุนเทียน มีคลองรางแม่น้ำและคลองบางมดเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติ
เดิมทุ่งครุมีฐานะเป็น ตำบลทุ่งครุ ขึ้นอยู่กับอำเภอราษฎร์บูรณะ จังหวัดธนบุรี ต่อมาอำเภอราษฎร์บูรณะได้ถูกโอนไปขึ้นกับจังหวัดพระประแดงอยู่ช่วงหนึ่ง จนกระทั่งจังหวัดนี้ถูกยุบลงเป็นอำเภอในจังหวัดสมุทรปราการ อำเภอราษฎร์บูรณะรวมทั้งตำบลทุ่งครุจึงกลับมาอยู่ในการปกครองของจังหวัดธนบุรีอีกครั้ง และภายหลังได้มีการยุบรวมจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนคร เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้เปลี่ยนการเรียกชื่อตำบลและอำเภอใหม่ด้วย ตำบลทุ่งครุจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงทุ่งครุ ขึ้นกับสำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ จนกระทั่งวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยจัดตั้ง เขตทุ่งครุ ขึ้น โดยแบ่งพื้นที่ทางทิศใต้ของเขตราษฎร์บูรณะออกมา 2 แขวง
การแบ่งเขตการปกครอง
ท้องที่เขตทุ่งครุแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 2 แขวง โดยมีคลองราชพฤกษ์และคลองสะพานควายเป็นเส้นแบ่งเขต ได้แก่
หมาย เลข |
อักษรไทย |
อักษรโรมัน |
พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2566) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2566) |
แผนที่
|
1. |
บางมด |
Bang Mot |
12.765 |
55,029 |
4,310.93 |
|
2. |
ทุ่งครุ |
Thung Khru |
17.976 |
69,064 |
3,842.01
|
ทั้งหมด |
30.741 |
124,093 |
4,036.73
|
ประชากร
สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตทุ่งครุ[2]
|
ปี (พ.ศ.) |
ประชากร |
การเพิ่มและการลด
|
2541 |
84,561 |
แบ่งเขต
|
2542 |
87,609 |
+3,048
|
2543 |
90,427 |
+2,818
|
2544 |
93,496 |
+3,069
|
2545 |
97,164 |
+3,668
|
2546 |
101,254 |
+4,090
|
2547 |
104,828 |
+3,574
|
2548 |
107,609 |
+2,781
|
2549 |
110,469 |
+2,860
|
2550 |
111,621 |
+1,152
|
2551 |
113,008 |
+1,387
|
2552 |
114,180 |
+1,172
|
2553 |
115,131 |
+951
|
2554 |
115,823 |
+692
|
2555 |
116,523 |
+700
|
2556 |
117,662 |
+1,139
|
2557 |
119,349 |
+1,687
|
2558 |
120,613 |
+1,264
|
2559 |
120,976 |
+363
|
2560 |
121,833 |
+857
|
2561 |
122,296 |
+463
|
2562 |
123,048 |
+752
|
2563 |
123,700 |
+652
|
2564 |
123,392 |
-308
|
2565 |
123,761 |
+369
|
2566 |
124,093 |
+332
|
การคมนาคม
ในพื้นที่เขตทุ่งครุมีทางสายหลัก ได้แก่
- ถนนประชาอุทิศ ตั้งแต่คลองข้างโรงเรียนขจรโรจน์จนถึงคลองบางจาก (สิ้นสุดเขตกรุงเทพมหานคร)
- ถนนกาญจนาภิเษก ตั้งแต่คลองบางมด จนถึงคลองขุดเจ้าเมือง(สิ้นสุดเขตกรุงเทพมหานคร)
ทางสายรองได้แก่
สถานที่สำคัญ
มหาวิทยาลัย
โรงเรียน
วัด
อื่น ๆ
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
สถานที่ใกล้เคียงกับเขตทุ่งครุ |
---|
|
|
---|
แขวง | | |
---|
ประวัติศาสตร์ | |
---|
ภูมิศาสตร์ | |
---|
เศรษฐกิจ | |
---|
สังคม | |
---|
|
|