อิสยาห์ 2
อิสยาห์ 2 (อังกฤษ: Isaiah 2) เป็นบทที่ 2 ของหนังสืออิสยาห์ในคัมภีร์ฮีบรูหรือพันธสัญญาเดิมในคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์[1] หนังสืออิสยาห์ประกอบด้วยเนื้อหาคำเผยพระวจนะซึ่งถือกันว่าเป็นผลงานของผู้เผยพระวจนะอิสยาห์ และเป็นหนังสือเล่มหนึ่งในหมวดหนังสือผู้เผยพระวจนะ[2] ต้นฉบับบทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู บทแบ่งออกเป็น 22 วรรค พยานต้นฉบับบางสำเนาต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูมีลักษณะเป็นต้นฉบับเมโซเรติก (Masoretic Text) ได้แก่ ฉบับไคโร (Codex Cairensis; ค.ศ. 895) หนังสือผู้เผยพระวจนะฉบับปีเตอส์เบิร์ก (Petersburg Codex of the Prophets; ค.ศ. 916) ฉบับอะเลปโป (Aleppo Codex; ศตวรรษที่ 10) และฉบับเลนินกราด (Leningrad Codex; ค.ศ. 1008)[3] ชิ้นส่วนที่มีข้อความบางส่วนของบทนี้ในภาษาฮีบรูถูกพบในม้วนหนังสือเดดซี (ศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาลหรือหลังจากนั้น) ได้แก่:[4]
ยังมีฉบับแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) บางสำเนาต้นฉบับที่หลงเหลือในเซปทัวจินต์ ได้แก่ ฉบับวาติกัน (Codex Vaticanus; B; B; ศตวรรษที่ 4) ฉบับซีนาย (Codex Sinaiticus; S; BHK: S; ศตวรรษที่ 4) ฉบับอะเล็กซานเดรีย (Codex Alexandrinus; A; A; ศตวรรษที่ 5) และฉบับมาร์ชาล (Codex Marchalianus; Q; Q; ศตวรรษที่ 6)[5] การอ้างอิงในพันธสัญญาเดิมมีคาห์ 4:1 -3 คล้ายมากกับอิสยาห์ 2:2-4[6] ภูเขาแห่งพระนิเวศของพระยาห์เวห์ (2:1–4)ส่วนนี้เป็นจุดเริ่มต้นของคำเผยพระวจนะซึ่งประกอบด้วยบทที่ 2-4 โดยมีเนื้อหาพื้นฐานเกี่ยวกับอนาคตอันรุ่งโรจน์ของเยรูซาเล็ม[7] วรรค 1
คำนำใหม่ที่แทรกตรงนี้อาจใช้เพื่อเน้นความเริ่มแรกของคำเผยพระวจนะนี้ว่าเป็นของอิสยาห์ เนื่องจากคำเผยพระวจนะที่ตามมา (วรรค 2-4) ก็พบได้ในหนังสือมีคาห์โดยมีความแตกต่างกันเล็กน้อย วรรค 2
คำเผยพระวจนะในวรรค 2-4 มีความคล้ายคลึงกับมีคาห์ 4:1 -3 และมีข้อสรุปที่ต่างออกไป[6] วรรค 3
วรรค 4
หลายคำพูดและขบวนการที่เกี่ยวข้องกับสันติภาพและการประยุกต์เทคโนโลยีการทหารเพื่อการใช้งานอย่างสันติได้นำวลี "ตีดาบให้เป็นผาลไถนา" มาใช้ วรรคนี้ตรงกันข้ามกับโยเอล 3:10 -9 ซึ่งผาลไถนาและขอลิดแขนงถูกตีเป็นดาบและทวน เนื่องจากเกี่ยวข้องกับ 'ความจำเป็นที่ต้องรบอย่างต่อเนื่อง'[6] วันแห่งพระยาห์เวห์ (2:5–22)
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
บรรณานุกรม
แหล่งข้อมูลอื่นศาสนายูดาห์ศาสนาคริสต์ |
Portal di Ensiklopedia Dunia