ชิงช้าสวรรค์ (รายการโทรทัศน์)
ชิงช้าสวรรค์ เป็นรายการโทรทัศน์ที่ผลิตโดย เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ ออกอากาศครั้งแรกในปี พ.ศ. 2547 ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี เริ่มแรกเป็นรายการปกิณกะ ก่อนจะเปลี่ยนเป็นการประกวดวงดนตรีลูกทุ่งเต็มรูปแบบ รายการได้ย้ายไปออกอากาศทางช่องเวิร์คพอยท์ ในปี พ.ศ. 2558 ก่อนจะสิ้นสุดยุคแรกในปีต่อมา และได้กลับมาออกอากาศใหม่ในปี พ.ศ. 2565 ปัจจุบันดำเนินรายการโดย แพนเค้ก - เขมนิจ จามิกรณ์ ประวัติชิงช้าสวรรค์ เป็นรายการโทรทัศน์ที่ผลิตโดย เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี โดยช่วงแรกมีพิธีกร คือ โน้ต เชิญยิ้ม, แอน - สิเรียม ภักดีดำรงฤทธิ์ และส้มเช้ง สามช่า[2] ต่อมาในปี พ.ศ. 2553 สิเรียมได้ลาออกจากการเป็นพิธีกร โดยมี จุ๋ย - วรัทยา นิลคูหา ทำหน้าที่แทน[4][5] และในปี พ.ศ. 2558 ได้ย้ายไปออกอากาศทางช่องเวิร์คพอยท์[8] โดยออกอากาศจนถึง พ.ศ. 2559 เป็นอันสิ้นสุดยุคแรก[3] ในปี พ.ศ. 2565 รายการได้กลับมาออกอากาศอีกครั้งในชื่อ ชิงช้าสวรรค์ 2022 โดยมี แพนเค้ก - เขมนิจ จามิกรณ์ เป็นพิธีกรคู่กับโน้ต นอกจากนี้ จักรวาร เสาธงยุติธรรม ยังเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสินวงดนตรีลูกทุ่งระดับมัธยมศึกษา ร่วมกับ สลา คุณวุฒิ และชุติเดช ทองอยู่ ซึ่งเป็นกรรมการมาตั้งแต่รายการยุคแรกอีกด้วย[1] ก่อนที่ในปี พ.ศ. 2566 จะมีการเปลี่ยนกรรมการจากชุติเดชเป็น สุรินทร์ เมทะนี[6] และในปี พ.ศ. 2567 มีการเปลี่ยนพิธีกรจากโน้ตเป็น ป๋อ - ณัฐวุฒิ สกิดใจ[9] พิธีกร
รูปแบบรายการชิงช้าสวรรค์ มีรูปแบบรายการที่ได้แรงบันดาลใจมาจากงานวัด[7] โดยในระยะแรกเป็นรายการปกิณกะ ประกอบด้วยช่วงสัมภาษณ์ การให้คะแนนร้านอาหาร ละครสั้น และการประกวดวงดนตรีลูกทุ่งระดับมัธยมศึกษา โดยคู่แรกที่ทำการแข่งขันคือ โรงเรียนราชินีบูรณะ พบกับ โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ฯ[2] ต่อมาจึงปรับรูปแบบเป็นการประกวดวงดนตรีลูกทุ่งเป็นหลัก[10] ชิงช้าสวรรค์คอนเทสต์การประกวดวงดนตรีลูกทุ่งระดับมัธยมศึกษาในรายการชิงช้าสวรรค์ยุคแรก แบ่งการแข่งขันเป็นฤดู มีทั้งหมด 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูหนาว, ฤดูฝน และฤดูร้อน[11] ตัดสินโดยคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านเพลงและวงดนตรีลูกทุ่งจำนวน 3 คนในรอบการแข่งขันประจำฤดู[12] และเพิ่มเป็น 7 คนในรอบแชมป์ออฟเดอะแชมป์[13] โดยนอกจากสลา คุณวุฒิ และชุติเดช ทองอยู่ ที่เป็นคณะกรรมการมาตั้งแต่ปีแรก[12] ยังมีศิลปินลูกทุ่งและครูเพลงสลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เช่น แดน บุรีรัมย์[12][13], ลพ บุรีรัตน์[13], ชลธี ธารทอง[13], ประยงค์ ชื่นเย็น[13], ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี[10], วสุ ห้าวหาญ[10], และหนู มิเตอร์[10] เป็นต้น เมื่อแข่งขันครบสามฤดู แชมป์และรองแชมป์ประจำฤดูจะเข้ามาแข่งขันรอบแชมป์ออฟเดอะแชมป์ (รองแชมป์ประจำฤดูสามารถเข้าร่วมรอบแชมป์ออฟเดอะแชมป์ได้ ตั้งแต่ปีที่ 3 เป็นต้นไป)[11] โดยในปี พ.ศ. 2548–2558 แข่งกันใน 3 ประเภทเพลง คือ เพลงช้า เพลงเร็ว และเพลงถนัด[11] ทีมที่มีคะแนนรวมทุกประเภทเพลงสูงสุด จะได้ครองถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งออกแบบโดยเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์[14] ในช่วงปีแรกผู้ชนะรอบแชมป์ออฟเดอะแชมป์ จะได้รับถ้วยพระราชทานพร้อมทุนการศึกษา 100,000 บาท และตั๋วเครื่องบินไปกลับ กรุงเทพ-ดิสนี่ย์แลนด์ ฮ่องกง 40 ที่นั่ง[11] ปีต่อ ๆ มา ผู้ชนะจะได้รับถ้วยพระราชทานพร้อมทุนการศึกษามูลค่า 1,000,000 บาท[10] โรงเรียนจ่านกร้อง จังหวัดพิษณุโลก เป็นสถาบันที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในการประกวดยุคแรก โดยครองถ้วยแชมป์ออฟเดอะแชมป์ของรายการมากที่สุด คือ 3 สมัย[15] รองลงมาคือ โรงเรียนเทพมิตรศึกษา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ได้แชมป์ออฟเดอะแชมป์ 2 สมัย[16] อันดับสามคือ โรงเรียนบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ที่ได้รองแชมป์ออฟเดอะแชมป์ 3 สมัย[17] นอกจากนี้ พิชิตชัย ศรีเครือ นักร้องนำของวงดนตรีลูกทุ่งโรงเรียนจ่านกร้องในการครองแชมป์สองสมัยแรก ยังเป็นศิลปินที่มีชื่อเสียงอีกด้วย[18] พ.ศ. 2565 - ปัจจุบันการประกวดวงดนตรีลูกทุ่งระดับมัธยมศึกษาในชิงช้าสวรรค์ 2022 ได้ปรับรูปแบบการประกวดในรอบคัดเลือก เป็นการตระเวนไปตามภูมิภาคต่าง ๆ โดยรับสมัครพร้อมคัดเลือกผู้เข้าแข่งขันใน 5 จังหวัดของแต่ละภาค ได้แก่ เชียงใหม่, ขอนแก่น, ชลบุรี, ปทุมธานี และนครศรีธรรมราช[19] เพื่อคัดเลือกวงดนตรีลูกทุ่งระดับมัธยมศึกษา 20 ทีม เข้าแข่งขันในรอบการออกอากาศของรายการ[1] ทีมที่ชนะการประกวดจะครองถ้วยพระราชทานพร้อมทุนการศึกษา 1,000,000 บาท[1] โดยทีมที่ชนะเลิศได้แก่ โรงเรียนประโคนชัยพิทยาคม รองชนะเลิศอันดับ 1 โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย และรองชนะเลิศอันดับ 2 โรงเรียนเชียงกลมวิทยา[20] ต่อมา ชิงช้าสวรรค์ 2023 ได้กลับมาอีกครั้ง พร้อมกับการเปิดตัว 16 โรงเรียนที่ผ่านเข้ารอบสู่รอบเปิดวง โดยได้มีการถ่ายทำการจับฉลากจับคู่การแข่งขันในรอบเปิดวงของทั้ง 16 ทีม ใน Episode ที่ 1 โดยโรงเรียนที่ผ่านเข้ารอบสู่รอบชิงชนะเลิศได้แก่ โรงเรียนนาหลวง กรุงเทพมหานคร และ โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ) จ.นครราชสีมา ซึ่งผลสรุปออกมาว่า โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ) สามารถคว้าแชมป์ไปครองได้สำเร็จ รับถ้วยพระราชทานพร้อมทุนการศึกษา 1,000,000 บาท ช่วงของรายการในอดีตนอกจากการประกวดวงดนตรีลูกทุ่งระดับมัธยมศึกษาแล้ว ครั้งเมื่อรายการยังมีรูปแบบเป็นปกิณกะ ยังประกอบด้วยช่วงต่าง ๆ เพิ่มเติม เช่น
รายชื่อโรงเรียนที่เป็นแชมป์ประจำฤดู รองแชมป์ประจำฤดู แชมป์ออฟเดอะแชมป์ และรองแชมป์ออฟเดอะแชมป์ ชิงช้าสวรรค์คอนเทสต์
รายชื่อโรงเรียนที่เป็นแชมป์ และรองแชมป์ ชิงช้าสวรรค์ประถมคอนเทสต์
รายชื่อโรงเรียนที่เป็นแชมป์ และรองชิงช้าสวรรค์เทิดไท้องค์ราชันย์
สิ่งสืบเนื่องรายการย่อยเวิร์คพอยท์ได้สร้างรายการโทรทัศน์ที่มีองค์ประกอบมาจากรายการชิงช้าสวรรค์ เช่น ไมค์ทองคำ, ไมค์ทองคำเด็ก, ไมค์ทองคำ หมอลำฝังเพชร, ไมค์หมดหนี้ และเพชรตัดเพชร เป็นต้น[3] นอกจากนี้ ในช่วงปี พ.ศ. 2559 ตัวรายการชิงช้าสวรรค์เองก็มีการสร้างรายการย่อย "ชิงช้าสวรรค์ ลูกทุ่งโอทอป" (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "ชิงช้าสวรรค์ โอทอป") ซึ่งเดิมเป็นช่วงหนึ่งของรายการหลัก[25] แต่ต่อมาได้แยกจัดเป็นอีกหนึ่งรายการ โดยเป็นการประกวดร้องเพลงของตัวแทนประจำตำบล พร้อมนำเสนอผลิตภัณฑ์เด่นประจำตำบลนั้น ๆ โดยมีศิลปินลูกทุ่งสลับสับเปลี่ยนเป็นกรรมการในทุกสัปดาห์[27] ในปี พ.ศ. 2566 ชิงช้าสวรรค์มีสร้างรายการย่อยอีก 1 รายการ คือ "ชิงช้าสวรรค์ ร้องคู่สิบ" โดยนำนักร้องนำจากวงดนตรีลูกทุ่งที่เข้าประกวดในรายการชิงช้าสวรรค์ มาเป็นผู้เข้าแข่งขัน ร้องเพลงร่วมกับศิลปินมืออาชีพจำนวน 10 คน โดยมีกติกาคล้ายกับรายการนักร้องสองไมค์ นั่นคือคะแนนจะมาจากสลา คุณวุฒิ ซึ่งเป็นกรรมการหลัก และศิลปินอีก 9 คนที่ไม่ได้ร่วมร้องเพลงกับผู้เข้าแข่งขันในแต่ละรอบ ถ้าหากผู้เข้าแข่งขันได้คะแนนตั้งแต่ 7 คะแนนขึ้นไป จะได้รับทุนการศึกษาสะสมรอบละ 3,000 บาท (หรือได้รับโบนัสเป็น 5,000 บาท หากได้คะแนนเต็ม 10 คะแนนในรอบนั้น ๆ) และได้แข่งขันต่อไปในแต่ละรอบ จนกระทั่งครบ 10 คน นั่นคือมีโอกาสได้รับทุนการศึกษาสูงสุดที่ 50,000 บาท และหลังจากผ่านทั้ง 10 รอบ ผู้เข้าแข่งขันจะได้รับประกาศนียบัตรจากสลา พร้อมลายมือชื่อจากสลาและศิลปินทั้ง 10 คน[28] ชิงช้าสวรรค์ ไอดอลในปี พ.ศ. 2566 รายการชิงช้าสวรรค์ได้เปิดตัววงเกิร์ลกรุปแนวลูกทุ่ง ในชื่อว่า "ชิงช้าสวรรค์ ไอดอล" โดยมีสมาชิกจำนวน 5 คน (ต่อมาลดเหลือ 4 คน) จากวงดนตรีลูกทุ่งที่เข้าประกวดในรายการชิงช้าสวรรค์จำนวน 4 โรงเรียน[29] รางวัลที่ได้รับ
ข้อวิจารณ์แม้ชิงช้าสวรรค์ในยุคแรกจะสร้างกระแสวงดนตรีลูกทุ่งระดับมัธยมศึกษา แต่บรรณวัชรจากคมชัดลึกวิจารณ์ว่าการประกวดวงดังกล่าวทำให้แต่ละโรงเรียนทุ่มงบประมาณจำนวนมากกับการสร้างวงดนตรี ทำให้วงดนตรีลูกทุ่งที่เข้ามาประกวดดูเป็นวงในอุดมคติมากเกินไป และผู้บริหารสถานศึกษาบางแห่งก็อาจใช้โอกาสนี้ในการสร้างชื่อเสียงให้ตนเอง มากกว่าส่งเสริมให้เยาวชนมีใจรักเพลงลูกทุ่งอย่างแท้จริง[32] ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 ผู้บริหารโรงเรียนแห่งหนึ่งร้องเรียนกับทางเวิร์คพอยท์ในประเด็นการตัดสินที่ไม่เป็นธรรมต่อสถาบันของตน[13][33] และในเดือนกันยายนปีเดียวกัน ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์บางส่วนวิจารณ์ว่า รายการจงใจใช้ความเศร้าของผู้สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักของผู้เข้าแข่งขันโรงเรียนหนึ่ง เพื่อสร้างความนิยมของตัวรายการเอง ขณะเดียวกัน ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ ก็ได้มีการวิจารณ์ถึงการทำหน้าที่พิธีกรของโน้ต เชิญยิ้ม ด้วย[34] ดูเพิ่มอ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น |
Portal di Ensiklopedia Dunia