รูปปั้นเติ้ง เสี่ยวผิงในสวนเหลียนฮฺวาชาน ในเชินเจิ้น
ปัวล่วนฝ่านเจิ้ง (จีนตัวย่อ : 拨乱反正 ; จีนตัวเต็ม : 撥亂反正 ; แปลตรงตัว : "ขจัดความวุ่นวายและกลับสู่ปกติ"; แปลว่า จัดการสิ่งต่าง ๆ ให้ถูกต้อง ) หมายถึงช่วงเวลาแห่งการปฏิรูปทางสังคมและการเมืองที่สำคัญที่เริ่มตั้งแต่การขึ้นสู่อำนาจของเติ้ง เสี่ยวผิง ในฐานะผู้นำสูงสุดของจีน แทนที่ฮฺว่า กั๋วเฟิง ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้สืบทอดอำนาจของเหมา เจ๋อตง ก่อนที่เหมาจะถึงแก่อสัญกรรมใน ค.ศ. 1976 ในช่วงเวลานี้ เติ้งและพันธมิตรของเขาได้ดำเนินการปฏิรูปครั้งใหญ่เพื่อ "แก้ไขข้อผิดพลาดของการปฏิวัติทางวัฒนธรรม " และฟื้นฟูความสงบเรียบร้อยในประเทศ[ 1] [ 2] การเริ่มต้นยุค ปัวล่วนฝ่านเจิ้ง ถือเป็นจุดเปลี่ยนในประวัติศาสตร์จีน โดยการปรับเปลี่ยนทางวัฒนธรรมได้รับการพิสูจน์ในภายหลังว่าเป็นรากฐานที่มั่นคงสำหรับการปฏิรูปเศรษฐกิจและเปิดประเทศ [ 3] [ 4] ดังนั้น จึงมีการนำเอาลักษณะบางประการของระบบทุนนิยมตลาด เข้ามาสู่เศรษฐกิจจีนได้สำเร็จ นำไปสู่การเกิดช่วงเวลาแห่งการเติบโตที่มักถูกยกย่องว่าเป็นหนึ่งในความสำเร็จทางเศรษฐกิจที่น่าประทับใจที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ[ 5] [ 6] [ 7]
เติ้ง เสี่ยวผิง ผู้ซึ่งเคยขึ้น ๆ ลง ๆ ในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรมได้กล่าวถึงแนวคิดของ ปัวล่วนฝ่านเจิ้ง เป็นครั้งแรกต่อสาธารณชนในเดือนกันยายน ค.ศ. 1977 ประมาณหนึ่งปีหลังการถึงแก่อสัญกรรมของเหมาและการจับกุมแก๊งออฟโฟร์ [ 8] [ 9] ด้วยความช่วยเหลือจากพันธมิตร เช่น หู เย่าปัง ผู้ซึ่งต่อมาได้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ พรรค เติ้งจึงสามารถเปิดตัวการปฏิรูปของตนได้หลังการประชุมเต็มคณะครั้งที่ 3 ของคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดที่ 11 ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1978 ซึ่งเป็นช่วงที่เขาก้าวขึ้นสู่บทบาทผู้นำสูงสุด[ 10] [ 11] [ 12] พรรคคอมมิวนิสต์จีน (พคจ.) และรัฐบาลจีนค่อย ๆ ยุตินโยบายต่าง ๆ ของลัทธิเหมา ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิวัติทางวัฒนธรรม และฟื้นฟูชื่อเสียงให้แก่ผู้คนหลายล้านคนที่ตกเป็นเป้าหมายในช่วงทศวรรษแห่งความวุ่นวายนั้น[ 13] [ 10] ปัวล่วนฝ่านเจิ้ง ดำเนินมาจนถึงต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 หลังจากนั้นพรรคคอมมิวนิสต์จีนและรัฐบาลจีนได้เปลี่ยนจุดเน้นหลักจาก "การต่อสู้ระหว่างชนชั้น " ไปสู่การมุ่งเน้นการปฏิรูปให้ทันสมัย และ "การสร้างเศรษฐกิจ " อย่างจริงจังมากขึ้น[ 14] [ 15] ความเร็วของการเปลี่ยนแปลงของจีนในช่วงเวลานี้ จากประเทศที่ยากจนที่สุดประเทศหนึ่งมาเป็นหนึ่งในประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกนั้นไม่มีประเทศใดเทียบได้ในประวัติศาสตร์[ 16] : 11 นอกจากนี้ "การอภิปรายเกณฑ์ความจริง ค.ศ. 1978 " ในช่วงยุค ปัวล่วนฝ่านเจิ้ง ถือเป็นจุดเริ่มต้นของขบวนการตรัสรู้ใหม่ ซึ่งกินเวลานานถึงทศวรรษในจีนแผ่นดินใหญ่[ 17] [ 18]
อย่างไรก็ตาม ในยุค ปัวล่วนฝ่านเจิ้ง ก็มีประเด็นขัดแย้งเกิดขึ้นมากมาย เช่น การจัดการกับมรดกของเหมาและการปฏิวัติทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะการลงโทษผู้ที่เกี่ยวข้องกับความโหดร้ายในช่วงเวลานั้น อย่างเบาบาง รวมทั้งการบรรจุ " หลักสำคัญสี่ประการ " ลงในรัฐธรรมนูญของประเทศ ซึ่งยึดมั่นในระบอบการปกครองแบบพรรคเดียว ในจีน[ 19] [ 20] พรรคคอมมิวนิสต์จีนยังคงไม่เปิดเผยเอกสารจำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับการปฏิวัติทางวัฒนธรรม ทำให้การศึกษาค้นคว้าเชิงวิชาการและการพูดคุยอย่างเปิดเผยเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าวในสังคมจีนเป็นไปได้ยาก เพราะมีความกังวลว่าจะเผชิญกับการกดดันจากรัฐ[ 21] [ 22] เมื่อไม่นานมานี้ มีความกังวลเกี่ยวกับการกัดกร่อนที่อาจเกิดขึ้นของการปฏิรูปในยุคนั้น และการปกครองแบบเผด็จการที่เข้มงวดขึ้นภายใต้สี จิ้นผิง ผู้ซึ่งขึ้นดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคใน ค.ศ. 2012[ 23] [ 24] [ 25] [ 26]
ศัพท์มูลวิทยา
คำว่า ปั่วล่วนฝ่านเจิ้ง (拨乱反正 ) เป็นสำนวนวรรณคดีจีน (เฉิงยฺหวี่ ) ที่อ้างถึงบรรทัดหนึ่งในอรรถกถากงหยาง ในพงศาวดารชุนชิว ของจีนโบราณ[ 27] สำนวนนี้แปลแบบตรงตัวได้ว่า "แก้ไขความวุ่นวายและกลับคืนสู่ปกติ"[ 1] [ 2] [ 27] [ 28]
เมื่อวันที่ 19 กันยายน ค.ศ. 1977 เติ้ง เสี่ยวผิงได้เสนอแนวคิดของ "ปัวล่วนฝ่านเจิ้ง " เป็นครั้งแรกในการประชุมกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการของจีน โดยขอให้เจ้าหน้าที่แก้ไขข้อผิดพลาดของการปฏิวัติทางวัฒนธรรมในด้านการศึกษา[ 8]
อุดมการณ์
การอภิปรายเกี่ยวกับเกณฑ์การทดสอบความจริง
ภายในอดีตที่พำนักของหู เย่าปัง หลังเหมา เจ๋อตง ถึงแก่อสัญกรรมในเดือนกันยายน ค.ศ. 1976 ฮฺว่า กั๋วเฟิง ได้สืบทอดตำแหน่งประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน และประธานคณะกรรมการการทหารส่วนกลาง ต่อจากเหมา ฮฺว่าดำเนินนโยบายตามลัทธิเหมาเป็นส่วนใหญ่และยึดหลักการ "สองสิ่งใดก็ตาม " ("ไม่ว่าประธานเหมาจะพูดอะไร เราจะพูดตาม และไม่ว่าประธานเหมาจะทำอะไร เราจะทำตาม")[ 29] [ 30]
ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1977 ด้วยการสนับสนุนจากบรรดาผู้นำระดับสูงที่มีอิทธิพลหลายคน เช่น เย่ เจี้ยนอิง และเฉิน ยฺหวิน เติ้ง เสี่ยวผิงได้รับการฟื้นฟูชื่อเสียงอย่างเป็นทางการและได้รับแต่งตั้งกลับคืนสู่ตำแหน่งรองประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีนและรองนายกรัฐมนตรีจีน หลังถูกกวาดล้าง (ถึงสองครั้ง) โดยเหมาในระหว่างการปฏิวัติทางวัฒนธรรม [ 31] [ 32] ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1978 เติ้งร่วมกับหู เย่าปังและพันธมิตรคนอื่น ๆ ได้ริเริ่มการอภิปรายครั้งใหญ่ ภายในสังคมจีน เพื่อหารือเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการทดสอบความจริงและวิพากษ์วิจารณ์อุดมการณ์ของ "สองสิ่งใดก็ตาม"[ 33] เติ้งและพันธมิตรให้การสนับสนุนปรัชญาที่ว่า "การปฏิบัติเป็นเกณฑ์เดียวในการทดสอบความจริง" ซึ่งเป็นแนวคิดที่ถูกเสนอขึ้นครั้งแรกในบทความที่ตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์กวางหมิงเป้า (Guangming Daily ) ในวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1978 และได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางจากประชาชนจีน[ 33] [ 34] [ 35] [ 36] การอภิปรายครั้งนี้ยังก่อให้เกิด "ขบวนการตรัสรู้ใหม่ " ขนาดใหญ่ในจีนแผ่นดินใหญ่ซึ่งดำเนินมายาวนานกว่าทศวรรษ โดยส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย มนุษยนิยม และค่านิยมสากล เช่น สิทธิมนุษยชน และเสรีภาพ [ 17] [ 18]
วันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1978 เติ้งได้กล่าวสุนทรพจน์ในการปิดการประชุมเต็มคณะครั้งที่ 3 ของคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดที่ 11 ซึ่งในโอกาสนี้เขาได้เข้ามาแทนที่ฮฺว่าในฐานะผู้นำสูงสุดคนใหม่ของจีน [ 37] [ 38] ในสุนทรพจน์ของเขาที่มีชื่อว่า ปลดปล่อยจิตใจ แสวงหาความจริงจากข้อเท็จจริง และร่วมกันมองสู่อนาคต (解放思想,实事求是,团结一致向前看) เติ้งได้กระตุ้นสังคมจีนให้แสวงหาความจริงจากข้อเท็จจริง และชี้ให้เห็นว่าหากพรรคคอมมิวนิสต์จีน ประเทศ และประชาชนยังคงยึดมั่นในลัทธิเหมา ด้วยความดื้อดึงและความเชื่ออันไร้เหตุผล พวกเขาก็จะไม่มีวันก้าวไปข้างหน้าและจะต้องพินาศ[ 39] [ 40] [ 41] [ 42]
ทำให้การปฏิวัติทางวัฒนธรรมเป็นโมฆะ
เจียง ชิง ภรรยาของเหมา เจ๋อตงและสมาชิกคนสำคัญของแก๊งออฟโฟร์ [ 43]
วันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 1976 เหมา เจ๋อตงถึงแก่อสัญกรรม ณ กรุงปักกิ่ง และในวันที่ 6 ตุลาคม ปีเดียวกัน ฮฺว่า กั๋วเฟิง ร่วมกับเย่ เจี้ยนอิง วัง ตงซิง และคณะได้จับกุมแก๊งออฟโฟร์ ในการก่อรัฐประหารทางการเมือง ที่โถงหฺวายเหริน ทำให้การปฏิวัติทางวัฒนธรรมยุติลง[ 44] [ 45] อย่างไรก็ตาม หลังจากฮฺว่ากลายเป็นผู้นำสูงสุดคนใหม่ของจีนต่อจากเหมา เขาก็ยังคงดำเนินตามนโยบายลัทธิเหมาและยึดมั่นในแนวปฏิบัติ "สองสิ่งใดก็ตาม" โดยไม่ทำให้การปฏิวัติวัฒนธรรมเป็นโมฆะ[ 29] [ 30]
หลังเติ้งได้รับชัยชนะในการต่อสู้แย่งชิงอำนาจเหนือฮฺว่าและกลายเป็นผู้นำสูงสุดคนใหม่ของจีนในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1978 เขากับพันธมิตรก็ได้เริ่มดำเนินการตามโครงการปัวล่วนฝ่านเจิ้งอย่างเป็นระบบเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดของการปฏิวัติทางวัฒนธรรม[ 37] [ 38]
ตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 เป็นต้นมา เติ้งและพันธมิตรได้ค่อย ๆ รื้อแนวทาง "การต่อสู้ระหว่างชนชั้น ที่ต่อเนื่อง" ของลัทธิเหมา และเปลี่ยนจุดเน้นของพรรคคอมมิวนิสต์จีนและรัฐบาลจีนไปที่ "การสร้างเศรษฐกิจ " เช่นเดียวกับ "การปฏิรูปให้ทันสมัย "[ 14] [ 46] [ 15] ใน ค.ศ. 1980–81 ท้ายที่สุด ฮฺว่าลาออกจากตำแหน่งประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน ประธานคณะกรรมการการทหารส่วนกลาง และนายกรัฐมนตรี [ 47] เติ้งขึ้นดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการการทหารส่วนกลางคนใหม่ ขณะเดียวกันพันธมิตรคนสนิทอีกสองคนของเขาก็เข้ารับอีกสองตำแหน่ง คือ หู เย่าปัง ขึ้นเป็นประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีนคนใหม่ และจ้าว จื่อหยาง ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่[ 48] [ 49]
ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1980 ถึง 25 มกราคม ค.ศ. 1981 ศาลพิเศษภายใต้ศาลประชาชนสูงสุด ได้ดำเนินการพิจารณาคดีแก๊งออฟโฟร์ และบุคคลอื่น ๆ อีก 6 คน ซึ่งท้ายที่สุดได้มีการตัดสินให้ประหารชีวิต โดยรอลงอาญา 2 ปีสำหรับเจียง ชิงและจาง ชุนเฉียว และจำคุกในระยะเวลาต่างกันจนถึงตลอดชีวิต สำหรับสมาชิกคนอื่น ๆ[ 50] [ 51]
ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2524 ในการประชุมเต็มคณะครั้งที่ 6 ของคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดที่ 11 เหล่าผู้นำระดับสูงของพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้มีมติเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ใน "มติเกี่ยวกับบางประเด็นในประวัติศาสตร์พรรคของเรานับแต่การก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน "[ 52] [ 53] มติดังกล่าวถูกร่างขึ้นภายใต้การกำกับดูแลของเติ้งและทำให้การปฏิวัติทางวัฒนธรรมเป็นโมฆะอย่างเป็นทางการโดยเรียกว่าเป็น "ความหายนะภายในประเทศที่ผู้นำ (เหมา เจ๋อตง) ก่อขึ้นโดยไม่ตั้งใจ และถูกกลุ่มต่อต้านปฏิวัติ (หลิน เปียว และแก๊งออฟโฟร์) ฉวยโอกาส" และว่า "การปฏิวัติทางวัฒนธรรมเป็นสาเหตุของการถดถอยอย่างรุนแรงและความสูญเสียครั้งใหญ่ที่สุดที่พรรค ประเทศ และประชาชนต้องเผชิญนับแต่การก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน[ 28] [ 52] [ 53] [ 54]
การเมืองและกฎหมาย
การฟื้นฟูชื่อเสียงเหยื่อ
หู เย่าปัง เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนในขณะนั้น ได้ช่วยเติ้ง เสี่ยวผิงเปิดตัวโครงการปัวล่วนฝ่านเจิ้ง และได้รับการสนับสนุนจากเติ้งในการดูแลการฟื้นฟูชื่อเสียงเหยื่อนับล้านคนที่ถูกข่มเหงในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม[ 55]
ในช่วงปัวล่วนฝ่านเจิ้ง หู เย่าปัง เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน ในขณะนั้น ได้รับการสนับสนุนจากเติ้งและผู้นำคนอื่น ๆ ให้รับผิดชอบการฟื้นฟูชื่อเสียงและคืนความเป็นธรรมให้แก่ผู้ตกเป็นเหยื่อในสิ่งที่เรียกว่า "คดีที่ไม่ยุติธรรม เป็นเท็จ และผิดพลาด" (冤假错案) นับตั้งแต่การรณรงค์ต่อต้านฝ่ายขวา ใน ค.ศ. 1957[ 55] [ 56] [ 57] [ 58] ภายในเวลาไม่กี่ปีหลัง ค.ศ. 1978 ผู้ตกเป็นเหยื่อจากกรณีดังกล่าวจำนวนกว่า 3 ล้านคนได้รับการฟื้นฟู[ 59] อย่างไรก็ตาม ท้ายที่สุดแล้วยังคงมี "พวกขวาจัด " ประมาณ 100 คนที่ไม่ได้รับการฟื้นฟูอย่างเป็นทางการ โดยเฉพาะจาง ปั๋วจฺวิน , หลัว หลงจี , ฉู่ อันผิง และคนอื่น ๆ[ 60]
นอกเหนือจาก "พวกขวาจัด" ซึ่งเป็นหนึ่งใน "ห้าจำพวกดำ " แล้ว คณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน ได้ตัดสินใจให้ยกเลิกจำพวกทางสังคมที่ถูกเลือกปฏิบัติอีกสี่จำพวกในเดือนมกราคม ค.ศ. 1979[ 61] ตามสถิติอย่างเป็นทางการ ภายใน ค.ศ. 1984 มีผู้ที่ถูกจัดว่าเป็น "เจ้าของที่ดิน" และ "ชาวนาที่ร่ำรวย" ประมาณ 4.4 ล้านคนได้รับการฟื้นฟู และมีประชาชนทั้งหมดกว่า 20 ล้านคนที่ถูกตราหน้าว่าเป็นสมาชิกของ "สี่จำพวกดำ" หรือครอบครัวของพวกเขาได้รับการแก้ไขสถานะทางสังคม[ 61]
การประชุมดูความดิ้นรน ของจอมพล เผิง เต๋อหวย ผู้ซึ่งถูกข่มเหงจนเสียชีวิตในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม ต่อมาเขาได้รับการฟื้นฟูหลังเสียชีวิตในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1978[ 62] บุคคลสำคัญบางส่วนที่ได้รับการฟื้นฟูอย่างเป็นทางการในช่วงปัวล่วนฝ่านเจิ้ง มีรายชื่ออยู่ด้านล่าง การฟื้นฟูของบุคคลสำคัญเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนและกำกับดูแลโดยเติ้ง เสี่ยวผิง, เฉิน ยฺหวิน , หู เย่าปัง และผู้นำระดับสูงคนอื่น ๆ ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน[ 55] [ 58] [ 63]
รัฐธรรมนูญของจีน
ในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม หนังสือเล่มเล็กแดง ซึ่งรวบรวมคติพจน์ของประธานเหมา เจ๋อตง ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ทำให้ลัทธิบูชาบุคคลของเหมา ถึงจุดสูงสุด ในช่วงเวลานั้น รัฐธรรมนูญและนิติธรรม ของจีนถูกละเลยอย่างมาก[ 64]
รัฐธรรมนูญฉบับแรกของสาธารณรัฐประชาชนจีน รู้จักกันทั่วไปว่า "รัฐธรรมนูญ 1954 " มีผลบังคับใช้ใน ค.ศ. 1954 อย่างไรก็ตาม ใน ค.ศ. 1958 เหมา เจ๋อตงได้สนับสนุน "การปกครองของคน " มากกว่า "นิติธรรม " อย่างเปิดเผย[ 65] โดยกล่าวว่า:[ 66] [ 67]
เราไม่สามารถปกครองประชาชนส่วนใหญ่ได้โดยอาศัยกฎหมายเพียงอย่างเดียว ประชาชนส่วนใหญ่ [สามารถปกครองได้] โดยอาศัยการปลูกฝัง [คุณธรรม] เท่านั้น การพึ่งนิติธรรมในการปกครองกองทัพนั้นไม่ประสบผลสำเร็จ สิ่งที่ได้ผลจริง ๆ คือการประชุม 1,400 คน ใครจะจำข้อกฎหมายแพ่งหรืออาญาได้มากโขขนาดนั้น? แม้แต่ตัวข้าพเจ้าเองที่มีส่วนในการร่างรัฐธรรมนูญ ยังไม่สามารถจำ [รัฐธรรมนูญ] ได้เลย
ในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม รัฐธรรมนูญของจีนได้ถูกแก้ไขใน ค.ศ. 1975 และรัฐธรรมนูญฉบับที่สองซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ "รัฐธรรมนูญ 1975 " ได้นำเอาลัทธิเหมา และศัพท์ เช่น "การนำของพรรคคอมมิวนิสต์จีนอย่างเบ็ดเสร็จ" มาบรรจุไว้ในเนื้อหาหลัก[ 68] [ 69] รัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังรวมคำอธิบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับองค์กรพรรคคอมมิวนิสต์จีนและยกเลิกตำแหน่งทางการเมืองระดับสูงรวมถึงประธานาธิบดี และรองประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน [ 68] [ 69]
หลังการปฏิวัติทางวัฒนธรรมสิ้นสุดลงใน ค.ศ. 1976 ไม่นาน โดยยึดตามแนวทาง "สองสิ่งใดก็ตาม" ของฮฺว่า กั๋วเฟิง จึงได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่สาม (หรือที่รู้จักในชื่อ รัฐธรรมนูญ 1978 ) ใน ค.ศ. 1978[ 70] แม้ว่าถ้อยคำบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิวัติทางวัฒนธรรมจะถูกตัดออกจากรัฐธรรมนูญ 1978 แต่เนื้อหาส่วนใหญ่จากรัฐธรรมนูญ 1975 ยังคงอยู่ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่ รวมถึงการยอมรับ "ความสำเร็จ" ของการปฏิวัติทางวัฒนธรรมและถ้อยคำที่ชัดเจนเช่น "การนำของพรรคคอมมิวนิสต์จีน" ในประเทศจีน[ 71]
อย่างไรก็ตาม ในช่วง ปัวล่วนฝ่านเจิ้ง เติ้ง เสี่ยวผิงได้กล่าวสุนทรพจน์สำคัญเรื่อง "การปฏิรูประบบผู้นำพรรคและรัฐ" (党和国家领导制度改革) ในวันที่ 18 สิงหาคม ค.ศ. 1980 ต่อสภาประชาชนแห่งชาติ ว่าจีนจำเป็นปฏิรูปการเมือง และแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างเป็นระบบ[ 72] [ 73] เติ้งชี้ให้เห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะต้องสามารถคุ้มครองสิทธิพลเมือง ของชาวจีนและต้องแสดงให้เห็นถึงหลักการแยกใช้อำนาจ เขายังกล่าวถึงแนวคิด "การนำร่วม " โดยสนับสนุนให้มีการ "หนึ่งคน หนึ่งเสียง " ในหมู่ผู้นำระดับสูงเพื่อหลีกเลี่ยงการผูกขาดอำนาจโดยเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน[ 72] [ 73] ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1982 สภาประชาชนแห่งชาติชุดที่ 5 ได้มีมติผ่านรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนฉบับที่ 4 (หรือที่รู้จักทั่วไปในชื่อ "รัฐธรรมนูญ 1982 ") ซึ่งสะท้อนถึงรัฐธรรมนูญนิยม แบบจีน และเนื้อหาส่วนใหญ่ยังคงมีผลบังคับใช้มาจนถึงปัจจุบัน[ 74] [ 75] หากเทียบกับฉบับก่อนหน้า การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญบางประการในรัฐธรรมนูญ 1982 มีดังนี้
ถ้อยคำที่เกี่ยวข้องกับการปฏิวัติทางวัฒนธรรม เช่น "การปฏิวัติอย่างต่อเนื่อง ภายใต้ระบอบเผด็จการของชนชั้นกรรมาชีพ " ถูกตัดออก
คำอธิบายเกี่ยวกับองค์กรของพรรคคอมมิวนิสต์จีนถูกลบออก
ข้อความที่ระบุว่า "ประเทศอยู่ภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์จีน" ถูกตัดออก แต่ต่อมาถูกนำกลับมาใช้โดยสี จิ้นผิงใน ค.ศ. 2018[ 76]
มีการเพิ่มข้อความที่ระบุว่า "หน่วยงานของรัฐ กองทัพ พรรค องค์กรสาธารณะ รวมถึงรัฐวิสาหกิจและกิจการทั้งหมดต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย"[ 77]
ตำแหน่งประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีนได้รับการสถาปนาขึ้นใหม่ โดยมีการกำหนดวาระการดำรงตำแหน่ง 2 สมัย สมัยละ 5 ปีติดต่อกัน แม้ว่าภายหลังสี จิ้นผิง จะยกเลิกข้อจำกัดเรื่องวาระการดำรงตำแหน่งใน ค.ศ. 2018[ 78] [ 79]
วิชาการและการศึกษา
นักวิทยาศาสตร์และปัญญาชน
เหยา ถงปิน นักวิทยาศาสตร์ด้านขีปนาวุธชาวจีนผู้มีชื่อเสียง ซึ่งถูกทำร้ายจนเสียชีวิตในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม ได้รับการยอมรับให้เป็น "มรณสักขี " ในยุคปัวล่วนฝ่านเจิ้ง[ 80] ในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม บุคคลในแวดวงวิชาการและปัญญาชน ถูกตราหน้าว่าเป็น "ค่านิยมเก่าทั้งเก้าที่เน่าเฟะ " และถูกกดขี่ข่มเหงอย่างกว้างขวาง[ 81] บุคคลสำคัญในแวดวงวิชาการ วิทยาศาสตร์ และการศึกษาที่เสียชีวิตเนื่องจากการปฏิวัติทางวัฒนธรรม ได้แก่ สฺยง ชิ่งไหล , เจี่ยน ปั๋วจ้าน , เหล่า เช่อ , เถียน ฮั่น , ฟู่ เหลย์ , อู๋ หัน , เหรา ยฺวี่ไท่ , อู๋ ติ้งเหลียง , เหยา ถงปิน และจ้าว จิ่วจาง [ 82] ณ ค.ศ. 1968 ในบรรดาคณาจารย์อาวุโส 171 คนประจำสำนักงานใหญ่สถาบันวิทยาศาสตร์จีน กรุงปักกิ่ง มีผู้ถูกข่มเหงถึง 131 คน และเมื่อพิจารณาในภาพรวมทั่วประเทศพบว่ามีสมาชิกสถาบันฯ เสียชีวิตจากการถูกข่มเหงถึง 229 คน[ 83] ณ เดือนกันยายน ค.ศ. 1971 พนักงานกว่า 4,000 คนในศูนย์นิวเคลียร์ของจีนในมณฑลชิงไห่ ถูกข่มเหง ในจำนวนนี้ฆ่าตัวตาย 40 คน ถูกประหารชีวิต 5 คน และพิการถาวร 310 คน[ 84]
ในช่วงปั่วล่วนฝ่านเจิ้ง เติ้ง เสี่ยวผิงเป็นผู้นำการฟื้นฟูชื่อเสียงให้แก่เหล่านักวิทยาศาสตร์และปัญญาชนที่ถูกกดขี่ในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม[ 85] ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1978 เติ้งได้เน้นย้ำในการประชุมวิทยาศาสตร์แห่งชาติว่าปัญญาชนเป็นส่วนหนึ่งของชนชั้นแรงงาน และหัวใจสำคัญของการปฏิรูปประเทศคือการปฏิรูปวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี[ 86] [ 87] ต่อมา เขายังได้เน้นย้ำด้วยว่าผู้มีความรู้และความสามารถนั้นสมควรได้รับการเคารพยกย่อง ในขณะเดียวกันความคิดที่ผิด เช่น การไม่เคารพปัญญาชน ก็ต้องถูกต่อต้าน[ 87] หนึ่งในคำกล่าวอันโดดเด่นของเติ้งคือ "วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีคือกำลังการผลิตหลัก"[ 88] [ 89]
นับตั้งแต่ยุคปัวล่วนฝ่านเจิ้ง เป็นต้นมา วรรณกรรมใหม่หลายแนวได้เกิดขึ้น เช่น วรรณกรรมแผลในใจ วรรณกรรมเชิงไตร่ตรอง (反思文学) และวรรณกรรมการปฏิรูป (改革文学)[ 28] [ 90]
ระบบการศึกษา
ระบบการศึกษาของจีนแทบจะหยุดชะงักไปในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม ในช่วงแรกของการปฏิวัติ โรงเรียนและมหาวิทยาลัยต่างถูกปิดทำการ โรงเรียนประถมและมัธยมศึกษาบางส่วนได้เปิดทำการอีกครั้งในภายหลัง แต่โรงเรียนอุดมศึกษาและมหาวิทยาลัยทั้งหมดถูกปิดทำการจนถึง ค.ศ. 1970 และส่วนใหญ่ยังคงปิดทำการจนถึง ค.ศ. 1972[ 91] หลัง ค.ศ. 1966 การสอบเข้ามหาวิทยาลัย ถูกยกเลิกและแทนที่ด้วยระบบใหม่ที่ให้นักเรียนได้รับการคัดเลือกโดยโรงงาน หมู่บ้าน และหน่วยงานทหาร[ 92] ค่านิยมต่าง ๆ ที่สอนกันในระบบการศึกษาแบบดั้งเดิมถูกละทิ้ง ใน ค.ศ 1968 พรรคคอมมิวนิสต์ได้ริเริ่มขบวนการลงสู่ชนบท ซึ่งส่ง "เยาวชนที่มีการศึกษา " จากเขตเมืองไปยังชนบทเพื่อให้ชาวนาช่วยอบรมสั่งสอนและเพื่อให้เยาวชนเหล่านี้เข้าใจบทบาทของแรงงานเกษตรในสังคมจีนอย่างถ่องแท้
ใน ค.ศ. 1977 ตามข้อเสนอแนะของจา เฉวียนซิ่ง และเวิน ยฺเหวียนไข่ เติ้ง เสี่ยวผิงได้ฟื้นฟูการสอบเข้ามหาวิทยาลัยระดับชาติ (เกาเข่า ) ขึ้นมาใหม่หลังจากที่หยุดชะงักไปสิบปีในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม ส่งผลให้ระบบการศึกษาขั้นสูง ของจีนกลับมาฟื้นฟูอีกครั้งและเปลี่ยนแปลงชีวิตของผู้คนนับล้าน[ 93] [ 94] [ 95] เติ้งมองว่าวิทยาศาสตร์และการศึกษาเป็นรากฐานสำคัญของการปฏิรูปสี่ประการ ของจีน[ 94] [ 96] มีการเสนอระบบการศึกษาภาคบังคับในช่วงปัวล่วนฝ่านเจิ้ง และด้วยการสนับสนุนของเติ้งและคณะ การศึกษาภาคบังคับจึงถูกบรรจุลงใน "รัฐธรรมนูญสาธารณรัฐประชาชนจีน ค.ศ. 1982" และในที่สุดประเทศจีนก็ได้บัญญัติกฎหมายการศึกษาภาคบังคับ 9 ปีใน ค.ศ. 1986 (กฎหมายว่าด้วยการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี )[ 93] [ 97] ใน ค.ศ. 1985 ตามคำแนะนำของจ้าว จื่อหยาง นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น สภาประชาชนแห่งชาติได้กำหนดให้ "วันที่ 10 กันยายน" ของทุกปีเป็นวันครูแห่งชาติ [ 98]
นอกจากนี้ ศาสตราจารย์เฉิน เฉิ่งเชิน นักคณิตศาสตร์ชาวอเมริกันเชื้อสายจีน ชื่อดัง เคยเสนอแนะต่อเติ้งให้เพิ่มเงินเดือนขั้นพื้นฐานของอาจารย์ในจีนแผ่นดินใหญ่ โดยให้เพิ่มเงินเดือนเดือนละ 100 หยวน และข้อเสนอนี้ได้รับการอนุมัติจากเติ้งในไม่ช้า[ 99]
ข้อโต้แย้ง
มุมมองเกี่ยวกับเหมา เจ๋อตง
การคงภาพของเหมา เจ๋อตงไว้ที่เทียนอันเหมิน เป็นหนึ่งในประเด็นขัดแย้งหลักหลังการปฏิวัติทางวัฒนธรรม
มีการโต้แย้งว่าโครงการ ปัวล่วนฝ่านเจิ้ง ที่เติ้ง เสี่ยวผิงริเริ่มนั้นมีทั้งข้อจำกัดและข้อขัดแย้ง โดยเฉพาะการบรรจุ "หลักสำคัญสี่ประการ " ลงในรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1982 ซึ่งห้ามพลเมืองจีนท้าทายเส้นทางสังคมนิยมของจีน ลัทธิเหมา ลัทธิมากซ์–เลนิน รวมถึงการนำของพรรคคอมมิวนิสต์จีน[ 100] [ 101]
การสร้างสุสานของเหมา เจ๋อตง บนจัตุรัสเทียนอันเหมิน และการคงภาพของเหมาไว้บนเทียนอันเหมินก็เป็นประเด็นที่ถกเถียงเช่นกัน[ 102] [ 103] ยิ่งไปกว่านั้น นักวิชาการบางคนได้ชี้ให้เห็นว่า เติ้ง เสี่ยวผิงเองก็ได้เปิดเผยถึงข้อจำกัดในความเข้าใจของเขาเกี่ยวกับเหมาและระบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ ซึ่งสามารถเห็นได้จากตัวอย่างเช่น เมื่อเติ้งยืนยันว่าในบรรดาสิ่งที่เหมาได้กระทำต่อชาวจีนทั้งหมดนั้น "70% เป็นสิ่งดี และ 30% เป็นสิ่งไม่ดี" ในขณะที่ปฏิเสธความรับผิดชอบต่อภัยพิบัติมากมายในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรมโดยกล่าวโทษหลิน เปียวและแก๊งออฟโฟร์[ 19] [ 102] [ 104]
หลังถึงแก่อสัญกรรม เหมาถูกมองว่าเป็นบุคคลที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งไปทั่วโลก ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 นักเคลื่อนไหวทางการเมืองในจีน เช่น เว่ย์ จิงเชิง ได้ริเริ่ม "ขบวนการกำแพงประชาธิปไตย " ในกรุงปักกิ่ง โดยวิพากษ์วิจารณ์เหมา ลัทธิเหมา และระบอบพรรคเดียว ในจีน พร้อมเรียกร้องประชาธิปไตยและเสรีภาพ[ 105] [ 106] กระนั้น ท้านที่สุดความคิดริเริ่มของเว่ย์ก็ถูกเติ้งปราบปราม[ 107]
การปลดปล่อยที่จำกัดและการปกครองแบบพรรคเดียว
ในยุคปัวล่วนฝ่านเจิ้งและช่วงเริ่มต้นของการปฏิรูปและเปิดประเทศ เติ้ง เสี่ยวผิงได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการ "การปลดปล่อยจิตใจ" ไปพร้อม ๆ กับการเตือนซ้ำ ๆ ถึงอันตรายของสิ่งที่เรียกว่า "การเปิดเสรีชนชั้นกระฎุมพี "[ 108] นอกจากนี้ บุคคลที่มีชื่อเสียงอย่างจาง ปั๋วจฺวิน และหลัว หลงจี ผู้ซึ่งถูกข่มเหงในระหว่างการรณรงค์ต่อต้านฝ่ายขวา เป็นหนึ่งในกลุ่มคนจำนวนน้อยที่ไม่ได้รับการฟื้นฟูชื่อเสียง และเติ้งมีส่วนสำคัญในการดำเนินการรณรงค์ดังกล่าวในคริสต์ทศวรรษ 1950[ 109]
ในปี ค.ศ. 1983 มีการเปิดตัวการรณรงค์ต่อต้านมลพิษทางจิตวิญญาณ ตามมาด้วยการรณรงค์ต่อต้านการเปิดเสรีชนชั้นกระฎุมพีซึ่งเปิดตัวในช่วงปลาย ค.ศ. 1985[ 110] [ 111] [ 112] การรณรงค์ทั้งสองครั้งนั้นริเริ่มขึ้นโดยนักการเมืองอนุรักษ์นิยมฝ่ายซ้าย และได้รับการสนับสนุนบางส่วนจากเติ้ง แต่ท้ายที่สุดก็ถูกยกเลิกไปได้ด้วยการเกลี้ยกล่อมและการแทรกแซงของหู เย่าปังและจ้าว จื่อหยาง นักปฏิรูปชั้นนำนอกเหนือจากเติ้งภายในพรรคคอมมิวนิสต์จีน[ 110] [ 112] [ 113] [ 114]
หลังการปฏิวัติทางวัฒนธรรม คณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนไม่สามารถกวาดล้าง "องค์ประกอบ" ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิวัติออกจากสังคมจีนได้อย่างเป็นระบบ ขณะเดียวกันก็ห้ามไม่ให้มีการสะท้อนคิดและทบทวนอย่างครอบคลุมเกี่ยวกับช่วงเวลานี้ในประวัติศาสตร์จีนภายในประเทศ[ 115] [ 116] [ 104] [ 117] เหตุผลหลักที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนทำเช่นนี้ ตามที่นักวิจัยและผู้สังเกตการณ์จำนวนมากเห็นพ้องกันก็คือ การตรวจสอบการปฏิวัติทางวัฒนธรรมในจีนอย่างครอบคลุมจะเป็นการคุกคามรากฐานของความชอบธรรมในการปกครองของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในฐานะพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียวของประเทศอย่างร้ายแรง[ 118] [ 22] ในขณะเดียวกัน คนอื่น ๆ ก็ชี้ให้เห็นว่า ถึงแม้เติ้งและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของพรรคคอมมิวนิสต์จีนคนอื่น ๆ จะยอมรับว่าพรรคได้กระทำผิดพลาดมาหลายครั้งในอดีต แต่พวกเขาก็ยังคงพยายามรักษาอำนาจการปกครองแบบพรรคเดียว ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในประเทศจีนอยู่[ 101] [ 119]
ข้อโต้แย้งทางกฎหมาย
รูปปั้นของเหมา เจ๋อตงจำนวนหนึ่งที่สร้างขึ้นในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรมยังคงพบเห็นได้ในหลายพื้นที่ของจีนแผ่นดินใหญ่จนถึงทุกวันนี้ ภาพนี้แสดงให้เห็นรูปปั้นดังกล่าวในมณฑลยูนนาน ซึ่งมีผู้คนเสียชีวิตนับหมื่นคนเนื่องจากการสังหารหมู่ในช่วงปฏิวัติทางวัฒนธรรม
การสังหารหมู่ เกิดขึ้นทั่วจีนแผ่นดินใหญ่ในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม[ 120] อย่างไรก็ตาม ในช่วงปัวล่วนฝ่านเจิ้งที่ตามมา ผู้นำและผู้กระทำผิดในเหตุการณ์สังหารหมู่เหล่านั้นหลายคนได้รับโทษเพียงเล็กน้อย (เช่น ถูกขับออกจากพรรคคอมมิวนิสต์จีน) หรือไม่ได้รับโทษใด ๆ เลย ซึ่งก่อให้เกิดความไม่พอใจอย่างมากจากประชาชน)[ 121] ประชาชนนับหมื่นคนเดินทางไปยังปักกิ่ง เพื่อยื่นคำร้อง ขอความเป็นธรรมต่อเจ้าหน้าที่ระดับสูงของประเทศด้วยตนเอง[ 122] [ 123]
ในการสังหารหมู่ที่กวางซี มีผู้เสียชีวิตระหว่าง 100,000 ถึง 150,000 คน ตามการสืบสวนอย่างเป็นทางการในคริสต์ทศวรรษ 1980 และมีการกินเนื้อคน กันอย่างแพร่หลายแม้ว่าจะไม่มีการขาดแคลนอาหาร[ 124] ผู้กระทำความผิดส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมในการสังหารหมู่และ/หรือการกินเนื้อคนไม่ได้รับการลงโทษเลย หรือได้รับโทษเพียงเล็กน้อยหลังเกิดเหตุ – ในอำเภออู๋เซียน ซึ่งมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 38 รายจากการถูกกิน[ 124] มีผู้ต้องหาถูกนำตัวขึ้นศาล 15 คน โดยได้รับโทษจำคุกสูงสุด 14 ปี[ 121] [ 125] [ 126]
ในอุบัติการณ์มองโกเลียใน มีผู้เสียชีวิตระหว่าง 20,000 ถึง 100,000 คน ตามบันทึกและการประมาณการต่าง ๆ แต่เถิง ไห่ชิง ผู้นำที่รับผิดชอบการปราบปรามครั้งใหญ่นี้กลับไม่ได้รับการพิจารณาคดีหรือลงโทษทางกฎหมาย เนื่องจากพรรคคอมมิวนิสต์จีนมองว่าเขาเคยสร้างผลงานในสงครามครั้งก่อน ๆ
ในการสังหารหมู่ที่เต้าเซี่ยน มณฑลหูหนาน มีบันทึกว่ามีผู้เสียชีวิตถึง 9,093 คน อย่างไรก็ตาม มีเพียงกลุ่มผู้กระทำผิดจำนวนน้อยเท่านั้นที่ได้รับการลงโทษ และไม่มีใครถูกตัดสินประหารชีวิต[ 127] ผู้นำหลายคนที่เกี่ยวข้องกับการสังหารหมู่นี้ ถูกขับออกจากพรรคคอมมิวนิสต์จีนหรือถูกพิพากษาจำคุกในระยะเวลาแตกต่างกัน ในอำเภอเต้า ซึ่งเป็นศูนย์กลางของเหตุการณ์ มีเพียง 11 คนเท่านั้นที่ถูกดำเนินคดี และได้รับโทษจำคุกสูงสุด 10 ปี[ 127]
พิพิธภัณฑ์การปฏิวัติทางวัฒนธรรม
ในคริสต์ทศวรรษ 1980 นักวิชาการชาวจีนชื่อดัง เช่น ปา จิน ได้เรียกร้องให้สังคมจีนจัดตั้ง "พิพิธภัณฑ์การปฏิวัติทางวัฒนธรรม" เพื่อให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้จากประวัติศาสตร์และป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์การปฏิวัติทางวัฒนธรรมขึ้นอีก[ 128] [ 129] [ 130] [ 131] ข้อเสนอนี้ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนชาวจีนจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ไม่มีการตอบรับอย่างเป็นทางการจากพรรคคอมมิวนิสต์จีน ในทางกลับกัน ปา จินถูกวิพากษ์วิจารณ์และโจมตีอย่างหนักในช่วงการรณรงค์ต่อต้านมลพิษทางจิตวิญญาณรวมถึงการรณรงค์ต่อต้านการเปิดเสรีชนชั้นกระฎุมพีซึ่งเกิดขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1980[ 132]
ใน ค.ศ. 1996 รัฐบาลท้องถิ่นของซัวเถา ในมณฑลกวางตุ้ง ตัดสินใจจัดตั้งพิพิธภัณฑ์การปฏิวัติทางวัฒนธรรมแห่งแรกในแผ่นดินใหญ่ของจีน นั่นคือ พิพิธภัณฑ์การปฏิวัติทางวัฒนธรรมซัวเถา ซึ่งเปิดให้ประชาชนเข้าชมได้ในที่สุดใน ค.ศ. 2005[ 130] [ 133] อย่างไรก็ตาม พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ถูกบังคับให้ปิดตัวใน ค.ศ. 2016 โดยรัฐบาลของสี จิ้นผิง[ 134]
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
↑ 1.0 1.1 Vogel, Ezra F. (26 September 2011). "Glossary" (PDF) . Deng Xiaoping and the Transformation of China . Harvard University Press. ISBN 9780674055445 . LCCN 2011006925 . OCLC 756365975 . OL 24827222M .
↑ 2.0 2.1 Wang, Xiaoxuan (2020). Maoism and Grassroots Religion: The Communist Revolution and the Reinvention of Religious Life in China (ภาษาอังกฤษ). Oxford University Press. ISBN 978-0-19-006938-4 .
↑ Tong, Qinglin (2008). 回首1978——历史在这里转折 [Looking back at 1978—a turning point in history ] (ภาษาจีน). Beijing: People's Press . ISBN 9787010068954 . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2008-05-11.
↑ Lǐ, Èrqìng, บ.ก. (7 October 2008). "1980年:拨乱反正全面展开改革开放正式起步" [1980: Comprehensively carrying out "Boluan Fanzheng" meanwhile formally launching "Reform and Opening"]. China Economic Times . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 26 October 2008. สืบค้นเมื่อ 2020-04-29 – โดยทาง China Central Television .
↑ Ray, Alok (2002). "The Chinese Economic Miracle: Lessons to Be Learnt" . Economic and Political Weekly . 37 (37): 3835–3848. ISSN 0012-9976 . JSTOR 4412606 .
↑ "40 years ago, Deng Xiaoping changed China — and the world" . The Washington Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-12-07. ISSN 0190-8286 . สืบค้นเมื่อ 2024-03-14 .
↑ Hamrin, Carol Lee; Zhao, Suisheng (1995-01-15). Decision-making in Deng's China: Perspectives from Insiders (ภาษาอังกฤษ). M.E. Sharpe. ISBN 978-0-7656-3694-2 .
↑ 8.0 8.1 Shen, Baoxiang. "《亲历拨乱反正》:拨乱反正的日日夜夜" . www.hybsl.cn (ภาษาจีน). เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-03. สืบค้นเมื่อ 2020-04-29 .
↑ Lóng, Píngpíng. "Dèng Xiǎopíng shì zhēnlǐ biāozhǔn wèntí dà tǎolùn de fǎdòngzhě yú lǐngdǎozhě" 邓小平是真理标准问题大讨论的发动者与领导者 . Rénmín Rìbào (ภาษาจีน). Central Committee of the Chinese Communist Party. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-18. สืบค้นเมื่อ 2020-04-29 .
↑ 10.0 10.1 Huang, Cary (14 April 2019). "Hu Yaobang: an icon of China's reform – and of how little has changed" . South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). ISSN 1563-9371 . OCLC 648902513 . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 14 April 2019. สืบค้นเมื่อ 2020-04-29 .
↑ Chung, Yen-Lin (2019). "The Ousting of General Secretary Hu Yaobang: The Roles Played by Peng Zhen and Other Party Elders". China Review . 19 (1): 89–122. ISSN 1680-2012 . JSTOR 26603251 .
↑ Schiavenza, Matt (16 April 2014). "China's Forgotten Liberal Hero" . The Atlantic (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 2151-9463 . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 17 April 2014. สืบค้นเมื่อ 2020-04-29 .
↑ Gao, Jia; Su, Yuanyuan (2019). Social Mobilisation in Post-Industrial China: The Case of Rural Urbanisation (ภาษาอังกฤษ). Edward Elgar Publishing. ISBN 978-1-78643-259-9 .
↑ 14.0 14.1 "50 flashbacks signal reform (I)" . China Internet Information Center . 2014-10-15. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-15. สืบค้นเมื่อ 2020-04-29 .
↑ 15.0 15.1 Yu, Guangren. "Dèng Xiǎopíng de qiúshí yù fǎnsī jīngshén" 邓小平的求实与反思精神 . Yanhuang Chunqiu (ภาษาจีน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2020-05-07. สืบค้นเมื่อ 2020-04-29 .
↑ Liu, Zongyuan Zoe (2023). Sovereign Funds: How the Communist Party of China Finances its Global Ambitions . The Belknap Press of Harvard University Press . doi :10.2307/jj.2915805 . ISBN 9780674271913 . JSTOR jj.2915805 .
↑ 17.0 17.1 Xu, Jilin (December 2000). "The fate of an enlightenment: twenty years in the Chinese intellectual sphere (1978-98)" (PDF) . East Asian History (ภาษาอังกฤษ). Australian National University (20): 169–186. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2024-05-30. สืบค้นเมื่อ 2024-12-31 .
↑ 18.0 18.1 Wu, Wei (2014-02-24). "70年代末中国的思想启蒙运动" [The Enlightenment movement in the late 1970s in China]. The New York Times (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 2024-10-04 .
↑ 19.0 19.1 Mao, Yushi. "Dèng Xiǎopíng de gòngxiàn hé júxiàn xìng" 邓小平的贡献和局限性 . Unirule Institute of Economics . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-29. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30 .
↑ Jin, Ping. "八二宪法"的宪政因素——几部宪草宪法的比较研究 . Chinese University of Hong Kong (ภาษาจีน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2021-02-11. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30 .
↑ " "Wéngé" shíqī dàngàn jiěmì" "文革"时期档案解密 ["Cultural revolution" era records declassified]. Rénmín Rìbào (ภาษาจีน). Central Committee of the Chinese Communist Party. 15 July 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 21 June 2009. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30 .
↑ 22.0 22.1 Zhang, Wei (2016-05-16). "点评中国:中国人需要认真反思文革" . BBC News (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 2020-04-30 .
↑ "Beijing Revises 'Correct' Version of Party History Ahead of Centenary" . Radio Free Asia (ภาษาอังกฤษ). เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-04. สืบค้นเมื่อ 2021-05-20 .
↑ Cole, J. Michael (2021-04-22). "The Chinese Communist Party is playing dangerous games with history" . iPolitics (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-20. สืบค้นเมื่อ 2021-05-20 .
↑ Yu, Kung (23 August 2018). "Xi Jinping's brand new Cultural Revolution" . Taipei Times (ภาษาอังกฤษ). The Liberty Times Group. ISSN 1563-9525 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-15. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30 .
↑ Denyer, Simon (26 February 2018). "With a dash of Putin and an echo of Mao, China's Xi sets himself up to rule for life" . Washington Post (ภาษาอังกฤษ). ISSN 0190-8286 . OCLC 2269358 . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 26 February 2018. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30 .
↑ 27.0 27.1 "拨乱反正" . www.chinakongzi.org (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 2020-04-29 .
↑ 28.0 28.1 28.2 "History for the Masses" . www.tsquare.tv . สืบค้นเมื่อ 2020-04-30 .
↑ 29.0 29.1 Gittings, John (2008-08-20). "Obituary: Hua Guofeng" . The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077 . สืบค้นเมื่อ 2020-04-29 .
↑ 30.0 30.1 Li-Ogawa, Hao (2022-02-14). "Hua Guofeng and China's transformation in the early years of the post-Mao era" . Journal of Contemporary East Asia Studies . 11 (1): 124–142.
↑ "Deng Xiaoping" . China Daily . 2010. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-24. สืบค้นเมื่อ 2021-02-14 .
↑ "陈云1977年发言:强调实事求是 呼吁邓小平复出" . Xinhuanet (ภาษาจีน). 2015-03-10. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-15. สืบค้นเมื่อ 2021-02-14 .
↑ 33.0 33.1 "NOTES" . People's Net . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2020-09-11. สืบค้นเมื่อ 2020-04-29 .
↑ Schoenhals, Michael (1991). "The 1978 Truth Criterion Controversy". The China Quarterly . 126 (126): 243–268. doi :10.1017/S0305741000005191 . ISSN 0305-7410 . JSTOR 654516 . S2CID 143503026 .
↑ Zhang, Ming'ai (2008-01-19). "An article influences Chinese history" . China Internet Information Center . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-24. สืบค้นเมื่อ 2020-04-29 .
↑ "Practice Is the Sole Criterion of Truth". Chinese Studies in Philosophy (ภาษาอังกฤษ). 25 (2): 31–42. 18 December 2014. doi :10.2753/CSP1097-1467250231 .
↑ 37.0 37.1 Lahiri, Dan Kopf, Tripti (18 December 2018). "The charts that show how Deng Xiaoping unleashed China's pent-up capitalist energy in 1978" . Quartz (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-04-29 .
↑ 38.0 38.1 Denmark, Abraham. "Analysis | 40 years ago, Deng Xiaoping changed China — and the world" . The Washington Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-04-30 .
↑ "Emancipate the mind, seek truth from facts and unite as one in looking to the future" . China Daily . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2020-02-20. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30 .
↑ Deng, Xiaoping. "解放思想,实事求是,团结一致向前看" . Phoenix New Media (ภาษาจีน). เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-03. สืบค้นเมื่อ 2020-04-29 .
↑ "解放思想,实事求是,团结一致向前看" . People's Net (ภาษาจีน). 2018-05-31. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-03. สืบค้นเมื่อ 2020-04-29 .
↑ Yu, Keping (2010-05-20). Democracy and the Rule of Law in China (ภาษาอังกฤษ). BRILL. ISBN 978-90-04-19031-3 .
↑ Inouye, Karin Mei Li (2020). "Performing Jiang Qing (1914-1991) : gender, performance, and power in Modern China" . Stanford Digital Repository (ภาษาอังกฤษ).
↑ "Huíshǒu 1978—Lìshǐ zài zhèlǐ zhuǎnzhé" 回首1978——历史在这里转折 . Rénmín Rìbào 人民日报 [People's Daily ] (ภาษาจีน). Central Committee of the Chinese Communist Party. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2008-05-11. สืบค้นเมื่อ 2020-04-29 .
↑ Onate, Andres D. (1978). "Hua Kuo-feng and the Arrest of the "Gang of Four" ". The China Quarterly . 75 (75): 540–565. doi :10.1017/S0305741000042557 . ISSN 0305-7410 . JSTOR 652983 . S2CID 155001038 .
↑ Hán, Gāng (29 September 2014). "Zuì gēnběn de bōluànfǎnzhèng: Fǒudìng "yǐ jiējídǒuzhēng wéi gāng" " 最根本的拨乱反正:否定"以阶级斗争为纲" . Xuéxí Shíbào 学习时报 [Study Times ] (ภาษาจีน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 4 October 2014. สืบค้นเมื่อ 2020-12-26 .
↑ "China lays to rest Mao's chosen successor Hua Guofeng" . Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2008-08-31. สืบค้นเมื่อ 2020-05-27 .
↑ Kristof, Nicholas D. (April 16, 1989). "Hu Yaobang, Ex-Party Chief in China, Dies at 73" . The New York Times .
↑ "Zhao Ziyang: A reformer China's Communist Party wants to forget" . BBC (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2019-01-17. สืบค้นเมื่อ 2024-10-19 .
↑ "Gang of Four Trial" . UNIVERSITY OF MISSOURI-KANSAS CITY . สืบค้นเมื่อ 2020-05-27 .
↑ Jiang, Hua (1981-03-03). "最高人民法院特别法庭关于审判林彪、江青反革命集团案主犯的情况报告" . National People's Congress . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-03. สืบค้นเมื่อ 2020-05-27 .
↑ 52.0 52.1 "Guānyú jiànguó yǐlái dǎng de ruògān lìshǐ wèntí de juéyì" 关于建国以来党的若干历史问题的决议 . The Central People's Government of the People's Republic of China (ภาษาจีน). 23 June 2008. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 18 October 2014. สืบค้นเมื่อ 2020-04-23 .
↑ 53.0 53.1 "Resolution on Certain Questions in the History of Our Party since the Founding of the People's Republic of China" (PDF) . Wilson Center . 1981-06-27.
↑ "邓小平在中共十一届六中全会上讲话" . People's Net (ภาษาจีน). 2016-07-05. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-30.
↑ 55.0 55.1 55.2 Liu, Jintian (2015-01-05). "邓小平推动冤假错案的平反" [Deng Xiaoping facilitated the rehabilitation of [the victims of] the "unjust, false, erroneous cases"]. People's Net (ภาษาจีน). เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-03. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30 .
↑ Yang, Long (2023), Shuman, Amanda; Leese, Daniel (บ.ก.), "Villagers, Cadres, and the Politics of Rehabilitation in Post-Mao China, 1979–1982" , Justice After Mao: The Politics of Historical Truth in the People's Republic of China , Cambridge: Cambridge University Press, pp. 122–144, ISBN 978-1-009-26129-6 , สืบค้นเมื่อ 2024-10-18
↑ Brown, Kerry (2015-05-01). Berkshire Dictionary of Chinese Biography Volume 4 (ภาษาอังกฤษ). Berkshire Publishing Group. ISBN 978-1-61472-900-6 .
↑ 58.0 58.1 Yang, Zhongmei (2016-07-08). Hu Yao-Bang: A Chinese Biography: A Chinese Biography (ภาษาอังกฤษ). Routledge. ISBN 978-1-315-49339-8 .
↑ "1989年6月1日 吴林泉、彭飞:胡耀邦同志领导平反"六十一人案"追记" . www.hybsl.cn (ภาษาจีน). People's Daily . 1989-06-01. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-03. สืบค้นเมื่อ 2020-04-29 .
↑ Vidal, Christine (2016). "The 1957-1958 Anti-Rightist Campaign in China: History and Memory (1978-2014)" . Hal-SHS . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-28. สืบค้นเมื่อ 2019-11-28 .
↑ 61.0 61.1 Ye, Fanzi (2021-03-24). "十一届三中全会后的拨乱反正" [Boluan Fanzheng after the 3rd plenary session of the 11th Central Committee of the Chinese Communist Party]. China Youth Daily (ภาษาจีน). เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-04-07. สืบค้นเมื่อ 2024-10-18 .
↑ 62.0 62.1 "Peng Dehuai Archive" . Marxists Internet Archive . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-12-20. สืบค้นเมื่อ 2024-10-18 .
↑ Chen, Xuewei (2013-09-05). "陈云与拨乱反正" [Chen Yun and Boluan Fanzheng]. Institute of Party History and Literature (ภาษาจีน). เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-09-08. สืบค้นเมื่อ 2024-10-19 .
↑ Lo, Carlos W. H. (1992). "Deng Xiaoping's Ideas on Law: China on the Threshold of a Legal Order" . Asian Survey . 32 (7): 649–665. doi :10.2307/2644947 . ISSN 0004-4687 . JSTOR 2644947 .
↑ LENG, SHAO-CHUAN (1977). "The Role of Law in the People's Republic of China as Reflecting Mao Tse-Tung's Influence" . Journal of Criminal Law and Criminology . 68 (3): 356–373. doi :10.2307/1142585 . JSTOR 1142585 .
↑ Potter, Pitman (2013-10-14). China's Legal System (ภาษาอังกฤษ). Polity. ISBN 978-0-7456-6268-8 .
↑ Fairbank, John King (1978). The Cambridge History of China (ภาษาอังกฤษ). Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-21447-6 .
↑ 68.0 68.1 "共和国辞典42期:七五宪法" . Tencent (ภาษาจีน). เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-07. สืบค้นเมื่อ 2020-04-29 .
↑ 69.0 69.1 Jin, Ping. " "八二宪法"的宪政因素——几部宪草宪法的比较研究" . Chinese University of Hong Kong . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2021-07-23. สืบค้นเมื่อ 2020-04-29 .
↑ de Heer, Ph (1978). "The 1978 Constitution of the People's Republic of China" . Review of Socialist Law . 4 : 309–322. doi :10.1163/157303578X00218 . hdl :11299/164762 . S2CID 144038895 .
↑ Zhu, Guobin; Lin, Laifan; Xu, Mengzhou (2007-07-01). 新編中國法 (ภาษาจีน). City University of Hong Kong Press. ISBN 978-962-937-092-3 .
↑ 72.0 72.1 Deng, Xiaoping (1980-08-18). "ON THE REFORM OF THE SYSTEM OF PARTY AND STATE LEADERSHIP" . People's Daily . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-15. สืบค้นเมื่อ 2020-04-29 .
↑ 73.0 73.1 "1. Rereading Deng Xiaoping's "On the Reform of the System of Party and State Leadership" ". Chinese Law & Government . 20 (1): 15–20. 1987-04-01. doi :10.2753/CLG0009-4609200115 . ISSN 0009-4609 .
↑ Finch, George (2007). "Modern Chinese Constitutionalism: Reflections of Economic Change". Willamette Journal of International Law and Dispute Resolution . 15 (1): 75–110. ISSN 1521-0235 . JSTOR 26211714 .
↑ Shigong, Jiang (2014). "Chinese-Style Constitutionalism: On Backer's Chinese Party-State Constitutionalism". Modern China . 40 (2): 133–167. doi :10.1177/0097700413511313 . ISSN 0097-7004 . JSTOR 24575589 . S2CID 144236160 .
↑ Huang, Jin (2018-05-07). "把"中国共产党领导是中国特色社会主义最本质的特征"写入宪法的重大意义" . People's Net (ภาษาจีน). เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-04. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30 .
↑ "Constitution Of The People's Republic Of China, 1982 | US-China Institute" . University of Southern California (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-04-30 .
↑ Bader, Jeffrey A. (2018-02-27). "7 things you need to know about lifting term limits for Xi Jinping" . Brookings (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-04-30 .
↑ Doubek, James (11 March 2018). "China Removes Presidential Term Limits, Enabling Xi Jinping To Rule Indefinitely" . NPR.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-04-30 .
↑ Peng, Jieqing (2012-07-05). " "两弹一星"元勋姚桐斌的一生【4】" . People's Net (ภาษาจีน). เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-12. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30 .
↑ Jihui, Yu (July 2019). The Stinking Old Ninth: A Tale of The Coal Capital (ภาษาอังกฤษ). Independently Published. ISBN 978-1-0721-7605-3 .
↑ James T. Myers; Jürgen Domes; Erik von Groeling, บ.ก. (1995). Chinese Politics: Fall of Hua Kuo-Feng (1980) to the Twelfth Party Congress (1982) . University of South Carolina Press. ISBN 978-1570030635 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ April 28, 2016. สืบค้นเมื่อ June 27, 2015 .
↑ Cao, Pu. "文革中的中科院:131位科学家被打倒,229人遭迫害致死" . Chinese University of Hong Kong (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 2020-02-23 .
↑ Wang, Jingheng. "青海核武基地的劫难" . Yanhuang Chunqiu . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2020-07-14. สืบค้นเมื่อ 2020-08-06 .
↑ Wu, Yuenong. "邓小平与科技界的拨乱反正" . People's Net (ภาษาจีน). เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-03. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30 .
↑ Deng, Xiaoping. "1978年3月18日邓小平在全国科学大会开幕式上的讲话" . People's Net . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2020-06-04. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30 .
↑ 87.0 87.1 Shen, Qianfang (2019-01-30). "邓小平: 尊重知识,尊重人才" . People's Net . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-03. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30 .
↑ " "Science and technology are primary productive forces" in 1988" . China Daily . 2008-10-30. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-01. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30 .
↑ "Science and Technology Constitute a Primary Productive Force" . China Internet Information Center . 1988. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-06. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30 .
↑ Link, Perry; Link, Chancellorial Chair for Teaching Across Disciplines Perry (2000-03-05). The Uses of Literature: Life in the Socialist Chinese Literary System (ภาษาอังกฤษ). Princeton University Press. ISBN 978-0-691-00198-2 .
↑ Joel Andreas (2009). Rise of the Red Engineers: The Cultural Revolution and the Origins of China's New Class . Stanford University Press. p. 164. ISBN 978-0804760782 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ June 17, 2016. สืบค้นเมื่อ June 27, 2015 .
↑ Xing Lu (2004). Rhetoric of the Chinese Cultural Revolution: The Impact on Chinese Thought, Culture, and Communication . University of South Carolina Press. p. 195. ISBN 978-1570035432 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ May 19, 2016. สืบค้นเมื่อ June 27, 2015 .
↑ 93.0 93.1 Tao, Liqing; Berci, Margaret; He, Wayne. "Historical Background: Expansion of Public Education" . The New York Times . สืบค้นเมื่อ 2020-04-30 .
↑ 94.0 94.1 Chi, Luke Shen-Tien (2018-08-24). "China's education reforms and strive for innovation" . China Daily . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-20. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30 .
↑ "China - EDUCATION POLICY" . countrystudies.us . สืบค้นเมื่อ 2020-04-30 .
↑ "不抓科学、教育,四个现代化就没有希望" . People's Net . 2017-07-11. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-08. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30 .
↑ "中华人民共和国义务教育法(主席令第五十二号)" . The Central Government of the People's Republic of China (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 2020-04-30 .
↑ Zhao, Ziyang. "国务院关于提请审议建立"教师节"的议案" . National People's Congress (ภาษาจีน). เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-03. สืบค้นเมื่อ 2020-06-24 .
↑ "陈省身回忆邓小平" . Sina (ภาษาจีน). Tonight News Paper (今晚报). 2004-11-04. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-03. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30 .
↑ " " UPHOLD THE FOUR BASIC PRINCIPLES " (SPEECH, MARCH 30, 1979)" (PDF) . Columbia University .
↑ 101.0 101.1 Xia, Ming. "The Communist Party of China and the "Party-State" " . The New York Times . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-21. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30 .
↑ 102.0 102.1 Song, Yongyi (26 April 2020). Wénhuàdàgémìng: Lìshǐ de Zhēn Xiànghé Jítǐ Jìyì: Wéngé 40 Zhōunián Lùnwénjí 文化大革命:历史的真相和集体记忆: ——文革40周年论文集 (ภาษาจีน). 典籍出版社. p. 450.
↑ Hutton, Mercedes (24 August 2018). "If Chairman Mao's wish was to be cremated, why was he embalmed instead?" . South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). ISSN 1563-9371 . OCLC 648902513 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 25 August 2018. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30 .
↑ 104.0 104.1 "中南海更应反思"文革"和毛泽东的罪恶" . Deutsche Welle (ภาษาจีน). 2012-04-07. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30 .
↑ "Visions of China: Democracy Wall" . CNN . สืบค้นเมื่อ 2020-04-30 .
↑ "Walling up democracy" . The Economist . ISSN 0013-0613 . สืบค้นเมื่อ 2020-04-30 .
↑ "Democracy Wall" . www.tsquare.tv . สืบค้นเมื่อ 2020-04-30 .
↑ Deng, Xiaoping (1985). "Bourgeois liberalization means taking the capitalist road" . China Daily . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-30. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30 .
↑ Chen, Zeming (2007-12-15). "The "Active Rightists" of 1957 and Their Legacy: "Right-wing Intellectuals," Revisionists, and Rights Defenders" . China Perspectives (ภาษาฝรั่งเศส). 2007 (2007/4). doi :10.4000/chinaperspectives.2553 . ISSN 2070-3449 .
↑ 110.0 110.1 Wren, Christopher S.; Times, Special To the New York (1984-01-24). "China Is Said to End a Campaign to Stop 'Spiritual Pollution' " . The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331 . สืบค้นเมื่อ 2020-04-30 .
↑ Deng, Xiaoping (1986-12-30). "Take a clear-cut stand against bourgeois liberalization" . China Daily . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-07. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30 .
↑ 112.0 112.1 Fewsmith, Joseph. "What Zhao Ziyang Tells Us about Elite Politics in the 1980s" (PDF) . Hoover Institute .
↑ "Communist Party Says Anti-Liberalism Campaign Applies to Writers, Consumers" . AP NEWS . สืบค้นเมื่อ 2020-04-30 .
↑ China (Taiwan), Ministry of Foreign Affairs, Republic of (1987-05-01). "Bourgeois Liberalization" . Taiwan Today (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-04-30 .
↑ Han, Xiao (2014-01-26). "Opinion | Confessions of the Cultural Revolution" . The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331 . สืบค้นเมื่อ 2020-04-30 .
↑ Beach, Sophie (25 February 2016). "Reflecting on the Cultural Revolution, 50 Years Later" . China Digital Times . สืบค้นเมื่อ 2020-04-30 .
↑ Qian, Gang (2012-09-24). " "文革":彻底否定与刻意遗忘" . The New York Times (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 2020-04-30 .
↑ Hong, Zhenkuai (2016-08-16). " "新文革"使中国人不安" . The New York Times (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 2020-04-30 .
↑ Hu, Ping (2010-08-20). "从邓小平的一句惊人之语谈起(胡平)" . Radio Free Asia (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 2020-04-30 .
↑ Song, Yongyi (2011). "Chronology of Mass Killings during the Chinese Cultural Revolution (1966–1976)" . Online Encyclopedia of Mass Violence . ISSN 1961-9898 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ April 25, 2019. สืบค้นเมื่อ April 25, 2019 .
↑ 121.0 121.1 Sutton, Donald S. (1995). "Consuming Counterrevolution: The Ritual and Culture of Cannibalism in Wuxuan, Guangxi, China, May to July 1968" . Comparative Studies in Society and History . 37 (1): 136–172. doi :10.1017/S0010417500019575 . ISSN 0010-4175 . JSTOR 179381 . S2CID 145660553 .
↑ "广西机密档案续编揭露文革反人类罪行" [Classified Guangxi documents reveal crimes against humanity during the Cultural Revolution]. Radio France Internationale (ภาษาจีน). 2017-08-06.
↑ Song, Yongyi (2017-04-03). "广西文革绝密档案中的大屠杀和性暴力" [Massacres and sexual violence recorded in the classified documents of Cultural Revolution in Guangxi]. China News Digest (ภาษาจีน).
↑ 124.0 124.1 Yue, Lebin. "我参与处理广西文革遗留问题" . Yanhuang Chunqiu . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2020-11-24. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30 .
↑ Kristof, Nicholas D. (1993-01-06). "A Tale of Red Guards and Cannibals" . The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331 . สืบค้นเมื่อ 2020-04-30 .
↑ RUDOLPH, BARBARA (2001-06-24). "Unspeakable Crimes" . Time (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0040-781X . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2019-11-16. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30 .
↑ 127.0 127.1 Song, Yongyi (2009-03-25). "The Dao County Massacre of 1967" . Sciences Po (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-04-30 .
↑ Schwarcz, Vera (March 1996). "The Burden of Memory: The Cultural Revolution and the Holocaust" . China Information (ภาษาอังกฤษ). 11 (1): 1–13. doi :10.1177/0920203X9601100101 . ISSN 0920-203X . S2CID 145054422 .
↑ "Ba Jin: A Museum of the "Cultural Revolution" " . www.cnd.org . สืบค้นเมื่อ 2020-04-30 .
↑ 130.0 130.1 "China's first Cultural Revolution museum exposes Mao's war on" . The Independent (ภาษาอังกฤษ). 2006-02-21. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30 .
↑ Gittings, John (2005-10-18). "Obituary: Ba Jin" . The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077 . สืบค้นเมื่อ 2020-04-30 .
↑ Wang, David Der-wei (2017-05-22). A New Literary History of Modern China (ภาษาอังกฤษ). Harvard University Press. ISBN 978-0-674-96791-5 .
↑ Quartz (16 May 2016). "Two museums in China about the Cultural Revolution show very different versions of history" . Quartz (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-04-30 .
↑ Tatlow, Didi Kirsten (2016-10-02). "Fate Catches Up to a Cultural Revolution Museum in China" . The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331 . สืบค้นเมื่อ 2020-04-30 .