ยฺเหวียนช่วย

ยฺเหวียนช่วย
元帅
元帥
อินทรธนูสำหรับยศ ยฺเหวียนช่วย (จอมพล) ของกองทัพปลดปล่อยประชาชน ได้รับการออกแบบตามของจอมพลแห่งสหภาพโซเวียต
ประเทศ จีน
สังกัต กองทัพบกกองทัพปลดปล่อยประชาชน
ยกเลิก1965
ยศที่สูงกว่าต้ายฺเหวียนช่วย ("จอมพลใหญ่")
ยศที่ต่ำกว่าต้าเจียง ("นายพลใหญ่")

ยฺเหวียนช่วย (จีนตัวย่อ: 元帅; จีนตัวเต็ม: 元帥; พินอิน: Yuánshuài) เป็นยศทหารของจีนที่เทียบเท่ากับจอมพลของประเทศอื่น[1] มอบให้แก่นายพลผู้มีชื่อเสียงในสมัยราชวงศ์และสาธารณรัฐจีน ยศที่สูงกว่าคือ ต้ายฺเหวียนช่วย (จีนตัวย่อ: 大元帅; จีนตัวเต็ม: 大元帥; พินอิน: Dà Yuánshuài; แปลตรงตัว: "จอมพลใหญ่") ซึ่งเทียบเท่ากับกับยศ เจเนราลิสซีโม ได้รับการสถาปนาให้แก่เจียง ไคเชก ของสาธารณรัฐจีน มีการเสนอยศนี้แก่เหมา เจ๋อตง บนแผ่นดินใหญ่เช่นกัน แต่เขาก็ไม่เคยยอมรับ

ราชวงศ์ซ่ง

ราชวงศ์จิน

สาธารณรัฐจีน

สาธารณรัฐประชาชนจีน

ใน ค.ศ. 1955 ยศ จอมพลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนตัวเต็ม: 中華人民共和國元帥; จีนตัวย่อ: 中华人民共和国元帅; พินอิน: Zhōnghuá Rénmín Gònghéguó Yuánshuài) ได้ถูกมอบให้แก่นายพลผ่านศึก 10 คนของกองทัพบกกองทัพปลดปล่อยประชาชน อย่างไรก็ตาม ยศดังกล่าวถูกยกเลิกในปี ค.ศ. 1965 และไม่เคยนำกลับมาใช้อีก[ต้องการอ้างอิง] เกณฑ์สำคัญห้าประการที่จะได้รับยศจอมพลมีดังนี้:

  1. ต้องมีบทบาทนำในการตั้งพื้นที่ฐานการปฏิวัติหนึ่งแห่งหรือมากกว่า
  2. เคยดำรงตำแน่งผู้บัญชาการกองทหาร เทียบเท่าหรือสูงกว่าในกองทัพแดงจีน
  3. เคยดำรงตำแน่งผู้บัญชาการกองพล เทีบเท่าหรือสูงกว่าในกองทัพลู่ที่แปด หรือผู้บัญชาการกองทัพใหม่ที่สี่
  4. เคยดำรงตำแน่งผู้บัญชาการกองทัพสนาม ผู้บัญชาการกองทัพภาค หรือเทียบเท่าในช่วงการปฏิวัติคอมมิวนิสต์จีน
  5. เคยดำรงตำแน่งรองประธานคณะกรรมาธิการกลาโหม

นอกจากนี้ เมื่อประธานเหมาปฏิเสธยศ ต้ายฺเหวียนช่วย ก็มีคำสั่งว่าผู้ใดไม่ได้รับราชการในกองทัพปลดปล่อยประชาชนอีกต่อไปจะเสียสิทธิ์ในการรับยศทางทหาร ดังนั้น เติ้ง เสี่ยวผิง หลิว เช่าฉี และโจว เอินไหล จึงปฏิเสธยศเมื่อได้รับการเสนอ ในตอนแรก เฉิน อี้ ก็ปฏิเสธยศดังกล่าวตามคำสั่งของเหมาเนื่องจากปัจจุบันเขาทำงานในรัฐบาลมากกว่ากองทัพ อย่างไรก็ตาม โจว เอินไหล ยืนกรานให้เขาควรรับยศนี้[ต้องการอ้างอิง] โดยอ้างว่าจอมพลทั้งเก้าคนอื่น ๆ ล้วนมาจากกองทัพลู่ที่แปด หากไม่รับยศดังกล่าว ก็จะไม่มีใครในยศที่เป็นตัวแทนมรดกของกองทัพใหม่ที่สี่ ขณะเดียวกันก็อ้างถึงนีโคไล บุลกานิน ผู้ดำรงตำแหน่งจอมพลแห่งสหภาพโซเวียต ในขณะที่ทำงานในรัฐบาลเป็นหลักเป็นบรรทัดฐาน ดังนั้น เขาจึงได้รับการยกเว้นและได้รับยศ[ต้องการอ้างอิง] ผลปรากฏว่าผู้ได้รับยศมีดังนี้:

ซู่ ยฺวี่ แม้จะไม่ได้รับการคัดเลือก แต่เขากลับกลายเป็นผู้ที่มีอาวุโสสูงสุดในบรรดาสิบต้าเจียง หลายคนแปลกใจกับการตัดสินใจครั้งนี้แต่เขาไม่ตรงตามเกณฑ์ข้อแรกและสอง จอมพล 7 จากทั้งหมด 10 คนมีส่วนร่วมในเหตุการณ์ก่อกำเริบหนานชางในฐานะต่าง ๆ ร่วมกับโจว เอินไหล ในบรรดาอีกสามคน เผิง เต๋อหวย เป็นผู้นำการลุกฮือผิงเจียง สฺวี เซี่ยงเฉียน พลาดการเหตุการณ์หนานชาง แต่ได้เข้าร่วมในการลุกฮือที่กว่างโจวในเวลาต่อมากับเย่ เจี้ยนอิง อีกคนหนึ่งคือหลัว หรงหวน ผู้ซึ่งช่วยเหมาในการก่อกำเริบฤดูเก็บเกี่ยวแทน หลิน เปียว เป็นผู้อายุน้อยที่สุด และจู เต๋อ เป็นผู้อายุมากที่สุดในบรรดาจอมพลทั้ง 10 คน ซึ่งมีอายุ 48 และ 69 ปี ตามลำดับ ณ เวลาที่ได้รับยศ หลัว หรงหวน เป็นคนแรกที่เสียชีวิตเมื่ออายุ 61 ปีใน ค.ศ. 1963 และเนี่ย หรงเจิน เป็นคนสุดท้ายที่เสียชีวิตเมื่ออายุ 93 ปีในปี ค.ศ. 1992 ประธานเหมาได้เรียกจอมพล 3 จากทั้งหมด 10 คนด้วยคำว่า 老总 (เหล่าจง หรือ "หัวหน้าเก่า") เนื่องด้วยอาวุโสและรับใช้มายาวนาน เหล่านี้คือ จู เต๋อ เผิง เต๋อหวย และเฮ่อ หลง บางครั้งเฉิน อี้ และเนี่ย หรงเจิน ก็ถูกเรียกว่าเหล่าจงเช่นกัน แต่ไม่ได้เรียกโดยตรงโดยประธานเหมา ส่วนหลิน เปียว ถูกเรียกเพียงว่า 总 จง มาจากเกียรติในการสงครามของเขา เขาไม่ได้รับการขนานนามว่าเหล่าจงเพราะมีอายุและอาวุโสน้อยกว่า เขายังเป็นจอมพลเพียงคนเดียวที่ไม่เสียชีวิตในปักกิ่ง

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. Stevens, Keith G. (1975). "CHIEF MARSHAL T'IEN, PATRON OF THE STAGE, OF MUSICIANS AND WRESTLERS—EAST AND SOUTH EAST CHINA". Journal of the Hong Kong Branch of the Royal Asiatic Society. 15: 303–311. ISSN 0085-5774.

 

Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9

Portal di Ensiklopedia Dunia