วัคซีนต้านโควิด-19
ขวดวัคซีนที่สถาบันเซรุ่มแห่งอินเดียผลิต วางตลาดมีตราสินค้า เป็น Covishield ในอินเดีย และประเทศอื่น ๆ[ 5]
วัคซีนโควิด-19 ของออกซฟอร์ด-แอสตร้าเซนเนก้า อันมีชื่อรหัสว่า AZD1222 [ 7]
มีตราสินค้า ต่าง ๆ รวมทั้ง Covishield [ 16]
และ Vaxzevria [ 3] [ 17]
เป็นวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ใช้ไวรัสเป็นเวกเตอร์หรือเป็นพาหะ และฉีดเข้าในกล้ามเนื้อ เพื่อป้องกันโรคโควิด-19
มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด และบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า ได้พัฒนาขึ้นโดยใช้อะดีโนไวรัส ของชิมแปนซี ที่ได้ดัดแปลงพันธุกรรม ชื่อว่า ChAdOx1[ 18] [ 19] [ 20] [ 21]
งานศึกษาที่ทำในปี 2020 พบประสิทธิศักย์ ของวัคซีน ที่ร้อยละ 76 ในการป้องกันโรคที่แสดงอาการเริ่มตั้งแต่วันที่ 22 หลังจากฉีดโดสแรกและร้อยละ 81.3 หลังจากฉีดโดสที่สอง[ 22]
ส่วนงานวิเคราะห์ในปี 2021 พบว่า สำหรับการติดเชื้อที่แสดงอาการ หลังจากได้โดสที่สอง วัคซีนมีประสิทธิภาพร้อยละ 66 ต่อสายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) และร้อยละ 60 ต่อสายพันธุ์เดลตา (อินเดีย)[ 23]
วัคซีนปลอดภัยดี มีผลข้างเคียง เป็นความเจ็บปวด ที่จุดฉีด ปวดหัว คลื่นไส้ ทั้งหมดปกติจะหายไปเองภายใน 2-3 วัน [ 24]
ที่เกิดน้อยกว่ารวมการแพ้วัคซีนอย่างรุนแรงคือแอนาฟิแล็กซิส (อังกฤษมีรายงาน 268 กรณี จากการฉีดวัคซีน 21.2 ล้านโดส จนถึงวันที่ 14 เมย. 2021)[ 24]
ในกรณีที่มีน้อยมาก (น้อยกว่า 1 ในแสนคน) วัคซีนสัมพันธ์กับการเกิดลิ่มเลือดบวกกับเกล็ดเลือดที่ลดลงต่ำ [ 25] [ 26]
สำนักงานการแพทย์ยุโรป (European Medicines Agency, EMA) ระบุว่า จนถึงวันที่ 4 เมย. 2021 มีกรณีเกิดลิ่มเลือด 222 กรณี ภายในเขตเศรษฐกิจยุโรป และสหราชอาณาจักร จากคน 34 ล้านคน ที่ได้ฉีดวัคซีน[ 27]
ในวันที่ 30 ธันวาคม 2020 สหราชอาณาจักรเป็นประเทศแรกที่ได้อนุมัติให้ใช้วัคซีน[ 15] [ 28] [ 29]
โดยฉีดวัคซีนนอกการทดลองเป็นเข็มแรกในวันที่ 4 มกราคม 2021[ 30]
หลังจากนั้น องค์กรต่าง ๆ ทั่วโลกจึงได้อนุมัติให้ใช้วัคซีนรวมทั้งสำนักงานการแพทย์ยุโรป (EMA)[ 3] [ 14]
องค์กรควบคุมของออสเตรเลีย (TGA)[ 1]
และองค์การอนามัยโลก [ 31]
จนถึงวันที่ 27 เมษายน 2021 วัคซีนนี้ได้รับอนุญาตให้ใช้ในประเทศ 137 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย
ประเทศบางประเทศได้จำกัดให้ใช้วัคซีนเฉพาะในคนสูงอายุเท่านั้น เพราะผลไม่พึงประสงค์ของวัคซีนที่อาจมีในคนอายุน้อยกว่าแม้จะเกิดน้อยมาก[ 32]
ในกลางเดือนพฤศจิกายน 2020 คณะรัฐมนตรีไทย ได้อนุมัติงบประมาณ 6,000 ล้านบาท เพื่อสั่งจองวัคซีนจากบริษัทจำนวน 26 ล้านโดส โดยจะซื้อในราคา 5 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 151 บาท) ต่อโดส และที่เหลือ (ประมาณ 2,000 ล้านบาท ) จะใช้เพื่อดำเนินการและเก็บรักษา[ 33]
จนถึงปลายเดือนเมษายน 2021 พบว่า ไทยได้สั่งวัคซีนชนิดนี้รวมทั้งหมดแล้ว 61 ล้านโดส [ 34] [ 35]
โดยรัฐบาลต้องการให้ส่งวัคซีนในเดือน มิ.ย. 6 ล้านโดส , เดือน ก.ค.-พ.ย. เดือนละ 10 ล้านโดส และเดือน ธ.ค. อีก 6 ล้านโดส ทั้งหมดรวมเป็น 61 ล้านโดส [ 36] [ 37]
ซึ่งพอสำหรับประชากร 30.5 ล้านคน คือประมาณร้อยละ 44 ของประชากรประมาณ 69.56 ล้านคน
ต่อมาในเดือนกรกฎาคม 2021 จึงปรากฏว่า บริษัทมีแผนจะส่งวัคซีนให้แก่ไทยเดือนละ 5-6 ล้านโดส เท่านั้น[ 38] [ 39] ดังนั้น วัคซีนทั้งหมดอาจส่งไม่ครบจนกระทั่งเดือนพฤษภาคม 2022[ 40]
จนถึงวันที่ 18 กรกฎาคม 2021 ประเทศไทยได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าทั้งหมด 8,193,500 โดส คือญี่ปุ่น บริจาคให้ 1,053,000 โดสและบริษัทส่งให้ที่เหลือ 7,140,500 โดสโดยส่ง 1,651,100 โดส ให้ในเดือนกรกฎาคม[ 41] [ 42]
การใช้ทางการแพทย์
วัคซีนใช้ต้านการติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 เพื่อป้องกันโรคโควิด-19 ในผู้ใหญ่ ผู้มีอายุ 18 ปีขึ้น[ 3]
โดยฉีดโดสละ 0.5 มล. 2 โดสในกล้ามเนื้อเดลทอยด์ (ต้นแขน) ซึ่งห่างกัน 4-12 สัปดาห์ แต่องค์การอนามัยโลก ก็แนะนำให้ฉีดโดสที่สอง 8-12 สัปดาห์ หลังโดสแรกเพื่อให้ได้ประสิทธิผลสูงสุด
ไม่มีหลักฐานว่าจำเป็นต้องฉีดบูสต์เป็นเข็มที่ 3[ 43]
ประสิทธิภาพของวัคซีน
ข้อมูลเบื้องต้นจากงานศึกษาสถานการณ์จริงในเมือง Botucatu ประเทศบราซิล ที่แกมมา เป็นสายพันธุ์หลักแสดงประสิทธิภาพลดการติดเชื้อที่แสดงอาการได้ถึง 71% หลังจากประชากรทั้งหมด 81% (จากประมาณ 148,130 คน) ได้วัคซีนโดสแรก[ 50]
ประสิทธิศักย์ของวัคซีน
งานวิเคราะห์ที่ตีพิมพ์วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2021 แสดงประสิทธิศักย์ของวัคซีน ที่ร้อยละ 76 ในการป้องกันการติดเชื้อแบบแสดงอาการโดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 22 วันหลังจากโดสแรก และเพิ่มเป็นร้อยละ 81.3 เมื่อฉีดโดสที่สอง 12 สัปดาห์ หรือยิ่งกว่าหลังจากโดสแรก[ 22]
ในวันที่ 22 พฤษภาคม สำนักงานสาธารณสุขอังกฤษ (Public Health England หรือพีเอชอี) ได้ตีพิมพ์ผลการวิเคราะห์ว่า หลังจากได้โดสที่สองสำหรับการติดเชื้อที่แสดงอาการ วัคซีนมีประสิทธิภาพร้อยละ 66 ต่อสายพันธุ์ B.1.1.7 (อังกฤษ) และร้อยละ 60 ต่อสายพันธุ์ B.1.617.2 (อินเดีย)[ 23] [ 22]
ข้อห้ามใช้
วัคซีนนี้ไม่ควรให้แก่คนที่มีโรคเส้นเลือดฝอยรั่ว (capillary leak syndrome)[ 51]
ผลไม่พึงประสงค์
ในการทดลองทางคลินิก ผลข้างเคียงที่สามัญปกติจะมีอาการอ่อนจนถึงปานกลาง และดีขึ้นเองภายใน 2-3 วัน หลังฉีดวัคซีน[ 52]
การอาเจียน ท้องเสีย อาการบวมแดงที่จุดฉีด และการมีเกล็ดเลือด ต่ำเกิดกับคนน้อยกว่า 1 ใน 10[ 52]
ส่วนต่อมน้ำเหลือง บวม ความไม่อยากอาหาร เวียนศีรษะ ง่วงนอน เหงื่อออก ปวดท้อง คัน และเป็นผื่น เกิดกับคนน้อยกว่า 1 ใน 100 คน [ 52]
ในกรณีที่มีน้อยมาก (น้อยกว่า 1 ในแสน) วัคซีนก่อลิ่มเลือดพร้อมกับอาการเกล็ดเลือดน้อย [ 26]
องค์กรควบคุมเวชภัณฑ์ (MHRA) ของสหราชอาณาจักรระบุว่า จนถึงวันที่ 14 เมย. 2021 มีการเกิดลิ่มเลือดพร้อมกับเกล็ดเลือดน้อย 7.9 กรณี หลังฉีดวัคซีน 1 ล้านโดส (น้อยกว่า 1 ในแสนคน)[ 24]
เหมือนกับวัคซีนอื่น ๆ แอนาฟิแล็กซิส และปฏิกิริยาแพ้อื่น ๆ เป็นผลข้างเคียงอย่างหนึ่งของวัคซีน จึงต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิด[ 53] [ 52]
สำนักงานการแพทย์ยุโรป (EMA) ประเมินว่า มีกรณีแอนาฟิแล็กซิส 41 กรณี เนื่องกับการฉีดวัคซีน 5 ล้านโดส ในสหราชอาณาจักร[ 53] [ 54]
วัคซีนอาจมีผลให้เส้นเลือดฝอยรั่ว[ 51]
สำนักงานการแพทย์ยุโรปยังระบุกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร (GBS ) ว่าเป็นผลข้างเคียงที่มีน้อยมากของ Vaxzevria จึงให้มีคำเตือนในแผ่นผลิตภัณฑ์ของวัคซีน[ 55]
เภสัชวิทยา
วัคซีนโควิด-19 ของออกซฟอร์ด-แอสตร้าเซนเนก้าเป็นวัคซีนที่ใช้เวกเตอร์เป็นอะดีโนไวรัส ของชิมแปนซี ซึ่งไม่สามารถแพร่พันธุ์ได้
เวกเตอร์มีลำดับยีนสำหรับโปรตีนหนาม (spike) ของไวรัสโควิด-19 ที่สมบูรณ์และทำให้แสดงออก ได้อย่างมีประสิทธิภาพสุด (codon-optimized) ประกอบกับลำดับยีนนำ (leader sequence) คือ tissue plasminogen activator (tPA)[ A] [ 56] [ 57]
อะดีโนไวรัสแพร่พันธุ์ไม่ได้ก็เพราะได้ลบยีน สำคัญออกแล้วแทนที่ด้วยยีนที่เข้ารหัสโปรตีนหนาม (spike protein) ของไวรัสโควิด-19
หลังจากฉีดวัคซีน อะดีโนไวรัสซึ่งเป็นเวกเตอร์ก็จะเข้าไปในเซลล์แล้วปล่อยยีน ซึ่งก็จะนำส่งไปยังนิวเคลียสของเซลล์ ต่อไป
แล้วกลไกของเซลล์ก็จะถอดรหัสยีน เป็นเอ็มอาร์เอ็นเอ แล้วแปลรหัส เป็นโปรตีนหนาม[ 58]
โปรตีนสำคัญก็คือโปรตีนหนาม (spike protein) ซึ่งเป็นโปรตีนด้านนอกที่ทำให้ไวรัสโคโรนา ในกลุ่ม SARS สามารถเข้าไปในเซลล์ผ่าน enzymatic domain ของเอนไซม์ ที่ผิวเซลล์ คือ ACE2 (Angiotensin-converting enzyme 2) ได้[ 59]
การผลิตโปรตีนชนิดนี้ของเซลล์หลังได้ฉีดวัคซีนจะกระตุ้นให้ภูมิคุ้มกัน เข้าไปโจมตีไวรัสโคโรนาที่ติดจริง ๆ ในภายหลังโดยอาศัยสารภูมิต้านทาน และเซลล์เม็ดเลือดขาว (T-cell)[ 6]
การผลิต
วัคซีนเสถียรในอุณหภูมิ ตู้เย็น แช่ยาธรรมดาและมีราคาขายให้ประเทศตะวันตกเป็นต้นประมาณ 3-4 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อโดส (ประมาณ 94-125 บาท )[ 60]
ในวันที่ 17 ธันวาคม 2020 ทวีต ของรัฐมนตรีงบประมาณ แผ่นดิน ของประเทศเบลเยียม เปิดเผยว่า สหภาพยุโรป จะซื้อวัคซีนในราคา 2.16 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อโดส (ประมาณ 68 บาท) ซึ่งหนังสือพิมพ์สหรัฐเดอะนิวยอร์กไทมส์ คาดว่า ราคาซื้อที่ถูกกว่าสหรัฐซื้ออาจเกี่ยวกับการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อผลิตวัคซีนของสหภาพยุโรป[ 61]
เป็นวัคซีนอันมีราคาถูกที่สุดซึ่งตกลงขายให้แก่สหภาพยุโรป โดยวัคซีนราคาสูงสุดคือวัคซีนของโมเดิร์นา (โดสละ 564 บาท)[ 62]
จนถึงเดือนมีนาคม 2021 สารออกฤทธิ์ของวัคซีนคือ ChAdOx1-SARS-COV-2 กำลังผลิตในโรงงานต่าง ๆ หลายแห่งในโลก[ 63]
ซึ่งแอสตร้าเซนเนก้าระบุว่ามี 25 แห่งในประเทศ 15 ประเทศ [ 64]
รวมทั้งโรงงานของบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ในจังหวัดนนทบุรี [ 65]
โรงงานในสหราชอาณาจักรอยู่ที่เมืองออกซฟอร์ด และคีล โดยมีโรงงานบรรจุขวดปิดป้ายที่เร็กซ์แฮม[ 63]
โรงงานอื่น ๆ รวมทั้งสถาบันเซรุ่มแห่งอินเดียในเมืองปูเน (อินเดีย )[ 63]
และโรงงานในเมืองไลเดิน (เนเธอร์แลนด์ ) อันเป็นโรงงาน 1 ใน 3 แห่ง ที่ได้รับอนุมัติในสหภาพยุโรป[ 66]
ประวัติ
วัคซีนสร้างขึ้นอาศัยการร่วมมือกันระหว่างสถาบันเจนเนอร์ (Jenner Institute) แห่งมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด และแวกซี่เทค (Vaccitech) ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนที่มีรากฐานจากมหาวิทยาลัย โดยได้ทุนจากบริษัทร่วมลงทุน Oxford Sciences Innovation, Google Ventures และ Sequoia Capital เป็นต้น[ 67]
วัคซีนชุดแรก ๆ ที่ผลิตเพื่อทดลองทางคลินิก ได้พัฒนาขึ้นโดยสถาบันเจนเนอร์และกลุ่มวัคซีนที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด (Oxford Vaccine Group) โดยร่วมมือกับบริษัทอิตาลี Advent Srl ในกรุงโรม [ 68]
ผู้นำทีมเด่น ๆ รวมทั้ง Sarah Gilbert, Adrian Hill, Andrew Pollard, Teresa Lambe, Sandy Douglas และ Catherine Green[ 69] [ 68]
การพัฒนาระยะต้น ๆ
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2020 สถาบันเจนเนอร์ได้ตกลงร่วมมือกับบริษัทอิตาลี Advent Srl[ 70]
เพื่อผลิตวัคซีนแคนดิเดต 1,000 โดสแรกให้ใช้ในการทดลองทางคลินิก
ในเดือนมีนาคม 2020[ 71] [ 72]
หลังจากที่มูลนิธิบิลและเมลินดาเกตส์ ได้กระตุ้นให้มหาวิทยาลัยหาผู้ร่วมงานเป็นบริษัทขนาดใหญ่เพื่อพัฒนาและนำวัคซีนเข้าตลาด มหาวิทยาลัยจึงกลับคำมั่นที่ให้ไว้ก่อนว่าจะบริจาคสิทธิวัคซีนให้แก่ผู้ผลิตยาใดก็ได้[ 73]
ต่อจากนั้น รัฐบาลสหราชอาณาจักร ก็สนับสนุนให้มหาวิทยาลัยทำงานร่วมกับแอสตร้าเซนเนก้า แทนที่จะทำกับบริษัทเมอร์ค
เพราะรัฐมนตรีอังกฤษเป็นห่วงว่าวัคซีนที่ผลิตในสหรัฐอาจไม่ส่งให้สหราชอาณาจักร
อนึ่ง อาจมีประเด็นเรื่องผลประโยชน์ด้วยที่ทำให้มหาวิทยาลัยเข้าร่วมมือกับแอสตร้าเซนเนก้า[ 74] [ 75]
มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดได้ตกลงเรื่องสิทธิเบื้องต้นกับบริษัทแอสตร้าเซนเนก้าในเดือนพฤษภาคม 2020 เพื่อให้ผลิตวัคซีน 1 พันล้านโดส โดยไม่มีผลกำไรและสหราชอาณาจักรจะได้รับวัคซีนก่อน 100 ล้านโดส
อนึ่ง สหรัฐก็ได้จองวัคซีน 300 ล้านโดส ด้วยโดยบวกกับการได้สิทธิเพื่อทำการทดลองระยะที่ 3 ในสหรัฐ
รัฐบาลสหราชอาณาจักรได้ให้ทุน 68 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง (ประมาณ 2,695 ล้านบาท ) และรัฐบาลสหรัฐ 1,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 37,236 ล้านบาท ) เพื่อใช้พัฒนาวัคซีน[ 76]
ในเดือนมิถุนายน 2020 สถาบันภูมิแพ้และโรคติดต่อแห่งชาติสหรัฐ (US National Institute of Allergy and Infectious Diseases, NIAID) ได้ยืนยันว่า การทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 สำหรับวัคซีนจะเริ่มในเดือนกรกฎาคม 2020[ 77]
วันที่ 4 มิถุนายน แอสตร้าเซนเนก้าประกาศว่าโปรแกรมโคแวกซ์ ที่องค์การอนามัยโลกบริหารโดยได้รับเงินทุนจากเซพี (CEPI) และกาวี ได้ลงทุน 750 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 23,273 ล้านบาท ) เพื่อจองวัคซีน 300 ล้านโดส ไปแจกจำหน่ายให้แก่ประเทศรายได้น้อย[ 78] [ 79]
การทดลองทางคลินิก
ในเดือนกรกฎาคม 2020 บริษัทได้ร่วมกับบริษัท IQVIA ซึ่งเป็นบริษัทข้ามชาติผู้ทำกิจการในการทดลองทางคลินิก เพื่อเร่งการทดลองในสหรัฐ[ 80]
ในวันที่ 31 สิงหาคม 2020 บริษัทประกาศว่า ได้เริ่มรับอาสาสมัคร 30,000 คนในการทดลองระยะที่ 3 ซึ่งรัฐบาลสหรัฐเป็นผู้ให้ทุน[ 81]
ในวันที่ 8 กันยายน 2020 บริษัทได้หยุดการทดลองทั่วโลกเพื่อตรวจสอบผลไม่พึงประสงค์ ที่เกิดกับอาสาสมัครในสหราชอาณาจักร[ 82] [ 83] [ 84]
ต่อมาวันที่ 13 กันยายน จึงได้ดำเนินการต่อในสหราชอาณาจักร หลังจากเจ้าหน้าที่ควบคุมของรัฐสรุปว่า ปลอดภัย[ 85]
หลังจากนั้น ผู้เชี่ยวชาญได้วิจารณ์ความปลอดภัยของวัคซีนโดยให้ข้อสังเกตว่า บริษัทไม่ยอมให้รายละเอียดเกี่ยวกับปัญหาทางประสาทที่รุนแรงของอาสาสมัครสองคนที่ได้วัคซีนในบริเตน [ 86]
แม้การทดลองจะดำเนินต่อไปในสหราชอาณาจักร บราซิล แอฟริกาใต้ ญี่ปุ่น [ 87]
และอินเดีย แต่ก็ไม่ได้ดำเนินการต่อในสหรัฐจนถึงวันที่ 23 ตุลาคม[ 88]
เพราะกำลังตรวจปัญหากับอาสาสมัครคนหนึ่ง[ 89]
ผลการทดลองระยะที่ 3
ในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2020 มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดและบริษัทแอสตร้าเซนเนก้าได้ประกาศผลในระหว่างการทดลองระยะที่ 3 (interim)[ 90]
โดยวิธีที่ใช้คำนวณประสิทธิศักย์ของวัคซีนก็ถูกวิจารณ์ เพราะรวมค่าอัตราร้อยละ 62 กับร้อยละ 90 จากกลุ่มทดลองต่าง ๆ ที่ได้ยาในขนาดต่าง ๆ จนได้ผลลัพธ์เป็นอัตราร้อยละ 70 [ 91] [ 92] [ 93]
บริษัทจึงกล่าวว่า จะทำการทดลองในประเทศต่าง ๆ โดยใช้ขนาดยาที่ต่ำกว่าซึ่งให้ผลร้อยละ 90 [ 94]
การตีพิมพ์ผลการวิเคราะห์ในระหว่างอย่างสมบูรณ์ในวันที่ 8 ธันวาคม 2020 จากการทดลองที่กำลังทำอยู่ 4 แห่ง ซึ่งเป็นการทดลองแบบอำพราง แบบสุ่ม และมีกลุ่มควบคุม แสดงผลของวัคซีนอย่างชัดเจนขึ้น[ 95]
ในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนโดสแรกเกิน 21 วันแล้ว ไม่มีการเข้า รพ. หรือเกิดโรคที่รุนแรง ไม่เหมือนกับกลุ่มควบคุมที่เกิดกรณีถึง 10 ราย
เหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์และรุนแรงเกิดขึ้นประมาณเท่า ๆ กันระหว่างกลุ่มที่ได้วัคซีนกับกลุ่มควบคุม คือไม่จัดว่าวัคซีนก่ออาการต่าง ๆ เกินอัตราที่มีอยู่โดยธรรมชาติ
มีรายงานว่าเกิด transverse myelitis (TM) กับอาสาสมัครคนหนึ่งหลังจากได้วัคซีนโดสที่สอง โดยอาจเกี่ยวกับวัคซีน และคณะประสาทแพทย์อิสระก็ได้วินิจฉัยว่า น่าจะเกิดความเสียหายที่ปลอกไมอีลิน ของเซลล์ประสาท ในไขสันหลัง (spinal cord demyelination) ช่วงสั้น ๆ ที่ไม่รู้สาเหตุ
มีกรณี TM อีกสองกรณี กรณีหนึ่งในกลุ่มที่ได้วัคซีน อีกกรณีหนึ่งในกลุ่มควบคุม คณะประสาทแพทย์พิจารณาทั้งสองกรณีนี้ว่าไม่เกี่ยวกับการได้วัคซีน[ 95]
งานวิเคราะห์ต่อมาที่ตีพิมพ์วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2021 แสดงประสิทธิศักย์ของวัคซีน ที่ร้อยละ 76 ในการป้องกันการติดเชื้อที่แสดงอาการเริ่มตั้งแต่วันที่ 22 วันหลังจากฉีดโดสแรกและร้อยละ 81.3 หลังจากฉีดโดสที่สองถ้าฉีดโดสที่สอง 12 สัปดาห์ หรือยิ่งกว่าหลังจากโดสแรก[ 22]
แต่ผลไม่ได้แสดงว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อแบบไม่แสดงอาการหลังจากฉีดแค่โดสเดียว [ 22]
เริ่มตั้งแต่วันที่ 14 หลังจากฉีดวัคซีนโดสที่สองตามกำหนดโดยมีระยะเวลาห่างจากโดสแรกต่าง ๆ กัน ผลแสดงว่าวัคซีนมีประสิทธิศักย์ร้อยละ 66.7 ในการป้องกันการติดเชื้อแบบแสดงอาการ แต่การป้องกันการติดเชื้อแบบไม่แสดงอาการก็ไม่ปรากฏผลที่ชัดเจน[ 22]
ประสิทธิศักย์ดีกว่าถ้าระยะเวลาระหว่างโดสมากกว่า โดยสูงสุดราว ๆ ร้อยละ 80 เมื่อให้โดสที่สอง 12 สัปดาห์ หรือยิ่งกว่าหลังจากโดสแรก[ 22]
ในวันที่ 22 มีนาคม 2021 บริษัทประกาศผลในระหว่างของการทดลองระยะที่ 3 ซึ่งทำในสหรัฐและระบุว่า วัคซีนมีประสิทธิศักย์ป้องกันการติดเชื้อแบบแสดงอาการที่ร้อยละ 79 และการติดเชื้อแบบมีอาการรุนแรงและแบบที่ต้องเข้า รพ. เต็มร้อย[ 96]
แต่ในวันต่อมา สถาบันภูมิแพ้และโรคติดต่อแห่งชาติสหรัฐ (NIAID ) ก็ประกาศคัดค้านว่า ผลนั้นอาจอาศัย "ข้อมูลเก่า" ซึ่งอาจทำให้เข้าใจข้อมูลประสิทธิศักย์ ได้อย่างไม่สมบูรณ์[ 97] [ 98] [ 99] [ 100]
บริษัทภายหลังจึงแก้ค่าประสิทธิศักย์ของวัคซีนเหลือร้อยละ 76 หลังจากทบทวนข้อมูลอย่างละเอียดยิ่งขึ้น[ 101]
ในวันที่ 28 มิถุนายน สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานผลเบื้องต้นของงานศึกษากับอาสาสมัครอายุน้อยกว่า 55 ปีจำนวน 120 ราย ที่แสดงว่า การเลื่อนฉีดวัคซีนโดสที่สองไปจนถึง 45 สัปดาห์ ทำให้ภูมิต้านทานตอบสนองได้ดีกว่า และการฉีดวัคซีนบูสต์เป็นโดสที่ 3 หลังจากฉีดวัคซีนครบเป็นเวลา 6 เดือนก็ทำให้ภูมิคุ้มกันตอบสนองได้ดีเช่นกัน
แม้ยังไม่ชัดเจนว่าจำเป็นต้องฉีดวัคซีนบูสต์ แต่ผลงานศึกษาช่วยแก้ความกังวลว่า ร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานต่อไวรัสที่ใช้เป็นเวกเตอร์ ของวัคซีน ซึ่งก็จะลดฤทธิ์ของวัคซีนที่อาจต้องฉีดทุก ๆ ปี[ 102]
ประสิทธิภาพของวัคซีนโดสเดียว
ประเทศสกอตแลนด์ ทำงานศึกษาหนึ่งเกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีนไฟเซอร์-ไบออนเทค หรือของออกซฟอร์ด-แอสตร้าเซนเนก้าโดสแรก สัมพันธ์กับการเข้ารักษาในโรงพยาบาลโดยเป็นงานศึกษาตามรุ่นตามแผน (prospective cohort study) กับคนในประเทศ 5.4 ล้านคน
ในระหว่างวันที่ 8 ธค. 2020 ถึง 15 กพ. 2021 มีผู้ได้รับวัคซีนในงานศึกษานี้ 1,137,775 คนโดย 490,000 คนได้วัคซีนของออกซฟอร์ด -แอสตร้าเซนเนก้า
ซึ่งลดการเข้ารักษาเนื่องกับโควิดใน รพ. ได้ร้อยละ 94 หลังจากได้วัคซีนโดสเดียวที่ 28-34 วัน
เมื่อรวมวัคซีนเข้าทั้งสองอย่าง วัคซีนโดสแรกลดการเข้ารักษาใน รพ. เนื่องกับโควิดได้อย่างสำคัญ ซึ่งก็ยังเป็นจริงเมื่อจำกัดการวิเคราะห์กับคนที่มีอายุ ≥80 ปี ด้วย (ลดได้ร้อยละ 81 )
โดยคนที่มีอายุเกิน 65 ปีโดยมากได้รับวัคซีนของออกซฟอร์ด-แอสตร้าเซนเนก้า[ 103]
วัคซีนฉีดทางจมูก
ในวันที่ 25 มีนาคม 2021 มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดได้เริ่มการทดลองทางคลินิกระยะที่ 1 เพื่อตรวจประสิทธิศักย์ของวัคซีน ที่ฉีดเข้าทางจมูก[ 104] [ 105]
การขึ้นทะเบียน
ประเทศกานา ฉีดวัคซีนที่โปรแกรมโคแวกซ์ ส่งให้
ประเทศแรกที่ให้อนุมัติเป็นการชั่วคราวหรือเป็นการฉุกเฉินสำหรับวัคซีนนี้ก็คือ สหราชอาณาจักร
คือองค์กรควบคุมเวชภัณฑ์ (MHRA) ของประเทศเริ่มทบทวนข้อมูลประสิทธิศักย์และความปลอดภัยของวัคซีนตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2020[ 107]
แล้วอนุมัติให้ใช้ในวันที่ 30 ธันวาคม 2020 เป็นวัคซีนที่สองที่ได้อนุมัติให้ใช้ฉีดแก่ประชาชนทั่วไปในประเทศ[ 108]
สำนักข่าวบีบีซี รายงานในวันที่ 4 มกราคม 2021 ว่า ชายอายุ 82 ปีเป็นบุคคลแรกที่ได้รับวัคซีนนี้นอกงานวิจัยทางคลินิก[ 30]
ในวันที่ 12 มกราคม 2021 สำนักงานการแพทย์ยุโรป (EMA) ได้เริ่มทบทวนข้อมูลวัคซีนโดยระบุในแถลงการณ์ข่าวว่า องค์กรจะออกคำแนะนำในวันที่ 29 มกราคม โดยคณะกรรมาธิการยุโรป ก็อาจจะให้อนุมัติวางตลาดขายอย่างมีเงื่อนไขภายในไม่กี่วันต่อมา[ 109]
ในวันที่ 29 มกราคม สำนักงานการแพทย์ยุโรปจึงแนะนำให้อนุมัติวัคซีนสำหรับบุคคลอายุ 18 ปีหรือยิ่งกว่า[ 3] [ 13]
ซึ่งคณะกรรมาธิการยุโรปก็ให้อนุมัติในวันเดียวกัน[ 14] [ 110]
แต่ก่อนหน้านี้ สมาชิกสหภาพยุโรป ประเทศหนึ่งคือฮังการี ได้ขึ้นทะเบียนวัคซีนก่อนโดยทำเองต่างหาก[ 111]
ประเทศที่องค์การอนามัยโลกจัดว่ามีกฎเคร่งครัดในการอนุมัติเวชภัณฑ์ (stringent regulatory authorities) มีการอนุมัติวัคซีนนี้ดังนี้
อนุมัติและใช้วัคซีน
ออสเตรเลีย
ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปต่าง ๆ รวมทั้งออสเตรีย เบลเยียม บัลแกเรีย ไซปรัส เช็กเกีย เอสโตเนีย ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ฮังการี ไอร์แลนด์ อิตาลี ลัตเวีย ลิกเตนสไตน์ ลิทัวเนีย ลักเซมเบิร์ก มอลตา เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ โปรตุเกส โรมาเนีย สโลวีเนีย สเปน สวีเดน (ยกเว้นเดนมาร์ก ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ สโลวาเกีย)
แคนาดา
สหราชอาณาจักร
อนุมัติแต่ได้ระงับการใช้วัคซีนอย่างไม่มีกำหนด
ยังไม่ได้อนุมัติ
การระงับใช้วัคซีน
แอฟริกาใต้
ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2021 โปรแกรมการฉีดวัคซีนนี้ให้แก่ประชาชนได้หยุดชั่วคราวในแอฟริกาใต้
เพราะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยของรัฐ (University of Witwatersrand) ในกรุงโจฮันเนสเบิร์ก ได้ตีพิมพ์ผลวิเคราะห์ในระหว่างที่ยังไม่ได้ทบทวนโดยผู้รู้เสมอกัน ว่า วัคซีนมีผลป้องกันเพียงเล็กน้อยแม้ต่อโรคที่มีอาการน้อยหรือปานกลางในคนอายุน้อย[ 118] [ 119]
วันต่อมา สำนักข่าวบีบีซี รายงานว่า ผู้อำนวยการ หน่วยภูมิคุ้มกันที่องค์การอนามัยโลก ระบุว่า เธอรู้สึกว่า "เป็นไปได้จริง ๆ" ที่วัคซีนนี้มี "ผลสำคัญ" ต่อเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์แอฟริกาใต้ โดยเฉพาะการป้องกันโรคที่รุนแรงและการตาย[ 120]
ข่าวเดียวกันระบุว่า ผู้ช่วยแพทย์ผู้ปรึกษาทางการแพทย์สูงสุด (Deputy Chief Medical Officer for England) ของสหราชอาณาจักรกล่าวว่า งานศึกษานี้ไม่ได้เปลี่ยนความเห็นของเขาว่า วัคซีนนี้ "น่าจะ" มีผลต่อโรคอาการรุนแรงเหตุไวรัสสายพันธุ์แอฟริกาใต้[ 120]
ต่อมารัฐบาลแอฟริกาใต้จึงได้ระงับการใช้วัคซีนนี้โดยสิ้นเชิง
ยุโรป
ในวันที่ 3 มีนาคม 2021 ออสเตรียหยุดการใช้วัคซีนล็อตหนึ่งชั่วคราวหลังมีคน 2 คนที่เกิดลิ่มเลือดหลังฉีดวัคซีนโดยคนหนึ่งเสียชีวิต[ 122]
รวม ๆ กันแล้ว มีกรณีเกิดลิ่มเลือด 4 กรณี ในการฉีดวัคซีนชุดเดียวกัน 1 ล้านโดส [ 122]
แม้จะไม่พบความสัมพันธ์โดยเป็นเหตุและผล[ 123]
ประเทศอื่น ๆ รวมทั้งเดนมาร์ก[ 124]
นอร์เวย์[ 124]
ไอซ์แลนด์[ 124]
บัลแกเรีย[ 125]
ไอร์แลนด์[ 126]
อิตาลี[ 123]
สเปน[ 127]
เยอรมนี[ 128]
ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์[ 129]
และสโลวีเนีย[ 130]
ก็ได้หยุดใช้วัคซีนชั่วคราวเพื่อให้สำนักงานการแพทย์ยุโรป (EMA) ทบทวนข้อมูลความปลอดภัยในกรณีเหล่านี้
ในเดือนเมษายน 2021 สำนักงานการแพทย์ยุโรปได้ทบทวนความปลอดภัยเสร็จสิ้นโดยสรุปว่า การมีลิ่มเลือดบวกกับเกล็ดเลือดน้อยควรระบุว่าเป็นผลข้างเคียงที่มีน้อยมาก (very rare) โดยยังยืนยันประโยชน์ในภาพรวมของวัคซีน[ 27] [ 131]
หลังจากแถลงการณ์นี้ ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปจึงได้ฉีดวัคซีนต่อไปโดยบางส่วนได้จำกัดการใช้กับเฉพาะคนชราที่เสี่ยงป่วยหนักจากโควิด-19[ 32] [ 132]
ในวันที่ 11 มีนาคม 2021 รัฐบาลนอร์เวย์ ได้ระงับการใช้วัคซีนนี้อย่างชั่วคราวเพื่อรอให้ได้ข้อมูลเพิ่มเกี่ยวกับผลไม่พึงประสงค์ของวัคซีน
ต่อมาวันที่ 15 เมษายน สถาบันสาธารณสุขแห่งชาตินอร์เวย์แนะนำให้รัฐบาลระงับใช้วัคซีนนี้อย่างถาวรเพราะ "เหตุการณ์ที่มีน้อยแต่รุนแรงคือการมีเกล็ดเลือดต่ำ การเกิดลิ่มเลือด และการตกเลือด" เพราะสำหรับประเทศนอร์เวย์ "ความเสี่ยงตายหลังจากฉีดวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้า นั้นสูงกว่าความเสี่ยงตายจากโรค โดยเฉพาะในคนผู้มีอายุน้อยกว่า"[ 133]
รัฐบาลจึงประกาศว่าจะรอตัดสินใจแล้วตั้งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญให้ทำการประเมินรวม ๆ ในเรื่องความปลอดภัยของวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า และวัคซีนของจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (ซึ่งเป็นวัคซีนที่ใช้อะดีโนไวรัสเป็นเวกเตอร์เช่นกัน)[ 134] [ 135]
ในวันที่ 10 พฤษภาคม คณะผู้เชี่ยวชาญก็แนะนำให้หยุดใช้วัคซีนทั้งสองชนิด[ 136]
ในที่สุดวันที่ 12 มีนาคมหลังจากได้หยุดใช้เป็นเวลาสองเดือน นายกรัฐมนตรีของนอร์เวย์ก็ประกาศว่า จะเลิกใช้วัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าเพื่อฉีดให้ประชาชน โดยผู้ที่ได้วัคซีนนี้เข็มแรกไปแล้ว ก็จะได้รับวัคซีนโควิด-19 อื่นเป็นเข็มที่สอง[ 137] [ 138] [ 133]
ในวันที่ 30 มีนาคม 2021 กระทรวงสาธารณสุขเยอรมนีประกาศว่า สำหรับบุคคลอายุตั้งแต่ 60 ปีลงมา ควรคุยกับผู้รับวัคซีนก่อนจะฉีดวัคซีนนี้ให้[ 139]
โดยผู้อายุน้อยกว่าก็ยังสามารถฉีดวัคซีน แต่ต้องเป็นไปตามการตัดสินใจของแพทย์ และให้ทำหลังจากตรวจสอบความเสี่ยงแล้วอธิบายให้ผู้รับวัคซีนฟังอย่างละเอียด[ 139]
ในวันที่ 14 เมษายน เดนมาร์กหยุดการใช้วัคซีนอย่างไม่มีกำหนด[ 112] [ 140]
โดยระบุว่า ประเทศมีวัคซีนอื่น ๆ ให้ใช้และการระบาดของโรคตอนนี้ก็ยังควบคุมได้[ 140]
อนึ่ง กลุ่มประชากรที่จะฉีดวัคซีนต่อไปของเดนมาร์กยังเสี่ยงน้อยกว่าที่จะติดเชื้อโควิด-19 แบบรุนแรง โดยที่ประโยชน์ของวัคซีนนี้ต้องชั่งเทียบกับความเสี่ยงเกิดผลไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงจากวัคซีน แม้ความเสี่ยงที่ว่าโดยสัมบูรณ์จะเล็กน้อย[ 140]
แคนาดา
วันที่ 29 มีนาคม 2021 คณะกรรมการที่ปรึกษาเรื่องการสร้างภูมิคุ้มกันแห่งชาติแคนาดา (National Advisory Committee on Immunization, NACI) แนะนำว่า ให้หยุดให้วัคซีนแก่บุคคลผู้มีอายุต่ำกว่า 55 ปี
โดยประธานคณะกรรมการระบุว่า ความเสี่ยงเกิดลิ่มเลือดสูงกว่าในคนอายุน้อยกว่า และคณะกรรมการจะปรับคำแนะนำเมื่อได้ข้อมูลใหม่ ๆ
รัฐต่าง ๆ ในแคนาดาโดยมากต่อมาจึงประกาศว่าจะทำตามข้อแนะนำนี้[ 141] [ 142] [ 143]
จนถึงวันที่ 20 เมษายน 2021 แคนาดามีกรณีเกิดลิ่มเลือดที่เชื่อมกับวัคซีน 3 กรณี จากการฉีดวัคซีน 7 แสนโดส[ 144] [ 145] [ 146]
เริ่มตั้งแต่วันที่ 18 เมษายนภายใต้สถานการณ์คลื่นระบาดลูกที่ 3 รัฐต่าง ๆ รวมทั้งแอลเบอร์ตา บริติชโคลัมเบีย ออนแทรีโอ และซัสแคตเชวัน ได้ปรับขยายให้ใช้วัคซีนกับคนอายุ 40 ปีและยิ่งกว่า
โดยรัฐควิเบก ได้ขยายใช้กับคนอายุ 45 ปีและยิ่งกว่า[ 147] [ 148] [ 149]
ข้อแนะนำของคณะกรรมการ NACI ไม่มีผลต่อการอนุมัติของกระทรวงสาธารณสุขที่อนุญาตให้ใช้วัคซีนกับบุคคลอายุเกิน 18 ปี
โดยกระทรวงระบุในวันที่ 14 ว่า ได้อัปเดตคำเตือนสำหรับวัคซีนโดยเป็นส่วนของการทบทวนข้อมูลที่ทำอย่างต่อเนื่อง และว่า "โอกาสเสี่ยงเกิดเหตุการณ์เช่นนี้น้อยมาก (very rare) และประโยชน์ของวัคซีนในการป้องกันโควิด-19 มีมากกว่าโอกาสเสี่ยง"[ 150]
ในวันที่ 23 เมษายน เพราะการขาดแคลนวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอ บวกกับข้อมูลใหม่ คณะกรรมการจึงแนะนำให้ใช้วัคซีนแก่บุคคลอายุต่ำถึง 30 ปีถ้าเห็นประโยชน์มากกว่าความเสี่ยงและเมื่อผู้รับวัคซีน "ไม่ประสงค์จะรอวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอ"[ 151]
ในวันที่ 11 พฤษภาคม จังหวัดต่าง ๆ ประกาศว่าจะหยุดใช้วัคซีนนี้อีกไม่ว่าจะเป็นเพราะขาดแคลนหรือเพราะเกิดลิ่มเลือด
โดยบางจังหวัดระบุว่า มีแผนจะใช้วัคซีนนี้เป็นโดสที่สอง และคณะกรรมการ NACI ก็กำลังตรวจสอบประสิทธิศักย์ของการใช้วัคซีนต่างยี่ห้อกันระหว่างโดสแรกกับโดสสอง[ 152] [ 153] [ 154]
อินโดนีเซีย
ในกลางเดือนมีนาคม อินโดนีเซียหยุดการฉีดวัคซีนเพื่อรอคำแนะนำเกี่ยวกับความปลอดภัยจากองค์การอนามัยโลก[ 155]
แล้วต่อมาจึงฉีดวัคซีนต่อในวันที่ 19 มีนาคม[ 156]
ออสเตรเลีย
ในวันที่ 8 เมษายน 2021 ออสเตรเลียอัปเดตคำแนะนำการใช้วัคซีนกับบุคคลอายุต่ำกว่า 50 ปี โดยระบุว่าควรใช้วัคซีนของไฟเซอร์ แทนสำหรับคนที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนนี้เลย
แต่ก็ยังฉีดวัคซีนให้แก่บุคคลอายุต่ำกว่า 50 ปีได้เมื่อประโยชน์มีมากกว่าความเสี่ยง และเมื่อแพทย์พยาบาลให้คำปรึกษาและรายละเอียดแก่ผู้รับวัคซีนเพื่อการตัดสินใจแล้ว[ 157] [ 158]
มาเลเซีย
ภายหลังที่มาเลเซียได้อนุมัติให้ใช้วัคซีนนี้ กระทรวงสาธารณสุขต่อมาก็ตัดสินใจไม่ใช้วัคซีนนี้ในโปรแกรมฉีดวัคซีนให้ประชาชนโดยอัตโนมัติเพราะประชาชนไม่ไว้วางใจ[ 159]
ดังนั้น ในปลายเดือนเมษายน 2021 วัคซีน 268,600 โดสแรกที่ได้จะส่งไปใช้ที่ศูนย์ฉีดวัคซีนพิเศษ ณ รัฐเซอลาโงร์ และกรุงกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งเกิดกรณีโรคเพิ่มขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้โดยประชาชนจะต้องอาสาสมัครรับวัคซีนเอง
ซึ่งภายในสามชั่วโมงครึ่งที่เปิดให้ลงทะเบียนฉีดวัคซีน ประชาชนก็จองฉีดวัคซีนนี้จนหมดสิ้น[ 160]
ในปลายเดือนพฤษภาคม 2021 ล็อตที่สองจำนวน 1,261,000 โดสที่ได้มาก็จัดสรรให้แก่ประชาชนในรัฐเซอลาโงร์ ปีนัง ยะโฮร์ ซาราวัก และกรุงกัวลาลัมเปอร์
โดยสำรอง 29,183 โดสไว้เพื่อคนที่ลงชื่อจองไว้ในคราวก่อน และอีก 275,208 โดสเพื่อคนชรา
ที่เหลืออีก 956,609 โดสซึ่งหมายให้คนอายุ 18 ปีและยิ่งกว่า ก็ได้รับการจองจนหมดสิ้นภายใน ชม. เดียว[ 161]
การทบทวนความปลอดภัย
ในวันที่ 11 มีนาคม 2021 สำนักงานการแพทย์ยุโรป (EMA) แจ้งว่า ไม่มีข้อบ่งชี้ว่าวัคซีนเป็นเหตุให้เกิดลิ่มเลือด ซึ่งยังไม่ได้ระบุว่าเป็นผลข้างเคียงของวัคซีน[ 122] [ 162]
ตามสำนักงาน การเกิดลิ่มเลือดในคนฉีดวัคซีนไม่ได้สูงกว่าที่พบในกลุ่มประชากรทั่วไป[ 162]
จนถึง 11 มีนาคม มีกรณีเกิดลิ่มเลือดเพียง 30 กรณี ในบรรดาคน 5 ล้านคน ที่ฉีดวัคซีนนี้ในเขตเศรษฐกิจยุโรป [ 162]
ในวันที่ 12 มีนาคม องค์การอนามัยโลกระบุว่า ยังไม่พบความสัมพันธ์แบบเป็นเหตุผล ดังนั้น จึงควรให้วัคซีนต่อไป[ 163]
ในวันที่ 14 มีนาคม บริษัทแอสตร้าเซนเนก้ายืนยันว่า หลังจากตรวจข้อมูลคน 17 ล้านคน ที่ได้วัคซีน ไม่มีหลักฐานว่าเสี่ยงเกิดลิ่มเลือดมากขึ้นในประเทศทั้งหมด[ 164]
บริษัทรายงานว่า จนถึงวันที่ 8 มีนาคม 2021 สหภาพยุโรปและสหราชอาณาจักรตลอดทั้งหมดมีเหตุการณ์หลอดเลือดดำเกิดลิ่มเลือด (deep vein thrombosis) 15 ครั้งและภาวะสิ่งหลุดอุดหลอดเลือดในปอด (pulmonary embolism) 22 ครั้งในบรรดาผู้ที่ได้วัคซีน ซึ่งจริง ๆ น้อยกว่าที่ปกติเกิดโดยธรรมชาติในกลุ่มประชากรนั้น ๆ[ 164]
ในวันที่ 15 มีนาคม องค์กรควบคุมเวชภัณฑ์ (MHRA) ของสหราชอาณาจักรระบุว่า หลังจากที่ฉีดวัคซีนไปแล้ว 11 ล้านโดส ยังไม่สามารถยืนยันกรณีที่เกิดลิ่มเลือดว่ามีเหตุจากวัคซีน ดังนั้น องค์กรจึงไม่หยุดการให้วัคซีน[ 165]
แต่ในวันที่ 15 มีนาคม สถาบันเพาล์แอร์ลิช (Paul Ehrlich Institute, PEI) รายงานว่า จากการฉีดวัคซีน 1.6 ล้านโดส พบการเกิดลิ่มเลือดในเส้นเลือดดำในสมอง (cerebral vein thrombosis) พร้อมกับการมีเกล็ดเลือดต่ำ 7 กรณี [ 166]
ตามสถาบัน การเกิดภาวะเช่นนี้หลังฉีดวัคซีนสูงกว่าอย่างสำคัญทางสถิติเทียบกับที่เกิดโดยธรรมชาติในกลุ่มประชากรทั่วไปในระยะเวลาเท่ากัน[ 166]
ซึ่งทำให้สถาบันแนะนำการหยุดใช้วัคซีนชั่วคราวจนกระทั่งสำนักงานการแพทย์ยุโรปตรวจสอบกรณีเหล่านี้ให้เรียบร้อย[ 167]
ในวันที่ 17 มีนาคม องค์การอนามัยโลกระบุว่า วัคซีนนี้ยังมีประโยชน์ยิ่งกว่าโอกาสเสี่ยง จึงแนะนำให้ฉีดวัคซีนต่อไป[ 168]
ในวันที่ 18 มีนาคม สำนักงานการแพทย์ยุโรปประกาศว่า จากคน 20 ล้านคน ที่ได้วัคซีน อัตราการเกิดลิ่มเลือดทั่วไปอยู่ในระดับปกติ แต่ก็พบกรณี disseminated intravascular coagulation (การเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดแบบแพร่กระจาย) 7 กรณี และ cerebral venous sinus thrombosis (การเกิดลิ่มเลือดในโพรงหลอดเลือดดำในสมอง) 18 กรณี [ 169]
แม้ยังจะไม่ได้พิสูจน์ว่าวัคซีนเป็นเหตุ สำนักงานการแพทย์ยุโรปก็ระบุว่า จะทำการวิเคราะห์ต่อไปและแนะนำให้บอกคนที่มีสิทธิฉีดวัคซีนว่า ยังไม่ได้พิสูจน์อย่างชัดเจนว่า วัคซีนไม่เป็นเหตุให้เกิดลิ่มเลือดซึ่งเกิดน้อย[ 169]
โดยสำนักงานก็ยังยืนยันว่า ประโยชน์มีมากกว่าความเสี่ยง[ 169]
ต่อมาในวันที่ 25 มีนาคม สำนักงานก็อัปเดตข้อมูลผลิตภัณฑ์ของวัคซีน[ 170] [ 25] [ 171]
ตามสำนักงาน มีกรณีเกิดลิ่มเลือดแสนรายที่เกิดโดยธรรมชาติทุก ๆ เดือนในสหภาพยุโรป ดังนั้น ความเสี่ยงเกิดลิ่มเลือดจึงไม่สูงกว่าในกลุ่มที่ได้วัคซีน
สำนักงานยังให้ข้อสังเกตด้วยว่า โรคโควิด-19 เองก็เป็นเหตุให้เสี่ยงเกิดลิ่มเลือดสูงขึ้น ดังนั้น วัคซีนก็จะลดความเสี่ยงเกิดลิ่มเลือดแม้ถ้า 15 กรณี ตามที่ว่าจะได้ยืนยันว่าเกิดจากวัคซีน[ 172]
อิตาลีจึงฉีดวัคซีนต่อไปหลังแถลงการณ์นี้[ 173]
และประเทศยุโรปโดยมากก็ทำตามต่อจากนั้นไม่นาน[ 174]
เพื่อให้ประชาชนมั่นใจว่าวัคซีนปลอดภัย นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร (บอริส จอห์นสัน ) และฝรั่งเศส (ฌ็อง กัสแต็กซ์ ) ได้ฉีดวัคซีนต่อหน้าสื่อหลังจากเริ่มฉีดวัคซีนนี้ต่อไปในสหภาพยุโรป[ 175]
ในวันที่ 13 เมษายน 2021 สำนักงานส่งสารไปยังแพทย์พยาบาล (direct healthcare professional communication, DHPC) เกี่ยวกับวัคซีนว่า ความสัมพันธ์อย่างเป็นเหตุและผลระหว่างวัคซีนกับภาวะหลอดเลือดมีลิ่มเลือด บวกกับการมีเกล็ดเลือดน้อย ยังอาจเป็นไปได้ ว่าเกล็ดเลือดน้อยเป็นผลไม่พึงประสงค์ของวัคซีนที่สามัญ (common) แต่ภาวะหลอดเลือดมีลิ่มเลือดบวกกับการมีเกล็ดเลือดน้อยก็เกิดน้อยมาก (very rare)[ 176]
ตามสำนักงานการแพทย์ยุโรป นี่เป็นเหตกุารณ์ไม่พึงประสงค์ที่เกิดน้อยมากราว ๆ 1 รายต่อคนที่ฉีดวัคซีน 100,000 คน[ 26]
เหตุการณ์ต่อ ๆ มา
ประสิทธิศักย์ต่อต้านสายพันธุ์ใหม่
งานศึกษาในสหราชอาณาจักร (COVID-19 Genomics United Kingdom Consortium, AMPHEUS Project และ Oxford COVID-19 Vaccine Trial Group) ในเดือนเมษายน 2021 ระบุว่า วัคซีนมีประสิทธิศักย์ต่อต้านโควิด-19 สายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) ได้ลดลง (ประสิทธิศักย์ที่ร้อยละ 70.4 สำหรับสายพันธุ์ B.1.1.7 เทียบกับที่ร้อยละ 81.5 สำหรับสายพันธุ์อื่น ๆ)[ 177]
แต่ก็ยังมีประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้อแบบแสดงอาการ โดยบุคคลที่ได้วัคซีนก็จะมีอาการระยะสั้นกว่าและสร้างไวรัสน้อยกว่า ดังนั้น ก็จะลดการแพร่เชื้อ[ 178]
งานศึกษาในเดือนกุมภาพันธ์ 2021 พบว่า การกลายพันธุ์แบบ E484K ที่พบในสายพันธุ์เบตา (แอฟริกาใต้) และสายพันธุ์แกมมา (บราซิล) อาจทำให้วัคซีนไม่สามารถป้องกันโรคได้[ 179]
ในเดือนกุมภาพันธ์ บริษัทจึงเริ่มทำการเพื่อปรับวัคซีนโดยเล็งเป้าที่สายพันธุ์เหล่านี้[ 180]
และคาดว่า วัคซีนที่ปรับใช้จะได้ภายใน 2-3 เดือน โดยใช้ฉีดเสริมสำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีนดั้งเดิม 2 โดสแรกไปแล้ว[ 181]
การฉีดวัคซีนสองเข็มไม่เหมือนกัน
ในเดือนธันวาคม 2021 มีการลงทะเบียนการทดลองทางคลินิก เพื่อทดสอบการฉีดวัคซีนเข็มที่หนึ่งและสองแบบผสม คือฉีดวัคซีนแอสตร้าฯ เป็นเข็มที่หนึ่ง และฉีดวัคซีนสปุตนิกวี (Ad26 , รัสเซีย) เป็นเข็มที่สองอีก 29 วันต่อมา[ 182]
หลังจากระงับการฉีดวัคซีนแอสตร้าฯ เนื่องกับการเกิดลิ่มเลือดที่มีน้อยในเดือนมีนาคม 2021 แคนาดา และประเทศต่าง ๆ ในยุโรปได้แนะนำให้ฉีดวัคซีนเข็มที่สองต่างชนิดกัน
แม้จะไม่มีข้อมูลการทดลองทางคลินิกในเรื่องประสิทธิศักย์ และความปลอดภัยของการฉีดวัคซีนผสม ผู้ชำนาญการบางพวกก็เชื่อว่า อาจเพิ่มภูมิคุ้มกัน โดยเริ่มมีงานศึกษาที่กำลังตรวจสอบผลเช่นนี้[ 183] [ 184]
ในเดือนมิถุนายน 2021 มีผลเบื้องต้นจากงานศึกษากับอาสาสมัคร 463 คนที่แสดงว่า การฉีดวัคซีนผสมโดยฉีดโดสแรกเป็นวัคซีนของแอสตร้าฯ แล้วตามด้วยวัคซีนของไฟเซอร์ ก่อการตอบสนองของเซลล์ที และก่อระดับแอนติบอดีในระดับที่เกือบสูงเท่ากับวัคซีนของไฟเซอร์สองโดส
ส่วนการกลับลำดับการฉีดก็จะก่อการตอบสนองของเซลล์ทีลดลงครึ่งหนึ่ง และก่อระดับแอนติบอดีเพียงแค่ 1/7 ถึงกระนั้น ระดับแอนติบอดีที่ว่าก็ยังสูงกว่าการได้วัคซีนแอสตร้าฯ สองเข็มเป็น 5 เท่า
การตอบสนองของเซลล์ทีพบว่าต่ำสุดเมื่อฉีดวัคซีนทั้งสองโดสชนิดเดียวกัน[ 185]
สังคมและวัฒนธรรม
การร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด กับบริษัทแอสตร้าเซนเนก้าเบื้องต้นหวังว่า มีโอกาสสร้างวัคซีนราคาถูกที่ไม่ต้องแช่แข็งในตู้พิเศษ [ 186]
แต่ปัญหาต่าง ๆ ที่บริษัทมีรวมทั้งการสื่อสาร ไม่ดี การส่งวัคซีนไม่ได้ตามกำหนด รายงานการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ การระงับใช้วัคซีนในประเทศต่าง ๆ และปัญหาทางการเมืองรวมทั้งข้อโต้แย้งของบริษัทกับคณะกรรมาธิการยุโรป จัดเป็นความเสียหายทางประชาสัมพันธ์[ 187]
ซึ่งนักวิชาการเชื่อว่า ทำให้ประชาชนลังเลไม่ฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้น[ 186]
ถึงกระนั้น วัคซีนก็ยังเป็นองค์ประกอบหลักของโปรแกรมโคแวกซ์ ซึ่งองค์การอนามัยโลก สนับสนุน[ 186]
โดยองค์การทางสาธารณสุขต่าง ๆ รวมทั้งองค์การอนามัยโลกเอง สำนักงานการแพทย์ยุโรป และองค์กรควบคุมเวชภัณฑ์ (MHRA) ของสหราชอาณาจักร ก็ยังคงยืนหยัดว่า วัคซีนมีประโยชน์ยิ่งกว่าผลไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้น[ 188]
ประเด็นทางเศรษฐกิจในเบื้องต้น
การตกลงซื้อวัคซีนในช่วงต้น ๆ
ผู้ซื้อ
วันที่
โดส
สหราชอาณาจักร
17 พ.ค. 2020[ a]
100 ล้าน[ 189] [ 190]
สหรัฐอเมริกา
21 พ.ค. 2020
300 ล้าน[ 191]
โคแวกซ์ (องค์การอนามัยโลก )
4 มิ.ย. 2020
300 ล้าน[ 192]
29 ก.ย. 2020
100 ล้าน[ 193]
อียิปต์
22 มิ.ย. 2020
ไม่ทราบแน่ชัด[ 194]
ญี่ปุ่น
8 ส.ค. 2020
120 ล้าน[ 195]
ออสเตรเลีย
19 ส.ค. 2020
25 ล้าน[ 196]
สหภาพยุโรป[ b]
27 ส.ค. 2020[ c]
400 ล้าน[ 197] [ 198] [ 199] [ 200]
แคนาดา
25 ก.ย. 2020
20 ล้าน[ 201] [ 202]
สวิตเซอร์แลนด์
16 ต.ค. 2020
5.3 ล้าน[ 203] [ 204]
บังกลาเทศ
5 พ.ย. 2020
30 ล้าน[ 205]
ไทย
27 พ.ย. 2020[ d]
26 ล้าน[ 206]
21 ม.ค. 2021[ e]
4 พ.ค. 2021[ f]
35 ล้าน[ 208] [ 209]
21 พ.ค. 2021[ e]
ฟิลิปปินส์
27 พ.ย. 2020
2.6 ล้าน[ 210]
เกาหลีใต้
1 ธ.ค. 2020
20 ล้าน[ 211]
แอฟริกาใต้
7 ม.ค. 2021
1 ล้าน[ g] [ 212]
↑ มีข้อแม้ว่าต้องทดลองจนจบและมีประสิทธิศักย์ ข้อตกลงได้เสร็จสมบูรณ์ในเดือน ส.ค.
↑ เพื่อส่งให้ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป และเขตเศรษฐกิจยุโรป กลุ่มประเทศ Inclusive Vaccines Alliance รวมฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี เนเธอร์แลนด์ เบื้องต้นได้เริ่มเจรจาต่อรองก่อนสหภาพยุโรปจะเลือกต่อรองสำหรับประเทศสมาชิกทั้งหมด
↑ กลุ่มประเทศ Inclusive Vaccines Alliance รวมฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี เนเธอร์แลนด์ ต่อรองเจรจาจบสิ้นในวันที่ 13 มิ.ย. 2020 ซึ่งยกเลิกไปหลังจากสหภาพยุโรปได้เจรจาต่อรองเพื่อประเทศสมาชิกทั้งหมด
↑
ตามไทมไลน์ของกระทรวงสาธารณสุขที่แสดงว่า มีการเซ็นสัญญาไตรภาคีระหว่างบริษัท สถาบันวัคซีนแห่งชาติ และกรมควบคุมโรค[ 42]
↑ 5.0 5.1
ตามหนังสือลับของบริษัทที่ระบุว่าการทำสัญญาได้เสร็จสิ้น[ 207]
เป็นหนังสือที่สำนักข่าวบีบีซี ระบุว่า ไม่สามารถยืนยันได้[ 41]
↑
ตามไทมไลน์ของกระทรวงสาธารณสุขที่แสดงว่า กรมควบคุมโรคได้รับสัญญาที่ลงนามโดยแอสตร้าเซนเนก้า (สหราชอาณาจักร) และแอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย)[ 42]
↑ ตอนแรกจะสั่งเพิ่มอีก 500,000 แต่ภายหลังตัดสินใจไม่ใช้วัคซีนก่อนจะเริ่มให้วัคซีนแก่ประชาชนโดยขายวัคซีนที่มีให้กับประเทศสมาชิกสหภาพแอฟริกา 14 ประเทศ
การตกลงซื้อวัคซีนได้เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2020 โดยสหราชอาณาจักรจะได้วัคซีน 100 ล้านโดส ก่อนประเทศอื่นถ้าการทดลองสำเร็จ โดยข้อตกลงก็ได้เสร็จสมบูรณ์เมื่อปลายเดือนสิงหาคม[ 189] [ 190] [ 213] [ 214]
ในวันที่ 21 พฤษภาคม 2020 บริษัทตกลงขายวัคซีน 300 ล้านโดส ให้แก่สหรัฐอเมริกาโดยมีมูลค่า 1,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดสหนึ่งจึงมีราคา 4 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 125 บาท)[ 191]
โฆษกบริษัทแจ้งว่า ราคานี้รวมค่าใช้จ่ายในการพัฒนาและการทดลองทางคลินิกด้วย[ 215]
บริษัทยังตกลงถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่รัฐบาลเม็กซิโก และอาร์เจนตินา เพื่อผลิตวัคซีนอย่างน้อย 400 ล้านโดส เพื่อแจกจำหน่ายทั่วลาตินอเมริกา
ตัวยาออกฤทธิ์ จะผลิตในอาร์เจนตินาแล้วส่งไปยังเม็กซิโกเพื่อทำให้เสร็จพร้อมแจกจำหน่าย[ 216]
ในเดือนมิถุนายน 2020 บริษัทยังได้ตกลงกับบริษัทยาชีวภาพอเมริกันคือ Emergent BioSolutions เพื่อผลิตวัคซีนโดยเฉพาะให้แก่สหรัฐ โดยมีมูลค่า 87 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 2,700 ล้านบาท )
นี่เป็นส่วนของโปรแกรมปฏิบัติการเหนือแสง (Operation Warp Speed) ของรัฐบาลกลางสหรัฐเพื่อเร่งพัฒนาและผลิตวัคซีนโควิด-19 ก่อนสิ้นปี 2020[ 217]
ในเดือนมิถุนายนเช่นกัน สถาบันเซรุ่มแห่งอินเดีย (Serum Institute of India) ซึ่งเป็นผู้ผลิตวัคซีนรายใหญ่ของโลก ได้สิทธิจากบริษัทให้ผลิตวัคซีน 1,000 ล้านโดส สำหรับประเทศมีรายได้น้อยจนถึงปานกลาง รวมทั้งอินเดียเอง[ 218] [ 219]
ในเดือนมิถุนายนเช่นกัน โปรแกรมโคแวกซ์ ขององค์การอนามัยโลก เริ่มต้นซื้อวัคซีนเป็นจำนวน 300 ล้านโดส จากบริษัทเพื่อประเทศรายได้ต่ำจนถึงปานกลาง[ 192]
ต่อมาวันที่ 29 กันยายน 2020 มูลนิธิบิลและเมลินดาเกตส์ จึงบริจาคทรัพย์ซึ่งช่วยให้โปรแกรมสามารถซื้อวัคซีนเพิ่มขึ้นอีก 100 ล้านโดส โดยอาจเป็นวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าหรือของโนวาแว็กซ์ และจำกัดราคาที่ 3 ดอลลาร์สหรัฐต่อโดส (ประมาณ 94 บาท)[ 220]
ในวันที่ 13 มิถุนายน 2020 บริษัทเซ็นสัญญากับกลุ่ม Inclusive Vaccines Alliance ของยุโรป ซึ่งจัดตั้งโดยประเทศฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี และเนเธอร์แลนด์ เพื่อส่งวัคซีน 400 ล้านโดส ให้แก่รัฐสมาชิกของสหภาพยุโรปทั้งหมด[ 221] [ 222] [ 223]
แต่ต่อมาคณะกรรมาธิการยุโรป ได้เข้าไปขวางก่อนที่ข้อตกลงจะออกมาอย่างเป็นทางการ
แล้วรับช่วงต่อรองในนามของสหภาพยุโรป และเขตเศรษฐกิจยุโรป ทั้งหมดเองโดยได้เซ็นสัญญาท้ายเดือนสิงหาคม[ 224] [ 225] [ 226]
ในเดือนพฤศจิกายน 2020 บังกลาเทศ ได้เซ็นสัญญาไตรภาคีกับสถาบันเซรุ่มแห่งอินเดียและบริษัทยา Beximco Pharma แห่งบังกลาเทศ
เป็นการสั่งวัคซีน 30 ล้านโดส ของรัฐบาลจากสถาบันผ่านบริษัทยาในราคา 4 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อโดส [ 205]
นี่เท่ากับเพิ่มวัคซีนที่รัฐบาลอินเดียบริจาคให้บังกลาเทศอีก 3.2 ล้านโดส ซึ่งสถาบันก็เป็นผู้ผลิตเช่นกัน
แต่ปรากฏว่าในเดือน 2 เดือนแรกแห่งปี 2021 สถาบันสามารถส่งวัคซีนให้ได้เพียง 7 ล้านโดส [ 227]
บังกลาเทศควรจะได้วัคซีน 5 ล้านโดส ต่อเดือนแต่ก็ไม่ได้เลยในเดือนมีนาคมและเมษายน[ 228]
จึงทำให้โปรแกรมฉีดวัคซีนให้ประชาชนของประเทศต้องชะงักไปเพราะขาดวัคซีน[ 228]
คนโดยมากที่ได้วัคซีนโดสที่หนึ่งก็จะไม่ได้โดสที่สองอย่างทันการ[ 227]
ซึ่งน่าจะลดประสิทธิภาพของโปรแกรมฉีดวัคซีน
อนึ่ง คนบังกลาเทศก็สงสัยในเรื่องประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคซีนอยู่แล้ว[ 227]
บังกลาเทศจึงต้องหาแหล่งวัคซีนอื่น ๆ เพราะอินเดียไม่สามารถแจกจำหน่ายให้ตามกำหนดการ[ 229]
ในเดือนพฤศจิกายนเช่นกัน ประเทศฟิลิปปินส์ ตกลงซื้อวัคซีน 2.6 ล้านโดส [ 210]
โดยสื่อรายงานว่ามีค่าราว ๆ 700 ล้านเปโซ (ประมาณ 5.6 ดอลลาร์สหรัฐต่อโดส )[ 230]
ในเดือนธันวาคม 2020 เกาหลีใต้ เซ็นสัญญากับแอสตร้าเซนเนก้าเพื่อซื้อวัคซีน 20 ล้านโดส โดยมีราคาใกล้ ๆ กับที่ไทยและฟิลิปปินส์จ่าย[ 211]
และคาดว่า อาจได้ล็อตแรก ๆ เร็วถึงเดือนมกราคม[ 231] [ 232]
บริษัทได้เซ็นสัญญากับบริษัท SK Bioscience ของเกาหลีใต้เพื่อผลิตวัคซีน
โดยมีข้อบังคับให้ผลิตเพื่อทั้งเกาหลีใต้เองและตลาดโลกด้วย[ 233]
ในเดือนเดียวกัน ประเทศพม่า ได้เซ็นสัญญากับสถาบันเซรุ่มแห่งอินเดียเพื่อซื้อวัคซีน 30 ล้านโดส
โดยจะได้วัคซีนสำหรับประชาชน 15 ล้านคน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2021[ 234]
วันที่ 7 มกราคม 2021 แอฟริกาใต้ประกาศว่าได้รับวัคซีน 1 ล้านโดส เบื้องต้นจากสถาบันเซรุ่มแห่งอินเดีย ซึ่งจะตามมาอีกครึ่งล้านโดสในเดือนกุมภาพันธ์[ 212]
แต่ต่อมารัฐบาลได้ยกเลิกใช้วัคซีนเนื่องจากงานทดลองขนาดเล็กที่ทำพบว่า ไม่สามารถป้องกันอาการโรคขนาดน้อยจนถึงปานกลางสำหรับสายพันธุ์โควิด-19 หลักในพื้นที่คือ 501Y.V2 ได้ดีพอ
แล้วขายให้แก่ประเทศแอฟริกาอื่น ๆ โดยเปลี่ยนไปใช้วัคซีนของจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน แทน[ 235]
ในวันที่ 22 มกราคม 2021 แอสตร้าเซนเนก้าประกาศว่า ถ้าสหภาพยุโรปให้อนุมัติวัคซีนของบริษัท วัคซีนที่จะส่งให้แก่สหภาพยุโรปในเดือนมีนาคม 2021 จริง ๆ จะอยู่ที่ 31 ล้านโดส ซึ่งน้อยกว่าที่คาดไว้คือ 80 ล้านโดส เพราะโรงงานในเบลเยียม มีปัญหาการผลิต[ 236]
ในการสัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์อิตาลี ประธานบริหารบริษัทกล่าวว่า แผนการส่งวัคซีนในสหภาพยุโรปล้าหลังไปสองเดือน เพราะการเพาะเลี้ยงเซลล์ที่ได้น้อยในหน่วยผลิตยุโรปขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง[ 237]
และการวิเคราะห์เหตุการณ์ในหนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียน ก็ระบุว่าเครื่องผลิตชีวภาพ (bioreactor) ในโรงงานเบลเยียมให้ผลผลิตน้อย โดยให้ข้อสังเกตด้วยว่า การจัดตั้งกระบวนการผลิตเยี่ยงนี้ยากเพราะปริมาณผลผลิตที่ได้มักไม่แน่นอน[ 238]
ต่อมา สหภาพยุโรปจึงระงับการส่งออกวัคซีน
แล้วก็เกิดข้อโต้แย้งว่า มีวัคซีนที่เบี่ยงส่งไปให้สหราชอาณาจักร หรือไม่ และการส่งวัคซีนให้ไอร์แลนด์เหนือ จะถูกระงับหรือไม่[ 239]
ในต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2021 สำนักงานวารสารศาสตร์เชิงสืบสวน (Bureau for Investigative Journalism) ในนครลอนดอน พบว่า แอฟริกาใต้ จ่ายค่าวัคซีนเป็นสองเท่าของคณะกรรมการยุโรป และยูกันดา จ่ายเป็นสามเท่า เพราะผู้ผลิตวัคซีนคือ สถาบันเซรุ่มแห่งอินเดีย ไม่ได้สัญญาผลิตวัคซีนแบบไม่เอากำไร ไม่ขาดทุน[ 240] [ 241]
วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2021 โคแวกซ์ได้ส่งวัคซีนที่ได้เบื้องต้นไปยังเมืองอักกรา ประเทศกานา เป็นประเทศแรกในแอฟริกาที่ได้วัคซีนผ่านโปรแกรมนี้[ 242]
ประเทศไทย
ในเดือนพฤศจิกายน 2020 คณะรัฐมนตรีไทย ได้อนุมัติงบประมาณ 6,000 ล้านบาท เพื่อสั่งจองวัคซีนจากบริษัทจำนวน 26 ล้านโดส พอสำหรับคน 13 ล้านคน (ประมาณ 1/5 ของประเทศตามสำมะโน ) โดยจะซื้อในราคา 5 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 151 บาท) ต่อโดส และที่เหลือ (ประมาณ 2,000 ล้านบาท ) จะใช้เพื่อดำเนินการและเก็บรักษา โดยนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า เป็นราคาต้นทุน ในฐานะที่ไทยร่วมผลิต[ 33] [ 243] [ 244] [ 245]
วัคซีนส่วนนี้คาดว่าจะส่งในระหว่างเดือนมิถุนายน-สิงหาคม 2021[ 34]
คือเดือน มิย. 6 ล้านโดส , เดือน กค. และ สค. เดือนละ 10 ล้านโดส [ 36] [ 37]
ในเดือนมกราคม 2021 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้อนุมัติให้นำเข้าและใช้วัคซีนเป็นเวลา 1 ปี[ 246]
หลังเกิดจากข้อโต้แย้งเกี่ยวกับวัคซีน บริษัทแอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) ก็อธิบายว่า ราคาวัคซีนสำหรับแต่ละประเทศจะขึ้นอยู่กับค่าผลิตและความแตกต่างทางโซ่อุปทาน ต่าง ๆ รวมทั้งกำลังการผลิต ค่าแรงงาน และราคาวัตถุดิบ[ 247]
สยามไบโอไซเอนซ์ซึ่งเป็นบริษัทในพระปรมาภิไธย จะได้รับถ่ายทอดเทคโนโลยี จากแอสตร้าเซนเนก้า[ 248]
เพื่อรับจ้างผลิตวัคซีนโดยแอสตร้าเซนเนก้าจะนำไปแจกจำหน่ายในเขตอาเซียน รวมทั้งประเทศไทยเอง โดยมีกำลังการผลิตถึง 200 ล้านโดส ต่อปี[ 249]
ซึ่งในช่วงการระบาดทั่วของโรค บริษัททั้งสองจะทำการเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 ด้วยนโยบายไม่ได้กำไร ไม่ขาดทุน
ในเดือนมีนาคม 2021 คณะรัฐมนตรีไทยได้อนุมัติงบประมาณอีก 6,387 ล้านบาท เพื่อซื้อวัคซีนเพิ่ม 35 ล้านโดส โดย 5,674 ล้านบาท เป็นค่าวัคซีน (ประมาณ 162 บาทหรือ 5.18 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อโดส ) และ 714 ล้านบาท เป็นค่าบริหารจัดการ[ 208] [ 209]
วัคซีนล็อตนี้คาดว่าจะส่งในระหว่างเดือนกันยายน-ธันวาคม 2021[ 34]
คือเดือน กย.-พย. เดือนละ 10 ล้านโดส และเดือน ธค. อีก 5 ล้านโดส [ 36] [ 37]
จนถึงปลายเดือนเมษายน 2021 ประเทศไทยได้สั่งวัคซีนชนิดนี้รวมทั้งหมดแล้ว 61 ล้านโดส [ 34]
ในต้นเดือนพฤษภาคม 2021 บริษัทแอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) ประกาศว่า ตัวอย่างวัคซีนที่ผลิตในประเทศไทยได้ผ่านการทดสอบคุณภาพในห้องปฏิบัติการ ที่บริษัทเป็นผู้กำหนดทั้งในสหรัฐ และยุโรป แล้ว[ 250] [ 251]
ในต้นเดือนมิถุนายน 2021 บริษัทแอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) ประกาศว่าจะเริ่มทยอยส่งวัคซีนที่ผลิตในประเทศไทยล็อตแรกจำนวน 1.8 ล้านโดส ให้แก่รัฐบาล[ 252] [ 253]
ในวันที่ 15 กรกฎาคม กระทรวงสาธารณสุขได้บอกแก้แผนการส่งวัคซีนให้แก่ไทยว่า วัคซีน 61 ล้านโดส ที่ไทยได้สั่งซื้อ จะมาครบไม่ใช่ในเดือนธันวาคม 2021 ที่ก่อนหน้านี้เคยระบุไว้ แต่อาจเป็นเดือนพฤษภาคม 2022[ 40]
ต่อมาในวันที่ 17 กรกฎาคม สำนักข่าวอิศราจึงได้เปิดเผยหนังสือ "ลับ" วันที่ 25 มิถุนายนที่รองประธานฝ่ายกิจการองค์กรทั่วโลกของบริษัทได้ส่งให้แก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวง สาธารณสุข หนังสือมีใจความเกี่ยวกับการผลิตและการส่งวัคซีนให้แก่ประเทศไทยดังนี้
บริษัทมีเป้าหมายส่งวัคซีนที่สยามไบโอไซเอนซ์ผลิตได้ให้แก่ไทยประมาณ 1/3 จากผลผลิตทั้งหมดเพียงเท่านั้น โดยที่เหลือจะส่งไปยังประเทศอื่น ๆ[ 254]
บริษัทจะส่งวัคซีนให้ไทย 61 ล้านโดส จากยอดที่จะผลิต 175 ล้านโดส [ 255]
บริษัทคาดว่า กระทรวงสาธารณสุขจะได้รับวัคซีน 5-6 ล้านโดส ต่อเดือน[ 38]
แม้สำนักข่าวบีบีซี จะระบุว่า ไม่สามารถยืนยันหนังสือลับที่สำนักข่าวอิศราเปิดเผยออกมาได้[ 41]
แต่ในวันที่ 24 กรกฎาคม ประธานบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) ก็ระบุใน จม. เปิดผนึกถึงพี่น้องชาวไทยว่า จะส่งวัคซีนให้ประเทศไทยได้โดยเฉลี่ย 5-6 ล้านโดส จริง
โดยระบุด้วยว่า กำลังปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตที่บริษัทมั่นใจว่า จะทำให้ส่งวัคซีนได้มากขึ้นอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า[ 39] [ 256]
จนถึงวันที่ 18 กรกฎาคม 2021 ประเทศไทยได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าทั้งหมด 8,193,500 โดส คือญี่ปุ่น บริจาคให้ 1,053,000 โดสและบริษัทส่งให้ที่เหลือ 7,140,500 โดสโดยส่ง 1,651,100 โดส ให้ในเดือนกรกฎาคม[ 41] [ 42]
อาชญากรรมในประเทศไทย
ในปลายเดือนกรกฎาคม เจ้าหน้าตำรวจ จ. ชลบุรี ได้จับกุมผู้ต้องสงสัย 2 รายที่ได้เรียกเงิน 19,000 บาทจากผู้เสียหาย 5 คนโดยแอบอ้างว่าจะฉีดวัคซีนแอสตร้าฯ ให้แล้วฉีดน้ำเกลือ ให้แทน ส่วนผู้เสียหายกลับรู้ตัวเพราะต้องการใบรับรองและการฉีดเข็มที่ 2 แต่ไม่ได้ จึงโทรไปถาม รพ. ที่ผู้ต้องสงสัยอ้างว่าได้สิทธิการจองแล้วจึงพบว่า รพ. ไม่ได้ฉีดวัคซีนและไม่มีการจอง[ 257] [ 258] [ 259]
ในปลายเดือนกรกฎาคมเช่นกัน ผอ.ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ ได้แจ้งความว่ามีการทุจริต จัดคิวจากค่ายโทรศัพท์รายหนึ่งอย่างผิดปกติโดยเพิ่มขึ้นเกิน 2,000 คน ในจำนวนนั้น 300 คนได้รับวัคซีนและกันไว้เป็นพยาน จึงทราบจากพยานเหล่านี้ว่า ถูกเรียกเก็บเงินรายละ 500-1,000 บาท [ 260] [ 261] [ 262]
ตราสินค้า
สถาบันเซรุ่มแห่งอินเดียผลิตวัคซีนโดยใช้ตราสินค้า Covishield[ 4]
ในสหภาพยุโรป วัคซีนเริ่มใช้ตราสินค้า Vaxzevria ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2021[ 3]
ตัวบริษัทแอสตร้าเซนเนก้าเองได้ผลิตวัคซีนโดยใช้ตราสินค้านี้บวกกับ AstraZeneca COVID‐19 Vaccine และ COVID-19 Vaccine AstraZeneca[ 3] [ 4]
Covishield ปลอมในอินเดีย
ในต้นเดือนกรกฎาคม ตำรวจอินเดียได้จับกุมผู้ต้องหา 14 คนฐานฉีดน้ำเกลือ ให้แก่ประชาชนโดยหลอกลวงว่าเป็นวัคซีนแอสตร้าฯ และฉีดให้ในที่เอกชนเกิน 10 แห่งในนครมุมไบ
ผู้ต้องหารวมทั้งบุคลากรทางการแพทย์ได้คิดค่าบริการ 10-17 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อโดส (ประมาณ 330-560 บาท ) โดยมีผู้เสียหายเกิน 2,600 คนที่ได้จ่ายเงินให้แล้ว[ 263]
งานวิจัย
จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ทีมพัฒนาวัคซีนนี้ก็กำลังปรับวัคซีนให้มีประสิทธิภาพต่อต้านสายพันธุ์เชื้อไวรัสโควิด-19 อื่น ๆ อยู่โดยทำได้ค่อนข้างไวเพราะต้องปรับแต่ลำดับยีนของโปรตีนหนามที่ใช้ในวัคซีนเท่านั้น[ 264]
แต่ก็ยังต้องปรับปรุงกระบวนการผลิตและทำการทดลองทางคลินิก ระดับย่อย ๆ ด้วย วัคซีนคาดว่าจะมีใช้ในฤดูใบไม้ผลิ ที่จะถึงนี้[ 264]
เชิงอรรถ
↑ Tissue plasminogen activator (ตัวย่อ tPA หรือ PLAT) เป็นโปรตีน สลายลิ่มเลือด
เป็น serine protease (EC 3.4.21.68) ที่พบในเซลล์เนื้อเยื่อบุโพรง (endothelial cell) คือเซลล์ที่บุโพรงเลือด
อ้างอิง
↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 "COVID-19 Vaccine AstraZeneca PI" . Therapeutic Goods Administration (TGA) .
↑ 2.0 2.1 "COVID-19 Vaccine AstraZeneca" . Therapeutic Goods Administration (TGA) . 2021-02-16. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-18. สืบค้นเมื่อ 2021-02-16 .
↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 3.7
"Vaxzevria (previously COVID-19 Vaccine AstraZeneca) EPAR" . European Medicines Agency (EMA) . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-21. Text was copied from this source which is © European Medicines Agency. Reproduction is authorized provided the source is acknowledged.
↑ 4.0 4.1 4.2 "AstraZeneca / Covishield COVID-19 vaccine: What you should know" . Health Canada . 2021-02-26. สืบค้นเมื่อ 2021-03-26 .
↑ 5.0 5.1
"Already produced 40-50 million dosages of Covishield vaccine, says Serum Institute" . The Hindu . 2020-12-28. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-20. สืบค้นเมื่อ 2020-12-30 .
↑ 6.0 6.1 "AZD1222 vaccine met primary efficacy endpoint in preventing COVID-19" . Press Release (Press release). AstraZeneca. 2020-11-23. สืบค้นเมื่อ 2021-01-05 .
↑ 7.0 7.1 "AstraZeneca COVID-19 Vaccine (AZD1222)" (PDF) . AstraZeneca. 2021-01-27.
↑ "AstraZeneca and Oxford University announce landmark agreement for COVID-19 vaccine" . AstraZeneca (Press release). 2020-04-30. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-16. สืบค้นเมื่อ 2021-01-13 .
↑ 9.0 9.1
"Information for Healthcare Professionals on COVID-19 Vaccine AstraZeneca" . Medicines and Healthcare products Regulatory Agency (MHRA) . 2020-12-30. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-09. สืบค้นเมื่อ 2021-01-04 .
↑ 10.0 10.1
"Regulatory Decision Summary - AstraZeneca COVID-19 Vaccine" . Health Canada . 2021-02-26. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-11. สืบค้นเมื่อ 2021-02-26 .
↑ "First COVID-19 variant vaccine AZD2816 Phase II/III trial participants vaccinated" . Astrazeneca. 2021-06-27. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-27. สืบค้นเมื่อ 2021-07-24 .
↑
"AstraZeneca COVID-19 Vaccine monograph" (PDF) . AstraZeneca. 2021-02-26. เก็บ (PDF) จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-30.
↑ 13.0 13.1 "EMA recommends COVID-19 Vaccine AstraZeneca for authorisation in the EU" . European Medicines Agency (EMA) (Press release). 2021-01-29. สืบค้นเมื่อ 2021-01-29 .
↑ 14.0 14.1 14.2
"European Commission authorises third safe and effective vaccine against COVID-19" . European Commission (Press release). เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-10. สืบค้นเมื่อ 2021-01-29 .
↑ 15.0 15.1
"Conditions of Authorisation for COVID-19 Vaccine AstraZeneca" . Medicines and Healthcare products Regulatory Agency (MHRA) . 2020-12-30. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-18. สืบค้นเมื่อ 2021-01-04 .
↑ "Covishield and Covaxin: What we know about India's Covid-19 vaccines" . BBC News . 2021-03-04. สืบค้นเมื่อ 2021-03-08 .
↑ "AstraZeneca vaccine renamed 'Vaxzevria' " . The Brussels Times . 2021-03-30. สืบค้นเมื่อ 2021-04-06 .
↑
Walsh, N; Shelley, J; Duwe, E; Bonnett, W (2020-07-27). "The world's hopes for a coronavirus vaccine may run in these health care workers' veins" . São Paulo: CNN. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-03. สืบค้นเมื่อ 2020-08-03 .
↑
"Investigating a Vaccine Against COVID-19" . ClinicalTrials.gov (Registry). United States National Library of Medicine. 2020-05-26. NCT04400838. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-11. สืบค้นเมื่อ 2020-07-14 .
↑
"A Phase 2/3 study to determine the efficacy, safety and immunogenicity of the candidate Coronavirus Disease (COVID-19) vaccine ChAdOx1 nCoV-19" . EU Clinical Trials Register (Registry). European Union. 2020-04-21. EudraCT 2020-001228-32. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-05. สืบค้นเมื่อ 2020-08-03 .
↑
O'Reilly, P (2020-05-26). "A Phase III study to investigate a vaccine against COVID-19". ISRCTN (Registry). doi :10.1186/ISRCTN89951424 . ISRCTN89951424.
↑ 22.0 22.1 22.2 22.3 22.4 22.5 22.6 Voysey, M; SA, Costa Clemens; Madhi, SA; Weckx, LY; Folegatti, PM; Aley, PK; และคณะ (February 2021). "Single-dose administration and the influence of the timing of the booster dose on immunogenicity and efficacy of ChAdOx1 nCoV-19 (AZD1222) vaccine: a pooled analysis of four randomised trials" . Lancet . 397 (10277): 881–891. doi :10.1016/S0140-6736(21)00432-3 . PMC 7894131 . PMID 33617777 .
↑ 23.0 23.1 Public Health England. "Vaccines highly effective against B.1.617.2 variant after 2 doses" . GOV.UK (ภาษาอังกฤษ). เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-04. สืบค้นเมื่อ 2021-06-04 .
↑ 24.0 24.1 24.2 "Coronavirus Vaccine : Summary of Yellow Card reporting" (PDF) . It is known from the clinical trials that the more common side effects for both vaccines can occur at a rate of more than one in 10 doses (for example, local reactions or symptoms resembling transient flu-like symptoms)
↑ 25.0 25.1
"Annex 1: Summary of Product Characteristics" (PDF) . European Medicines Agency (EMA) . สืบค้นเมื่อ 2021-03-29 .
↑ 26.0 26.1 26.2 "AstraZeneca's COVID-19 vaccine: benefits and risks in context" . European Medicines Agency (EMA) (Press release). 2021-04-23. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-23. สืบค้นเมื่อ 2021-04-23 .
↑ 27.0 27.1 "AstraZeneca's COVID-19 vaccine: EMA finds possible link to very rare cases of unusual blood clots with low platelets" . European Medicines Agency (EMA) (Press release). 2021-04-07. สืบค้นเมื่อ 2021-04-09 . Text was copied from this source which is © European Medicines Agency. Reproduction is authorized provided the source is acknowledged.
↑
"Covid-19: Oxford-AstraZeneca coronavirus vaccine approved for use in UK" . BBC News Online. 2020-12-30. สืบค้นเมื่อ 2020-12-30 .
↑
"Second COVID-19 vaccine authorised by medicines regulator" . GOV.UK (Press release). 2020-12-30. สืบค้นเมื่อ 2021-03-06 .
↑ 30.0 30.1 "Covid: Brian Pinker, 82, first to get Oxford-AstraZeneca vaccine" . BBC News Online. 2021-01-04. สืบค้นเมื่อ 2021-01-04 .
↑ "Coronavirus disease (COVID-19): Vaccines" . World Health Organization (WHO). 2020-10-28. สืบค้นเมื่อ 2021-03-06 .
↑ 32.0 32.1 "Spain, Belgium and Italy restrict AstraZeneca Covid vaccine to older people" . The Guardian . 2021-04-08. สืบค้นเมื่อ 2021-04-11 .
↑ 33.0 33.1 "ข่าวดี! ไทยจองซื้อวัคซีนโควิด-19 แอสตร้าเซนเนก้า "ราคาต้นทุน" " . hfocus.org. 2020-11-23. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-23.
↑ 34.0 34.1 34.2 34.3
"เปิดแผนจัดหาวัคซีนโควิด-19 ของไทย สู่เป้าหมาย 100 ล้านโดส " . THE STANDARD . 2021-04-21. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-28.
↑
"นายกฯ จ่อยกระดับเข้มคุมโควิด เร่งจัดหาวัคซีนให้ครบ 100 ล้านโดส " . Thai PBS News . 2021-04-23. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-28.
↑ 36.0 36.1 36.2
"แผนการกระจายและความคืบหน้าการผลิตวัคซีนโควิด-19 วันจันทร์ที่ 22 มีนาคม 2564" . รายการวิทยุไทยคู่ฟ้า ข่าวทำเนียบรัฐบาล . 2021-03-22. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-21.
↑ 37.0 37.1 37.2
"กางปฏิทินวัคซีนโควิดแอสตร้าเซนเนก้า ผลิตโดยสยามไบโอไซเอนซ์ หลังผ่านตรวจสอบจาก ยุโรป-สหรัฐ" . PPTVHD36 . 2021-05-09. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-21.
↑ 38.0 38.1 Isranews-07-17 (2021) "เราเชื่อมั่นว่าในแต่ละเดือน ด้วยการผลิตวัคซีนอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขจะได้รับวัคซีนประมาณทั้งสิ้น 5-6 ล้านโดส ต่อเดือน"
↑ 39.0 39.1
"เจมส์ ทีก ประธาน บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงประชาชนคนไทยวันนี้ (24 ก.ค.64) ว่าสัปดาห์หน้า AZ ส่งมอบอีก 2.3 ล้านโดส พร้อมเร่งผลิตและส่งมอบวัคซีนโดยเร็วที่สุด คาดจัดสรรวัคซีนให้ไทยโดยเฉลี่ย 5-6 ล้านโดส ต่อเดือน" . NNT. 2021-07-24. ... แต่เราคาดการณ์ว่าจะสามารถจัดสรรวัคซีนให้กับประเทศไทยได้โดยเฉลี่ย 5-6 ล้านโดส ต่อเดือน... เราได้พยายามเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม และเรามั่นใจว่า จะสามารถส่งมอบวัคซีนได้มากขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า...
↑ 40.0 40.1 "โควิด-19 : รัฐบาลรับรองประสิทธิภาพซิโนแวค-ซิโนฟาร์ม ส่วนแอสตร้าฯ 61 ล้านโดส มาครบ พ.ค. 65" . BBC News ไทย . 2021-07-15.
↑ 41.0 41.1 41.2 41.3
"โควิด-19 : วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้ากับทางการไทย ลำดับเหตุการณ์และอุปสรรคการจัดส่ง" . BBC News ไทย . 2021-07-20.
↑ 42.0 42.1 42.2 42.3
"เปิดไทม์ไลน์จัดหาวัคซีนแอสตร้าฯ ประเทศไทย พร้อมแจงทุกรายละเอียดหนังสือสัญญา" . Hfocus . 2021-07-18. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-18.
↑ Interim recommendations for use of the ChAdOx1-S [recombinant] vaccine against COVID-19 (AstraZeneca COVID-19 vaccine AZD1222, SII Covishield, SK Bioscience) (Guidance). World Health Organization. 2021-04-21. WHO/2019-nCoV/vaccines/SAGE_recommendation/AZD1222/2021.2. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-08. สืบค้นเมื่อ 2021-02-12 .
↑ Krause, P; Fleming, TR; Longini, I; Henao-Restrepo, AM; Peto, R; Dean, NE; และคณะ (2020-09-12). "COVID-19 vaccine trials should seek worthwhile efficacy" . The Lancet . 396 (10253): 741–743. doi :10.1016/S0140-6736(20)31821-3 . ISSN 0140-6736 . PMC 7832749 . PMID 32861315 . WHO recommends that successful vaccines should show an estimated risk reduction of at least one-half, with sufficient precision to conclude that the true vaccine efficacy is greater than 30%. This means that the 95% CI for the trial result should exclude efficacy less than 30%. Current US Food and Drug Administration guidance includes this lower limit of 30% as a criterion for vaccine licensure.
↑ 45.0 45.1 45.2 45.3 45.4 45.5 45.6 45.7 Sheikh, A; McMenamin, J; Taylor, B; Robertson, C (2021-06-14). "SARS-CoV-2 Delta VOC in Scotland: demographics, risk of hospital admission, and vaccine effectiveness" . The Lancet . 397 (10293). Table S4. doi :10.1016/S0140-6736(21)01358-1 . ISSN 0140-6736 . PMC 8201647 . PMID 34139198 .
↑ Stowe, J; Andrews, N; Gower, C; Gallagher, E; Utsi, L; Simmons, R; และคณะ (2021-06-14). Effectiveness of COVID-19 vaccines against hospital admission with the Delta (B.1.617.2) variant (Preprint). Public Health England. Table 1. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-23. สืบค้นเมื่อ 2021-06-29 – โดยทาง Knowledge Hub.
↑
SARS-CoV-2 variants of concern and variants under investigation in England, technical briefing 17 (PDF) (Briefing). Public Health England. 2021-06-25. GOV-8576. เก็บ (PDF) จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-25. สืบค้นเมื่อ 2021-06-26 .
↑ Madhi, SA; Baillie, V; Cutland, CL; Voysey, M; Koen, AL; Fairlie, L; และคณะ (May 2021). "Efficacy of the ChAdOx1 nCoV-19 Covid-19 Vaccine against the B.1.351 Variant" . The New England Journal of Medicine . 384 (20): 1885–1898. doi :10.1056/NEJMoa2102214 . PMC 7993410 . PMID 33725432 .
↑ 49.0 49.1 49.2 49.3 Hitchings, MD; Ranzani, OT; Dorion, M; D'Agostini, TL; Paula, RC; Paula, OF; และคณะ (2021-07-22). "Effectiveness of the ChAdOx1 vaccine in the elderly during SARS-CoV-2 Gamma variant transmission in Brazil" (Preprint). doi :10.1101/2021.07.19.21260802 . S2CID 236166091 – โดยทาง medRxiv.
↑ "Estudo com vacina AstraZeneca em Botucatu indica queda de 71% de casos de Covid após vacinação em massa" [AstraZeneca vaccine study in Botucatu indicates 71% drop in COVID-19 cases after mass vaccination]. G1 (ภาษาโปรตุเกส). Globo. 2021-06-28. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-28. สืบค้นเมื่อ 2021-06-28 .
↑ 51.0 51.1 "Vaxzevria: EMA advises against use in people with history of capillary leak syndrome" . European Medicines Agency (Press release). 2021-06-11. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-11. สืบค้นเมื่อ 2021-06-11 .
↑ 52.0 52.1 52.2 52.3 "Vaxzevria (previously COVID-19 Vaccine AstraZeneca)" . European Medicines Agency . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-21. สืบค้นเมื่อ 2021-03-27 .
↑ 53.0 53.1
"COVID-19 vaccine safety update Vaxzevria" (PDF) . European Medicines Agency (EMA) . 2021-03-29. เก็บ (PDF) จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-13. สืบค้นเมื่อ 2021-04-12 .
↑
"COVID-19 vaccine safety update Vaxzevria" (PDF) . European Medicines Agency (EMA) . 2021-05-11. เก็บ (PDF) จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-26. สืบค้นเมื่อ 2021-05-15 .
↑ "Vaxzevria: COVID-19 vaccine safety update" (PDF) . European Medicines Agency (EMA) . 2021-07-14. เก็บ (PDF) จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-20. สืบค้นเมื่อ 2021-07-23 .
↑
Arashkia, A; Jalilvand, S; Mohajel, N; Afchangi, A; Azadmanesh, K; Salehi-Vaziri, M; และคณะ (October 2020). "Severe acute respiratory syndrome-coronavirus-2 spike (S) protein based vaccine candidates: State of the art and future prospects" . Reviews in Medical Virology . n/a (n/a): e2183. doi :10.1002/rmv.2183 . PMC 7646037 . PMID 33594794 .
↑
Watanabe, Y; Mendonça, L; Allen, ER; Howe, A; Lee, M; Allen, JD; และคณะ (January 2021). "Native-like SARS-CoV-2 spike glycoprotein expressed by ChAdOx1 nCoV-19/AZD1222 vaccine" . bioRxiv : 2021.01.15.426463. doi :10.1101/2021.01.15.426463 . PMC 7836103 . PMID 33501433 .
↑ Kremer, Eric J.; Dicks, Matthew D. J.; Spencer, Alexandra J.; Edwards, Nick J.; Wadell, Göran; Bojang, Kalifa; Gilbert, Sarah C.; Hill, Adrian V. S.; Cottingham, Matthew G. (2012). "A Novel Chimpanzee Adenovirus Vector with Low Human Seroprevalence: Improved Systems for Vector Derivation and Comparative Immunogenicity". PLoS ONE . 7 (7): e40385. doi :10.1371/journal.pone.0040385 . ISSN 1932-6203 .
↑ Wang, H; Yang, P; Liu, K; Guo, F; Zhang, Y; Zhang, G; Jiang, C (February 2008). "SARS coronavirus entry into host cells through a novel clathrin- and caveolae-independent endocytic pathway" . Cell Research . 18 (2): 290–301. doi :10.1038/cr.2008.15 . PMC 7091891 . PMID 18227861 .
↑ Belluz, Julia (2020-11-23). "Why the AstraZeneca-Oxford Covid-19 vaccine is different" . Vox (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-11-26 .
↑ Stevis-Gridneff, M; Sanger-Katz, M; Weiland, N (2020-12-18). "A European Official Reveals a Secret: The U.S. Is Paying More for Coronavirus Vaccines" . The New York Times . สืบค้นเมื่อ 2020-12-19 .
↑ "European vaccine prices revealed in Belgian Twitter blunder" . The Brussels Times (ภาษาอังกฤษ). 2020-12-18.
↑ 63.0 63.1 63.2 "Where is the Oxford-AstraZeneca vaccine made?" . BBC News. สืบค้นเมื่อ 2021-03-27 .
↑ "Delivering COVID-19 vaccine part 2" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2021-03-31. สืบค้นเมื่อ 2021-03-27 .
↑ "Firm Says Vaccine Production Has Started, But Won't Let Media See It" . KHAOSOD ENGLISH . 2021-02-08. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-28.
↑ "Increase in vaccine manufacturing capacity and supply for COVID-19 vaccines from AstraZeneca, BioNTech/Pfizer and Moderna" . European Medicines Agency (EMA) . สืบค้นเมื่อ 2021-03-27 .
↑ "The Backstory: Vaccitech and its role in co-inventing the Oxford COVID-19 vaccine" . Oxford Sciences Innovation. 2020-11-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2021-05-01. สืบค้นเมื่อ 2021-03-25 .
↑ 68.0 68.1 "Oxford team to begin novel coronavirus vaccine research" . University of Oxford. 2020-02-07. สืบค้นเมื่อ 2020-11-28 .
↑ "COVID-19 Oxford Vaccine Trial" . COVID-19 Oxford Vaccine Trial. สืบค้นเมื่อ 2020-04-11 .
↑ "Oxford team to begin novel coronavirus vaccine research | University of Oxford" . www.ox.ac.uk (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-01-02 .
↑
"Covid Vaccine Front-Runner Is Months Ahead of Her Competition" . Bloomberg Businessweek . 2020-07-15.
↑
"Bill Gates, the Virus and the Quest to Vaccinate the World" . The New York Times . 2020-11-23.
↑ "They Pledged to Donate Rights to Their COVID Vaccine, Then Sold Them to Pharma" . Kaiser Health News. 2020-08-25.
↑
Woo, Jenny Strasburg and Stu (2020-10-21). "Oxford Developed Covid Vaccine, Then Scholars Clashed Over Money" – โดยทาง www.wsj.com.
↑
"Oxford Developed Covid Vaccine, Then Scholars Clashed Over Money" . MSN .
↑ Keown, C. "U.S. gives AstraZeneca $1.2 billion to fund Oxford University coronavirus vaccine — America would get 300 million doses beginning in October" . MarketWatch . สืบค้นเมื่อ 2021-03-30 .
↑ Coleman, Justine (2020-06-10). "Final testing stage for potential coronavirus vaccine set to begin in July" . TheHill (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-06-11 .
↑
"AstraZeneca takes next steps towards broad and equitable access to Oxford University's COVID-19 vaccine" . www.astrazeneca.com . สืบค้นเมื่อ 2021-03-30 .
↑
"Oxford University's COVID-19 vaccine: next steps towards broad and equitable global access" . University of Oxford . สืบค้นเมื่อ 2021-03-30 .
↑ "AZN, IQV Team Up To Accelerate COVID-19 Vaccine Work, RIGL's ITP Drug Repurposed, IMV On Watch" . RTTNews (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-07-15 .
↑ "Phase 3 Clinical Testing in the US of AstraZeneca COVID-19 Vaccine Candidate Begins" . National Institutes of Health (NIH) (ภาษาอังกฤษ). 2020-08-30. สืบค้นเมื่อ 2020-09-01 .
↑
"AstraZeneca Covid-19 vaccine study is put on hold" . STAT (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-09-08. สืบค้นเมื่อ 2020-09-10 .
↑
"AstraZeneca Covid-19 vaccine study is put on hold" . 2020-09-08.
↑
Wu, Katherine J.; Thomas, Katie (2020-09-08). "AstraZeneca Pauses Vaccine Trial for Safety Review" . The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331 . สืบค้นเมื่อ 2020-09-10 .
↑ Loftus, Peter (2020-09-13). "AstraZeneca Covid-19 Vaccine Trials Resume in U.K." Wall Street Journal (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0099-9660 . สืบค้นเมื่อ 2020-09-13 .
↑ Grady, Denise; Wu, Katherine J.; LaFraniere, Sharon (2020-09-19). "AstraZeneca, Under Fire for Vaccine Safety, Releases Trial Blueprints" . The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331 . สืบค้นเมื่อ 2020-09-22 .
↑ "AstraZeneca resumes vaccine trial in talks with US" . Japan Today. 2020-10-03.
↑ "FDA authorises restart of the COVID-19 AZD1222 vaccine US Phase III trial" . www.astrazeneca.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-12-01 .
↑ "U.S. health secretary says AstraZeneca trial in United States remains on hold: CNBC" . Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2020-09-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2020-09-24. สืบค้นเมื่อ 2020-09-24 .
↑ "AZD1222 vaccine met primary efficacy endpoint in preventing COVID-19" . www.astrazeneca.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-11-27 .
↑
Callaway, E (2020-11-23). "Why Oxford's positive COVID vaccine results are puzzling scientists" . Nature (ภาษาอังกฤษ). 588 (7836): 16–18. doi :10.1038/d41586-020-03326-w . PMID 33230278 . S2CID 227156970 .
↑
"Oxford/AstraZeneca Covid vaccine 'dose error' explained" . BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2020-11-27. สืบค้นเมื่อ 2020-11-27 .
↑
Robbins, Rebecca; Mueller, Benjamin (2020-11-25). "After Admitting Mistake, AstraZeneca Faces Difficult Questions About Its Vaccine" . The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331 . สืบค้นเมื่อ 2020-11-27 .
↑ Boseley, Sarah (2020-11-26). "Oxford/AstraZeneca vaccine to undergo new global trial" . the Guardian (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-11-27 .
↑ 95.0 95.1 Voysey, M; Clemens, SA; Madhi, SA; Weckx, LY; Folegatti, PM; Aley, PK; และคณะ (January 2021). "Safety and efficacy of the ChAdOx1 nCoV-19 vaccine (AZD1222) against SARS-CoV-2: an interim analysis of four randomised controlled trials in Brazil, South Africa, and the UK" . Lancet . 397 (10269): 99–111. doi :10.1016/S0140-6736(20)32661-1 . PMC 7723445 . PMID 33306989 .
↑ "AZD1222 US Phase III trial met primary efficacy endpoint in preventing COVID-19 at interim analysis" . www.astrazeneca.com . สืบค้นเมื่อ 2021-03-23 .
↑
Robbins, R; Kaplan, S (2021-03-22). "AstraZeneca Vaccine Trial Results Are Questioned by U.S. Health Officials" . The New York Times . ISSN 0362-4331 . สืบค้นเมื่อ 2021-03-23 .
↑
"NIAID Statement on AstraZeneca Vaccine" . National Institutes of Health (NIH) . 2021-03-23. สืบค้นเมื่อ 2021-03-23 .
↑
"AstraZeneca may have used 'outdated information' on vaccine" . Stat . 2021-03-23. สืบค้นเมื่อ 2021-03-23 .
↑
"Mishaps, miscommunications overshadow AstraZeneca's Covid vaccine" . Stat . 2021-03-23. สืบค้นเมื่อ 2021-03-23 .
↑ Herper, M (2021-03-25). "New AstraZeneca analysis confirms efficacy of its Covid-19 vaccine" . Stat . สืบค้นเมื่อ 2021-03-25 .
↑ Smout, A (2021-06-28). "Oxford COVID vaccine produces strong immune response from booster shot" . Reuters . London. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-28. สืบค้นเมื่อ 2021-06-28 .
↑ Vasileiou, E; Simpson, CR; Shi, T; Kerr, S; Agrawal, U; Akbari, A; และคณะ (April 2021). "Interim findings from first-dose mass COVID-19 vaccination roll-out and COVID-19 hospital admissions in Scotland: a national prospective cohort study" . Lancet . 397 (10285): 1646–1657. doi :10.1016/S0140-6736(21)00677-2 . PMC 8064669 . PMID 33901420 .
↑
"University of Oxford to study nasal administration of COVID-19 vaccine" . University of Oxford - Wikipedia. 2021-03-25. สืบค้นเมื่อ 2021-05-21 .
↑
"A Study of Intranasal ChAdOx1 nCOV-19" . clinicaltrials.gov . United States National Library of Medicine. 2021-03-25. NCT04816019. สืบค้นเมื่อ 2021-05-21 .
↑ "Status of COVID-19 Vaccines within WHO EUL/PQ evaluation process" . World Health Organization (WHO).
↑ "Government asks regulator to approve supply of Oxford/AstraZeneca vaccine" . Government of the United Kingdom. 2020-10-27. สืบค้นเมื่อ 2020-11-28 .
↑ "Oxford University/AstraZeneca vaccine authorised by UK medicines regulator" . Government of the United Kingdom. 2020-12-30. สืบค้นเมื่อ 2020-12-30 .
↑ "EMA receives application for conditional marketing authorisation of COVID-19 Vaccine AstraZeneca" . European Medicines Agency (EMA) . 2021-01-12. สืบค้นเมื่อ 2021-01-12 .
↑ "COVID-19 Vaccine AstraZeneca" . Union Register of medicinal products . สืบค้นเมื่อ 2021-02-18 .
↑ "Everything You Need to Know About the Oxford-AstraZeneca Vaccine" . 2021-01-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2021-01-29. สืบค้นเมื่อ 2021-02-09 .
↑ 112.0 112.1 "Denmark says it's permanently stopping use of the AstraZeneca vaccine" . The New York Times . 2021-04-14. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-30.
↑ 113.0 113.1 "Review: What is the current status of COVID-19 Vaccine development & approval?" . Factly . 2021-05-18. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-26.
↑ "Slovakia suspends use of AstraZeneca COVID-19 vaccine as a recipient dies" . Reuters . 2021-05-11. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-28.
↑
"Japan issues final approval for Moderna and AstraZeneca vaccines" . The Japan Times . 2021-05-21. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-04.
↑
"120m AstraZeneca shots caught in Japan's regulatory limbo" . Nikkei Asia . 2021-05-22.
↑ "AstraZeneca COVID Vaccine Tied to Rare Cases of Low Blood Platelets" . US News . 2021-06-09. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-10.
↑
"Latest - Oxford Covid-19 vaccine trial results - Wits University" . wits.ac.za . สืบค้นเมื่อ 2021-02-08 .
↑
"South Africa halts AstraZeneca vaccinations after data shows little protection against mutation" . CNBC. 2021-02-07. สืบค้นเมื่อ 2021-02-08 .
↑ 120.0 120.1 "Covid: Boris Johnson 'very confident' in vaccines being used in UK" . BBC News . 2021-02-08. สืบค้นเมื่อ 2021-02-09 .
↑ 122.0 122.1 122.2 "COVID-19 Vaccine AstraZeneca: PRAC preliminary view suggests no specific issue with batch used in Austria | European Medicines Agency" .
↑ 123.0 123.1 "AIFA imposes ban of use of AstraZeneca batch. Investigations in progress in coordination with EMA" . aifa.gov.it . สืบค้นเมื่อ 2021-03-11 .
↑ 124.0 124.1 124.2 Noack, Rik (2021-03-11). "Denmark and Norway suspend AstraZeneca covid vaccine over blood clot concerns, even as European regulator maintains it is safe" . The Washington Post .
↑ Gascón Barberá, Marcel (2021-03-12). "Bulgaria, Romania Order Halt to AstraZeneca Vaccines" . BalkanInsight.com . Bucharest. สืบค้นเมื่อ 2021-03-14 .
↑ Griffin, Caitlín (2021-03-14). "AstraZeneca vaccinations suspended in Ireland from this morning" . Irish Examiner . สืบค้นเมื่อ 2021-03-14 .
↑ Keane, Sarah (2021-03-15). "Breaking News: Spain Suspends ALL AstraZeneca Vaccines" . Euro Weekly News Spain .
↑ "Major European nations suspend use of AstraZeneca vaccine" . AP NEWS . 2021-03-15.
↑ "Covid-19: Netherlands suspends use of AstraZeneca vaccine" . BBC News . 2021-03-15. สืบค้นเมื่อ 2021-03-16 .
↑ "Slovenija zaustavlja cepljenje s cepivom AstraZeneca" [Slovenia stops vaccination with AstraZeneca]. RTVSLO.si (ภาษาสโลวีเนีย). สืบค้นเมื่อ 2021-03-16 .
↑ "AstraZeneca COVID-19 vaccine: review of very rare cases unusual blood clots continues" . European Medicines Agency (EMA) (Press release). 2021-03-31. สืบค้นเมื่อ 2021-04-09 .
↑ "Netherlands pauses AstraZeneca vaccine rollout for people under 60" . The Independent . 2021-04-02. สืบค้นเมื่อ 2021-04-04 .
↑ 133.0 133.1 "FHIs anbefaling om Astra Zeneca" . Folkehelseinstituttet (ภาษานอร์เวย์). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2021-05-12. สืบค้นเมื่อ 2021-05-12 .
↑
Olsson, Svein Vestrum (2021-04-15). "Regjeringen utsetter AstraZeneca-avgjørelse" . NRK (ภาษานอร์เวย์บุคมอล). สืบค้นเมื่อ 2021-05-12 .
↑
"Disagreement halts decision on vaccine" . www.newsinenglish.no . สืบค้นเมื่อ 2021-05-12 .
↑ Krantz, Andreas (2021-05-10). "Ekspertutvalgets dom over vaksinene fra AstraZeneca og Janssen" . NRK (ภาษานอร์เวย์บุคมอล). สืบค้นเมื่อ 2021-05-12 .
↑
Thommessen, Julia Kirsebom (2021-05-12). "Regjeringen vaksinerer de yngste tidligere" . NRK (ภาษานอร์เวย์บุคมอล). สืบค้นเมื่อ 2021-05-12 .
↑
omsorgsdepartementet, Helse-og (2021-05-12). "AstraZeneca-vaksinen tas ut av koronavaksinasjons-programmet" . Regjeringen.no (ภาษานอร์เวย์). สืบค้นเมื่อ 2021-05-12 .
↑ 139.0 139.1 "Germany restricts use of AstraZeneca vaccine to over 60s in most cases" . Deutsche Welle . 2021-03-30. สืบค้นเมื่อ 2021-03-30 .
↑ 140.0 140.1 140.2 "AstraZeneca vaccine: Denmark stops rollout completely" . BBC News . 2021-04-14. สืบค้นเมื่อ 2021-04-14 .
↑ "NACI to recommend halting AstraZeneca vaccine for those under 55: source" . CTV News . 2021-03-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2021-03-29. สืบค้นเมื่อ 2021-03-29 .
↑ "P.E.I. suspends use of AstraZeneca vaccine for those younger than 55" . CTV News Atlantic . 2021-03-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2021-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-03-29 .
↑
Miller, Adam (2021-03-29). "Why Canada is suspending use of AstraZeneca vaccine in people under 55" . CBC News . สืบค้นเมื่อ 2021-04-07 . {{cite web }}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์ )
↑
"Alberta confirms 1st case of rare blood clot after AstraZeneca vaccine" . CBC News . 2021-04-17. สืบค้นเมื่อ 2021-04-18 .{{cite web }}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์ )
↑
Franklin, Michael (2021-04-17). "Alberta doctors find 2nd case of blood clot linked to AstraZeneca vaccine in Canada" . CTV News Calgary (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-04-18 . {{cite web }}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์ )
↑ "N.B. reports first case of blood-clotting from AstraZeneca vaccine; no new cases of COVID-19" . Atlantic (ภาษาอังกฤษ). 2021-04-20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2021-04-20. สืบค้นเมื่อ 2021-04-21 .
↑
"B.C., Alberta, Manitoba and Ontario lower age limits for AstraZeneca COVID-19 vaccine" . The Globe & Mail . 2021-04-20. สืบค้นเมื่อ 2021-04-21 .
↑
"The AstraZeneca vaccine is now available to Quebecers age 45 and up" . CTV News Montreal (ภาษาอังกฤษ). 2021-04-20. สืบค้นเมื่อ 2021-04-21 .{{cite web }}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์ )
↑
"Sask. lowers AstraZeneca age to 40; includes teachers, correctional officers in COVID-19 vaccine priority" . CTV News Regina (ภาษาอังกฤษ). 2021-04-20. สืบค้นเมื่อ 2021-04-21 .{{cite web }}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์ )
↑ "Health Canada provides update on safety review of AstraZeneca and COVISHIELD COVID-19 vaccines" . Health Canada. 2021-04-14. สืบค้นเมื่อ 2021-04-18 .{{cite web }}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์ )
↑ Aiello, Rachel (2021-04-23). "Canadians aged 30 and older can be offered AstraZeneca vaccine, national vaccine panel says" . CTV News (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2021-04-23. สืบค้นเมื่อ 2021-04-23 .
↑ Aiello, Rachel (2021-05-12). "PM Trudeau says he plans to take second AstraZeneca shot, if it's available" . CTV News (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2021-05-13. สืบค้นเมื่อ 2021-05-13 .
↑ Thompson, Nicole (2021-05-12). "More provinces are limiting the use of the AstraZeneca vaccine" (ภาษาอังกฤษ). Canadian Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2021-05-13. สืบค้นเมื่อ 2021-05-13 .
↑
"Ontario will no longer give AstraZeneca COVID-19 vaccine as 1st dose due to blood clot risk" . CBC (ภาษาอังกฤษ). 2021-05-11. สืบค้นเมื่อ 2021-05-12 .{{cite web }}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์ )
↑ Media, Kompas Cyber (2021-03-15). "Menkes: RI Tunda Penggunaan Vaksin Covid-19 AstraZeneca" [Minister of Health: RI Delays Use of AstraZeneca Covid-19 Vaccine]. KOMPAS.com (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 2021-03-16 .
↑ "Indonesia to resume use of AstraZeneca coronavirus vaccine" . Reuters . 2021-03-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2021-05-02. สืบค้นเมื่อ 2021-05-01 .
↑
"Australia halts AstraZeneca vaccine for most people under 50" . ABC News . 2021-04-08. สืบค้นเมื่อ 2021-04-09 .
↑
"ATAGI statement on AstraZeneca vaccine in response to new vaccine safety concerns" . Australian Government, Department of Health . 2021-04-08.
↑ Tan, Vincent (2021-04-28). "AstraZeneca removed from Malaysia's mainstream COVID-19 immunisation programme due to public concerns: Khairy" . Channel News Asia . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-28. สืบค้นเมื่อ 2021-04-28 .
↑ Timbuong, Jo (2021-05-02). "All 268,800 AstraZeneca vaccination slots taken up in three and a half hours" . The Star . สืบค้นเมื่อ 2021-05-17 . {{cite news }}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์ )
↑ COVID-19 Immunisation Action Body (CITF) (2021-05-26). "AstraZeneca 2.0 COVID-19 Vaccine Appointment Booking on May 26, 2021" (PDF) . The Special Committee for Ensuring Access to COVID-19 Vaccine Supply (JKJAV) . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2021-05-26. สืบค้นเมื่อ 2021-05-27 .
↑ 162.0 162.1 162.2 "COVID-19 Vaccine AstraZeneca: PRAC investigating cases of thromboembolic events - vaccine's benefits currently still outweigh risks - Update" . European Medicines Agency (Press release). 2021-03-11.
↑ "WHO backs AstraZeneca COVID vaccine amid clotting concerns; green lights Johnson & Johnson shots" . UN News . 2021-03-12. สืบค้นเมื่อ 2021-03-16 .
↑ 164.0 164.1 "Update on the safety of COVID-19 Vaccine AstraZeneca" . www.astrazeneca.com .
↑ "MHRA response to the precautionary suspensions of COVID-19 Vaccine AstraZeneca" . MHRA. 2021-03-15.
↑ 166.0 166.1 "Paul-Ehrlich-Institut - News - The Paul-Ehrlich-Institut informs - Temporary Suspension of Vaccination with COVID-19 Vaccine AstraZeneca" . www.pei.de . สืบค้นเมื่อ 2021-03-16 .
↑ "Paul-Ehrlich-Institut - Homepage - FAQ - Temporary suspension of COVID-19 vaccine AstraZeneca (PDF version)" (PDF) . www.pei.de . สืบค้นเมื่อ 2021-03-17 .
↑ "WHO statement on AstraZeneca COVID-19 vaccine safety signals" . World Health Organization (WHO) . 2021-03-17. สืบค้นเมื่อ 2021-03-17 .
↑ 169.0 169.1 169.2 "COVID-19 Vaccine AstraZeneca: benefits still outweigh the risks despite possible link to rare blood clots with low blood platelets" . European Medicines Agency (EMA) (Press release). 2021-03-18. สืบค้นเมื่อ 2021-03-18 .
↑
"COVID-19 Vaccine AstraZeneca - Update on ongoing evaluation of blood clot cases" . European Medicines Agency (EMA) (Press release). 2021-03-25. สืบค้นเมื่อ 2021-03-25 .
↑
"COVID-19 Vaccine AstraZeneca: Risk of thrombocytopenia and coagulation disorders" . European Medicines Agency (EMA) . 2021-03-24. สืบค้นเมื่อ 2021-03-25 .
↑ Mahase, Elisabeth (2021-03-19). "Covid-19: AstraZeneca vaccine is not linked to increased risk of blood clots, finds European Medicine Agency" . BMJ . 372 : n774. doi :10.1136/bmj.n774 . ISSN 1756-1833 . PMID 33741638 . S2CID 232271255 .
↑ Picheta, R (2021-03-18). "EU regulator declares AstraZeneca vaccine safe, but experts fear damage has been done" . CNN . สืบค้นเมื่อ 2021-03-19 .
↑ "EU Resets Vaccine Drive After Chaos That May Undermine Trust" . Bloomberg.com . 2021-03-19. สืบค้นเมื่อ 2021-03-22 .
↑ "AstraZeneca: France, UK prime ministers receive vaccine" . Deutsche Welle . 2021-03-19. สืบค้นเมื่อ 2021-03-22 .
↑ "Vaxzevria (previously COVID-19 Vaccine AstraZeneca): link between the vaccine and occurrence of thrombosis in combination with thrombocytopenia" . European Medicines Agency (EMA) . 2021-04-13. สืบค้นเมื่อ 2021-04-13 .
↑ Emary, KR; Golubchik, T; Aley, PK; Ariani, CV; Angus, B; Bibi, S; และคณะ (April 2021). "Efficacy of ChAdOx1 nCoV-19 (AZD1222) vaccine against SARS-CoV-2 variant of concern 202012/01 (B.1.1.7): an exploratory analysis of a randomised controlled trial" . Lancet . 397 (10282): 1351–1362. doi :10.1016/S0140-6736(21)00628-0 . PMC 8009612 . PMID 33798499 .
↑ Laguipo, AB (2021-03-31). "Oxford-AstraZeneca vaccine effective against B.1.1.7 SARS-CoV-2 variant" . News Medical . สืบค้นเมื่อ 2021-04-04 .
↑ Wise, J (February 2021). "Covid-19: The E484K mutation and the risks it poses". BMJ . 372 : n359. doi :10.1136/bmj.n359 . PMID 33547053 .
↑ Ellyatt, H (2021-02-08). "AstraZeneca races to adapt Covid vaccine as South Africa suspends rollout" . CNBC. สืบค้นเมื่อ 2021-02-08 .
↑ Triggle, N (2021-02-08). "Covid: Are fears over Oxford-AstraZeneca jab justified?" . BBC News Online. สืบค้นเมื่อ 2021-02-09 .
↑ "Study in Adults to Determine the Safety and Immunogenicity of AZD1222, a Non-replicating ChAdOx1 Vector Vaccine, Given in Combination With rAd26-S, Recombinant Adenovirus Type 26 Component of Gam-COVID-Vac Vaccine, for the Prevention of COVID-19" . ClinicalTrials.gov . United States National Library of Medicine. 2020-12-29. NCT04686773. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-11. สืบค้นเมื่อ 2021-06-26 .
↑
"Angela Merkel receives Moderna dose after first AstraZeneca shot" . Al Jazeera . 2021-06-22. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-28. สืบค้นเมื่อ 2021-06-28 .
↑
Ledford, H (2021-02-18). "Could mixing COVID vaccines boost immune response?" . Nature . 590 (7846): 375–376. Bibcode :2021Natur.590..375L . doi :10.1038/d41586-021-00315-5 . ISSN 0028-0836 . PMID 33547431 . S2CID 231946137 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-06. สืบค้นเมื่อ 2021-06-28 .
↑ Sample, I; Grover, N (2021-06-28). "Mixing Covid vaccines offers stong immune protection" . The Guardian . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-28. สืบค้นเมื่อ 2021-06-28 .
↑ 186.0 186.1 186.2 Wise, J (2021-04-14). "Covid-19: How AstraZeneca lost the vaccine PR war". British Medical Journal . 373 : n921. doi :10.1136/bmj.n921 . PMID 33853827 . S2CID 233224029 .
↑ Jack, S (2021-03-30). "AstraZeneca vaccine - was it really worth it?" . BBC News . สืบค้นเมื่อ 2021-04-01 .
↑ "Director-General's opening remarks at the media briefing on COVID-19 - 9 April 2021" . World Health Organization (WHO) .
↑ 189.0 189.1
Baraniuk, Chris (2021-02-18). "Covid-19: How the UK vaccine rollout delivered success, so far" . BMJ . 372 : n421. doi :10.1136/bmj.n421 . ISSN 1756-1833 . PMID 33602672 .
↑ 190.0 190.1
"AstraZeneca signed up to deliver U.K. shots first. Now it aims to supply COVID-19 vaccine worldwide: report" . FiercePharma . สืบค้นเมื่อ 2021-03-30 .
↑ 191.0 191.1 Kirkpatrick, David D. (2020-05-21). "$1.2 Billion From U.S. to Drugmaker to Pursue Coronavirus Vaccine" . The New York Times . ISSN 0362-4331 . สืบค้นเมื่อ 2021-03-30 .
↑ 192.0 192.1 So AD, Woo J (December 2020). "Reserving coronavirus disease 2019 vaccines for global access: cross sectional analysis" . BMJ . 371 : m4750. doi :10.1136/bmj.m4750 . PMC 7735431 . PMID 33323376 . cited "Agreements with CEPI and Gavi and the Serum Institute of India will bring vaccine to low and middle-income countries and beyond" (Press release). AstraZeneca . 4 June 2020. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 16 April 2021. สืบค้นเมื่อ 5 January 2021 .
↑ So & Woo (2020) , p. 3 cited "New collaboration makes further 100 million doses of COVID-19 vaccine available to low- and middle- income countries" (Press release). Gavi, the Vaccine Alliance. 2020-09-29. [ลิงก์เสีย ]
↑ "Egypt signs deal to receive Oxford University's COVID-19 vaccine" . EgyptToday . 2020-06-22. สืบค้นเมื่อ 2021-03-30 .
↑ "AstraZeneca to supply Japan with 120m COVID-19 vaccine doses" . Nikkei Asia . สืบค้นเมื่อ 2021-03-30 .
↑ "AstraZeneca Covid-19 vaccine deal signed by Australia" . www.pharmaceutical-technology.com . สืบค้นเมื่อ 2021-03-30 .
↑
"Covid-19: France, Italy, Germany and Netherlands sign vaccine deal for Europe" . France 24. 2020-06-13. สืบค้นเมื่อ 2020-06-15 .
↑
"AstraZeneca agrees to supply Europe with 400 mil doses of COVID-19 vaccine" . Japan Today . สืบค้นเมื่อ 2020-06-15 .
↑
Calatayud, A. "AstraZeneca to supply Europe with Covid-19 vaccine" . MarketWatch . สืบค้นเมื่อ 2020-06-15 .
↑
"Coronavirus: the Commission signs first contract with AstraZeneca" . European Commission . สืบค้นเมื่อ 2021-04-11 .{{cite web }}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์ )
↑
"With no successful vaccine candidates yet, Canada signs deal to secure 20M more COVID-19 vaccine doses" . CBC News. 2020-09-25.
↑
Health Canada (2020-10-02). "Health Canada begins first authorization review of a COVID-19 vaccine submission" . gcnws . สืบค้นเมื่อ 2020-12-30 .
↑
"Swiss sign next vaccine agreement with AstraZeneca" . SWI swissinfo.ch . สืบค้นเมื่อ 2020-10-16 .
↑
"COVID-19 vaccine: Swiss federal government signs agreement with AstraZeneca" . admin.ch . สืบค้นเมื่อ 2020-10-16 .
↑ 205.0 205.1 "Dhaka to have 330 vaccination points" . The Daily Star . สืบค้นเมื่อ 2021-01-25 .
↑ "เรื่องน่ารู้ของวัคซีนโควิด-19 ที่ไทยสั่งซื้อ" [COVID-19: Progress of the Thai Vaccine Purchased from AstraZeneca]. BBC ไทย . สืบค้นเมื่อ 2021-01-05 .
↑ "เปิดจม.ลับ 'แอสตร้า' อ้าง สธ.ไทยเคยแจ้งต้องการแค่เดือนละ3 ล.โดส เพิ่มให้เกือบ 2 เท่าแล้ว" . สำนักข่าวอิศรา. 2021-07-17. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-18.
↑ 208.0 208.1
"ครม.อนุมัติ 6,387 ล้านบาท ซื้อวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 35 ล้านโดส " . ประชาชาติธุรกิจ . 2021-03-02. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-28.
↑ 209.0 209.1
"Coronavirus (Covid-19) Cabinet approves budget of over 6.3 billion baht for 35 million more vaccine doses" . Thaiger . 2021-03-03. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-28.
↑ 210.0 210.1 "Philippines, AstraZeneca Sign Deal for 2.6 Million Doses" . Bloomberg . 2020-11-27.
↑ 211.0 211.1 "Korea signs agreement with AstraZeneca for COVID vaccine" . The Korea Times . 2020-11-30.
↑ 212.0 212.1 Felix, J (2021-01-07). "SA will get 1 million doses of Covid-19 vaccine from India this month" . News24.com . สืบค้นเมื่อ 2021-01-07 .
↑
"AstraZeneca to begin making vaccine " . BBC News Online. 2020-06-05. สืบค้นเมื่อ 2020-07-01 .
↑
"Mystery of UK's vaccine contract with AstraZeneca revealed" .{{cite news }}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์ )
↑ Roland, D (2020-05-21). "U.S. to Invest $1.2 Billion to Secure Potential Coronavirus Vaccine From AstraZeneca, Oxford University" . The Wall Street Journal . สืบค้นเมื่อ 2020-08-06 .
↑ "AstraZeneca set to start making 400 million COVID-19 vaccines for Latam early in 2021" . Reuters. สืบค้นเมื่อ 2021-01-17 .
↑ "AstraZeneca, Emergent BioSolutions sign $87M deal to produce U.S. supply of COVID-19 vaccine" . FiercePharma (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-06-12 .
↑
Rajagopal, Divya (2020-06-04). "AstraZeneca & Serum Institute of India sign licensing deal for 1 billion doses of Oxford vaccine" . The Economic Times .
↑
Kumar, Mayank (2020-08-07). "Covid-19 vaccine: Serum Institute signs up for 100 million doses of vaccines for India, low and middle-income countries" . The Financial Express .
↑ So & Woo (2020) , p. 3 อ้างอิง "New collaboration makes further 100 million doses of COVID-19 vaccine available to low- and middle- income countries" (Press release). Gavi, the Vaccine Alliance. 2020-09-29.[ลิงก์เสีย ]
↑
"Covid-19: France, Italy, Germany and Netherlands sign vaccine deal for Europe" . France 24 (ภาษาอังกฤษ). 2020-06-13. สืบค้นเมื่อ 2020-06-15 .
↑
"AstraZeneca agrees to supply Europe with 400 mil doses of COVID-19 vaccine" . Japan Today (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-06-15 .
↑
Calatayud, Adria. "AstraZeneca to supply Europe with Covid-19 vaccine" . MarketWatch (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-06-15 .
↑
Peston, R (2021-01-26). "What is the dispute between the EU and AstraZeneca over Covid jabs?" . ITV News . สืบค้นเมื่อ 2021-01-27 .
↑
"Another Fine Mess — The EU's Vaccine (Mis) management" . www.nationalreview.com . 2021-02-11. สืบค้นเมื่อ 2021-03-21 .
↑
"How Europe fell behind on vaccines" . Polico . 2021-01-27. สืบค้นเมื่อ 2021-03-21 .
↑ 227.0 227.1 227.2 "COVID: Bangladesh faces vaccine shortage as India halts exports" . Deutsche Welle. 2021-04-14. สืบค้นเมื่อ 2021-04-21 .
↑ 228.0 228.1 "Bangladesh's Covid-19 vaccine stock to run out in one month" . Dhaka Tribune. 2021-04-17. สืบค้นเมื่อ 2021-04-21 .
↑ "Russia has proposed manufacturing its Covid-19 vaccine in Bangladesh: Momen" . The Daily Star. 2021-04-20. สืบค้นเมื่อ 2021-04-21 .
↑ "Over 200 firms to ink deal for more COVID vaccines with gov't, AstraZeneca" . INQUIRER.NET . 2021-01-11.
↑
Shin, Hyonhee (2020-12-03). "South Korea reaches deal to buy AstraZeneca's COVID-19 vaccine candidate: media" . Reuters . สืบค้นเมื่อ 2021-01-05 .
↑
Cha, Sangmi (2021-01-04). "S.Korea reviews AstraZeneca COVID-19 vaccine, expands ban on gatherings" . Reuters . สืบค้นเมื่อ 2021-01-05 .
↑ Kim, Yoo-chul (2020-11-30). "Korea signs agreement with AstraZeneca for COVID vaccine" . The Korea Times . สืบค้นเมื่อ 2021-01-30 .
↑ "Myanmar will get doses for 15 million people this February" . 7day.news . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2021-01-11. สืบค้นเมื่อ 2021-01-08 .
↑
"South Africa gets rid of 1 million AstraZeneca vaccine doses, but why?" . RFI . 2021-03-22. สืบค้นเมื่อ 2021-03-23 .
↑ Agencies (2021-01-22). "Covid: Oxford/AstraZeneca vaccine delivery to EU to be cut by 60%" . The Guardian . สืบค้นเมื่อ 2021-01-23 .
↑ "Pascal Soriot: "There are a lot of emotions on vaccines in EU. But it's complicated" " . la Repubblica (ภาษาอิตาลี). 2021-01-26. สืบค้นเมื่อ 2021-01-27 .
↑ Boseley, Sarah (2021-01-26). "Why has AstraZeneca reduced promised vaccine supply to EU and is UK affected?" . The Guardian . สืบค้นเมื่อ 2021-01-27 .
↑ "EU tightens vaccine export rules, creates post-Brexit outcry" . 2021-01-30.
↑
Aronoff, Kate (2021-03-03). "The Dark Side of Bill Gates's Climate Techno-Optimism" . The New Republic.
↑
"The next Covid crisis: a vaccine apartheid endangering us all" . The Bureau of Investigative Journalism (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-06-06 . "Unlike AstraZeneca, the Serum Institute has not promised to keep to cost price, and is charging India $3 per dose, South Africa and Brazil $5, and Uganda $7, where the EU only paid AstraZeneca $2."
↑ "Ghana receives first historic shipment of COVID-19 vaccinations from international COVAX facility" . UN News . 2021-02-24.
↑ "ครม.ไฟเขียวงบซื้อวัคซีนโควิดเพิ่ม35ล้านโดส ฉีดให้คนไทย66ล้าน" . โพสต์ทูเดย์ . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2021-01-28. สืบค้นเมื่อ 2021-01-05 .
↑
"ข่าวดี ไทยเริ่มผลิตวัคซีน 'โควิด-19' ในประเทศ รอบที่ 2 แล้ว" . ไทยรัฐออนไลน์ . 2021-01-03.
↑
"สธ. แจง AstraZeneca เป็นผู้คัดเลือก Siam Bioscience ผลิตวัคซีนราคาทุน ขายถูกสุดในตลาด โต้ธนาธร ไม่ได้แทงม้าตัวเดียว" . THE STANDARD . 2021-01-19.
↑ "Thai Food and Drug registers COVID-19 vaccine developed by AstraZeneca" . Pattaya Mail . 2021-01-23.
↑ "วัคซีนโควิด: แอสตร้าเซนเนก้าชี้แจงเหตุผลเลือกสยามไบโอไซเอนซ์เป็นผู้ผลิต" . BBC News ไทย . 2021-01-26.
↑ "นายกฯ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ร.10 ทรงให้ "สยามไบโอไซเอนซ์" รองรับวัคซีนโควิด-19" . BBC ไทย . 2020-11-27. สืบค้นเมื่อ 2021-01-05 .
↑ "35m more shots to be bought in 2021" . Bangkok Post . 2021-01-05.
↑ "AstraZeneca's COVID-19 vaccines made by Siam Bioscience pass quality testing in Europe and U.S." nnt.thainews . 2021-05-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2021-05-21. สืบค้นเมื่อ 2021-05-21 .
↑
"AstraZeneca's Covid-19 vaccines made by Thailand's Siam Bioscience pass quality testing in Europe and US" . TheStar . 2021-05-09.
↑
"แอสตร้าเซนเนก้า ล็อตแรก 1.8 ล้านโดส ออกจากโรงงานแล้ว" . ch7.com . 2021-06-02.
↑
"AstraZeneca commits to 1.8 mln Thai vaccine doses amid supply anxiety" . Reuters . 2021-06-02.
↑ Isranews-07-17 (2021) "โดยรวมแล้ว ทางแอสตร้าเซนเนก้า มีความมุ่งมั่นที่จะจัดสรรวัคซีนจำนวนหนึ่งในสามของวัคซีนที่ผลิตได้ให้แก่ประเทศไทย กล่าวคือ จากวัคซีนที่ผลิตทุก ๆ 3 ล้านโดส กระทรวงสาธารณสุขจะได้จัดสรรจำนวน 1 ล้านโดส และส่วนที่เหลืออีก 2 ส่วนที่ว่ามานั้น จะจัดสรรไปให้แก่ประชาชนในประเทศอื่น ๆ"
↑ Isranews-07-17 (2021) "การจัดสรรนี้นั้นเป็นไปตามความมุ่งมั่นร่วมกันของเราในการเข้าถึงวัคซีนอย่างเท่าเทียมกันและยึดโยงกับส่วนแบ่งของประเทศไทยที่จะได้รับวัคซีนจำนวนทั้งสิ้น 61 ล้านโดส จากยอดการผลิตในสัญญารวมทั้งสิ้น 175 ล้านโดส "
↑
" 'แอสตร้าฯ' รับมีปัญหาผลิตวัคซีนในไทย แม้ห่วงระบาด แต่ส่งได้ 5-6 ล้านโดส /เดือน สิ้น ก.ค.ส่งมอบ 11.3 ล้านโดส " . กรุงเทพธุรกิจ . 2021-07-24.
↑
"รวบสาวแอบอ้างฉีดแอสตร้าฯ คิดเงินเกือบ 2 หมื่น เอาน้ำเกลือมาฉีดให้ ปลอมยันใบนัด" . sanook . 2021-07-24.
↑
"จับสาวแสบ หลอกฉีดแอสตร้าเซนเนก้าให้ชาวบ้าน ที่แท้เป็นแค่น้ำเกลือ" . 7HD . 2021-07-24.
↑
"จับ 2 สาวแสบ หลอกฉีดวัคซีนแอสตร้าฯ เหยื่อหลงเชื่อจ่าย 1.9 หมื่น ที่แท้ฉีดน้ำเกลือ" . kapook . 2021-07-24.
↑
"ตร.สอบสวน 11 User แฮกระบบเครือข่ายมือถือ เรียกค่าหัวคิวฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่สถานีกลางบางซื่อ" . จส 100 . 2021-07-28.
↑
"สิงหาคม ปรับศูนย์ฉีดบางซื่อเฉพาะจองล่วงหน้า ผงะพบคนแฮ็คระบบคิวขายต่อ" . ประชาชาติธุรกิจ . 2021-07-28.
↑
"แจ้งจับโจร!! แฮกระบบค่าย "ทรู" ฉกโควตาวัคซีนขายสิทธิ เรียกเก็บหัวคิว 500-1,000 บาท " . PPTVHD36 . 2021-07-28.
↑ Kumar, H (2021-07-04). "Indian police investigate whether scammers gave thousands of shots of salt water instead of vaccine" . The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-06. สืบค้นเมื่อ 2021-07-07 .
↑ 264.0 264.1 Triggle, Nick; Roxby, Philippa (2021-02-03). "Covid: New Oxford vaccine 'ready by the autumn' to tackle mutations" . BBC News . สืบค้นเมื่อ 2021-04-16 .
แหล่งข้อมูลอื่น
การพัฒนา กลุ่ม การจัดการ วัคซีน
เรื่องโต้แย้ง บทความที่สัมพันธ์กัน
สถาบัน
ศูนย์ควบคุม และป้องกันโรค โรงพยาบาล และสิ่งเกี่ยวข้อง องค์กร
บุคคล
แพทย์ผู้นำ การปฏิบัติ นักวิจัย เจ้าหน้าที่ จีน อิตาลี สหราชอาณาจักร สหรัฐ
อื่น ๆ ผู้เสียชีวิต
ข้อมูล (แม่แบบ)
ทั่วโลก แอฟริกา เอเชีย ยุโรป (แผนภูมิ )อเมริกาเหนือ โอเชียเนีย อเมริกาใต้